ในเดือนมกราคม ดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวอ่อนลงเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์สเตอร์ลิง แต่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเยนญี่ปุ่น
ค่าเงินสกุลสำคัญเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.
2543 2544 การเปลี่ยนแปลง *
ค่าเฉลี่ย ธันวาคม มกราคม (ร้อยละ)
ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโร 0.902 0.938 3.990
เยนญี่ปุ่นต่อดอลลาร์ สรอ. 112.210 116.880 -4.000
ดอลลาร์ สรอ. ต่อปอนด์สเตอร์ลิง 1.467 1.477 0.680
ที่มา Reuters ( อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดนิวยอร์ก )
* เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (เครื่องหมายบวกคือค่าเงินสกุลนั้นแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.)
ดอลลาร์ สรอ.
ดัชนีทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงส่งสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยการบริโภคและการผลิตของสหรัฐฯ อ่อนตัวลง ต่อเนื่อง ผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2543 ต่ำกว่าความคาดหมายเดิมและส่งผลกระทบในทางลบต่อดัชนีหลักทรัพย์สหรัฐฯ โดยเฉพาะหลักทรัพย์ในกลุ่มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร นอกจากนี้ ดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคในเดือนมกราคมลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปีเหลือ 114.4 จาก 128.6 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้ดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มอ่อนลง ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงครั้งละร้อยละ 0.5 ถึง 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 3 และ 31 มกราคม 2544 เพื่อป้องกันการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลดลงเหลือร้อยละ 5.50
ยูโร
ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มแข็งขึ้นในเดือนมกราคม จากการอ่อนลงของค่าเงินเยน และจากการชะลอตัวลงอย่างชัดเจนของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคมปีก่อน ซึ่งไม่ได้ส่งผลลบมากนักต่อภาคการส่งออกของกลุ่มประเทศในยุโรป อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในยุโรป เนื่องจากสัดส่วนการส่งออกจากยุโรปไปสหรัฐฯ ค่อนข้างต่ำเทียบกับการค้าภายในกลุ่มประเทศยุโรป นอกจากนี้ ตลาดคาดว่ากลุ่มประเทศในยุโรปยังคงมีการขยายตัวที่ดีและยังไม่มีความจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยตามสหรัฐฯ ค่าเงินยูโรในเดือนมกราคมเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 0.9176 | 0.9584 ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโร ทั้งนี้ ธนาคารกลาง ยุโรปไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม
เยน
ค่าเงินเยนในเดือนมกราคมมีแนวโน้มอ่อนลงเป็นประวัติการณ์ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของญี่ปุ่น ทำให้ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะชะลอตัวตาม นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบมาจากการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศว่าจะไม่แทรกแซงค่าเงินเยนที่กำลังอ่อนตัวลง รวมถึงดัชนีทางเศรษฐกิจที่ยังคงแสดงถึงการหดตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และความไม่แน่นอนทางการเมืองจากการที่รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจต้องลาออกเนื่องจากถูกกล่าวหาว่ารับสินบน ซึ่งนับเป็นรัฐมนตรีคนที่สามของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ต้องออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในรัฐบาลยิ่งขึ้น
ค่าเงินสกุลสำคัญในภูมิภาคส่วนใหญ่ยังคงปรับตัวอ่อนลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะวอนเกาหลีใต้และเปโซฟิลิปปินส์
รูเปียอินโดนีเซีย
เงินรูเปียยังคงอ่อนค่าลง เนื่องจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อชำระหนี้ และความไม่สงบทางการเมือง ในขณะที่ประธานาธิบดี Wahid ซึ่งกำลังถูกสอบสวนในคดีอื้อฉาวสองคดี ได้ปฏิเสธที่จะตอบคำถามต่อรัฐสภา ส่วนในช่วงครึ่งหลังของเดือนมกราคม มีการซื้อขายเงินรูเปียเบาบาง เนื่องจากธนาคารกลางของอินโดนีเซียได้ออกกฎใหม่ทางด้านปริวรรตที่ยังคลุมเครือ
ฟิลิปปินส์
เงินเปโซยังคงอ่อนลงเนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยมีการเดินขบวนขับไล่ประธานาธิบดี Estrada ให้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งศาลสูงสุดได้ตัดสินให้รองประธานาธิบดี Arroyo เข้ารับตำแหน่งแทนเมื่อ 22 มกราคม อย่างไรก็ดี นาย Estrada คัดค้านการรับตำแหน่งของนาง Arroyo ว่าไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และอาจต่อสู้เพื่อกลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้เงินเปโซอ่อนยังมาจากการที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ซื้อดอลลาร์ สรอ. เพื่อเตรียมไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลที่จะครบกำหนดช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และการลาออกของรัฐมนตรีกลาโหม เนื่องจากความขัดแย้งกับรัฐบาลของนาง Arroyo
เกาหลีใต้
ค่าเงินวอนเกาหลีใต้อ่อนลงมากตามค่าเงินเยน โดยมีปัจจัยลบจากภาวะซบเซาในตลาดหลักทรัพย์ ที่เชื่อมโยงมาจากการตกต่ำอย่างต่อเนื่องของดัชนี Nasdaq และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
สิงคโปร์
เงินดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามค่าเงินในภูมิภาค แต่ยังมีปัจจัยบวกมาจากการแข็งค่าของเงินยูโรซึ่งอยู่ใน trade-weighted basket of currencies ประกอบกับการปิดฐานะเงินดอลลาร์ สรอ. ของสถาบันการเงินบางแห่ง
ค่าเงินสกุลสำคัญในเอเชียเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.
2543 2544 การเปลี่ยนแปลง 1/
ค่าเฉลี่ย ธันวาคม มกราคม (ร้อยละ)
บาท 43.06 43.08 -0.05
ริงกิตมาเลเซีย2/ 3.80 3.80 0.00
รูเปียอินโดนีเซีย 9415.95 9448.23 -0.34
เปโซฟิลิปปินส์ 49.80 50.56 -1.50
วอนเกาหลีใต้ 1215.91 1271.12 -4.34
ดอลลาร์สิงคโปร์ 1.74 1.74 -0.12
ที่มา Reuters (อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดนิวยอร์ก)
1/ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (เครื่องหมายบวกคือค่าเงินสกุลนั้นแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.) 2/ ตลาดท้องถิ่น
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในตลาด onshore และราคาทองคำ
เดือนมกราคม อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในตลาดระหว่างธนาคาร (interbank) มีค่าเฉลี่ย 43.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และอัตราเฉลี่ยซื้อ-ขายระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้า ( retail rate) มีค่าเฉลี่ย 43.08 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.07 และ 0.05 ตามลำดับ
ค่าเงินบาทเทียบเงินสกุลสำคัญในเดือนมกราคมมีค่าเฉลี่ยอ่อนลง โดยอ่อนลงเทียบกับดอลลาร์ สรอ. (ร้อยละ 0.06) ยูโร (4.24) และปอนด์สเตอร์ลิง (0.99) แต่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเยนญี่ปุ่น (3.26)
ค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคมีค่าเฉลี่ยแข็งขึ้น โดยแข็งขึ้นเทียบกับ ดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 0.05) ริงกิตมาเลเซีย (0.48) รูเปียอินโดนีเซีย (1.54) และเปโซฟิลิปปินส์ (1.75) แต่อ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ฮ่องกง (0.02)
ปัจจัยบวกที่มีผลต่อค่าเงินบาท
การอ่อนลงของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เนื่องมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและภาวะตลาดทรัพย์หลักทรัพย์ที่ซบเซาในสหรัฐฯ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่ช่วยให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐฯ แคบลง และทำให้ตลาดมองว่า ทางการสหรัฐฯ ได้ตอบสนองต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างทันท่วงที และน่าจะป้องกันเศรษฐกิจจากการหดตัวอย่าง รุนแรงได้
ผลการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่มีพรรคไทยรักไทยเป็นเสียงข้างมาก ช่วงปลายเดือน เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากจากการที่สถาบันการเงินในประเทศเทขายดอลลาร์ สรอ. และมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปัจจัยลบที่มีผลต่อค่าเงินบาท
การปรับตัวอ่อนลงของค่าเงินในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ โดยมีสาเหตุจากความ ไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศดังกล่าว ตลอดจนการปรับตัวอ่อนลงของเงินเยน ดอลลาร์ไต้หวัน และวอนเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่กดดันค่าเงินในภูมิภาคและเงินบาท
ความเคลื่อนไหวในตลาดเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
อัตรา swap premium ระยะ T/N ค่อนข้างผันผวนในเดือนมกราคม โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นไปถึงเฉลี่ยร้อยละ 3.87 เมื่อวันที่ 22 มกราคม ตามสภาพคล่องเงินบาทที่ตึงตัว และสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงก่อนปลายเดือน เนื่องจากเป็นเทศกาลปีใหม่ มีการเลือกตั้งทั่วไป และเทศกาลตรุษจีนในเดือนเดียวกัน อัตรา swap premium ระยะ 1 เดือน และ 3 เดือน ค่อนข้างทรงตัว ส่วนต่างดอกเบี้ยบาท (อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร) และอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์ สรอ. (Fed Funds Rate) ในเดือนมกราคม มีค่าเฉลี่ยติดลบร้อยละ 4.03 ต่อปี (ดอกเบี้ย Fed Funds Rate สูงกว่าดอกเบี้ยบาท) ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.01 ต่อปี จากร้อยละ 1.70 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า
ราคาทองคำ
เดือนมกราคม 2544 ราคาทองคำในตลาดต่างประเทศมีค่าเฉลี่ยลดลงเป็น 265.69 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทรอยเอานซ์ จากค่าเฉลี่ย 271.69 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนธันวาคม 2543
ราคาทองคำในช่วงครึ่งเดือนแรกมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากความต้องการยังคงมีไม่มาก แม้จะมีปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. แต่ก็ยังมีปัจจัยลบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่กดดันค่าเงินในภูมิภาค และมีวันหยุดหลายวันในช่วงตรุษจีน ราคาทองคำสูงขึ้นจากการ short-covering ในช่วงก่อนการเปิดประมูลทองคำส่วนเกินของธนาคารกลางอังกฤษเมื่อวันที่ 23 มกราคม โดยมีทองคำออกประมูลอีก 25 ตัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ค่าเงินสกุลสำคัญเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.
2543 2544 การเปลี่ยนแปลง *
ค่าเฉลี่ย ธันวาคม มกราคม (ร้อยละ)
ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโร 0.902 0.938 3.990
เยนญี่ปุ่นต่อดอลลาร์ สรอ. 112.210 116.880 -4.000
ดอลลาร์ สรอ. ต่อปอนด์สเตอร์ลิง 1.467 1.477 0.680
ที่มา Reuters ( อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดนิวยอร์ก )
* เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (เครื่องหมายบวกคือค่าเงินสกุลนั้นแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.)
ดอลลาร์ สรอ.
ดัชนีทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงส่งสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยการบริโภคและการผลิตของสหรัฐฯ อ่อนตัวลง ต่อเนื่อง ผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2543 ต่ำกว่าความคาดหมายเดิมและส่งผลกระทบในทางลบต่อดัชนีหลักทรัพย์สหรัฐฯ โดยเฉพาะหลักทรัพย์ในกลุ่มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร นอกจากนี้ ดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคในเดือนมกราคมลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปีเหลือ 114.4 จาก 128.6 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้ดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มอ่อนลง ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงครั้งละร้อยละ 0.5 ถึง 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 3 และ 31 มกราคม 2544 เพื่อป้องกันการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลดลงเหลือร้อยละ 5.50
ยูโร
ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มแข็งขึ้นในเดือนมกราคม จากการอ่อนลงของค่าเงินเยน และจากการชะลอตัวลงอย่างชัดเจนของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคมปีก่อน ซึ่งไม่ได้ส่งผลลบมากนักต่อภาคการส่งออกของกลุ่มประเทศในยุโรป อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในยุโรป เนื่องจากสัดส่วนการส่งออกจากยุโรปไปสหรัฐฯ ค่อนข้างต่ำเทียบกับการค้าภายในกลุ่มประเทศยุโรป นอกจากนี้ ตลาดคาดว่ากลุ่มประเทศในยุโรปยังคงมีการขยายตัวที่ดีและยังไม่มีความจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยตามสหรัฐฯ ค่าเงินยูโรในเดือนมกราคมเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 0.9176 | 0.9584 ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโร ทั้งนี้ ธนาคารกลาง ยุโรปไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม
เยน
ค่าเงินเยนในเดือนมกราคมมีแนวโน้มอ่อนลงเป็นประวัติการณ์ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของญี่ปุ่น ทำให้ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะชะลอตัวตาม นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบมาจากการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศว่าจะไม่แทรกแซงค่าเงินเยนที่กำลังอ่อนตัวลง รวมถึงดัชนีทางเศรษฐกิจที่ยังคงแสดงถึงการหดตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และความไม่แน่นอนทางการเมืองจากการที่รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจต้องลาออกเนื่องจากถูกกล่าวหาว่ารับสินบน ซึ่งนับเป็นรัฐมนตรีคนที่สามของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ต้องออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในรัฐบาลยิ่งขึ้น
ค่าเงินสกุลสำคัญในภูมิภาคส่วนใหญ่ยังคงปรับตัวอ่อนลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะวอนเกาหลีใต้และเปโซฟิลิปปินส์
รูเปียอินโดนีเซีย
เงินรูเปียยังคงอ่อนค่าลง เนื่องจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อชำระหนี้ และความไม่สงบทางการเมือง ในขณะที่ประธานาธิบดี Wahid ซึ่งกำลังถูกสอบสวนในคดีอื้อฉาวสองคดี ได้ปฏิเสธที่จะตอบคำถามต่อรัฐสภา ส่วนในช่วงครึ่งหลังของเดือนมกราคม มีการซื้อขายเงินรูเปียเบาบาง เนื่องจากธนาคารกลางของอินโดนีเซียได้ออกกฎใหม่ทางด้านปริวรรตที่ยังคลุมเครือ
ฟิลิปปินส์
เงินเปโซยังคงอ่อนลงเนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยมีการเดินขบวนขับไล่ประธานาธิบดี Estrada ให้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งศาลสูงสุดได้ตัดสินให้รองประธานาธิบดี Arroyo เข้ารับตำแหน่งแทนเมื่อ 22 มกราคม อย่างไรก็ดี นาย Estrada คัดค้านการรับตำแหน่งของนาง Arroyo ว่าไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และอาจต่อสู้เพื่อกลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้เงินเปโซอ่อนยังมาจากการที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ซื้อดอลลาร์ สรอ. เพื่อเตรียมไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลที่จะครบกำหนดช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และการลาออกของรัฐมนตรีกลาโหม เนื่องจากความขัดแย้งกับรัฐบาลของนาง Arroyo
เกาหลีใต้
ค่าเงินวอนเกาหลีใต้อ่อนลงมากตามค่าเงินเยน โดยมีปัจจัยลบจากภาวะซบเซาในตลาดหลักทรัพย์ ที่เชื่อมโยงมาจากการตกต่ำอย่างต่อเนื่องของดัชนี Nasdaq และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
สิงคโปร์
เงินดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามค่าเงินในภูมิภาค แต่ยังมีปัจจัยบวกมาจากการแข็งค่าของเงินยูโรซึ่งอยู่ใน trade-weighted basket of currencies ประกอบกับการปิดฐานะเงินดอลลาร์ สรอ. ของสถาบันการเงินบางแห่ง
ค่าเงินสกุลสำคัญในเอเชียเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.
2543 2544 การเปลี่ยนแปลง 1/
ค่าเฉลี่ย ธันวาคม มกราคม (ร้อยละ)
บาท 43.06 43.08 -0.05
ริงกิตมาเลเซีย2/ 3.80 3.80 0.00
รูเปียอินโดนีเซีย 9415.95 9448.23 -0.34
เปโซฟิลิปปินส์ 49.80 50.56 -1.50
วอนเกาหลีใต้ 1215.91 1271.12 -4.34
ดอลลาร์สิงคโปร์ 1.74 1.74 -0.12
ที่มา Reuters (อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดนิวยอร์ก)
1/ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (เครื่องหมายบวกคือค่าเงินสกุลนั้นแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.) 2/ ตลาดท้องถิ่น
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในตลาด onshore และราคาทองคำ
เดือนมกราคม อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในตลาดระหว่างธนาคาร (interbank) มีค่าเฉลี่ย 43.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และอัตราเฉลี่ยซื้อ-ขายระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้า ( retail rate) มีค่าเฉลี่ย 43.08 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.07 และ 0.05 ตามลำดับ
ค่าเงินบาทเทียบเงินสกุลสำคัญในเดือนมกราคมมีค่าเฉลี่ยอ่อนลง โดยอ่อนลงเทียบกับดอลลาร์ สรอ. (ร้อยละ 0.06) ยูโร (4.24) และปอนด์สเตอร์ลิง (0.99) แต่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเยนญี่ปุ่น (3.26)
ค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคมีค่าเฉลี่ยแข็งขึ้น โดยแข็งขึ้นเทียบกับ ดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 0.05) ริงกิตมาเลเซีย (0.48) รูเปียอินโดนีเซีย (1.54) และเปโซฟิลิปปินส์ (1.75) แต่อ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ฮ่องกง (0.02)
ปัจจัยบวกที่มีผลต่อค่าเงินบาท
การอ่อนลงของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เนื่องมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและภาวะตลาดทรัพย์หลักทรัพย์ที่ซบเซาในสหรัฐฯ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่ช่วยให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐฯ แคบลง และทำให้ตลาดมองว่า ทางการสหรัฐฯ ได้ตอบสนองต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างทันท่วงที และน่าจะป้องกันเศรษฐกิจจากการหดตัวอย่าง รุนแรงได้
ผลการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่มีพรรคไทยรักไทยเป็นเสียงข้างมาก ช่วงปลายเดือน เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากจากการที่สถาบันการเงินในประเทศเทขายดอลลาร์ สรอ. และมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปัจจัยลบที่มีผลต่อค่าเงินบาท
การปรับตัวอ่อนลงของค่าเงินในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ โดยมีสาเหตุจากความ ไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศดังกล่าว ตลอดจนการปรับตัวอ่อนลงของเงินเยน ดอลลาร์ไต้หวัน และวอนเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่กดดันค่าเงินในภูมิภาคและเงินบาท
ความเคลื่อนไหวในตลาดเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
อัตรา swap premium ระยะ T/N ค่อนข้างผันผวนในเดือนมกราคม โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นไปถึงเฉลี่ยร้อยละ 3.87 เมื่อวันที่ 22 มกราคม ตามสภาพคล่องเงินบาทที่ตึงตัว และสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงก่อนปลายเดือน เนื่องจากเป็นเทศกาลปีใหม่ มีการเลือกตั้งทั่วไป และเทศกาลตรุษจีนในเดือนเดียวกัน อัตรา swap premium ระยะ 1 เดือน และ 3 เดือน ค่อนข้างทรงตัว ส่วนต่างดอกเบี้ยบาท (อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร) และอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์ สรอ. (Fed Funds Rate) ในเดือนมกราคม มีค่าเฉลี่ยติดลบร้อยละ 4.03 ต่อปี (ดอกเบี้ย Fed Funds Rate สูงกว่าดอกเบี้ยบาท) ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.01 ต่อปี จากร้อยละ 1.70 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า
ราคาทองคำ
เดือนมกราคม 2544 ราคาทองคำในตลาดต่างประเทศมีค่าเฉลี่ยลดลงเป็น 265.69 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทรอยเอานซ์ จากค่าเฉลี่ย 271.69 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนธันวาคม 2543
ราคาทองคำในช่วงครึ่งเดือนแรกมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากความต้องการยังคงมีไม่มาก แม้จะมีปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. แต่ก็ยังมีปัจจัยลบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่กดดันค่าเงินในภูมิภาค และมีวันหยุดหลายวันในช่วงตรุษจีน ราคาทองคำสูงขึ้นจากการ short-covering ในช่วงก่อนการเปิดประมูลทองคำส่วนเกินของธนาคารกลางอังกฤษเมื่อวันที่ 23 มกราคม โดยมีทองคำออกประมูลอีก 25 ตัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-