กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (12 เมษายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงต่อสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2543 ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือข้อราชการทวิภาคีกับนายเป็ก นำ ซุน (Paek Nam Sun) รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีเหนือ ในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM)
ที่เมืองคาตาเฮนา (Cartagena) ประเทศโคลัมเบีย โดยรัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีเหนือได้แจ้งแก่ ดร.สุรินทร์ฯ ว่าเกาหลีเหนือสนใจจะเข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum - ARF) ทั้งนี้ ในการหารือกับ นายโดมิงโก เซียซอน (Domingo Siazon) รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ นั้น ทั้งเกาหลีเหนือและฟิลิปปินส์มั่นใจว่าสองฝ่ายจะสามารถสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันได้ก่อนหน้าการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) ที่จะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม 2543 ปัจจุบันนี้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเพียงประเทศเดียวที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความยินดีต่อพัฒนาการที่จะช่วยกระชับ ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับเกาหลีเหนือ รวมทั้งปูทางสำหรับการพิจารณารับเกาหลีเหนือเข้าร่วม ARF ขณะนี้ ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนและ ARF และการประชุม AMM ครั้งต่อไปจะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2543 ตามด้วยการประชุม ARF ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2543
ARF เป็นเวทีพหุภาคีด้านความมั่นคงเพียงเวทีเดียวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีผู้แทนจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 21 ประเทศและอีก 1 กลุ่มประเทศเข้าร่วม ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน กัมพูชา แคนาดา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย พม่า นิวซีแลนด์ ปาปัว นิวกินี ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ ไทย สหรัฐฯ เวียดนาม และสหภาพยุโรป โดยมองโกเลียได้เข้าร่วมเป็นประเทศล่าสุดตามมติของที่ประชุมรัฐมนตรี ARF ครั้งที่ 5 เมื่อกรกฎาคม 2541
ที่ประชุมรัฐมนตรี ARF ครั้งที่ 3 ที่กรุงจาการ์ตา เมื่อปี 2539 ได้ตกลงกำหนดหลักการและกฎเกณฑ์สำหรับการขยายจำนวนผู้เข้าร่วม ซึ่งเน้นความสำคัญของเจตนารมณ์ทางการเมืองและความเหมาะสมของประเทศที่สมัคร รวมทั้งความจำเป็นที่ ARF ควรขยายจำนวนผู้เข้าร่วมอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อประสิทธิภาพในการพัฒนาความร่วมมือ โดยกำหนดว่า ประเทศที่จะสมัครเข้าร่วมจะต้องเป็นรัฐอธิปไตย จะต้องเคารพต่อเป้าหมายของ ARF และร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในอันที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เคารพต่อมติและถ้อยแถลงต่างๆ ที่ผ่านมาของ ARF ตลอดจนมีบทบาทต่อสันติภาพและความมั่นคงในขอบเขตด้านภูมิศาสตร์ของ ARF กล่าวคือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภาคพื้นแปซิฟิกในทางปฏิบัติ ประเทศที่สนใจเข้าร่วม ARF จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านประธาน ARF ถึงความสนใจ เจตนารมย์ที่จะส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค และความพร้อมที่จะเคารพมติและถ้อยแถลงต่างๆ ของ ARF และหลังจากนั้น ประธาน ARF จะเป็นผู้ดำเนินการปรึกษาหารือกับประเทศอื่นๆ ใน ARF ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและขอความเห็นชอบต่อการขอสมัครเข้าร่วมดังกล่าวจากรัฐมนตรี ARF ทั้งหมด--จบ--
-ยก-
วันนี้ (12 เมษายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงต่อสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2543 ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือข้อราชการทวิภาคีกับนายเป็ก นำ ซุน (Paek Nam Sun) รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีเหนือ ในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM)
ที่เมืองคาตาเฮนา (Cartagena) ประเทศโคลัมเบีย โดยรัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีเหนือได้แจ้งแก่ ดร.สุรินทร์ฯ ว่าเกาหลีเหนือสนใจจะเข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum - ARF) ทั้งนี้ ในการหารือกับ นายโดมิงโก เซียซอน (Domingo Siazon) รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ นั้น ทั้งเกาหลีเหนือและฟิลิปปินส์มั่นใจว่าสองฝ่ายจะสามารถสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันได้ก่อนหน้าการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) ที่จะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม 2543 ปัจจุบันนี้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเพียงประเทศเดียวที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความยินดีต่อพัฒนาการที่จะช่วยกระชับ ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับเกาหลีเหนือ รวมทั้งปูทางสำหรับการพิจารณารับเกาหลีเหนือเข้าร่วม ARF ขณะนี้ ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนและ ARF และการประชุม AMM ครั้งต่อไปจะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2543 ตามด้วยการประชุม ARF ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2543
ARF เป็นเวทีพหุภาคีด้านความมั่นคงเพียงเวทีเดียวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีผู้แทนจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 21 ประเทศและอีก 1 กลุ่มประเทศเข้าร่วม ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน กัมพูชา แคนาดา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย พม่า นิวซีแลนด์ ปาปัว นิวกินี ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ ไทย สหรัฐฯ เวียดนาม และสหภาพยุโรป โดยมองโกเลียได้เข้าร่วมเป็นประเทศล่าสุดตามมติของที่ประชุมรัฐมนตรี ARF ครั้งที่ 5 เมื่อกรกฎาคม 2541
ที่ประชุมรัฐมนตรี ARF ครั้งที่ 3 ที่กรุงจาการ์ตา เมื่อปี 2539 ได้ตกลงกำหนดหลักการและกฎเกณฑ์สำหรับการขยายจำนวนผู้เข้าร่วม ซึ่งเน้นความสำคัญของเจตนารมณ์ทางการเมืองและความเหมาะสมของประเทศที่สมัคร รวมทั้งความจำเป็นที่ ARF ควรขยายจำนวนผู้เข้าร่วมอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อประสิทธิภาพในการพัฒนาความร่วมมือ โดยกำหนดว่า ประเทศที่จะสมัครเข้าร่วมจะต้องเป็นรัฐอธิปไตย จะต้องเคารพต่อเป้าหมายของ ARF และร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในอันที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เคารพต่อมติและถ้อยแถลงต่างๆ ที่ผ่านมาของ ARF ตลอดจนมีบทบาทต่อสันติภาพและความมั่นคงในขอบเขตด้านภูมิศาสตร์ของ ARF กล่าวคือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภาคพื้นแปซิฟิกในทางปฏิบัติ ประเทศที่สนใจเข้าร่วม ARF จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านประธาน ARF ถึงความสนใจ เจตนารมย์ที่จะส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค และความพร้อมที่จะเคารพมติและถ้อยแถลงต่างๆ ของ ARF และหลังจากนั้น ประธาน ARF จะเป็นผู้ดำเนินการปรึกษาหารือกับประเทศอื่นๆ ใน ARF ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและขอความเห็นชอบต่อการขอสมัครเข้าร่วมดังกล่าวจากรัฐมนตรี ARF ทั้งหมด--จบ--
-ยก-