ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประจำเดือนกันยายน 2543 จากแบบสำรวจของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 118 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 43 ลดลงจากเดือนก่อน โดยอยู่ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ แต่แนวโน้มดีขึ้นอีก
ในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.2 ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่
ระดับร้อยละ 44.2 เนื่องจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านแนวโน้มการ
ส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ในขณะที่ต้นทุนการประกอบการยังคงทรงตัว ส่วนปัจจัยด้านการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่า
แนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะดีขึ้น โดยจะปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 48.4 ในเดือนหน้า และสูงขึ้นเป็นร้อยละ 52.9 ในช่วง พ.ย. 43 - ม.ค.
44 ซึ่งสูงกว่าระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีสินค้าคงคลังที่เป็น
วัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.6 และร้อยละ 52.1 ตามลำดับ ผู้ประกอบการมีการวางแผนธุรกิจและควบคุมสต๊อกสินค้าอย่าง
ต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเห็นว่าปริมาณสินค้าคงคลังยังคงเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ มีการแข่งขันด้านการตลาดและราคาลดลงจากเดือนก่อน ดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 41.4 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 36.1 อย่างไรก็ตาม การแข่งขันยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากความต้อง
การบริโภคสินค้าในประเทศลดลง
2.3 ภาวะการเงินเดือน ก.ย. 43 ยังคงทรงตัว การให้เครดิตแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ส่วนสภาพคล่องทาง
การเงินลดลงจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน พ.ย. 43 - ม.ค. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะเพิ่มขึ้นจากเดือนนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังมีแนวโน้มลดลง
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 รัฐควรดูแลราคาพืชผลเกษตรสำคัญให้เหมาะสม เนื่องจากช่วงนี้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมาก และราคาค่อนข้างต่ำ ประกอบกับ
ประสบปัญหาน้ำท่วมผลผลิตเสียหาย ทำให้กำลังซื้อขายเกษตรกรลดลง
3.2 ขณะนี้ธุรกิจมีการปรับตัวและลดการจ้างงาน ดังนั้น รัฐควรเร่งสร้างงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
3.3 รัฐควรหามาตรการลดราคาน้ำมัน เนื่องจากส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าสินค้าและบริการ
3.4 รัฐควรมีมาตรการให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น และหาแหล่งเงินกู้ใหม่ ๆ มาให้ธุรกิจบ้าง
3.5 ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่สามารถคาดการณ์และวางแผนการลงทุนได้ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองยังไม่มีความชัดเจน
จะต้องรอดูการเลือกตั้งใหม่
3.6 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการแข่งขันกันสูง เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าบริการมีน้อยลง
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 13.6 46.6 39.8 -
2. อำนาจซื้อของประชาชน 8.5 39.8 50.0 1.7
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 13.6 65.3 21.2 -
4. การจ้างงานในธุรกิจ 5.9 82.2 11.9 -
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 46.6 42.4 5.9 5.1
6. แนวโน้มการส่งออก 14.3 45.7 40.0 -
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 7.6 39.8 26.3 26.3
- สินค้าสำเร็จรูป 16.9 50.0 23.7 9.3
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 47.5 39.8 4.2 8.5
- ต่างประเทศ 44.7 42.1 13.2 -
3. ภาวะการเงินเดือน ก.ค. 43
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 14.4 56.8 15.3 13.6
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 10.2 54.2 24.6 11.0
- สภาพคล่อง 11.0 50.0 34.7 4.2
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน ก.ย.- พ.ย. 43
เทียบกับเดือน ก.ค. 43
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 2.5 59.3 25.4 12.7
- ค่าเงินบาท (เทียบกับดอลลาร์) 8.5 30.5 49.2 11.9
- สภาพคล่อง 17.8 43.2 27.1 11.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
ประจำเดือนกันยายน 2543 จากแบบสำรวจของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 118 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 43 ลดลงจากเดือนก่อน โดยอยู่ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ แต่แนวโน้มดีขึ้นอีก
ในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.2 ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่
ระดับร้อยละ 44.2 เนื่องจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านแนวโน้มการ
ส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ในขณะที่ต้นทุนการประกอบการยังคงทรงตัว ส่วนปัจจัยด้านการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่า
แนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะดีขึ้น โดยจะปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 48.4 ในเดือนหน้า และสูงขึ้นเป็นร้อยละ 52.9 ในช่วง พ.ย. 43 - ม.ค.
44 ซึ่งสูงกว่าระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีสินค้าคงคลังที่เป็น
วัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.6 และร้อยละ 52.1 ตามลำดับ ผู้ประกอบการมีการวางแผนธุรกิจและควบคุมสต๊อกสินค้าอย่าง
ต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเห็นว่าปริมาณสินค้าคงคลังยังคงเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ มีการแข่งขันด้านการตลาดและราคาลดลงจากเดือนก่อน ดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 41.4 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 36.1 อย่างไรก็ตาม การแข่งขันยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากความต้อง
การบริโภคสินค้าในประเทศลดลง
2.3 ภาวะการเงินเดือน ก.ย. 43 ยังคงทรงตัว การให้เครดิตแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ส่วนสภาพคล่องทาง
การเงินลดลงจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน พ.ย. 43 - ม.ค. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะเพิ่มขึ้นจากเดือนนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังมีแนวโน้มลดลง
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 รัฐควรดูแลราคาพืชผลเกษตรสำคัญให้เหมาะสม เนื่องจากช่วงนี้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมาก และราคาค่อนข้างต่ำ ประกอบกับ
ประสบปัญหาน้ำท่วมผลผลิตเสียหาย ทำให้กำลังซื้อขายเกษตรกรลดลง
3.2 ขณะนี้ธุรกิจมีการปรับตัวและลดการจ้างงาน ดังนั้น รัฐควรเร่งสร้างงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
3.3 รัฐควรหามาตรการลดราคาน้ำมัน เนื่องจากส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าสินค้าและบริการ
3.4 รัฐควรมีมาตรการให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น และหาแหล่งเงินกู้ใหม่ ๆ มาให้ธุรกิจบ้าง
3.5 ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่สามารถคาดการณ์และวางแผนการลงทุนได้ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองยังไม่มีความชัดเจน
จะต้องรอดูการเลือกตั้งใหม่
3.6 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการแข่งขันกันสูง เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าบริการมีน้อยลง
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 13.6 46.6 39.8 -
2. อำนาจซื้อของประชาชน 8.5 39.8 50.0 1.7
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 13.6 65.3 21.2 -
4. การจ้างงานในธุรกิจ 5.9 82.2 11.9 -
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 46.6 42.4 5.9 5.1
6. แนวโน้มการส่งออก 14.3 45.7 40.0 -
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 7.6 39.8 26.3 26.3
- สินค้าสำเร็จรูป 16.9 50.0 23.7 9.3
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 47.5 39.8 4.2 8.5
- ต่างประเทศ 44.7 42.1 13.2 -
3. ภาวะการเงินเดือน ก.ค. 43
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 14.4 56.8 15.3 13.6
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 10.2 54.2 24.6 11.0
- สภาพคล่อง 11.0 50.0 34.7 4.2
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน ก.ย.- พ.ย. 43
เทียบกับเดือน ก.ค. 43
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 2.5 59.3 25.4 12.7
- ค่าเงินบาท (เทียบกับดอลลาร์) 8.5 30.5 49.2 11.9
- สภาพคล่อง 17.8 43.2 27.1 11.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-