กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (17 มกราคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่เมื่อเดือนมีนาคม 2543 ไทยได้ประสบปัญหากรณีคูเวตและซาอุดีอาระเบียห้ามนำเข้าสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง เนื่องจากทั้งสองประเทศกล่าวว่า สินค้าดังกล่าวของไทยมีส่วนผสมของการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) อยู่ด้วยโดยมิได้มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน ในการนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้ดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า ไทยมีการนำเข้าสินค้า GMOs เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ซึ่งในที่สุด ทั้งสองประเทศได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยไปแล้วด้วยดี เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาดว่า คณะกรรมการถาวรเพื่อติดตามความปลอดภัยของอาหารแห่งซาอุดีอาระเบียได้ออก คำสั่งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ให้ติดป้ายบนผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกพืชที่ผ่านกระบวนการตัดต่อพันธุกรรม (GMO) ชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือบางส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารได้ผ่านกระบวนการ GMO โดยคำชี้แจงในป้ายต้องเขียนด้วยตัวอักษรที่ชัดเจนง่ายต่อการอ่านทั้งภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสีของตัวอักษรต้องแตกต่างจากสีของป้ายด้วย
นอกจากนี้ อาหาร GMO ที่ประเทศต่างๆ จะส่งออกไปยังซาอุดีอาระเบียต้องเป็นอาหารที่ได้รับอนุญาตให้บริโภคได้ในประเทศผู้ผลิตอาหารดังกล่าว โดยต้องมีหนังสือรับรองเป็นทางการ และต้องเป็นอาหารที่ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของกฎหมายและจริยธรรมของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ อนึ่ง ระเบียบการบังคับให้ติดป้ายเรื่อง GMO นี้จะบังคับใช้ภายในเวลา 12 เดือน นับแต่วันที่ประกาศคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ซาอุดีอาระเบียที่ 1666 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 หรือเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2544
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (17 มกราคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่เมื่อเดือนมีนาคม 2543 ไทยได้ประสบปัญหากรณีคูเวตและซาอุดีอาระเบียห้ามนำเข้าสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง เนื่องจากทั้งสองประเทศกล่าวว่า สินค้าดังกล่าวของไทยมีส่วนผสมของการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) อยู่ด้วยโดยมิได้มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน ในการนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้ดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า ไทยมีการนำเข้าสินค้า GMOs เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ซึ่งในที่สุด ทั้งสองประเทศได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยไปแล้วด้วยดี เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาดว่า คณะกรรมการถาวรเพื่อติดตามความปลอดภัยของอาหารแห่งซาอุดีอาระเบียได้ออก คำสั่งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ให้ติดป้ายบนผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกพืชที่ผ่านกระบวนการตัดต่อพันธุกรรม (GMO) ชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือบางส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารได้ผ่านกระบวนการ GMO โดยคำชี้แจงในป้ายต้องเขียนด้วยตัวอักษรที่ชัดเจนง่ายต่อการอ่านทั้งภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสีของตัวอักษรต้องแตกต่างจากสีของป้ายด้วย
นอกจากนี้ อาหาร GMO ที่ประเทศต่างๆ จะส่งออกไปยังซาอุดีอาระเบียต้องเป็นอาหารที่ได้รับอนุญาตให้บริโภคได้ในประเทศผู้ผลิตอาหารดังกล่าว โดยต้องมีหนังสือรับรองเป็นทางการ และต้องเป็นอาหารที่ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของกฎหมายและจริยธรรมของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ อนึ่ง ระเบียบการบังคับให้ติดป้ายเรื่อง GMO นี้จะบังคับใช้ภายในเวลา 12 เดือน นับแต่วันที่ประกาศคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ซาอุดีอาระเบียที่ 1666 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 หรือเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2544
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-