แท็ก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย ขอรายงานความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของระบบสถาบันการเงิน และลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน.ดังนี้
1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 สถาบันการเงินได้เร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้วจำนวน 352,196 ราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 1,953,520 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 จำนวน 16,233 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 4.83 เป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 98,297 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.30 โดยส่วนใหญ่จะเป็นลูกหนี้ประเภทการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล รองลงมาคือ การค้าส่งค้าปลีก และการเกษตรประมงป่าไม้ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังเป็นลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นหลัก ทั้งนี้ สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 มีจำนวน 76,251 ราย มูลหนี้ 386,854 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นเดือนพฤศจิกายน 3,566 ราย ยอดมูลหนี้ลดลง 67,815 ล้านบาท (ตาราง 1-4)
สำหรับตลอดปี 2543 ที่ผ่านมา ช่วง 6 เดือนแรก สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้มากกว่าช่วงครึ่งปีหลัง จากอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งระบบของครึ่งปีแรกอยู่ที่ประมาณ 86,210 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่ช่วงครึ่งปีหลังลดลงเหลือ 60,690 ล้านบาท โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งของการเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกเนื่องมาจากลูกหนี้เป้าหมายกลุ่ม 1 และ 2 ของ คปน.ที่เข้ากระบวนการตั้งแต่กลางปี 2542 ได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเป็นส่วนมากในช่วงดังกล่าว ส่วนในช่วงครึ่งปีหลัง การปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีแนวโน้มลดลงส่วนหนึ่งเนื่องจากลูกหนี้เป้าหมายกลุ่ม 3 ที่ทยอยปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในช่วงนี้ เป็นลูกหนี้ที่มีมูลหนี้ต่อรายน้อย และลูกหนี้เป้าหมายกลุ่มที่ 4 ของ คปน.ซึ่งเพิ่งเข้าสู่กระบวนการในช่วงกลางปียังอยู่ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งสถาบันการเงินบางแห่งได้โอนลูกหนี้ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนรายลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งระบบ จะค่อนข้างคงที่ในอัตราเฉลี่ย 14,870 รายต่อเดือน ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ให้สถาบันการเงินทั้งระบบดำเนินการเดือนละ 16,000 ราย โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 เป็นต้นมา
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2542 ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในปี 2543 มีจำนวนเพิ่มขึ้น 178,487 ราย มูลหนี้ 881,425 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณเดือนละ 14,870 ราย มูลหนี้เฉลี่ยต่อเดือน 73,450 ล้านบาท เมื่อเทียบกับยอดเพิ่มขึ้นเฉลี่ยของปี 2542 ที่ประมาณเดือนละ 13,724 ราย มูลหนี้ 76,270 ล้านบาท จะพบว่าจำนวนรายของปี 2543 มากกว่า ในขณะที่มูลหนี้น้อยกว่า แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จในปี 2543 ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อยที่มีมูลหนี้ต่อรายต่ำกว่าปี 2542
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)
ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 คปน. มีลูกหนี้เป้าหมายรวมทั้งสิ้น 12,027 ราย มูลหนี้ 2,604,712 ล้านบาท โดยมีลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้าสู่กระบวนการจำนวน 8,066 ราย มูลหนี้ 1,597,560 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 67 ของจำนวนลูกหนี้เป้าหมายทั้งสิ้น สรุปความคืบหน้า
ในการดำเนินการ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ดังนี้ (ตาราง 5)
1. ลูกหนี้เป้าหมายที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 6,488 ราย มูลหนี้ 1,159,550 ล้านบาท ซึ่งเป็นร้อยละ 73 ของลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้ากระบวนการทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันจัดทำสัญญาสำเร็จแล้ว จำนวน 6,296 ราย มูลหนี้ 966,447 ล้านบาท และอยู่ในระหว่างการจัดทำสัญญา หรือยื่นเข้าสู่กระบวนการศาลฟื้นฟู จำนวน 192 ราย มูลหนี้ 193,103 ล้านบาท โดยลูกหนี้ที่สามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จส่วนใหญ่อยู่ในภาคธุรกิจการพาณิชย์ จำนวน 1,649 ราย (ร้อยละ 25.42) รองลงมาคือ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล จำนวน 1,521 ราย (ร้อยละ 23.44) และภาคธุรกิจอุตสาหกรรม จำนวน 1,088 ราย (ร้อยละ 16.77) ตามลำดับ
2. ลูกหนี้เป้าหมายที่คงเหลือในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของคปน. มีจำนวน 548 ราย มูลหนี้รวม 67,237 ล้านบาท โดยมีลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่เหลือเพียง 223 ราย มูลหนี้ 50,342 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะทยอยมีข้อสรุปได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2544 ส่วนลูกหนี้เป้าหมายรายกลาง รายย่อย ปัจจุบันยังคงเหลือในกระบวนการของบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อีก 325 ราย มูลหนี้ 16,985 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างรอลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการอีก 1,216 ราย มูลหนี้ 4,817 ล้านบาท
3. ลูกหนี้เป้าหมายซึ่งสถาบันการเงินต้องนำเข้าสู่การดำเนินการทางศาลเนื่องจาก ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จภายใต้กระบวนการของคปน. รวมทั้งเป็นลูกหนี้ที่ไม่เข้าสู่กระบวนการ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,715 ราย มูลหนี้ 1,213,446 ล้านบาท
สำหรับการดำเนินงานในปี 2544 นั้น คปน. จะยังคงรับลูกหนี้ที่ยังมีคงค้างในระบบอยู่บ้างเป็นลูกหนี้เป้าหมายตามสัญญา DCA/ICA โดยส่วนหนึ่งจะเป็นลูกหนี้ที่สถาบันการเงินร้องขอและเป็นผู้เสนอรายชื่อ รวมทั้งในกรณีที่ลูกหนี้ขอเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน. เอง ทั้งนี้ การนำลูกหนี้เข้าระบบดังกล่าวจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การรับลูกหนี้รายใหม่ ซึ่งสมาคมเจ้าหนี้ทั้ง 3 แห่งอยู่ในระหว่างการทบทวน ส่วนกรณีลูกหนี้รายกลางรายย่อยนั้น คปน. จะยังคงดำเนินมาตรการกำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งรายชื่อลูกหนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดว่า 3 ใน 4 ของลูกหนี้ที่นำเข้าระบบนั้นจะต้องเป็นลูกหนี้ SMEs และคปน. จะยังคงเร่งรัดให้สถาบันการเงินดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะแตกต่างไปตามขนาดของสถาบันการเงิน ตลอดจนความเหมาะสมกับสถานการณ์และสอดคล้องกับจำนวนลูกหนี้ที่คงเหลืออยู่ในสถาบันการเงินแต่ละแห่งรวมทั้งความสามารถในการดำเนินการของสถาบันการเงินประกอบด้วย
อนึ่ง ในปี 2544 นี้ ขอบเขตงานของสปน. จะขยายให้ครอบคลุม และสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัทบริหารสินทรัพย์เพิ่มเติมจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อีกด้วย
นอกจากนี้สปน.ยังได้ดำเนินมาตรการสนับสนุนและเร่งรัดการแก้ปัญหาลูกหนี้ NPL อื่นๆอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการให้สินเชื่อเพิ่มเป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินทุนระยะยาวให้แก่ SMEs ที่เป็น NPL รวมทั้งประสานงานในการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาลซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นเจ้าของเรื่องและกำลังเร่งรัดการดำเนินการอยู่แล้ว และเป็นที่คาดหวังว่าการดำเนินการในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการเงินของศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาล และศูนย์ไกล่เกลี่ยของสำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม จะช่วยให้คู่กรณีมีข้อยุติเร็วขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/5 กุมภาพันธ์ 2544--
-ยก-
1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 สถาบันการเงินได้เร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้วจำนวน 352,196 ราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 1,953,520 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 จำนวน 16,233 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 4.83 เป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 98,297 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.30 โดยส่วนใหญ่จะเป็นลูกหนี้ประเภทการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล รองลงมาคือ การค้าส่งค้าปลีก และการเกษตรประมงป่าไม้ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังเป็นลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นหลัก ทั้งนี้ สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 มีจำนวน 76,251 ราย มูลหนี้ 386,854 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นเดือนพฤศจิกายน 3,566 ราย ยอดมูลหนี้ลดลง 67,815 ล้านบาท (ตาราง 1-4)
สำหรับตลอดปี 2543 ที่ผ่านมา ช่วง 6 เดือนแรก สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้มากกว่าช่วงครึ่งปีหลัง จากอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งระบบของครึ่งปีแรกอยู่ที่ประมาณ 86,210 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่ช่วงครึ่งปีหลังลดลงเหลือ 60,690 ล้านบาท โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งของการเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกเนื่องมาจากลูกหนี้เป้าหมายกลุ่ม 1 และ 2 ของ คปน.ที่เข้ากระบวนการตั้งแต่กลางปี 2542 ได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเป็นส่วนมากในช่วงดังกล่าว ส่วนในช่วงครึ่งปีหลัง การปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีแนวโน้มลดลงส่วนหนึ่งเนื่องจากลูกหนี้เป้าหมายกลุ่ม 3 ที่ทยอยปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในช่วงนี้ เป็นลูกหนี้ที่มีมูลหนี้ต่อรายน้อย และลูกหนี้เป้าหมายกลุ่มที่ 4 ของ คปน.ซึ่งเพิ่งเข้าสู่กระบวนการในช่วงกลางปียังอยู่ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งสถาบันการเงินบางแห่งได้โอนลูกหนี้ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนรายลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งระบบ จะค่อนข้างคงที่ในอัตราเฉลี่ย 14,870 รายต่อเดือน ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ให้สถาบันการเงินทั้งระบบดำเนินการเดือนละ 16,000 ราย โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 เป็นต้นมา
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2542 ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในปี 2543 มีจำนวนเพิ่มขึ้น 178,487 ราย มูลหนี้ 881,425 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณเดือนละ 14,870 ราย มูลหนี้เฉลี่ยต่อเดือน 73,450 ล้านบาท เมื่อเทียบกับยอดเพิ่มขึ้นเฉลี่ยของปี 2542 ที่ประมาณเดือนละ 13,724 ราย มูลหนี้ 76,270 ล้านบาท จะพบว่าจำนวนรายของปี 2543 มากกว่า ในขณะที่มูลหนี้น้อยกว่า แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จในปี 2543 ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อยที่มีมูลหนี้ต่อรายต่ำกว่าปี 2542
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)
ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 คปน. มีลูกหนี้เป้าหมายรวมทั้งสิ้น 12,027 ราย มูลหนี้ 2,604,712 ล้านบาท โดยมีลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้าสู่กระบวนการจำนวน 8,066 ราย มูลหนี้ 1,597,560 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 67 ของจำนวนลูกหนี้เป้าหมายทั้งสิ้น สรุปความคืบหน้า
ในการดำเนินการ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ดังนี้ (ตาราง 5)
1. ลูกหนี้เป้าหมายที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 6,488 ราย มูลหนี้ 1,159,550 ล้านบาท ซึ่งเป็นร้อยละ 73 ของลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้ากระบวนการทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันจัดทำสัญญาสำเร็จแล้ว จำนวน 6,296 ราย มูลหนี้ 966,447 ล้านบาท และอยู่ในระหว่างการจัดทำสัญญา หรือยื่นเข้าสู่กระบวนการศาลฟื้นฟู จำนวน 192 ราย มูลหนี้ 193,103 ล้านบาท โดยลูกหนี้ที่สามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จส่วนใหญ่อยู่ในภาคธุรกิจการพาณิชย์ จำนวน 1,649 ราย (ร้อยละ 25.42) รองลงมาคือ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล จำนวน 1,521 ราย (ร้อยละ 23.44) และภาคธุรกิจอุตสาหกรรม จำนวน 1,088 ราย (ร้อยละ 16.77) ตามลำดับ
2. ลูกหนี้เป้าหมายที่คงเหลือในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของคปน. มีจำนวน 548 ราย มูลหนี้รวม 67,237 ล้านบาท โดยมีลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่เหลือเพียง 223 ราย มูลหนี้ 50,342 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะทยอยมีข้อสรุปได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2544 ส่วนลูกหนี้เป้าหมายรายกลาง รายย่อย ปัจจุบันยังคงเหลือในกระบวนการของบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อีก 325 ราย มูลหนี้ 16,985 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างรอลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการอีก 1,216 ราย มูลหนี้ 4,817 ล้านบาท
3. ลูกหนี้เป้าหมายซึ่งสถาบันการเงินต้องนำเข้าสู่การดำเนินการทางศาลเนื่องจาก ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จภายใต้กระบวนการของคปน. รวมทั้งเป็นลูกหนี้ที่ไม่เข้าสู่กระบวนการ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,715 ราย มูลหนี้ 1,213,446 ล้านบาท
สำหรับการดำเนินงานในปี 2544 นั้น คปน. จะยังคงรับลูกหนี้ที่ยังมีคงค้างในระบบอยู่บ้างเป็นลูกหนี้เป้าหมายตามสัญญา DCA/ICA โดยส่วนหนึ่งจะเป็นลูกหนี้ที่สถาบันการเงินร้องขอและเป็นผู้เสนอรายชื่อ รวมทั้งในกรณีที่ลูกหนี้ขอเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน. เอง ทั้งนี้ การนำลูกหนี้เข้าระบบดังกล่าวจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การรับลูกหนี้รายใหม่ ซึ่งสมาคมเจ้าหนี้ทั้ง 3 แห่งอยู่ในระหว่างการทบทวน ส่วนกรณีลูกหนี้รายกลางรายย่อยนั้น คปน. จะยังคงดำเนินมาตรการกำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งรายชื่อลูกหนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดว่า 3 ใน 4 ของลูกหนี้ที่นำเข้าระบบนั้นจะต้องเป็นลูกหนี้ SMEs และคปน. จะยังคงเร่งรัดให้สถาบันการเงินดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะแตกต่างไปตามขนาดของสถาบันการเงิน ตลอดจนความเหมาะสมกับสถานการณ์และสอดคล้องกับจำนวนลูกหนี้ที่คงเหลืออยู่ในสถาบันการเงินแต่ละแห่งรวมทั้งความสามารถในการดำเนินการของสถาบันการเงินประกอบด้วย
อนึ่ง ในปี 2544 นี้ ขอบเขตงานของสปน. จะขยายให้ครอบคลุม และสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัทบริหารสินทรัพย์เพิ่มเติมจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อีกด้วย
นอกจากนี้สปน.ยังได้ดำเนินมาตรการสนับสนุนและเร่งรัดการแก้ปัญหาลูกหนี้ NPL อื่นๆอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการให้สินเชื่อเพิ่มเป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินทุนระยะยาวให้แก่ SMEs ที่เป็น NPL รวมทั้งประสานงานในการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาลซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นเจ้าของเรื่องและกำลังเร่งรัดการดำเนินการอยู่แล้ว และเป็นที่คาดหวังว่าการดำเนินการในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการเงินของศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาล และศูนย์ไกล่เกลี่ยของสำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม จะช่วยให้คู่กรณีมีข้อยุติเร็วขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/5 กุมภาพันธ์ 2544--
-ยก-