ภาวะธุรกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2543 การผลิต : ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.3 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุราการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7
หมวดที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (-47.8%) ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานที่ยังไม่เริ่มทำการผลิตเป็นสำคัญ หมวดวัสดุก่อสร้าง(-5.9%) ลดลงเนื่องจากการส่งออกปูนซิเมนต์มีแนวโน้มชะลอตัวลง เพราะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศจีน และอินโดนีเซีย ประกอบกับภาวะการก่อสร้างในประเทศยังคงซบเซา
สำหรับหมวดสินค้าที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+18.9%) ขยายตัวตามการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กเพื่อการส่งออกและตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (+18.4%) ขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการส่งออกผลิตภัณฑ์มอเตอร์ไฟฟ้า ยางแท่ง แผงวงจรไฟฟ้าคอมเพรสเซอร์ และ อัญมณีและเครื่องประดับ หมวดยาสูบ (+12.5%) ผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากในเดือนเดียวกันปีก่อนมีการผลิตลดลงมากหลังจากตัวแทนจำหน่ายและร้านค้าปลีกกักตุนบุหรี่เพราะมีข่าวลือว่าจะมีการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่นใน กทม.
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 5.3 แต่หากไม่รวมการผลิตสุรา ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+39.9%) เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ประกอบกับการส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (+36.7%) ขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการส่งออกเป็นสำคัญ และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+23.2%) ขยายตัวตามท่อเหล็กที่ส่งออกได้ดี และผลิตภัณฑ์เหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ระดับร้อยละ 54.5 ลดลงจากร้อยละ 56.4 ในเดือนก่อน(หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 59.3) โดยลดลงเกือบทุกหมวดสินค้ายกเว้นหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยาสูบ เนื่องจากมีการลักลอบนำบุหรี่จากประเทศจีนและมาเลเซียซึ่งมีราคาถูกกว่าบุหรี่ไทยเข้ามาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ทำให้การจำหน่ายบุหรี่ของโรงงานยาสูบลดลง หมวดยานยนต์ ลดลงตามการผลิตรถยนต์นั่งที่ผู้ผลิตระบายสต๊อก เพื่อรอเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ประกอบกับผู้บริโภคชะลอการซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เนื่องจากประสบภาวะน้ำท่วม นอกจากนี้ การผลิตแบตเตอรี่ก็ลดลงจากเดือนก่อนมาก เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรประจำปี หมวดอื่น ๆ ลดลงตามการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า ยางแท่ง และคอมเพรสเซอร์ เป็นสำคัญ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ใช้กำลังการผลิตลดลงเนื่องจากเป็นเดือนแรกของไตรมาส ซึ่งผู้ผลิตจะมีจำนวนวันทำการ (Working days) น้อยกว่าอีก 2 เดือนถัดมา ซึ่งเป็นไปตามแบบแผน (Pattern) การผลิตของอุตสาหกรรมนี้ และ หมวดอาหาร เป็นการลดลงในทุกผลิตภัณฑ์เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลงตามฤดูกาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.3 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุราการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7
หมวดที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (-47.8%) ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานที่ยังไม่เริ่มทำการผลิตเป็นสำคัญ หมวดวัสดุก่อสร้าง(-5.9%) ลดลงเนื่องจากการส่งออกปูนซิเมนต์มีแนวโน้มชะลอตัวลง เพราะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศจีน และอินโดนีเซีย ประกอบกับภาวะการก่อสร้างในประเทศยังคงซบเซา
สำหรับหมวดสินค้าที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+18.9%) ขยายตัวตามการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กเพื่อการส่งออกและตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (+18.4%) ขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการส่งออกผลิตภัณฑ์มอเตอร์ไฟฟ้า ยางแท่ง แผงวงจรไฟฟ้าคอมเพรสเซอร์ และ อัญมณีและเครื่องประดับ หมวดยาสูบ (+12.5%) ผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากในเดือนเดียวกันปีก่อนมีการผลิตลดลงมากหลังจากตัวแทนจำหน่ายและร้านค้าปลีกกักตุนบุหรี่เพราะมีข่าวลือว่าจะมีการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่นใน กทม.
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 5.3 แต่หากไม่รวมการผลิตสุรา ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+39.9%) เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ประกอบกับการส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (+36.7%) ขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการส่งออกเป็นสำคัญ และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+23.2%) ขยายตัวตามท่อเหล็กที่ส่งออกได้ดี และผลิตภัณฑ์เหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ระดับร้อยละ 54.5 ลดลงจากร้อยละ 56.4 ในเดือนก่อน(หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 59.3) โดยลดลงเกือบทุกหมวดสินค้ายกเว้นหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยาสูบ เนื่องจากมีการลักลอบนำบุหรี่จากประเทศจีนและมาเลเซียซึ่งมีราคาถูกกว่าบุหรี่ไทยเข้ามาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ทำให้การจำหน่ายบุหรี่ของโรงงานยาสูบลดลง หมวดยานยนต์ ลดลงตามการผลิตรถยนต์นั่งที่ผู้ผลิตระบายสต๊อก เพื่อรอเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ประกอบกับผู้บริโภคชะลอการซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เนื่องจากประสบภาวะน้ำท่วม นอกจากนี้ การผลิตแบตเตอรี่ก็ลดลงจากเดือนก่อนมาก เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรประจำปี หมวดอื่น ๆ ลดลงตามการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า ยางแท่ง และคอมเพรสเซอร์ เป็นสำคัญ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ใช้กำลังการผลิตลดลงเนื่องจากเป็นเดือนแรกของไตรมาส ซึ่งผู้ผลิตจะมีจำนวนวันทำการ (Working days) น้อยกว่าอีก 2 เดือนถัดมา ซึ่งเป็นไปตามแบบแผน (Pattern) การผลิตของอุตสาหกรรมนี้ และ หมวดอาหาร เป็นการลดลงในทุกผลิตภัณฑ์เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลงตามฤดูกาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-