นับตั้งแต่อาเซียนได้ประกาศจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA: ASEAN Free Trade Area) ขึ้นเมื่อปี 2535 และเริ่มดำเนินการ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นมา จนถึงขณะนี้เป็นเวลา 9 ปีแล้ว ประเทศสมาชิกเดิมซึ่งประกอบด้วย บรูไน ดารุสชาราม อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่างก็นำสินค้าส่วนใหญ่ เข้ามาลดภาษีตามแผนการลดภาษีแล้ว โดยขณะนี้สินค้าที่มีอัตราภาษีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-5
มีจำนวนทั้งสิ้นคิดเป็น ร้อยละ 90 ของจำนวนรายการทั้งหมด นอกจากนี้ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
ก็ได้เริ่มนำสินค้าเข้ามาลดภาษีแล้วเช่นกัน
ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้การค้าภายในอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยในส่วนของไทย การค้ากับอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี
2535 หรือปีก่อนที่จะเริ่มต้น AFTA ถึงกว่า 2 เท่าตัว และไทยได้เปลี่ยนสถานะจากการขาดดุลการค้ามาเป็นเกินดุลการค้ามาโดยตลอด
2535 2543 เพิ่มขึ้น (ล้าน USD)
ส่งออก 4,490 13,514 9,024
นำเข้า 5,541 10,346 4,805
ดุลการค้า
-1,051 3,167 -
อย่างไรก็ดี แม้ว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์จาก AFTA แต่เรายังใช้ประโยชน์จาก AFTA ไม่มาก เท่าที่ควร เพราะจากสถิติการส่งออก
โดยใช้ form D คิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยของมูลค่าส่งออกรวม ทั้งนี้ ส่วนหนึ่ง อาจจะเนื่องมาจากผู้ประกอบการยังเข้าใจว่า AFTA ไม่มีความคืบหน้า
จึงไม่เห็นประโยชน์ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จึงเตรียมการที่จะจัดสัมมนาเรื่อง "AFTA : โอกาสและความท้าทาย" ขึ้นใน
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม ศกนี้ ที่โรงแรมอโนมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการด้านการส่งออกและนำเข้าได้รู้สภาพตลาดและ
ช่องทางการค้าที่น่าสนใจ รู้ขั้นตอนการขอ form D เพื่อการส่งออก รู้ข้อได้เปรียบของไทยในฐานะที่เป็นหนึ่งใน AFTA รู้ว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จาก
AFTA ได้มากน้อยเพียงใด ทั้งในเรื่องโอกาสในการขยายตลาดส่งออกที่จะสามารถทำการผลิตแบบ mass production ได้ เพราะอาเซียนเป็นตลาด
ขนาดใหญ่ที่มีประชากรมากถึง 500 ล้านคน นอกจากนี้ในด้านการนำเข้า อาเซียนยังเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ และหากประเทศไทย
สามารถ แข่งขันได้ดีในอาเซียนแล้ว โอกาสที่จะสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกก็มีมากขึ้นด้วย
การสัมมนาในช่วงเช้าหลังจากพิธีเปิดโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้วจะเป็นการอภิปรายระดับนโยบายเพื่อให้เห็นทิศทางและ
การปรับตัวของไทยเพื่อรองรับ AFTA ภายใต้หัวข้อ "AFTA และการเตรียมความพร้อมของไทยในตลาดอาเซียน" โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจ
การคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมอภิปราย หลัง
จากนั้นจะเป็นการบรรยายเพื่อให้ความรู้ในเรื่อง form D โดยผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศ
สำหรับในภาคบ่ายจะเป็นการสัมมนากลุ่มย่อย โดยจะแบ่งการสัมมนาเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
- กลุ่มอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
- กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
- กลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ
- กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
ซึ่งในช่วงบ่ายนี้ เราได้รับเกียรติจากผู้แทนสมาคมต่างๆ เข้าร่วมอภิปรายด้วย ได้แก่ คุณกรีธา เธียรลิขิต (กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า)
คุณมานะ เสถบุตร และคุณสมชัย ส่งวัฒนา (กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ) คุณยิ่งเกียรติ เหล่าศรีศักดากุล (กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนัง) คุณพัฒนพงษ์ ชลวณิช
(กลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ) และคุณสุชาติ ซื่อสัจจกุล (กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก)
การเข้าร่วมสัมมนาที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จะจัดขึ้นนี้ นอกจากผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับทราบ ข้อคิดเห็นในระดับนโยบาย ได้รับข้อมูลและ
แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก AFTA รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันแล้ว ในการสัมมนาเราจะพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประ
เด็นอนาคตของ AFTA ด้วยว่าจะเป็นไปในทิศทางใด และการที่อาเซียนจะขยายความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น จีน จะเป็นประโยชน์ต่อ
ไทยหรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนายังจะได้รับเอกสารประกอบการสัมมนาที่น่าสนใจเกี่ยวกับ AFTA อาทิ วัตถุประสงค์ของ AFTA การ
ดำเนินการ เป้าหมาย อนาคตของ AFTA ผลของ AFTA ที่มีต่อประเทศไทย รวมทั้ง ข้อมูลภาษีของไทย และของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นอีก 9
ประเทศด้วย
--กรมการค้าต่างประเทศ ธันวาคม 2544--
-อน-
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นมา จนถึงขณะนี้เป็นเวลา 9 ปีแล้ว ประเทศสมาชิกเดิมซึ่งประกอบด้วย บรูไน ดารุสชาราม อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่างก็นำสินค้าส่วนใหญ่ เข้ามาลดภาษีตามแผนการลดภาษีแล้ว โดยขณะนี้สินค้าที่มีอัตราภาษีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-5
มีจำนวนทั้งสิ้นคิดเป็น ร้อยละ 90 ของจำนวนรายการทั้งหมด นอกจากนี้ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
ก็ได้เริ่มนำสินค้าเข้ามาลดภาษีแล้วเช่นกัน
ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้การค้าภายในอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยในส่วนของไทย การค้ากับอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี
2535 หรือปีก่อนที่จะเริ่มต้น AFTA ถึงกว่า 2 เท่าตัว และไทยได้เปลี่ยนสถานะจากการขาดดุลการค้ามาเป็นเกินดุลการค้ามาโดยตลอด
2535 2543 เพิ่มขึ้น (ล้าน USD)
ส่งออก 4,490 13,514 9,024
นำเข้า 5,541 10,346 4,805
ดุลการค้า
-1,051 3,167 -
อย่างไรก็ดี แม้ว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์จาก AFTA แต่เรายังใช้ประโยชน์จาก AFTA ไม่มาก เท่าที่ควร เพราะจากสถิติการส่งออก
โดยใช้ form D คิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยของมูลค่าส่งออกรวม ทั้งนี้ ส่วนหนึ่ง อาจจะเนื่องมาจากผู้ประกอบการยังเข้าใจว่า AFTA ไม่มีความคืบหน้า
จึงไม่เห็นประโยชน์ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จึงเตรียมการที่จะจัดสัมมนาเรื่อง "AFTA : โอกาสและความท้าทาย" ขึ้นใน
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม ศกนี้ ที่โรงแรมอโนมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการด้านการส่งออกและนำเข้าได้รู้สภาพตลาดและ
ช่องทางการค้าที่น่าสนใจ รู้ขั้นตอนการขอ form D เพื่อการส่งออก รู้ข้อได้เปรียบของไทยในฐานะที่เป็นหนึ่งใน AFTA รู้ว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จาก
AFTA ได้มากน้อยเพียงใด ทั้งในเรื่องโอกาสในการขยายตลาดส่งออกที่จะสามารถทำการผลิตแบบ mass production ได้ เพราะอาเซียนเป็นตลาด
ขนาดใหญ่ที่มีประชากรมากถึง 500 ล้านคน นอกจากนี้ในด้านการนำเข้า อาเซียนยังเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ และหากประเทศไทย
สามารถ แข่งขันได้ดีในอาเซียนแล้ว โอกาสที่จะสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกก็มีมากขึ้นด้วย
การสัมมนาในช่วงเช้าหลังจากพิธีเปิดโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้วจะเป็นการอภิปรายระดับนโยบายเพื่อให้เห็นทิศทางและ
การปรับตัวของไทยเพื่อรองรับ AFTA ภายใต้หัวข้อ "AFTA และการเตรียมความพร้อมของไทยในตลาดอาเซียน" โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจ
การคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมอภิปราย หลัง
จากนั้นจะเป็นการบรรยายเพื่อให้ความรู้ในเรื่อง form D โดยผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศ
สำหรับในภาคบ่ายจะเป็นการสัมมนากลุ่มย่อย โดยจะแบ่งการสัมมนาเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
- กลุ่มอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
- กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
- กลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ
- กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
ซึ่งในช่วงบ่ายนี้ เราได้รับเกียรติจากผู้แทนสมาคมต่างๆ เข้าร่วมอภิปรายด้วย ได้แก่ คุณกรีธา เธียรลิขิต (กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า)
คุณมานะ เสถบุตร และคุณสมชัย ส่งวัฒนา (กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ) คุณยิ่งเกียรติ เหล่าศรีศักดากุล (กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนัง) คุณพัฒนพงษ์ ชลวณิช
(กลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ) และคุณสุชาติ ซื่อสัจจกุล (กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก)
การเข้าร่วมสัมมนาที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จะจัดขึ้นนี้ นอกจากผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับทราบ ข้อคิดเห็นในระดับนโยบาย ได้รับข้อมูลและ
แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก AFTA รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันแล้ว ในการสัมมนาเราจะพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประ
เด็นอนาคตของ AFTA ด้วยว่าจะเป็นไปในทิศทางใด และการที่อาเซียนจะขยายความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น จีน จะเป็นประโยชน์ต่อ
ไทยหรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนายังจะได้รับเอกสารประกอบการสัมมนาที่น่าสนใจเกี่ยวกับ AFTA อาทิ วัตถุประสงค์ของ AFTA การ
ดำเนินการ เป้าหมาย อนาคตของ AFTA ผลของ AFTA ที่มีต่อประเทศไทย รวมทั้ง ข้อมูลภาษีของไทย และของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นอีก 9
ประเทศด้วย
--กรมการค้าต่างประเทศ ธันวาคม 2544--
-อน-