1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
หอมหัวใหญ่ : การนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ปี 2543
จากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ปี 2543 จำนวน 6.311 ตัน ( 13,900 ปอนด์) โดยชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้า และคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง คราวประชุมเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 ได้มีมติเห็นชอบให้ผู้รับซื้อหอมหัวใหญ่มีสิทธินำเข้าภายใต้โควตาชุมนุมฯ แต่จากการที่ได้มีการประสานงานระหว่างชุมนุมฯ บริษัทรับซื้อมันฝรั่ง เพื่อทำสัญญาข้อตกลงในการรับซื้อผลผลิตมันฝรั่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ ราคามันฝรั่งสด (รวมใบ) เกรดคละขั้นต่ำกิโลกรัมละ 3.00 บาท และราคามันฝรั่งสด (ตัดใบ) เกรดคละขั้นต่ำกิโลกรัมละ 4.30 บาท ปรากฎว่ายังไม่มีบริษัทใด ๆ ทำสัญญากับสหกรณ์เลย อาจจะส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกของเกษตรกร คณะอนุกรรมการฯ จึงได้มีการพิจารณาแล้ว และเห็นควรให้สหกรณ์แต่ละสหกรณ์นำสมาชิกมาทำข้อตกลงการนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่เป็นรายบุคคล ในปี 2543 กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยรับรองว่าจะรับผิดชอบด้วยตนเองและไม่เรียกร้องใด ๆ กับทางราชการ ยกเว้นกรณีเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติเพียงกรณีเดียวที่ทางราชการจะให้ความช่วยเหลือเกษตรกร
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : คชก. อนุมัติรับจำนำข้าวโพดปี 2543/44
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติจากการประชุมครั้งที่ 9/2543 เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2543 ให้แทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2543/44 ด้วยการรับจำนำเช่นเดียวกับการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2542/43 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่คาดว่าจะได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาข้าวโพด ปี 2543/44 ตกต่ำในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1) กำหนดราคาเป้าหมายนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ความชื้นไม่เกิน 14.5 %) ณ แหล่งผลิต กก. ละ 4.10 บาท
2) เป้าหมายการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2543/44 จำนวน 500,000 ตัน ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) รับจำนำจากเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางจำนวน 250,000 ตัน และ 150,000 ตัน ตามลำดับ และให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำจากเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตนเองจำนวน 100,000 ตัน ราคารับจำนำ ณ แหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3.90 บาท หรือหน้าไซโลกิโลกรัมละ 4.10 บาท โดยเกษตรกรเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 โดยใช้หลักการณ์เดียวกับการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2542/43
3) ระยะเวลารับจำนำ สิงหาคม - ธันวาคม 2543 ระยะเวลาไถ่ถอนภายใน 4 เดือนนับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการ สิงหาคม 2543 - มิถุนายน 2544
4) อนุมัติเงินจ่ายขาดวงเงินรวม 189.675 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการตามที่จ่ายจริง ตามช่วงเวลารับจำนำและในอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว ให้ อคส. เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เกษตรกร และให้โอนหนี้ของเกษตรกรที่จำนำใบประทวนสินค้าเป็นหนี้ของ อตก. และ อคส.
5) อนุมัติในหลักการให้ผูกพันภาระที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างราคารับจำนำกับ ราคาขายตามที่เป็นจริง โดยกองทุนรวมจะไม่รับภาระค่าเสียหายอื่น ๆ เช่นการสูญเสียน้ำหนัก และการเสื่อมคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่วางไว้นอกเหนือจากกรอบที่อนุมัติไว้แล้ว
ลำไย : ปัญหาข่าวสารตกค้างเกินมาตรฐาน
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตามที่ได้มีข่าวว่าประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และสาธารณรัฐประชาชนจีน ห้ามนำเข้าลำไยสดจากประเทศไทย โดยอ้างว่ามีสารซัลเฟอร์-ไดออกไซด์ตกค้างที่เนื้อลำไยเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทำให้มีผลกระทบต่อการส่งออก และราคาที่เกษตรกรได้รับตกต่ำนั้น กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องลำไยอย่างครบวงจร ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยเชิญผู้ส่งออกและสื่อมวลชนต่าง ๆ มารับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณภาพลำไยส่งออกของไทย เป็นลำไยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้เนื่องจากกรมวิชาการเกษตรได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหาร ดำเนินการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการส่งออกลำไยให้มีความรู้ในการรมควันด้วยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์อย่างถูกต้องก่อนส่งออก นอกจากนี้ยังได้มีการดำเนินการทั้งในด้านการดูแลการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสมของเกษตรกร ด้านการรับรองโรงรม การตรวจสอบสารตกค้างต่างๆ รวมทั้งออกใบรับรอง ตลอดจนการจดทะเบียนผู้ส่งออก และได้มีหนังสือแจ้งไปยังที่ปรึกษาการพาณิชย์ประจำเมืองต่าง ๆ ดังกล่าว เพื่อชี้แจงหน่วยราชการที่รับผิดชอบ ผู้นำเข้า และสื่อมวลชนให้ทราบถึงข้อเท็จจริงของลำไยไทย ส่งผลให้ผู้นำเข้าและผู้บริโภคได้รับข้อมูลอย่างถูกต้อง ทำให้ในสัปดาห์นี้สามารถส่งออกได้เช่นเดิม มีผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้โน้มสูงขึ้น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 31 ก.ค.- 6 ส.ค. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
หอมหัวใหญ่ : การนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ปี 2543
จากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ปี 2543 จำนวน 6.311 ตัน ( 13,900 ปอนด์) โดยชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้า และคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง คราวประชุมเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 ได้มีมติเห็นชอบให้ผู้รับซื้อหอมหัวใหญ่มีสิทธินำเข้าภายใต้โควตาชุมนุมฯ แต่จากการที่ได้มีการประสานงานระหว่างชุมนุมฯ บริษัทรับซื้อมันฝรั่ง เพื่อทำสัญญาข้อตกลงในการรับซื้อผลผลิตมันฝรั่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ ราคามันฝรั่งสด (รวมใบ) เกรดคละขั้นต่ำกิโลกรัมละ 3.00 บาท และราคามันฝรั่งสด (ตัดใบ) เกรดคละขั้นต่ำกิโลกรัมละ 4.30 บาท ปรากฎว่ายังไม่มีบริษัทใด ๆ ทำสัญญากับสหกรณ์เลย อาจจะส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกของเกษตรกร คณะอนุกรรมการฯ จึงได้มีการพิจารณาแล้ว และเห็นควรให้สหกรณ์แต่ละสหกรณ์นำสมาชิกมาทำข้อตกลงการนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่เป็นรายบุคคล ในปี 2543 กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยรับรองว่าจะรับผิดชอบด้วยตนเองและไม่เรียกร้องใด ๆ กับทางราชการ ยกเว้นกรณีเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติเพียงกรณีเดียวที่ทางราชการจะให้ความช่วยเหลือเกษตรกร
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : คชก. อนุมัติรับจำนำข้าวโพดปี 2543/44
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติจากการประชุมครั้งที่ 9/2543 เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2543 ให้แทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2543/44 ด้วยการรับจำนำเช่นเดียวกับการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2542/43 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่คาดว่าจะได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาข้าวโพด ปี 2543/44 ตกต่ำในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1) กำหนดราคาเป้าหมายนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ความชื้นไม่เกิน 14.5 %) ณ แหล่งผลิต กก. ละ 4.10 บาท
2) เป้าหมายการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2543/44 จำนวน 500,000 ตัน ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) รับจำนำจากเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางจำนวน 250,000 ตัน และ 150,000 ตัน ตามลำดับ และให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำจากเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตนเองจำนวน 100,000 ตัน ราคารับจำนำ ณ แหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3.90 บาท หรือหน้าไซโลกิโลกรัมละ 4.10 บาท โดยเกษตรกรเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 โดยใช้หลักการณ์เดียวกับการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2542/43
3) ระยะเวลารับจำนำ สิงหาคม - ธันวาคม 2543 ระยะเวลาไถ่ถอนภายใน 4 เดือนนับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการ สิงหาคม 2543 - มิถุนายน 2544
4) อนุมัติเงินจ่ายขาดวงเงินรวม 189.675 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการตามที่จ่ายจริง ตามช่วงเวลารับจำนำและในอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว ให้ อคส. เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เกษตรกร และให้โอนหนี้ของเกษตรกรที่จำนำใบประทวนสินค้าเป็นหนี้ของ อตก. และ อคส.
5) อนุมัติในหลักการให้ผูกพันภาระที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างราคารับจำนำกับ ราคาขายตามที่เป็นจริง โดยกองทุนรวมจะไม่รับภาระค่าเสียหายอื่น ๆ เช่นการสูญเสียน้ำหนัก และการเสื่อมคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่วางไว้นอกเหนือจากกรอบที่อนุมัติไว้แล้ว
ลำไย : ปัญหาข่าวสารตกค้างเกินมาตรฐาน
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตามที่ได้มีข่าวว่าประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และสาธารณรัฐประชาชนจีน ห้ามนำเข้าลำไยสดจากประเทศไทย โดยอ้างว่ามีสารซัลเฟอร์-ไดออกไซด์ตกค้างที่เนื้อลำไยเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทำให้มีผลกระทบต่อการส่งออก และราคาที่เกษตรกรได้รับตกต่ำนั้น กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องลำไยอย่างครบวงจร ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยเชิญผู้ส่งออกและสื่อมวลชนต่าง ๆ มารับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณภาพลำไยส่งออกของไทย เป็นลำไยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้เนื่องจากกรมวิชาการเกษตรได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสถาบันอาหาร ดำเนินการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการส่งออกลำไยให้มีความรู้ในการรมควันด้วยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์อย่างถูกต้องก่อนส่งออก นอกจากนี้ยังได้มีการดำเนินการทั้งในด้านการดูแลการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสมของเกษตรกร ด้านการรับรองโรงรม การตรวจสอบสารตกค้างต่างๆ รวมทั้งออกใบรับรอง ตลอดจนการจดทะเบียนผู้ส่งออก และได้มีหนังสือแจ้งไปยังที่ปรึกษาการพาณิชย์ประจำเมืองต่าง ๆ ดังกล่าว เพื่อชี้แจงหน่วยราชการที่รับผิดชอบ ผู้นำเข้า และสื่อมวลชนให้ทราบถึงข้อเท็จจริงของลำไยไทย ส่งผลให้ผู้นำเข้าและผู้บริโภคได้รับข้อมูลอย่างถูกต้อง ทำให้ในสัปดาห์นี้สามารถส่งออกได้เช่นเดิม มีผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้โน้มสูงขึ้น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 31 ก.ค.- 6 ส.ค. 2543--
-สส-