ปลัดกระทรวงพาณิชย์ชี้แจงบทบาทภาคราชการและเอกชนต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดและมีทิศทางเดียวกันเพื่อรับมือการค้าเสรีนายเกริกไกร จีระแพทย์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “บทบาทของภาคราชการและเอกชนในการรับมือการค้าเสรี" เมื่อเร็ว ๆ นี้ เกี่ยวกับผลพวงการเปิดเสรีการค้าไทยเอื้อประโยชน์อะไร และควรรับมืออย่างไร
“ประเทศต่าง ๆ ในหลายภูมิภาคทั่วโลกทั้งเอเชีย อเมริกาใต้ ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา จีน สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ชิลี เม็กซิโก ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องการเปิดเสรีการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับ ทวิภาคี ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับพหุภาคีแทบทั้งสิ้น เพราะประเทศเหล่านี้ต่างเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจาการเปิดเสรีกันทั้งนั้น
สำหรับการเปิดเสรีการค้าของประเทศไทยเอง ก็ย่อมต้องเกิดประโยชน์เช่นกัน เพราะเวทีการค้าเสรีจะทำให้เราสามารถนำสินค้าที่มีศักยภาพของประเทศออกไปขาย ภายใต้กฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่มีความเป็นธรรมและเสรีมากขึ้น อันจะช่วยเพิ่มโอกาสและอำนาจต่อรองให้แก่เรามากขึ้น เช่น ในเวทีองค์การการค้าโลกนั้น ก็ใช้หลักการต่างตอบแทน ลักษณะยื่นหมูยื่นแมว ในการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยกระทรวงพาณิชย์เองรับบทบาทเป็นผู้ประสานงานในการเจรจาภายใต้หลักของความโปร่งใส และชัดเจนในทุกลำดับขั้นตอน ก่อนที่จะมีการให้สัตยาบัน”ดังนั้นการเปิดเสรีการค้าจึงก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยโดยรวม มากกว่าการเสียประโยชน์ จะเห็นได้จากตลาดสินค้าไทยที่ขยายตัวมากขึ้น ขนาดการผลิตที่เพิ่มขึ้น ผู้บริโภคที่มีโอกาสซื้อสินค้าในราคาถูกลง และเศรษฐกิจการค้าของไทยที่ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
“ผมสามารถบอกผลพวงของการเปิดการค้าเสรีต่อเศรษฐกิจได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่โตขึ้น GDP ของเราสูงขึ้น การค้าระหว่างประเทศเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 18% สิ่งเหล่านี้เกิดจากการค้าทั้งสิ้น ปัจจุบันพลังทางเศรษฐกิจของประเทศมาจากการส่งออกถึง 45 % ขณะที่อนาคตขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ข้อ คือ นโยบาย ความเชื่อมั่นต่อภาครัฐ และการส่งออก
ในส่วนของการส่งออกเรามีความสามารถในการปรับตัว และการฉกฉวยโอกาสที่ดีอยู่แล้ว แต่การปรับโครงสร้างการผลิตไม่ได้ทำเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะทำให้เราเสียเปรียบประทศคู่แข่งขันได้ ปัจจุบันการผลิตต้องคำนึงถึงความสะอาด สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และการใช้วัตถุดิบที่สามารถสืบหาต้นตอได้ ขณะเดียวกันก็ต้องแข่งขันในเรื่องวิธีทำการค้าด้วย โดยจำเป็นต้องใช้วิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาวิธีการค้า เพื่อให้เราสามารถรับมือกับการเปิดเสรีการค้าได้ และหลักสำคัญที่ต้องยึดถือคือ ความเป็นธรรม การควบคุมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และร่วมมือกันสร้างกลไกระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐให้ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน”
--สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์--
-อน-
“ประเทศต่าง ๆ ในหลายภูมิภาคทั่วโลกทั้งเอเชีย อเมริกาใต้ ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา จีน สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ชิลี เม็กซิโก ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องการเปิดเสรีการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับ ทวิภาคี ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับพหุภาคีแทบทั้งสิ้น เพราะประเทศเหล่านี้ต่างเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจาการเปิดเสรีกันทั้งนั้น
สำหรับการเปิดเสรีการค้าของประเทศไทยเอง ก็ย่อมต้องเกิดประโยชน์เช่นกัน เพราะเวทีการค้าเสรีจะทำให้เราสามารถนำสินค้าที่มีศักยภาพของประเทศออกไปขาย ภายใต้กฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่มีความเป็นธรรมและเสรีมากขึ้น อันจะช่วยเพิ่มโอกาสและอำนาจต่อรองให้แก่เรามากขึ้น เช่น ในเวทีองค์การการค้าโลกนั้น ก็ใช้หลักการต่างตอบแทน ลักษณะยื่นหมูยื่นแมว ในการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยกระทรวงพาณิชย์เองรับบทบาทเป็นผู้ประสานงานในการเจรจาภายใต้หลักของความโปร่งใส และชัดเจนในทุกลำดับขั้นตอน ก่อนที่จะมีการให้สัตยาบัน”ดังนั้นการเปิดเสรีการค้าจึงก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยโดยรวม มากกว่าการเสียประโยชน์ จะเห็นได้จากตลาดสินค้าไทยที่ขยายตัวมากขึ้น ขนาดการผลิตที่เพิ่มขึ้น ผู้บริโภคที่มีโอกาสซื้อสินค้าในราคาถูกลง และเศรษฐกิจการค้าของไทยที่ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
“ผมสามารถบอกผลพวงของการเปิดการค้าเสรีต่อเศรษฐกิจได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่โตขึ้น GDP ของเราสูงขึ้น การค้าระหว่างประเทศเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 18% สิ่งเหล่านี้เกิดจากการค้าทั้งสิ้น ปัจจุบันพลังทางเศรษฐกิจของประเทศมาจากการส่งออกถึง 45 % ขณะที่อนาคตขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ข้อ คือ นโยบาย ความเชื่อมั่นต่อภาครัฐ และการส่งออก
ในส่วนของการส่งออกเรามีความสามารถในการปรับตัว และการฉกฉวยโอกาสที่ดีอยู่แล้ว แต่การปรับโครงสร้างการผลิตไม่ได้ทำเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะทำให้เราเสียเปรียบประทศคู่แข่งขันได้ ปัจจุบันการผลิตต้องคำนึงถึงความสะอาด สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และการใช้วัตถุดิบที่สามารถสืบหาต้นตอได้ ขณะเดียวกันก็ต้องแข่งขันในเรื่องวิธีทำการค้าด้วย โดยจำเป็นต้องใช้วิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาวิธีการค้า เพื่อให้เราสามารถรับมือกับการเปิดเสรีการค้าได้ และหลักสำคัญที่ต้องยึดถือคือ ความเป็นธรรม การควบคุมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และร่วมมือกันสร้างกลไกระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐให้ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน”
--สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์--
-อน-