กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฟาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีจะทรงลงพระนามในฐานะทรงเป็นองค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับนาย Wisber Loeis ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิอาเซียน ในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมในประเทศสมาชิกอาเซียน (Human Resource Development in Environmental Toxicology for New Member Countries and Other ASEAN Countries) ในวันที 22 มิถุนายน 2544 ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
โครงการ Human Resoure Development in Environmental Toxicology of New Member Countrics and Other ASEAN Countries เป็นโครงการฝึกอบรมระดับภูมิภาค ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการนำสารเคมีมาใช้โดยไม่มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากมูลนิธิอาเซียน จำนวน 198,177 ดอลล่าร์สหรัฐ บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนประมาณ 200 คน จากประเทศสมาชิกส่วนใหญ่มาจากประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ทั้งนี้การจัดฝึกอบรมส่วนใหญ่จะมีขึ้นที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยมีระยะดำเนินการโครงการ 3 ปี ซึ่งจะเริ่มในเดือนมิถุนายน 2544 และจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2546 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ตระหนักว่าปั้จจุบันปัญหาการขาดแคลนนักวิชาการทางด้านการควบคุมการใช้สารเคมีที่เป็นพิษเป็นปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ดังนั้น จึงต้องมีความร่วมมือระดับภูมิภาคในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสิรมสร้างประสิทธิภาพของบุคลากรในอาเซียน
โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิอาเซียนซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกของความเป็นอาเซียนให้มากขึ้น และสนับสนุนการติดต่อระหว่างประชาชนของอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ ของอาเซียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสิรมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน และการบรรเทาความยากจน
มูลนิธิอาเซียนเน้นการดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณสุขและวัฒนธรรม การยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียน การให้ทุนฝึกอบรมและการาแลกเปลี่ยนเยาวชนและนักเรียนการสนับสนุนความช่วยเหลือระหว่างนักวิชาการ นักวิชาชีพ และนักวิทยาศาสตร์
เงินสนับสนุนมูลนิธิอาเซียนมาจากการบริจาคของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ปัจจุบันโครงการภายใต้มูลนิธิอาเซียนมีจำนวน 45 โครงการ โครงการที่ได้ดำเนินเสร็จสิ้นแล้วระหว่างปี 2542-2544 จำนวน 13 โครงการ อาทิ โครงการ Seminar on International Crisis Management for ASEAN Diplomats 1999 (เสนอโดยมาเลเซีย) 3 AUN Educational Forum (เสนอโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนผ่านสำนักเลขาธิการอาเซียน) Trainning of English Teachers From ASEAN Countries (เสนอโดยลาว) ASEAN Annual Match-Making Workshop among SMEs and LSEs (เสนอโดยมาเลเซีย) Trainning Profectrs for Lecturers anad Farmers from ASEAN Countries in the Area of Rural Development (เสนอโดยรัฐบาลญีปุ่นและประเทศไทยเป็นผู้บริหารโครงการ) โครงการระยะสั้นที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการอาทิ Scholarships for Funding the Smart but Poor in ASEAN (เสนอโดยลาว และดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-สส-
ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฟาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีจะทรงลงพระนามในฐานะทรงเป็นองค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับนาย Wisber Loeis ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิอาเซียน ในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมในประเทศสมาชิกอาเซียน (Human Resource Development in Environmental Toxicology for New Member Countries and Other ASEAN Countries) ในวันที 22 มิถุนายน 2544 ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
โครงการ Human Resoure Development in Environmental Toxicology of New Member Countrics and Other ASEAN Countries เป็นโครงการฝึกอบรมระดับภูมิภาค ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการนำสารเคมีมาใช้โดยไม่มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากมูลนิธิอาเซียน จำนวน 198,177 ดอลล่าร์สหรัฐ บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนประมาณ 200 คน จากประเทศสมาชิกส่วนใหญ่มาจากประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ทั้งนี้การจัดฝึกอบรมส่วนใหญ่จะมีขึ้นที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยมีระยะดำเนินการโครงการ 3 ปี ซึ่งจะเริ่มในเดือนมิถุนายน 2544 และจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2546 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ตระหนักว่าปั้จจุบันปัญหาการขาดแคลนนักวิชาการทางด้านการควบคุมการใช้สารเคมีที่เป็นพิษเป็นปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ดังนั้น จึงต้องมีความร่วมมือระดับภูมิภาคในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสิรมสร้างประสิทธิภาพของบุคลากรในอาเซียน
โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิอาเซียนซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกของความเป็นอาเซียนให้มากขึ้น และสนับสนุนการติดต่อระหว่างประชาชนของอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ ของอาเซียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสิรมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน และการบรรเทาความยากจน
มูลนิธิอาเซียนเน้นการดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณสุขและวัฒนธรรม การยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียน การให้ทุนฝึกอบรมและการาแลกเปลี่ยนเยาวชนและนักเรียนการสนับสนุนความช่วยเหลือระหว่างนักวิชาการ นักวิชาชีพ และนักวิทยาศาสตร์
เงินสนับสนุนมูลนิธิอาเซียนมาจากการบริจาคของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ปัจจุบันโครงการภายใต้มูลนิธิอาเซียนมีจำนวน 45 โครงการ โครงการที่ได้ดำเนินเสร็จสิ้นแล้วระหว่างปี 2542-2544 จำนวน 13 โครงการ อาทิ โครงการ Seminar on International Crisis Management for ASEAN Diplomats 1999 (เสนอโดยมาเลเซีย) 3 AUN Educational Forum (เสนอโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนผ่านสำนักเลขาธิการอาเซียน) Trainning of English Teachers From ASEAN Countries (เสนอโดยลาว) ASEAN Annual Match-Making Workshop among SMEs and LSEs (เสนอโดยมาเลเซีย) Trainning Profectrs for Lecturers anad Farmers from ASEAN Countries in the Area of Rural Development (เสนอโดยรัฐบาลญีปุ่นและประเทศไทยเป็นผู้บริหารโครงการ) โครงการระยะสั้นที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการอาทิ Scholarships for Funding the Smart but Poor in ASEAN (เสนอโดยลาว และดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-สส-