นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยผลการติดตามความคืบหน้ากรณีเร่งให้ซาอุดิอารเบียและคูเวต ยกเลิกการห้ามปลาทูน่ากระป๋องไทยเข้าตลาดทั้งสอง ล่าสุดได้รับรายงานจากกงสุล(ฝ่ายการพาณิชย์) ณ เมืองดูไบ ปรากฏว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 15 เมษายน 2543 คูเวตได้ประกาศยกเลิกการห้ามนำปลาทูน่ากระป๋องไทยขึ้นวางบนชั้นจำหน่าย และจะมีผลให้ปลาทูน่ากระป๋องไทยกลับขึ้นวางบนชั้นจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เกตได้ดังเดิม เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน 2543 นี้เป็นต้นไป
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงว่า คณะกรรมการอาหารคูเวต ซึ่งมีอธิบดีกรมอาหารเป็นประธานนั้น ได้พิจารณาคำเรียกร้องของไทยอย่างจริงจังในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า และได้ตัดสินใจประกาศยกเลิกการห้ามจำหน่ายชั่ว-คราวสำหรับปลาทูน่ากระป๋องไทย โดยอ้างว่าคณะกรรมการอาหารคูเวตมีความพอใจกับข้อมูลในหนังสือรับรองของทางการไทยที่ระบุปลอดการตัดแต่งทางพันธุกรรม(GMO) ของน้ำมันถั่วเหลืองที่ใช้ในปลาทูน่ากระป๋อง
อย่างไรก็ตามอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เห็นว่า หลังจาก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร ได้เชิญเอกอัครราชทูตคูเวตประจำประเทศไทยเข้าพบหารือเร่งแก้ปัญหาคูเวตห้ามจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องไทย เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2543 นั้น ได้เป็นส่วนผลักดันสำคัญให้ทางการคูเวตรีบดำเนินการเรื่องนี้อย่างรอบคอบรวดเร็ว จนได้ข้อสรุปการออกประกาศยกเลิกข้อห้ามดังกล่าว ซึ่งเป็นผลบวกต่อการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไทยเข้าคูเวต มาก
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังกล่าวด้วยว่า ในวันเดียวกันนั้นอุปทูตซาอุดิอารเบียประจำประเทศไทย ก็ได้เข้าพบหารือเพื่อแก้ปัญหาการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องไทย เช่นเดียวกัน มีรายงานว่า ขณะนี้ทางการซาอุดิอารเบียได้เร่งดำเนินการที่จะยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องไทย เนื่องจากได้รับแรงผลักดันจากกระทรวงพาณิชย์ไทยประการหนึ่ง โดยหัวหน้าหน่วยงานควบคุมคุณภาพอาหารได้พิจารณาหนังสือรับรองปลอด GMO ในน้ำมันถั่วเหลืองที่ออกโดยทางการไทย และหนังสือรับรองการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำมันถั่วเหลืองของไทยไม่พบ GMO ของบริษัทวิเคราะห์วิทยาศาสตร์อาหาร Leatherhead Food RA ในเมือง Surrey ประเทศอังกฤษ ซึ่งจะได้นำไปประมวลใช้เป็นหลักฐานยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องไทยต่อไป
ประกอบกับขณะนี้ WTO อยู่ระหว่างพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของซาอุดิอารเบียกรณีห้ามนำเข้าปลาทูน่าไทยด้วย ดังนั้นจึงคาดว่าซาอุดิอารเบียจะประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยในเร็ววันนี้แน่นอน สำหรับในปี 2542 ไทยส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง มูลค่า 21,886 ล้านบาท เป็นการส่งออกไปยังซาอุดิอารเบีย มูลค่า 962 ล้านบาท
--กรมการค้าต่างประเทศ เมษายน 2543--
-อน-
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงว่า คณะกรรมการอาหารคูเวต ซึ่งมีอธิบดีกรมอาหารเป็นประธานนั้น ได้พิจารณาคำเรียกร้องของไทยอย่างจริงจังในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า และได้ตัดสินใจประกาศยกเลิกการห้ามจำหน่ายชั่ว-คราวสำหรับปลาทูน่ากระป๋องไทย โดยอ้างว่าคณะกรรมการอาหารคูเวตมีความพอใจกับข้อมูลในหนังสือรับรองของทางการไทยที่ระบุปลอดการตัดแต่งทางพันธุกรรม(GMO) ของน้ำมันถั่วเหลืองที่ใช้ในปลาทูน่ากระป๋อง
อย่างไรก็ตามอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เห็นว่า หลังจาก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร ได้เชิญเอกอัครราชทูตคูเวตประจำประเทศไทยเข้าพบหารือเร่งแก้ปัญหาคูเวตห้ามจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องไทย เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2543 นั้น ได้เป็นส่วนผลักดันสำคัญให้ทางการคูเวตรีบดำเนินการเรื่องนี้อย่างรอบคอบรวดเร็ว จนได้ข้อสรุปการออกประกาศยกเลิกข้อห้ามดังกล่าว ซึ่งเป็นผลบวกต่อการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไทยเข้าคูเวต มาก
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังกล่าวด้วยว่า ในวันเดียวกันนั้นอุปทูตซาอุดิอารเบียประจำประเทศไทย ก็ได้เข้าพบหารือเพื่อแก้ปัญหาการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องไทย เช่นเดียวกัน มีรายงานว่า ขณะนี้ทางการซาอุดิอารเบียได้เร่งดำเนินการที่จะยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องไทย เนื่องจากได้รับแรงผลักดันจากกระทรวงพาณิชย์ไทยประการหนึ่ง โดยหัวหน้าหน่วยงานควบคุมคุณภาพอาหารได้พิจารณาหนังสือรับรองปลอด GMO ในน้ำมันถั่วเหลืองที่ออกโดยทางการไทย และหนังสือรับรองการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำมันถั่วเหลืองของไทยไม่พบ GMO ของบริษัทวิเคราะห์วิทยาศาสตร์อาหาร Leatherhead Food RA ในเมือง Surrey ประเทศอังกฤษ ซึ่งจะได้นำไปประมวลใช้เป็นหลักฐานยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องไทยต่อไป
ประกอบกับขณะนี้ WTO อยู่ระหว่างพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของซาอุดิอารเบียกรณีห้ามนำเข้าปลาทูน่าไทยด้วย ดังนั้นจึงคาดว่าซาอุดิอารเบียจะประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยในเร็ววันนี้แน่นอน สำหรับในปี 2542 ไทยส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง มูลค่า 21,886 ล้านบาท เป็นการส่งออกไปยังซาอุดิอารเบีย มูลค่า 962 ล้านบาท
--กรมการค้าต่างประเทศ เมษายน 2543--
-อน-