สรุปข่าวการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญทั่วไป) ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2544
เริ่มประชุมเวลา 09.40 นาฬิกา ณ ตึกรัฐสภา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และนายสนิท วรปัญญา
รองประธานรัฐสภา เป็นประธานในที่ประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว ประธานรัฐสภา กล่าวเปิดประชุมและแจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่อง ได้อนุญาตให้ถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง โดยวิทยุรัฐสภา และวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์
ในการประชุมทุกครั้ง สำหรับการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในครั้งนี้ได้อนุญาตให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี
ช่อง 9 อสมท. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น
การประชุม
ต่อจากนั้น ประธานรัฐสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน คือ คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
โดยพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ว่าประเทศไทยยังไม่พ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
ยังต้องได้รับการบริหารที่ ทุ่มเทเป็นพิเศษจะปล่อยให้การบริหารดำเนินไปเหมือนภาวะปกตินั้นไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจของประเทศ
อาจถลำลึกลงอีกจนยากที่จะเยียวยา ดังนั้น จึงต้องการการเปลี่ยนแปลงในแทบทุกมิติด้วยแนวคิดของนโยบายใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่ง
ข้อมูล ความรอบรู้และสติปัญญาที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญญา และทันโลกทันเหตุการณ์ ซึ่งปัจจุบันประชาชนทุกระดับได้รับความเดือดร้อน
อันเกิดจากมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งเป็นผลมาจากการตกงาน ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ กำลังซื้อของคนในประเทศตก รัฐบาล
จึงตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินนโยบาย เพื่อลดความยากจนและนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชน
มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย นำไปสู่การพอมีพอกิน และเหลือจากนั้น จึงนำไปสู่การสร้างชีวิตใหม่ โดยใช้กลไกทุกส่วนของภาครัฐในการสร้าง
โอกาสให้ประชาชนใช้ทุนทางปัญญา ศักยภาพส่วนตัว และสินทรัพย์ ที่มีอยู่ทำงานอย่างเต็มที่ เมื่อประชาชนมีรายได้ก็จะทำให้ครอบครัวมีรายได้
และประเทศชาติมีรายได้ ซึ่งจะกลายเป็นฐานภาษีใหม่ให้รัฐมีรายได้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การลดหนี้สินของประเทศในโอกาสต่อไป
และในสถานการณ์นี้ รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนทางสังคม ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ใช้เงินโดยไร้เป้าหมายเพราะการใช้จ่ายเงินเพียงอย่างเดียว
มักจะก่อให้เกิดการสูญเปล่านโยบายของรัฐบาล อาทิ กองทุนหมู่บ้าน การจัดตั้งธนาคารประชาชน จึงเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุน
เพื่อสร้างรายได้ใหม่ให้กับประชาชนและให้กับรัฐในที่สุด รัฐบาลตระหนักดีว่าประชาชนกำลังลำบาก เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องมีการปรับ
โครงสร้างหนี้ทั้งภาคประชาชน และภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์เบื้องต้นก่อนนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้
ดังนั้น ภารกิจเร่งด่วนและสำคัญยิ่งของรัฐบาล คือ การเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของ
ระบบเศรษฐกิจ การบริหาร สังคม และการเมือง โดยจะต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันการณ์ โ
ดยปัญหามี 2 ส่วน คือ
1. หยุดการหดตัวของเศรษฐกิจที่กำลังก่อปัญหาทางสังคมให้กับประเทศ
2. การแก้ไขและปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคม ไปสู่ความมีเสถียรภาพ
และความมั่นคงอันยั่งยืนของประเทศชาติ
ทั้งหมดนี้ จะไม่เป็นเพียงหยุดการทรุดตัวของเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะเป็นการกระจายโอกาสให้กับชีวิตประชาชน
ไม่ใช่เป็นเพียงการกระจายเงิน นอกจากนี้ยังเป็นการใช้ สินทรัพย์ที่สำคัญ คือ ภูมิปัญญา เพื่อก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเป็น
เศรษฐกิจที่อาศัยความรู้เป็นรากฐานของการหารายได้ รัฐบาลตระหนักว่า ประเทศไทยเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ มีวัฒนธรรม
อันเก่าแก่ นอกจากนั้น คนไทยยังมีทักษะฝีมือ ความมานะ และความขยันหมั่นเพียร ซึ่งถ้าได้รับการส่งเสริมและให้โอกาสจะเกิดการใช้
พลังในแผ่นดิน ซึ่งเป็นพลังทั้งจากมันสมองของประชาชน และพลังจากการบริหารทรัพย์สินของแผ่นดินไทยจะสร้างให้ประเทศไทยกลับขึ้นมา
แข็งแกร่งอีกครั้งให้คนไทยทุกคน กลับมายืนบนลำแข้งตัวเองได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน สามารถบรรลุถึงภารกิจและดำเนินไปด้วยแนวทางที่กล่าวมา รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบาย
บริหารราชการแผ่นดินไว้ โดยมีเนื้อหาแบ่งเป็น 16 ด้าน ดังนี้
1. นโยบายเร่งด่วน อาทิ
- พักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี
- จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งละ 1 ล้านบาท
- จัดตั้งธนาคารประชาชน
- จัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
- จัดตั้งบรรษัทกลางในการบริหารสินทรัพย์
- พัฒนารัฐวิสาหกิจ
- สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
- เร่งจัดตั้งสถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด ควบคู่ไปกับการปราบปรามและป้องกัน
2. นโยบายเศรษฐกิจ
- นโยบายด้านการคลัง
- นโยบายการเงิน สถาบันการเงิน และการลงทุน
3. นโยบายการสร้างรายได้ โดยมีแนวนโยบายครอบคลุม 3 ด้าน คือ เกษตร อุตสาหกรรม และการบริหาร
4. นโยบายการพาณิชย์ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาทิ
- ด้านการพาณิชย์
- ด้านการค้าสินค้า และบริการ
- ด้านการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
5. นโยบายด้านการคมนาคม
6. นโยบายการพัฒนาแรงงาน
7. นโยบายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
8. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
9. นโยบายการพลังงาน
10. นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง อาทิ
- ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ
- ด้านการกีฬา
- ด้านการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด
- ด้านครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ
- ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส
11. นโยบายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อาทิ
- ด้านการศึกษา
- ด้านการศาสนา
- ด้านวัฒนธรรม
12. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
13. นโยบายด้านการต่างประเทศ
14. นโยบายความปลอดภัยของประชาชน
15. นโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน อาทิ
- ด้านปฏิรูปการเมือง
- ด้านการบริหารราชการ
- ด้านการกระจายอำนาจ
- ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและการปฏิรูป
16. นโยบายพัฒนาภูมิภาคและกรุงเทพฯ อาทิ
- ด้านการพัฒนาภูมิภาค
- ด้านการพัฒนากรุงเทพฯ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในตอนท้ายว่าการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบาย
ของคณะรัฐมนตรี ตามที่กล่าวมาได้วางอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ
สถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน และเพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้ รัฐบาล
จะต้องปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานราชการ พัฒนาระบบการบริหารจัดการประเทศใหม่ และต้องเสนอร่างกฎหมาย
เพื่อให้การดำเนินนโยบายสำคัญเร่งด่วนสามารถบรรลุผลทางปฏิบัติและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อไป
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายจบแล้ว ประธานรัฐสภาได้ปรึกษาที่ประชุมว่าจะกำหนดเวลา
ให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายคนละ 15 นาที ยกเว้นหัวหน้าพรรคการเมืองให้อภิปรายได้โดยไม่กำหนดเวลา ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ จากนั้น นายชวน หลีกภัย พัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายนโยบายรัฐบาลเป็นคนแรก โดยอภิปราย
นโยบายรัฐบาลแทบทุกด้าน อาทิ นโยบาย พักการชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี นั้น อาจจะกลายเป็นการพอกหนี้ ดังนั้น
ขอให้คิดโดยรอบคอบ และวิธีการแก้ปัญหานั้นอย่าทำให้เกิดปัญหาใหม่ และอาจย้อนกลับไปสู่การไม่มีวินัยของลูกหนี้ เพราะ
การไม่มีวินัยไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร แต่วิกฤติของสถาบันการเงิน ทั้งหลายส่วนหนึ่งก็คือการไม่จ่าย ไม่ใช้ ไม่หนีสำหรับ
นโยบายการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละล้านบาท หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายว่าแนวคิดของ
นโยบายใหม่ก็คงจะเอามาจาก แนวคิดของรัฐบาลเดิม เพราะเคยทำโครงการการตั้งกองทุนให้หมู่บ้านละ 280,000 บาท
แต่มิได้เหมาทุกชุมชน ช่วยเฉพาะหมู่บ้านที่ยากจน แต่กรณี นโยบายการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งละล้านบาท
ของรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ นั้น ทำแบบเหมาโดยไม่ดูหมู่บ้านไหนรวยหรือจน ถ้าประเทศเราร่ำรวยก็ไม่เป็นอะไร
แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะฉะนั้นเงินทุกบาทจึงมีค่าสำหรับรัฐบาลที่จะใช้แก้ปัญหาอย่างแท้จริง
ต่อจากนั้นนายชวน หลีกภัย ได้กล่าวถึง นโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพของรัฐบาลว่า รัฐบาลที่ผ่านมาก็อยากทำ
แต่ทำไม่ได้ เพราะเงินมีน้อย แต่ก็ดีใจถ้าใครก็ตามที่พยายามจะช่วยคนจนประชาชนทุกคนก็จ่าย 30 บาทเท่ากัน ก็รู้ว่า
เสมอหน้ากันดี แต่คิดว่าเราคงไม่รวยถึงขนาดนั้น ไม่อยากให้คุณภาพที่ดีของหมอไทยต้องเปลี่ยนสภาพแวดล้อม เพราะ
นโยบายนี้ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายต่ออีกว่า ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเรื่องการปราบปรามยาเสพติด นโยบายที่จะ
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปราบคอรัปชั่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ ฯลฯ รัฐบาลควรจะทบทวนทุกโครงการและนโยบายทุก ๆ ด้าน
ให้รอบคอบและไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน
ด้านนายกร ทัพพะรังสี หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ได้อภิปรายโดยรวมว่า เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล
แต่ละด้านว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่อยากให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องชี้แจงถึงรายละเอียดของนโยบายด้านต่าง ๆ ให้ชัดเจน อาทิ นโยบาย
การจัดตั้งเอ เอ็ม ซี นโยบายการพักชำระหนี้เกษตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวินัยการเงินการคลัง เพราะไม่รู้ว่าลูกหนี้ที่มีวินัย
จะได้รับการพัก ชำระหนี้ด้วยหรือไม่ ส่วนนโยบายรักษาโรคละ 30 บาท ถือว่ารัฐบาลเน้นการรักษามากกว่าการป้องกัน สำหรับ
นโยบายที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในส่วนที่ว่า จะให้ผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนมีส่วนตรวจสอบการขอและการใช้งบประมาณนั้น
รู้สึกว่าประเด็นดังกล่าวยังไม่เข้าใจ เพราะการพิจารณางบประมาณปฏิบัติกันในสภา
ในระหว่างการประชุมได้มีสมาชิกรัฐสภาได้อภิปรายกันหลายท่านและได้มี การผลัดเปลี่ยนการตอบข้อซักถาม
ของสมาชิกรัฐสภา อาทิ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นต้น สำหรับการประชุมในวันแรกนี้ สมาชิกรัฐสภาทั้งฝ่ายค้าน
และวุฒิสภา ได้อภิปรายซักถามให้ความสนใจเน้นเรื่องนโยบายการพักชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี และนโยบายจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมือง แห่งละ 1 ล้านบาท เป็นส่วนใหญ่ และเวลา20.00 นาฬิกา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ได้ต่อขอซักถามสมาชิกโดยชี้แจงว่า ต้องขออภัยใน ความสั้นของนโยบายที่ไม่ได้เขียนรายละเอียดไว้ เพราะทั้งนี้ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติงาน
จึงยังไม่สามารถลงในรายละเอียดได้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวต่อไปว่า สำหรับนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี โดยเอา ธ.ก.ส.
เป็นหลัก เพราะเกษตรกรได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติ หลายคนเป็นหนี้ดีใน ธ.ก.ส. แต่เป็นหนี้เสียนอกระบบ ซึ่งก่อนที่จะออกนโยบายนี้
เราได้ออกไปพบปะ กับเกษตรกรทั่วประเทศ เพื่อศึกษาปัญหาที่แท้จริงของเกษตรกร ส่วนนโยบายกองทุนหมู่บ้านนั้น เพราะต้องการ
ให้ประชาชนมีงานทำอยากให้มีแหล่งทุนที่จะไปทำงาน มั่นใจว่านโยบายดังกล่าวสามารถทำได้
หลังจากนั้น มีผู้ขออภิปรายอีกหลายท่าน และนางลดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงและสวัสดิการสังคม
ได้ชี้แจงนโยบายรัฐบาลเป็นคนสุดท้าย หลังจากตอบข้อซักถามของสมาชิกรัฐสภาจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ประธานรัฐสภาได้สั่งเลื่อนการ
พิจารณาไปในวันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2544 เวลา 09.30 นาฬิกา เลิกประชุมเวลา 21.30 นาฬิกา
สำหรับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันที่ 2 ของการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา โดยสมาชิกรัฐสภาทั้งฝ่ายค้าน
และวุฒิสภา ได้อภิปราย ซักถามถึงงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในเรื่องต่าง ๆ อาทิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร อภิปรายถึงนโยบายเร่งด่วนหลายเรื่องที่สามารถทำได้ แต่เป็นห่วงเรื่องนโยบายพักชำระหนี้ที่เกรงว่า
จะสร้างวัฒนธรรมการชำระหนี้ที่ไม่ดีแก่ลูกหนี้ นอกจากนี้ในเรื่องของ AMC ก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า เมื่อรัฐบาลนำหนี้เสียออกจากระบบแล้ว
ธนาคารจะสามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างปกติ ทั้งนี้ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงถึงนโยบาย
พักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย 3 ปี ว่า ในปัจจุบันนโยบายนี้ไม่ได้สร้างความตื่นตระหนักให้กับลูกค้าของ ธกส. เพราะการพักชำระหนี้และ
ดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ที่เป็นหนี้ไม่เกิน 1 แสนบาทนั้น ในส่วนของเงินต้นไม่ได้กระทบ ธกส. เพราะปกติเมื่อ ธกส.รับชำระเงินต้นก็ได้นำเงินนั้นให้
ลูกหนี้รายเดิมกู้ต่อไปอยู่แล้ว ส่วนเรื่องดอกเบี้ยนั้นรัฐบาลก็รับผิดชอบแทน สำหรับประเด็นที่เกรงจะสร้างวัฒนธรรมการไม่ชำระหนี้นั้น
ยืนยันได้ว่าขณะนี้ยังไม่เกิดปัญหานี้ กับ ธกส. เพราะ ลูกหนี้ชั้นดีที่สามารถชำระหนี้ก็จะได้สิทธิประโยชน์เฉพาะอย่าง สำหรับลูกค้ารายใหญ่ที่มีอยู่
ในข่ายพักชำระหนี้ก็ไม่รับผลกระทบกับนโยบายนี้ เนื่องจากมาตรการใดที่เป็นประโยชน์ที่ลูกหนี้ได้รับจาก ธกส.รัฐบาลไม่ได้แก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น
หลังจากนั้นสมาชิกหลายคนได้อภิปรายซักถามถึงนโยบาย 30 บาท ทุกโรคของกระทรวงสาธารณสุข โดยเห็นว่าจะทำให้
ประชาชนต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะได้รับการรักษาเพียงแค่ครั้งละ 30 บาท และเห็นว่าปัจจุบันก็มีการรักษาฟรีอยู่แล้ว
สำหรับประชาชน อาทิ ข้าราชการ และผู้สูงอายุ ซึ่งในเรื่องนี้นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงนโยบาย
ดังกล่าวว่าจะทำให้ประชาชนทั้งประเทศเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียม 30 บาท เท่านั้น และไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนบุคคลที่ได้รับการรักษาพยาบาลฟรีก็ยัง
คงได้รับสิทธิต่อไป นางสุดารัตน์ กล่าวว่าบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ก็คือบุคคลที่มี รายได้น้อย เกษตรกรพวกรับจ้างแรงงาน
ส่วนระยะเวลาดังกล่าวเป็นโครงการไม่สามารถทำได้เร็วกว่านี้ เพราะขึ้นปีงบประมาณใหม่แล้วและจะทำได้เร็วที่สุดคือ 1 ตุลาคม 2544
ระยะแรกผู้ประกันสุขภาพก็ยังคงอยู่ในระบบเดิม แต่ระยะที่สองจะเปลี่ยนให้เป็นระบบใหม่ในทุกพื้นที่ รับประกันได้ว่า ประชาชนจะได้รับ
การรักษาเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องใช้งบประมาณใหม่ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดทำงบประมาณเท่านั้น
สำหรับประเด็นในการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ส่วนใหญ่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
ทั้งการพักชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน ค่ารักษาพยาบาล 30 บาท รวมถึงการจัดตั้ง AMC ส่วนนโยบายด้านอื่น ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม
การต่างประเทศ ก็มีการอภิปรายกันในหลายแง่มุมตามความเห็นและประสบการณ์ของสมาชิกแต่ละคน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการฝากปัญหาให้กับรัฐบาล
เพื่อนำไปแก้ไข เมื่อสมาชิกอภิปรายจนได้เวลา พอสมควรแล้ว ประธานรัฐสภาได้สั่งเลื่อนการพิจารณาไปในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 เวลา 09.30 นาฬิกา เลิกประชุมเวลา 21.30 นาฬิกา
สำหรับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งเป็น วันสุดท้าย นั้น มีสมาชิกหลายท่าน
ได้อภิปรายเนื้อหาซึ่งครอบคลุมนโยบายหลายด้านด้วยกัน ส่วนใหญ่ได้อภิปรายมุ่งไปที่ด้านสังคม และการศึกษา ในส่วนของนโยบายทางด้าน
การศึกษา นั้น นายวิจิตร ศรีสอ้าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ นั้น
เป็นเรื่องที่ย้อนยุค ไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ โดยเห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจในนโยบายการศึกษาเท่าที่ควร
ในประเด็นดังกล่าว นายเกษม วัฒนชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ชี้แจง โดยยืนยันการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลนั้น
มาจากการระดมความคิดเห็นประชาชนทุกระดับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งพรรคไทยรักไทย จึงเชื่อว่าจะต้องตรงกับความต้องการของประชาชน
แม้จะไม่เป็นไปตามแนวทางของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติแต่ต้องถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว
หลังจากนั้น สมาชิกรัฐสภาได้อภิปราย นโยบายด้านการท่องเที่ยว โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งดูแลด้านการท่องเที่ยว ได้ชี้แจงถึงนโยบายดังกล่าวว่า แม้รัฐบาลที่ผ่านมาจะสามารถทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว
กว่า 8 แสนล้านบาท แต่ผลจากการที่ธุรกิจท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ได้สร้างความเสื่อมโทรมให้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเช่นกัน รัฐบาลจึงมีนโยบาย
เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว พร้อมแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งจะกระจาย
ไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในจุดต่าง ๆ ให้ได้รับประโยชน์ โดยทั่วกัน ดังนั้นรัฐบาลจึงมี 3 แนวคิด เพื่อสร้างรายได้จากแหล่งท่องเที่ยวดังนี้ คือ
ในแนวคิดที่ 1. จะต้องเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 2. ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง 3. เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนรวมในการ
จัดการเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว
จากนั้น สมาชิกพรรคร่วมฝ่ายค้านและวุฒิสมาชิกได้อภิปรายนโยบายรัฐบาลกันอย่างกว้างขวาง และเมื่อการอภิปรายซักถาม
นโยบายได้ยุติลงการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ตามมาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสรุปร่างนโยบาย
รัฐบาลว่า การพิจารณาร่างนโยบายครั้งนี้เป็นการพิจารณาที่สร้างสรรค์ที่สุด โดยเฉพาะคำแนะนำติติงของ สมาชิกรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นการ
หาเงินงบประมาณ หรือหนี้สาธารณะ และขอขอบคุณรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง ทีมวิชาการและข้าราชการที่ได้รวบรวมข้อมูลไว้ เพื่อปฏิบัติงาน
ตามนโยบายให้เป็น ไปอย่างรอบคอบประหยัด ไม่เสี่ยงต่อการบริหารประเทศ และขอให้คำมั่นใจว่าในฐานะหัวหน้ารัฐบาลจะไม่ใช้อำนาจ
ในทางที่ผิด ไร้คุณธรรม แต่จะใช้อำนาจด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของชาติ จะใช้หลักการบริหารนำการเมืองจะไม่ทุจริต
และยืนยันว่าจะทุ่มเทแรงกาย แรงใจ สมอง และจะใช้ภาวะการนำให้รัฐบาลชุดนี้ เป็นรัฐบาลที่ดี และมีประสิทธิภาพที่สุด
ต่อจากนั้น นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานในที่ประชุมได้สั่งปิดการประชุมเมื่อเวลา 23.00 นาฬิกา
-------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญทั่วไป) ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2544
เริ่มประชุมเวลา 09.40 นาฬิกา ณ ตึกรัฐสภา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และนายสนิท วรปัญญา
รองประธานรัฐสภา เป็นประธานในที่ประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว ประธานรัฐสภา กล่าวเปิดประชุมและแจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่อง ได้อนุญาตให้ถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง โดยวิทยุรัฐสภา และวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์
ในการประชุมทุกครั้ง สำหรับการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในครั้งนี้ได้อนุญาตให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี
ช่อง 9 อสมท. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น
การประชุม
ต่อจากนั้น ประธานรัฐสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน คือ คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
โดยพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ว่าประเทศไทยยังไม่พ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
ยังต้องได้รับการบริหารที่ ทุ่มเทเป็นพิเศษจะปล่อยให้การบริหารดำเนินไปเหมือนภาวะปกตินั้นไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจของประเทศ
อาจถลำลึกลงอีกจนยากที่จะเยียวยา ดังนั้น จึงต้องการการเปลี่ยนแปลงในแทบทุกมิติด้วยแนวคิดของนโยบายใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่ง
ข้อมูล ความรอบรู้และสติปัญญาที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญญา และทันโลกทันเหตุการณ์ ซึ่งปัจจุบันประชาชนทุกระดับได้รับความเดือดร้อน
อันเกิดจากมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งเป็นผลมาจากการตกงาน ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ กำลังซื้อของคนในประเทศตก รัฐบาล
จึงตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินนโยบาย เพื่อลดความยากจนและนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชน
มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย นำไปสู่การพอมีพอกิน และเหลือจากนั้น จึงนำไปสู่การสร้างชีวิตใหม่ โดยใช้กลไกทุกส่วนของภาครัฐในการสร้าง
โอกาสให้ประชาชนใช้ทุนทางปัญญา ศักยภาพส่วนตัว และสินทรัพย์ ที่มีอยู่ทำงานอย่างเต็มที่ เมื่อประชาชนมีรายได้ก็จะทำให้ครอบครัวมีรายได้
และประเทศชาติมีรายได้ ซึ่งจะกลายเป็นฐานภาษีใหม่ให้รัฐมีรายได้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การลดหนี้สินของประเทศในโอกาสต่อไป
และในสถานการณ์นี้ รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนทางสังคม ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ใช้เงินโดยไร้เป้าหมายเพราะการใช้จ่ายเงินเพียงอย่างเดียว
มักจะก่อให้เกิดการสูญเปล่านโยบายของรัฐบาล อาทิ กองทุนหมู่บ้าน การจัดตั้งธนาคารประชาชน จึงเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุน
เพื่อสร้างรายได้ใหม่ให้กับประชาชนและให้กับรัฐในที่สุด รัฐบาลตระหนักดีว่าประชาชนกำลังลำบาก เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องมีการปรับ
โครงสร้างหนี้ทั้งภาคประชาชน และภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์เบื้องต้นก่อนนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้
ดังนั้น ภารกิจเร่งด่วนและสำคัญยิ่งของรัฐบาล คือ การเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของ
ระบบเศรษฐกิจ การบริหาร สังคม และการเมือง โดยจะต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันการณ์ โ
ดยปัญหามี 2 ส่วน คือ
1. หยุดการหดตัวของเศรษฐกิจที่กำลังก่อปัญหาทางสังคมให้กับประเทศ
2. การแก้ไขและปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคม ไปสู่ความมีเสถียรภาพ
และความมั่นคงอันยั่งยืนของประเทศชาติ
ทั้งหมดนี้ จะไม่เป็นเพียงหยุดการทรุดตัวของเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะเป็นการกระจายโอกาสให้กับชีวิตประชาชน
ไม่ใช่เป็นเพียงการกระจายเงิน นอกจากนี้ยังเป็นการใช้ สินทรัพย์ที่สำคัญ คือ ภูมิปัญญา เพื่อก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเป็น
เศรษฐกิจที่อาศัยความรู้เป็นรากฐานของการหารายได้ รัฐบาลตระหนักว่า ประเทศไทยเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ มีวัฒนธรรม
อันเก่าแก่ นอกจากนั้น คนไทยยังมีทักษะฝีมือ ความมานะ และความขยันหมั่นเพียร ซึ่งถ้าได้รับการส่งเสริมและให้โอกาสจะเกิดการใช้
พลังในแผ่นดิน ซึ่งเป็นพลังทั้งจากมันสมองของประชาชน และพลังจากการบริหารทรัพย์สินของแผ่นดินไทยจะสร้างให้ประเทศไทยกลับขึ้นมา
แข็งแกร่งอีกครั้งให้คนไทยทุกคน กลับมายืนบนลำแข้งตัวเองได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน สามารถบรรลุถึงภารกิจและดำเนินไปด้วยแนวทางที่กล่าวมา รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบาย
บริหารราชการแผ่นดินไว้ โดยมีเนื้อหาแบ่งเป็น 16 ด้าน ดังนี้
1. นโยบายเร่งด่วน อาทิ
- พักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี
- จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งละ 1 ล้านบาท
- จัดตั้งธนาคารประชาชน
- จัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
- จัดตั้งบรรษัทกลางในการบริหารสินทรัพย์
- พัฒนารัฐวิสาหกิจ
- สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
- เร่งจัดตั้งสถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด ควบคู่ไปกับการปราบปรามและป้องกัน
2. นโยบายเศรษฐกิจ
- นโยบายด้านการคลัง
- นโยบายการเงิน สถาบันการเงิน และการลงทุน
3. นโยบายการสร้างรายได้ โดยมีแนวนโยบายครอบคลุม 3 ด้าน คือ เกษตร อุตสาหกรรม และการบริหาร
4. นโยบายการพาณิชย์ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาทิ
- ด้านการพาณิชย์
- ด้านการค้าสินค้า และบริการ
- ด้านการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
5. นโยบายด้านการคมนาคม
6. นโยบายการพัฒนาแรงงาน
7. นโยบายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
8. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
9. นโยบายการพลังงาน
10. นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง อาทิ
- ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ
- ด้านการกีฬา
- ด้านการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด
- ด้านครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ
- ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส
11. นโยบายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อาทิ
- ด้านการศึกษา
- ด้านการศาสนา
- ด้านวัฒนธรรม
12. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
13. นโยบายด้านการต่างประเทศ
14. นโยบายความปลอดภัยของประชาชน
15. นโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน อาทิ
- ด้านปฏิรูปการเมือง
- ด้านการบริหารราชการ
- ด้านการกระจายอำนาจ
- ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและการปฏิรูป
16. นโยบายพัฒนาภูมิภาคและกรุงเทพฯ อาทิ
- ด้านการพัฒนาภูมิภาค
- ด้านการพัฒนากรุงเทพฯ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในตอนท้ายว่าการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบาย
ของคณะรัฐมนตรี ตามที่กล่าวมาได้วางอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ
สถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน และเพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้ รัฐบาล
จะต้องปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานราชการ พัฒนาระบบการบริหารจัดการประเทศใหม่ และต้องเสนอร่างกฎหมาย
เพื่อให้การดำเนินนโยบายสำคัญเร่งด่วนสามารถบรรลุผลทางปฏิบัติและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อไป
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายจบแล้ว ประธานรัฐสภาได้ปรึกษาที่ประชุมว่าจะกำหนดเวลา
ให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายคนละ 15 นาที ยกเว้นหัวหน้าพรรคการเมืองให้อภิปรายได้โดยไม่กำหนดเวลา ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ จากนั้น นายชวน หลีกภัย พัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายนโยบายรัฐบาลเป็นคนแรก โดยอภิปราย
นโยบายรัฐบาลแทบทุกด้าน อาทิ นโยบาย พักการชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี นั้น อาจจะกลายเป็นการพอกหนี้ ดังนั้น
ขอให้คิดโดยรอบคอบ และวิธีการแก้ปัญหานั้นอย่าทำให้เกิดปัญหาใหม่ และอาจย้อนกลับไปสู่การไม่มีวินัยของลูกหนี้ เพราะ
การไม่มีวินัยไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร แต่วิกฤติของสถาบันการเงิน ทั้งหลายส่วนหนึ่งก็คือการไม่จ่าย ไม่ใช้ ไม่หนีสำหรับ
นโยบายการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละล้านบาท หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายว่าแนวคิดของ
นโยบายใหม่ก็คงจะเอามาจาก แนวคิดของรัฐบาลเดิม เพราะเคยทำโครงการการตั้งกองทุนให้หมู่บ้านละ 280,000 บาท
แต่มิได้เหมาทุกชุมชน ช่วยเฉพาะหมู่บ้านที่ยากจน แต่กรณี นโยบายการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งละล้านบาท
ของรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ นั้น ทำแบบเหมาโดยไม่ดูหมู่บ้านไหนรวยหรือจน ถ้าประเทศเราร่ำรวยก็ไม่เป็นอะไร
แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะฉะนั้นเงินทุกบาทจึงมีค่าสำหรับรัฐบาลที่จะใช้แก้ปัญหาอย่างแท้จริง
ต่อจากนั้นนายชวน หลีกภัย ได้กล่าวถึง นโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพของรัฐบาลว่า รัฐบาลที่ผ่านมาก็อยากทำ
แต่ทำไม่ได้ เพราะเงินมีน้อย แต่ก็ดีใจถ้าใครก็ตามที่พยายามจะช่วยคนจนประชาชนทุกคนก็จ่าย 30 บาทเท่ากัน ก็รู้ว่า
เสมอหน้ากันดี แต่คิดว่าเราคงไม่รวยถึงขนาดนั้น ไม่อยากให้คุณภาพที่ดีของหมอไทยต้องเปลี่ยนสภาพแวดล้อม เพราะ
นโยบายนี้ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายต่ออีกว่า ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเรื่องการปราบปรามยาเสพติด นโยบายที่จะ
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปราบคอรัปชั่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ ฯลฯ รัฐบาลควรจะทบทวนทุกโครงการและนโยบายทุก ๆ ด้าน
ให้รอบคอบและไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน
ด้านนายกร ทัพพะรังสี หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ได้อภิปรายโดยรวมว่า เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล
แต่ละด้านว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่อยากให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องชี้แจงถึงรายละเอียดของนโยบายด้านต่าง ๆ ให้ชัดเจน อาทิ นโยบาย
การจัดตั้งเอ เอ็ม ซี นโยบายการพักชำระหนี้เกษตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวินัยการเงินการคลัง เพราะไม่รู้ว่าลูกหนี้ที่มีวินัย
จะได้รับการพัก ชำระหนี้ด้วยหรือไม่ ส่วนนโยบายรักษาโรคละ 30 บาท ถือว่ารัฐบาลเน้นการรักษามากกว่าการป้องกัน สำหรับ
นโยบายที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในส่วนที่ว่า จะให้ผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนมีส่วนตรวจสอบการขอและการใช้งบประมาณนั้น
รู้สึกว่าประเด็นดังกล่าวยังไม่เข้าใจ เพราะการพิจารณางบประมาณปฏิบัติกันในสภา
ในระหว่างการประชุมได้มีสมาชิกรัฐสภาได้อภิปรายกันหลายท่านและได้มี การผลัดเปลี่ยนการตอบข้อซักถาม
ของสมาชิกรัฐสภา อาทิ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นต้น สำหรับการประชุมในวันแรกนี้ สมาชิกรัฐสภาทั้งฝ่ายค้าน
และวุฒิสภา ได้อภิปรายซักถามให้ความสนใจเน้นเรื่องนโยบายการพักชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี และนโยบายจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมือง แห่งละ 1 ล้านบาท เป็นส่วนใหญ่ และเวลา20.00 นาฬิกา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ได้ต่อขอซักถามสมาชิกโดยชี้แจงว่า ต้องขออภัยใน ความสั้นของนโยบายที่ไม่ได้เขียนรายละเอียดไว้ เพราะทั้งนี้ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติงาน
จึงยังไม่สามารถลงในรายละเอียดได้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวต่อไปว่า สำหรับนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี โดยเอา ธ.ก.ส.
เป็นหลัก เพราะเกษตรกรได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติ หลายคนเป็นหนี้ดีใน ธ.ก.ส. แต่เป็นหนี้เสียนอกระบบ ซึ่งก่อนที่จะออกนโยบายนี้
เราได้ออกไปพบปะ กับเกษตรกรทั่วประเทศ เพื่อศึกษาปัญหาที่แท้จริงของเกษตรกร ส่วนนโยบายกองทุนหมู่บ้านนั้น เพราะต้องการ
ให้ประชาชนมีงานทำอยากให้มีแหล่งทุนที่จะไปทำงาน มั่นใจว่านโยบายดังกล่าวสามารถทำได้
หลังจากนั้น มีผู้ขออภิปรายอีกหลายท่าน และนางลดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงและสวัสดิการสังคม
ได้ชี้แจงนโยบายรัฐบาลเป็นคนสุดท้าย หลังจากตอบข้อซักถามของสมาชิกรัฐสภาจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ประธานรัฐสภาได้สั่งเลื่อนการ
พิจารณาไปในวันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2544 เวลา 09.30 นาฬิกา เลิกประชุมเวลา 21.30 นาฬิกา
สำหรับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันที่ 2 ของการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา โดยสมาชิกรัฐสภาทั้งฝ่ายค้าน
และวุฒิสภา ได้อภิปราย ซักถามถึงงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในเรื่องต่าง ๆ อาทิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร อภิปรายถึงนโยบายเร่งด่วนหลายเรื่องที่สามารถทำได้ แต่เป็นห่วงเรื่องนโยบายพักชำระหนี้ที่เกรงว่า
จะสร้างวัฒนธรรมการชำระหนี้ที่ไม่ดีแก่ลูกหนี้ นอกจากนี้ในเรื่องของ AMC ก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า เมื่อรัฐบาลนำหนี้เสียออกจากระบบแล้ว
ธนาคารจะสามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างปกติ ทั้งนี้ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงถึงนโยบาย
พักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย 3 ปี ว่า ในปัจจุบันนโยบายนี้ไม่ได้สร้างความตื่นตระหนักให้กับลูกค้าของ ธกส. เพราะการพักชำระหนี้และ
ดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ที่เป็นหนี้ไม่เกิน 1 แสนบาทนั้น ในส่วนของเงินต้นไม่ได้กระทบ ธกส. เพราะปกติเมื่อ ธกส.รับชำระเงินต้นก็ได้นำเงินนั้นให้
ลูกหนี้รายเดิมกู้ต่อไปอยู่แล้ว ส่วนเรื่องดอกเบี้ยนั้นรัฐบาลก็รับผิดชอบแทน สำหรับประเด็นที่เกรงจะสร้างวัฒนธรรมการไม่ชำระหนี้นั้น
ยืนยันได้ว่าขณะนี้ยังไม่เกิดปัญหานี้ กับ ธกส. เพราะ ลูกหนี้ชั้นดีที่สามารถชำระหนี้ก็จะได้สิทธิประโยชน์เฉพาะอย่าง สำหรับลูกค้ารายใหญ่ที่มีอยู่
ในข่ายพักชำระหนี้ก็ไม่รับผลกระทบกับนโยบายนี้ เนื่องจากมาตรการใดที่เป็นประโยชน์ที่ลูกหนี้ได้รับจาก ธกส.รัฐบาลไม่ได้แก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น
หลังจากนั้นสมาชิกหลายคนได้อภิปรายซักถามถึงนโยบาย 30 บาท ทุกโรคของกระทรวงสาธารณสุข โดยเห็นว่าจะทำให้
ประชาชนต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะได้รับการรักษาเพียงแค่ครั้งละ 30 บาท และเห็นว่าปัจจุบันก็มีการรักษาฟรีอยู่แล้ว
สำหรับประชาชน อาทิ ข้าราชการ และผู้สูงอายุ ซึ่งในเรื่องนี้นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงนโยบาย
ดังกล่าวว่าจะทำให้ประชาชนทั้งประเทศเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียม 30 บาท เท่านั้น และไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนบุคคลที่ได้รับการรักษาพยาบาลฟรีก็ยัง
คงได้รับสิทธิต่อไป นางสุดารัตน์ กล่าวว่าบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ก็คือบุคคลที่มี รายได้น้อย เกษตรกรพวกรับจ้างแรงงาน
ส่วนระยะเวลาดังกล่าวเป็นโครงการไม่สามารถทำได้เร็วกว่านี้ เพราะขึ้นปีงบประมาณใหม่แล้วและจะทำได้เร็วที่สุดคือ 1 ตุลาคม 2544
ระยะแรกผู้ประกันสุขภาพก็ยังคงอยู่ในระบบเดิม แต่ระยะที่สองจะเปลี่ยนให้เป็นระบบใหม่ในทุกพื้นที่ รับประกันได้ว่า ประชาชนจะได้รับ
การรักษาเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องใช้งบประมาณใหม่ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดทำงบประมาณเท่านั้น
สำหรับประเด็นในการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ส่วนใหญ่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
ทั้งการพักชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน ค่ารักษาพยาบาล 30 บาท รวมถึงการจัดตั้ง AMC ส่วนนโยบายด้านอื่น ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม
การต่างประเทศ ก็มีการอภิปรายกันในหลายแง่มุมตามความเห็นและประสบการณ์ของสมาชิกแต่ละคน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการฝากปัญหาให้กับรัฐบาล
เพื่อนำไปแก้ไข เมื่อสมาชิกอภิปรายจนได้เวลา พอสมควรแล้ว ประธานรัฐสภาได้สั่งเลื่อนการพิจารณาไปในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 เวลา 09.30 นาฬิกา เลิกประชุมเวลา 21.30 นาฬิกา
สำหรับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งเป็น วันสุดท้าย นั้น มีสมาชิกหลายท่าน
ได้อภิปรายเนื้อหาซึ่งครอบคลุมนโยบายหลายด้านด้วยกัน ส่วนใหญ่ได้อภิปรายมุ่งไปที่ด้านสังคม และการศึกษา ในส่วนของนโยบายทางด้าน
การศึกษา นั้น นายวิจิตร ศรีสอ้าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ นั้น
เป็นเรื่องที่ย้อนยุค ไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ โดยเห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจในนโยบายการศึกษาเท่าที่ควร
ในประเด็นดังกล่าว นายเกษม วัฒนชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ชี้แจง โดยยืนยันการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลนั้น
มาจากการระดมความคิดเห็นประชาชนทุกระดับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งพรรคไทยรักไทย จึงเชื่อว่าจะต้องตรงกับความต้องการของประชาชน
แม้จะไม่เป็นไปตามแนวทางของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติแต่ต้องถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว
หลังจากนั้น สมาชิกรัฐสภาได้อภิปราย นโยบายด้านการท่องเที่ยว โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งดูแลด้านการท่องเที่ยว ได้ชี้แจงถึงนโยบายดังกล่าวว่า แม้รัฐบาลที่ผ่านมาจะสามารถทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว
กว่า 8 แสนล้านบาท แต่ผลจากการที่ธุรกิจท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ได้สร้างความเสื่อมโทรมให้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเช่นกัน รัฐบาลจึงมีนโยบาย
เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว พร้อมแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งจะกระจาย
ไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในจุดต่าง ๆ ให้ได้รับประโยชน์ โดยทั่วกัน ดังนั้นรัฐบาลจึงมี 3 แนวคิด เพื่อสร้างรายได้จากแหล่งท่องเที่ยวดังนี้ คือ
ในแนวคิดที่ 1. จะต้องเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 2. ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง 3. เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนรวมในการ
จัดการเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว
จากนั้น สมาชิกพรรคร่วมฝ่ายค้านและวุฒิสมาชิกได้อภิปรายนโยบายรัฐบาลกันอย่างกว้างขวาง และเมื่อการอภิปรายซักถาม
นโยบายได้ยุติลงการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ตามมาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสรุปร่างนโยบาย
รัฐบาลว่า การพิจารณาร่างนโยบายครั้งนี้เป็นการพิจารณาที่สร้างสรรค์ที่สุด โดยเฉพาะคำแนะนำติติงของ สมาชิกรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นการ
หาเงินงบประมาณ หรือหนี้สาธารณะ และขอขอบคุณรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง ทีมวิชาการและข้าราชการที่ได้รวบรวมข้อมูลไว้ เพื่อปฏิบัติงาน
ตามนโยบายให้เป็น ไปอย่างรอบคอบประหยัด ไม่เสี่ยงต่อการบริหารประเทศ และขอให้คำมั่นใจว่าในฐานะหัวหน้ารัฐบาลจะไม่ใช้อำนาจ
ในทางที่ผิด ไร้คุณธรรม แต่จะใช้อำนาจด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของชาติ จะใช้หลักการบริหารนำการเมืองจะไม่ทุจริต
และยืนยันว่าจะทุ่มเทแรงกาย แรงใจ สมอง และจะใช้ภาวะการนำให้รัฐบาลชุดนี้ เป็นรัฐบาลที่ดี และมีประสิทธิภาพที่สุด
ต่อจากนั้น นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานในที่ประชุมได้สั่งปิดการประชุมเมื่อเวลา 23.00 นาฬิกา
-------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร