กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้ จัดสัมมนาเรื่อง "จีนเข้า WTO : มันสำปะหลังไทยได้ประโยชน์มากเท่าใด" ขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 เวลา 9.00 — 12.30 น. ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประมาณ 180 คน ประกอบด้วย ผู้แทนสมาคมผู้ผลิตและผู้ค้ามันสำปะหลังทั้ง 4 สมาคม คือ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และภาคนิติบัญญัติ คือ สมาชิกวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร จากแบบประเมินผลที่ผู้ร่วมสัมมนาตอบกลับ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การเปิดตลาดขององค์การการค้าโลกจะมีผลต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ร้อยละ 43 เห็นว่า ตลาดจะขยายกว้างมากขึ้นเพราะมีการเจรจาลดภาษีและลดการให้อุดหนุนทั้งการอุดหนุนภายในและการอุดหนุนส่งออกลง ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 30 เห็นว่า การส่งออกจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพสินค้ามากขึ้น และร้อยละ 20 เห็นว่า การเปิดตลาดจะทำให้การแข่งขันทางการค้ามีความเป็นธรรมมากขึ้น
2. การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนและไต้หวัน จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 62 เห็นว่า ไทยจะได้รับประโยชน์อย่างมากโดยมีโอกาสส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปทั้งตลาดจีนและไต้หวันได้มากขึ้น และร้อยละ 33 เห็นว่า จะได้รับประโยชน์มากในตลาดจีน แต่ในตลาดไต้หวันไม่ค่อยได้ประโยชน์เนื่องจากเป็นตลาดเล็ก
3. ผลกระทบจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 50 เห็นว่า มีผลกระทบน้อยหรือไม่มีผลกระทบเลย และร้อยละ 44 เห็นว่า จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเพราะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ มันเส้น เพราะมีวัตถุดิบอื่นที่ใช้แทนมันเส้นได้ เช่น ข้าวโพด และมีปัญหาด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีสิ่งเจือปนเช่น ดินกรวดทราย และมีฝุ่นมาก รวมทั้งต้องแข่งขันกับเวียดนามซึ่งจีนถือว่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านได้รับสิทธิพิเศษเสียภาษีนำเข้าในอัตราต่ำกว่าไทย จึงมีความได้เปรียบ รองลงมา ได้แก่ แป้งมัน ซึ่งสามารถใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น ผงชูรส สารให้ความหวาน สิ่งทอ เป็นต้น และมันอัดเม็ดใช้เป็นอาหารสัตว์ซึ่งยังมีโอกาสขยายตลาดได้มาก
4. ปัญหาอุปสรรคในการเข้าตลาดจีน ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 42 เห็นว่า มีปัญหาอัตราภาษีนำเข้าสูง ร้อยละ 32 เห็นว่า จีนมีกฎระเบียบภายในที่ยุ่งยาก ร้อยละ 13 เห็นว่า จีนมีมาตรการที่มิใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคมาก เช่น ด้านสุขอนามัย เป็นต้น และร้อยละ 13 เห็นว่า เป็นปัญหาด้านอื่น ๆ เช่น เงื่อนไขการค้าของจีนที่ไม่เป็นไปตามระบบสากล มีการเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาขึ้นกับนโยบายผู้ปกครองมณฑล ระบบการจ่ายเงินยังไม่น่าเชื่อถือ เช่น การเปิด L/C และระบบการเงินระหว่างประเทศ
5. ไต้หวันจะเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยในอนาคต ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 67 เห็นว่า ตลาดไต้หวันจะเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยในอนาคต เพราะความต้องการใช้มันสำปะหลังจะสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเปิดตลาดมากขึ้น และร้อยละ 20 เห็นว่าไต้หวันเป็นตลาดเล็กและมีคู่แข่งสำคัญคือ เวียดนาม
6. ศักยภาพของจีนในอนาคตจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ร้อยละ 76 เห็นว่า จีนมีศักยภาพสูงในการผลิตและส่งออกสินค้าประเภทเดียวกับไทย และมีการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำมาแข่งขันกับไทยได้ จึงอาจเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวในอนาคต และร้อยละ 17 เห็นว่า ไทยจะยังคงสามารถขายสินค้าเกษตรไปจีนได้เพิ่มขึ้น
7. การขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยควรให้ความสำคัญในด้านใดมากที่สุด ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 53 เห็นว่า ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ร้อยละ 19 เห็นว่า ควรเปิดตลาดในตลาดหลักให้มากขึ้น ร้อยละ 18 เห็นว่า ควรหาตลาดใหม่ ๆ และร้อยละ 10 เห็นว่า ควรพัฒนาในด้านอื่น ๆ เช่น การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้สูงขึ้น
8. ความเห็น/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับตัวในการผลิตและส่งออกมันสำปะหลังของไทย เมื่อจีนและไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO มีดังนี้
- ควรปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ไม่ปลอมปนหรือมีสิ่งเจือปน โดยใช้ระบบคุณภาพ GMP และ HACCP ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
- เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยลดต้นทุนการผลิตลง เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งจากประเทศอื่นได้
- ศึกษา วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังเพื่อส่งออกให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น ผลิตเอธานอล ส่งออกแทนการส่งออกมันเส้นหรือมันอัดเม็ด หรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น
- ผู้ส่งออกต้องไม่ขายตัดราคากันเอง
- เจรจาขอให้จีนเก็บภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยในอัตราเดียวกับเวียดนาม โดยให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกัน เพื่อไทยจะได้มีโอกาสแข่งขันได้
- เจรจาให้จีนลดการอุดหนุนภายใน โดยเฉพาะการอุดหนุนภายในรายสินค้าในปริมาณเล็กน้อย (de minimis) จาก 8.5% ให้เหลือ 5% ให้ได้ เพราะสินค้าของไทยจะได้แข่งขันกับข้าวโพดได้ในระยะยาว
9. หลังจากที่ได้ฟังการสัมมนาแล้ว ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 93 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโอกาสในการขยายตลาดมันสำปะหลังมากขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1. การเปิดตลาดขององค์การการค้าโลกจะมีผลต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ร้อยละ 43 เห็นว่า ตลาดจะขยายกว้างมากขึ้นเพราะมีการเจรจาลดภาษีและลดการให้อุดหนุนทั้งการอุดหนุนภายในและการอุดหนุนส่งออกลง ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 30 เห็นว่า การส่งออกจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพสินค้ามากขึ้น และร้อยละ 20 เห็นว่า การเปิดตลาดจะทำให้การแข่งขันทางการค้ามีความเป็นธรรมมากขึ้น
2. การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนและไต้หวัน จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 62 เห็นว่า ไทยจะได้รับประโยชน์อย่างมากโดยมีโอกาสส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปทั้งตลาดจีนและไต้หวันได้มากขึ้น และร้อยละ 33 เห็นว่า จะได้รับประโยชน์มากในตลาดจีน แต่ในตลาดไต้หวันไม่ค่อยได้ประโยชน์เนื่องจากเป็นตลาดเล็ก
3. ผลกระทบจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 50 เห็นว่า มีผลกระทบน้อยหรือไม่มีผลกระทบเลย และร้อยละ 44 เห็นว่า จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเพราะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ มันเส้น เพราะมีวัตถุดิบอื่นที่ใช้แทนมันเส้นได้ เช่น ข้าวโพด และมีปัญหาด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีสิ่งเจือปนเช่น ดินกรวดทราย และมีฝุ่นมาก รวมทั้งต้องแข่งขันกับเวียดนามซึ่งจีนถือว่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านได้รับสิทธิพิเศษเสียภาษีนำเข้าในอัตราต่ำกว่าไทย จึงมีความได้เปรียบ รองลงมา ได้แก่ แป้งมัน ซึ่งสามารถใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น ผงชูรส สารให้ความหวาน สิ่งทอ เป็นต้น และมันอัดเม็ดใช้เป็นอาหารสัตว์ซึ่งยังมีโอกาสขยายตลาดได้มาก
4. ปัญหาอุปสรรคในการเข้าตลาดจีน ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 42 เห็นว่า มีปัญหาอัตราภาษีนำเข้าสูง ร้อยละ 32 เห็นว่า จีนมีกฎระเบียบภายในที่ยุ่งยาก ร้อยละ 13 เห็นว่า จีนมีมาตรการที่มิใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคมาก เช่น ด้านสุขอนามัย เป็นต้น และร้อยละ 13 เห็นว่า เป็นปัญหาด้านอื่น ๆ เช่น เงื่อนไขการค้าของจีนที่ไม่เป็นไปตามระบบสากล มีการเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาขึ้นกับนโยบายผู้ปกครองมณฑล ระบบการจ่ายเงินยังไม่น่าเชื่อถือ เช่น การเปิด L/C และระบบการเงินระหว่างประเทศ
5. ไต้หวันจะเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยในอนาคต ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 67 เห็นว่า ตลาดไต้หวันจะเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยในอนาคต เพราะความต้องการใช้มันสำปะหลังจะสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเปิดตลาดมากขึ้น และร้อยละ 20 เห็นว่าไต้หวันเป็นตลาดเล็กและมีคู่แข่งสำคัญคือ เวียดนาม
6. ศักยภาพของจีนในอนาคตจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ร้อยละ 76 เห็นว่า จีนมีศักยภาพสูงในการผลิตและส่งออกสินค้าประเภทเดียวกับไทย และมีการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำมาแข่งขันกับไทยได้ จึงอาจเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวในอนาคต และร้อยละ 17 เห็นว่า ไทยจะยังคงสามารถขายสินค้าเกษตรไปจีนได้เพิ่มขึ้น
7. การขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยควรให้ความสำคัญในด้านใดมากที่สุด ผู้เข้าร่วมสัมมนาร้อยละ 53 เห็นว่า ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ร้อยละ 19 เห็นว่า ควรเปิดตลาดในตลาดหลักให้มากขึ้น ร้อยละ 18 เห็นว่า ควรหาตลาดใหม่ ๆ และร้อยละ 10 เห็นว่า ควรพัฒนาในด้านอื่น ๆ เช่น การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้สูงขึ้น
8. ความเห็น/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับตัวในการผลิตและส่งออกมันสำปะหลังของไทย เมื่อจีนและไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO มีดังนี้
- ควรปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ไม่ปลอมปนหรือมีสิ่งเจือปน โดยใช้ระบบคุณภาพ GMP และ HACCP ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
- เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยลดต้นทุนการผลิตลง เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งจากประเทศอื่นได้
- ศึกษา วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังเพื่อส่งออกให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น ผลิตเอธานอล ส่งออกแทนการส่งออกมันเส้นหรือมันอัดเม็ด หรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น
- ผู้ส่งออกต้องไม่ขายตัดราคากันเอง
- เจรจาขอให้จีนเก็บภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยในอัตราเดียวกับเวียดนาม โดยให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกัน เพื่อไทยจะได้มีโอกาสแข่งขันได้
- เจรจาให้จีนลดการอุดหนุนภายใน โดยเฉพาะการอุดหนุนภายในรายสินค้าในปริมาณเล็กน้อย (de minimis) จาก 8.5% ให้เหลือ 5% ให้ได้ เพราะสินค้าของไทยจะได้แข่งขันกับข้าวโพดได้ในระยะยาว
9. หลังจากที่ได้ฟังการสัมมนาแล้ว ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 93 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโอกาสในการขยายตลาดมันสำปะหลังมากขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-