ภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนมกราคม 2543 กระเตื้องขึ้นอย่างชัดเจน ภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นในการเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นลำดับ ทั้งในด้านผลประกอบการ อำนาจซื้อ แต่ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับตลาดเงินในระยะต่อไป เนื่องจากปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งจะทำให้ภาระต้นทุนสูงขึ้น แม้ราคาพืชผลเกษตรจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ผลผลิตเกษตรทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้นในช่วงปลายฤดูการผลิต ภาคการเงินปรับตัวดีขึ้น เงินที่ประชาชนถอนออกไปเก็บไว้จากความกลัวปัญหา Y2K เริ่มไหลกลับเข้าสู่ระบบ ธนาคารพาณิชย์มากขึ้น ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 108.8 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 102.3
ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชสำคัญ (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปอ) ทยอยออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้น ราคาผลผลิตส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะข้าวและมันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการรับซื้อลดลง ส่วนราคาข้าวโพดและปอแก้วปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
นอกภาคเกษตร
ผลจากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประจำเดือนมกราคม 2543 จำนวน 107 ราย พอสรุปได้ดังนี้
1) ภาพรวมธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น และสูงพ้นเกณฑ์เฉลี่ย (ร้อยละ 50.0) มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2542 โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมกราคม 2543 อยู่ที่ระดับร้อยละ 53.2 สูงขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 51.9 และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยปัจจัยความเชื่อมั่นทางธุรกิจส่วนใหญ่ดีขึ้นจากเดือนก่อน ไม่ว่าจะเป็นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงาน และแนวโน้มด้านการส่งออก ยกเว้นปัจจัยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการกลับลดลง
2) การแข่งขันทางธุรกิจด้านตลาดและราคาทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือนมกราคมดีขึ้นจากเดือนก่อน ผู้ประกอบการให้เครดิตกับลูกค้ามากขึ้นสภาพคล่องในธุรกิจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาระดอกเบี้ยเงินกู้กลับสูงขึ้นจากเดือนก่อน
4) แนวโน้มตลาดเงินช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2543 ผู้ประกอบการคาดว่ามีแนวโน้มลดลง ธุรกิจจะมีสภาพคล่องลดลง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้น ค่าเงินบาทน่าจะอ่อนค่าลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะถึงภาครัฐ ดังนี้
1. ภาครัฐควรช่วยดูแลราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เนื่องจากราคาส่วนใหญ่ยังคงตกต่ำ
2. การปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ไม่ค่อยมีปัญหานัก จะมีปัญหามากในกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ ๆ
3. ขณะนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองก่อนตัดสินใจลงทุน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการบางรายเริ่มขยายการลงทุน
4. ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น
5. ธนาคารพาณิชย์ควรคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 7-8%
อัตราเงินเฟ้อ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อน แต่สูงขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมศกก่อน เนื่องจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.1 ส่วนสินค้าหมวดอื่นที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543 จากข้อมูลเบื้องต้นปรากฎว่าในภาคมีสาขาธนาคารพาณิชย์ 525 สำนักงาน เงินฝากคงค้าง 229,090 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.5 แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนหน้าลดลงร้อยละ 1.8 เนื่องจากในเดือนก่อนมีผู้ฝากบางส่วนกังวลกับปัญหา Y2K จึงมีการถอนเงินบางส่วนออกไปในเดือนนี้ผู้ฝากเริ่มมีความมั่นใจ จึงมีการนำเงินฝากกลับเข้ามาตามเดิม ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 234,324 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.7 และร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในภาคฯ เดือนนี้ลดลงจากร้อยละ 108.8 ในเดือนก่อนมาเป็นร้อยละ 102.3 เนื่องจากเงินฝากเพิ่มขึ้นในขณะที่สินเชื่อลดลงจากเดือนก่อน
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีทิศทางที่ลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงเฉลี่ยเดือนละ 0.25% ต่อปี ทำให้เดือนนี้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ร้อยละ 3.00-4.00 ต่อปี เงินฝากออมทรัพย์ร้อยละ 2.50-3.25 ต่อปี เงินฝากประจำ 6 เดือน ร้อยละ 3.00-4.00 ต่อปี ทางด้านดอกเบี้ยเงินกู้ที่เบิกเกินบัญชี (MOR) ร้อยละ 8.25-10.00 ต่อปี ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MLR) ร้อยละ 8.00-9.25 ต่อปี เนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์และนโยบายดอกเบี้ยต่ำของภาครัฐบาลที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภาคการคลัง
เดือนมกราคม 2543 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรรวมทั้งสิ้น 1,100.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.1 จากเดือนก่อนจัดเก็บได้ 1,377.8 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงถึงร้อยละ 43.0 โดยเฉพาะหมวดสุราจัดเก็บลดลงถึงร้อยละ 47.6
การค้าชายแดนไทย-ลาว
การค้าชายแดนไทย-ลาว เดือนนี้ซบเซาลง โดยไทยส่งออกไปลาว 867.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 56.7 แต่การนำเข้า 265.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 จากเดือนก่อน ไทยยังคงเกินดุลการค้ากับลาว 601.5 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชสำคัญ (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปอ) ทยอยออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้น ราคาผลผลิตส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะข้าวและมันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการรับซื้อลดลง ส่วนราคาข้าวโพดและปอแก้วปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
นอกภาคเกษตร
ผลจากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประจำเดือนมกราคม 2543 จำนวน 107 ราย พอสรุปได้ดังนี้
1) ภาพรวมธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น และสูงพ้นเกณฑ์เฉลี่ย (ร้อยละ 50.0) มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2542 โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมกราคม 2543 อยู่ที่ระดับร้อยละ 53.2 สูงขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 51.9 และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยปัจจัยความเชื่อมั่นทางธุรกิจส่วนใหญ่ดีขึ้นจากเดือนก่อน ไม่ว่าจะเป็นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงาน และแนวโน้มด้านการส่งออก ยกเว้นปัจจัยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการกลับลดลง
2) การแข่งขันทางธุรกิจด้านตลาดและราคาทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือนมกราคมดีขึ้นจากเดือนก่อน ผู้ประกอบการให้เครดิตกับลูกค้ามากขึ้นสภาพคล่องในธุรกิจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาระดอกเบี้ยเงินกู้กลับสูงขึ้นจากเดือนก่อน
4) แนวโน้มตลาดเงินช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2543 ผู้ประกอบการคาดว่ามีแนวโน้มลดลง ธุรกิจจะมีสภาพคล่องลดลง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้น ค่าเงินบาทน่าจะอ่อนค่าลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะถึงภาครัฐ ดังนี้
1. ภาครัฐควรช่วยดูแลราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เนื่องจากราคาส่วนใหญ่ยังคงตกต่ำ
2. การปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ไม่ค่อยมีปัญหานัก จะมีปัญหามากในกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ ๆ
3. ขณะนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองก่อนตัดสินใจลงทุน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการบางรายเริ่มขยายการลงทุน
4. ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น
5. ธนาคารพาณิชย์ควรคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 7-8%
อัตราเงินเฟ้อ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อน แต่สูงขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมศกก่อน เนื่องจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.1 ส่วนสินค้าหมวดอื่นที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมกราคม 2543 จากข้อมูลเบื้องต้นปรากฎว่าในภาคมีสาขาธนาคารพาณิชย์ 525 สำนักงาน เงินฝากคงค้าง 229,090 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.5 แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนหน้าลดลงร้อยละ 1.8 เนื่องจากในเดือนก่อนมีผู้ฝากบางส่วนกังวลกับปัญหา Y2K จึงมีการถอนเงินบางส่วนออกไปในเดือนนี้ผู้ฝากเริ่มมีความมั่นใจ จึงมีการนำเงินฝากกลับเข้ามาตามเดิม ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 234,324 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.7 และร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในภาคฯ เดือนนี้ลดลงจากร้อยละ 108.8 ในเดือนก่อนมาเป็นร้อยละ 102.3 เนื่องจากเงินฝากเพิ่มขึ้นในขณะที่สินเชื่อลดลงจากเดือนก่อน
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีทิศทางที่ลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงเฉลี่ยเดือนละ 0.25% ต่อปี ทำให้เดือนนี้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ร้อยละ 3.00-4.00 ต่อปี เงินฝากออมทรัพย์ร้อยละ 2.50-3.25 ต่อปี เงินฝากประจำ 6 เดือน ร้อยละ 3.00-4.00 ต่อปี ทางด้านดอกเบี้ยเงินกู้ที่เบิกเกินบัญชี (MOR) ร้อยละ 8.25-10.00 ต่อปี ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MLR) ร้อยละ 8.00-9.25 ต่อปี เนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์และนโยบายดอกเบี้ยต่ำของภาครัฐบาลที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภาคการคลัง
เดือนมกราคม 2543 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรรวมทั้งสิ้น 1,100.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.1 จากเดือนก่อนจัดเก็บได้ 1,377.8 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงถึงร้อยละ 43.0 โดยเฉพาะหมวดสุราจัดเก็บลดลงถึงร้อยละ 47.6
การค้าชายแดนไทย-ลาว
การค้าชายแดนไทย-ลาว เดือนนี้ซบเซาลง โดยไทยส่งออกไปลาว 867.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 56.7 แต่การนำเข้า 265.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 จากเดือนก่อน ไทยยังคงเกินดุลการค้ากับลาว 601.5 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-