กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
การค้าระหว่างประเทศของไทย : ตลาดในเอเชียที่ขยายตัวดี ปี 2543
1. ภาพรวม
การค้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มีมูลค่า 120,939.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 23.2 โดยแยกเป็นส่งออกมูลค่า 63,954.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 นำเข้ามูลค่า 56,984.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 เกินดุลการค้า 6,970.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.7 คาดว่าตลอดปี 2543 จะส่งออกได้ มูลค่า 70,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 และนำเข้ามูลค่า 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2
2. ตลาดส่งออกสำคัญ : ตลาดในเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวดี
การส่งออกไปยังตลาดหลักยังคงมีการขยายตัวในทุกตลาด โดยเฉพาะการส่งออกไปอาเซียน และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.0 และ 26.7 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 และ ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 นอกจากตลาดหลักดังกล่าว ยังมีตลาดสำคัญที่มีการขยายตัวมากโดยเฉพาะตลาดในเอเซีย ได้แก่
จีน
จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มีมูลค่าส่งออก 2,543.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 4.0 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับที่ 13 ของจีน มีส่วนแบ่งตลาดในจีนเพิ่มขึ้นเช่นกันจากร้อยละ 1.7 เป็นร้อยละ 1.9 สินค้าส่งออกของไทยไปยังตลาดนี้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 62.6 โดยสินค้าออกสำคัญประกอบด้วย
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 ส่วนใหญ่จีนนำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ไทยมีส่วนแบ่งแตลาดในจีนประมาณร้อยละ 7.0
- ยางพารา การส่งออกสินค้านี้ไปยังจีนเพิ่มขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัว จาก 114.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 270.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าชนิดนี้จีนนำเข้าจากไทย
- ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ยังคงส่งออกเพิ่มขึ้นมากต่อเนื่องจากปี 2542 โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.3 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญในอันดับต้นๆ มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 14.0 มี ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ เป็นคู่แข่งสำคัญ
- เม็ดพลาสติก ส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา จีนนำเข้าจากไทยประมาณร้อยละ 10 มี เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และ สหรัฐอเมริกา เป็นคู่แข่งสำคัญ
- แผงวงจรไฟฟ้า มีการส่งออกเพิ่มขึ้นมากทุกปี จากมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญ ในปี 2539 เป็น 133.1 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ส่วนใหญ่จีนนำเข้าจากญี่ปุ่น และ ไต้หวัน ไทยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 2.0
เกาหลีใต้
เป็นตลาดสำคัญอันดับที่ 13 มีการขยายการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ในอัตราค่อนข้างสูงตั้งแต่ปี 2542 และช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ส่งออกมูลค่า 1,162.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7 จากสถิติการค้าของเกาหลีใต้ ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับที่ 22 มีส่วนแบ่งตลาดในตลาดแห่งนี้ประมาณร้อยละ 0.9 สินค้าที่ไทยส่งออกมากได้แก่สินค้าอุตสาหกรรม รองลงมาเป็นสินค้าเกษตรกรรมที่สำคัญ ได้แก่
- แผงวงจรไฟฟ้า ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.2 ขยายตัวต่อเนื่องมาจากปี 2542 ส่วนใหญ่เกาหลีใต้นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน ไทยเป็นมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.7
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2542 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 2.6 ส่วนใหญ่เกาหลีใต้นำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ มาเลเซีย และ จีน
- ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ส่งออกเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัว ส่วนใหญ่เกาหลีใต้นำเข้าสินค้านี้จาก ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.0
- ยางพารา ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 ขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของการนำเข้าสินค้านี้โดยรวม
- น้ำตาลทราย ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 หลังจากลดลงค่อนข้างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา ไทย เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 2 รองจากออสเตรเลีย
อินเดีย
อินเดียเป็นตลาดหนึ่งในเอเซียที่น่าสนใจ โดยการส่งออกของไทยไปอินเดียขยายตัวดีมาตั้งแต่ปี 2542 และในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ไทยส่งออกไปอินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.0 ทำให้ความสำคัญของตลาดแห่งนี้เลื่อนจากลำดับที่ 28 มาเป็นลำดับที่ 22 ประมาณสามในสี่ของมูลค่าส่งออก เป็นการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม โดยสินค้าออกสำคัญได้แก่
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมากในช่วงปี 2542 โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าตัว
- ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีการขยายตัวดีมาตั้งแต่ปี 2540 จากมูลค่าส่งออก 0.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 45.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543
- สิ่งทอ มีการขยายการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 หลังจากที่ลดลงในช่วงปี 2541-2542
- อัญมณีและเครื่องประดับ มีการขยายตัวดีต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มีอัตราขยายตัวร้อยละ 41.1
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
การค้าระหว่างประเทศของไทย : ตลาดในเอเชียที่ขยายตัวดี ปี 2543
1. ภาพรวม
การค้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มีมูลค่า 120,939.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 23.2 โดยแยกเป็นส่งออกมูลค่า 63,954.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 นำเข้ามูลค่า 56,984.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 เกินดุลการค้า 6,970.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.7 คาดว่าตลอดปี 2543 จะส่งออกได้ มูลค่า 70,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 และนำเข้ามูลค่า 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2
2. ตลาดส่งออกสำคัญ : ตลาดในเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวดี
การส่งออกไปยังตลาดหลักยังคงมีการขยายตัวในทุกตลาด โดยเฉพาะการส่งออกไปอาเซียน และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.0 และ 26.7 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 และ ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 นอกจากตลาดหลักดังกล่าว ยังมีตลาดสำคัญที่มีการขยายตัวมากโดยเฉพาะตลาดในเอเซีย ได้แก่
จีน
จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มีมูลค่าส่งออก 2,543.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 4.0 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับที่ 13 ของจีน มีส่วนแบ่งตลาดในจีนเพิ่มขึ้นเช่นกันจากร้อยละ 1.7 เป็นร้อยละ 1.9 สินค้าส่งออกของไทยไปยังตลาดนี้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 62.6 โดยสินค้าออกสำคัญประกอบด้วย
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 ส่วนใหญ่จีนนำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ไทยมีส่วนแบ่งแตลาดในจีนประมาณร้อยละ 7.0
- ยางพารา การส่งออกสินค้านี้ไปยังจีนเพิ่มขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัว จาก 114.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 270.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าชนิดนี้จีนนำเข้าจากไทย
- ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ยังคงส่งออกเพิ่มขึ้นมากต่อเนื่องจากปี 2542 โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.3 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญในอันดับต้นๆ มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 14.0 มี ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ เป็นคู่แข่งสำคัญ
- เม็ดพลาสติก ส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา จีนนำเข้าจากไทยประมาณร้อยละ 10 มี เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และ สหรัฐอเมริกา เป็นคู่แข่งสำคัญ
- แผงวงจรไฟฟ้า มีการส่งออกเพิ่มขึ้นมากทุกปี จากมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญ ในปี 2539 เป็น 133.1 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ส่วนใหญ่จีนนำเข้าจากญี่ปุ่น และ ไต้หวัน ไทยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 2.0
เกาหลีใต้
เป็นตลาดสำคัญอันดับที่ 13 มีการขยายการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ในอัตราค่อนข้างสูงตั้งแต่ปี 2542 และช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ส่งออกมูลค่า 1,162.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7 จากสถิติการค้าของเกาหลีใต้ ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับที่ 22 มีส่วนแบ่งตลาดในตลาดแห่งนี้ประมาณร้อยละ 0.9 สินค้าที่ไทยส่งออกมากได้แก่สินค้าอุตสาหกรรม รองลงมาเป็นสินค้าเกษตรกรรมที่สำคัญ ได้แก่
- แผงวงจรไฟฟ้า ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.2 ขยายตัวต่อเนื่องมาจากปี 2542 ส่วนใหญ่เกาหลีใต้นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน ไทยเป็นมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.7
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2542 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 2.6 ส่วนใหญ่เกาหลีใต้นำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ มาเลเซีย และ จีน
- ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ส่งออกเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัว ส่วนใหญ่เกาหลีใต้นำเข้าสินค้านี้จาก ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.0
- ยางพารา ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 ขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของการนำเข้าสินค้านี้โดยรวม
- น้ำตาลทราย ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 หลังจากลดลงค่อนข้างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา ไทย เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 2 รองจากออสเตรเลีย
อินเดีย
อินเดียเป็นตลาดหนึ่งในเอเซียที่น่าสนใจ โดยการส่งออกของไทยไปอินเดียขยายตัวดีมาตั้งแต่ปี 2542 และในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ไทยส่งออกไปอินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.0 ทำให้ความสำคัญของตลาดแห่งนี้เลื่อนจากลำดับที่ 28 มาเป็นลำดับที่ 22 ประมาณสามในสี่ของมูลค่าส่งออก เป็นการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม โดยสินค้าออกสำคัญได้แก่
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมากในช่วงปี 2542 โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าตัว
- ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีการขยายตัวดีมาตั้งแต่ปี 2540 จากมูลค่าส่งออก 0.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 45.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543
- สิ่งทอ มีการขยายการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 หลังจากที่ลดลงในช่วงปี 2541-2542
- อัญมณีและเครื่องประดับ มีการขยายตัวดีต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มีอัตราขยายตัวร้อยละ 41.1
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-