บทสรุปสำหรับนักลงทุน
แม่เหล็กถาวรเป็นส่วนประกอบใน ลำโพง มอเตอร์ พาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งใช้ในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น วิทยุ โทรทัศน์ ลำโพง และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประมาณ 9 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของต่างชาติทั้งหมดโดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น
ความต้องการแม่เหล็กถาวรของไทยคาดว่าจะขยายตัวสูงตามภาวะความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยและตลาดโลก แต่เนื่องจากการผลิตเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก ส่งผลให้จะต้องนำเข้าแม่เหล็กถาวรมาใช้จำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากปริมาณนำเข้าแม่เหล็กถาวรที่มากกว่าการส่งออก และคาดว่าในปี 2543 ปริมาณนำเข้าแม่เหล็กถาวรจะมากกว่าปริมาณส่งออกอยู่ 1,530 ตัน และมูลค่านำเข้าแม่เหล็กถาวรคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.6 เป็น 3,480 ล้านบาท ดังนั้นรัฐและเอกชนควรจะร่วมมือกันสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงการใช้แม่เหล็กถาวรที่ผลิตในประเทศให้มากขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้า ในขณะที่การส่งออกโดยตรงคาดว่าจะมีเพียง 2,100 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 33.1 ทำให้ประเทศไทยขาดดุลอยู่ถึง 1,380 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามยังมีการส่งออกแม่เหล็กถาวรทางอ้อม โดยผ่านการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจำนวนหนึ่ง
แม่เหล็กถาวรที่ผลิตได้ในประเทศส่วนใหญ่เน้นการผลิตเพื่อส่งออกทั้งการส่งออกทางตรงและทางอ้อม ลักษณะการจำหน่ายในประเทศมีทั้งการจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และการจำหน่ายแม่เหล็กในลักษณะที่เป็นอะไหล่ทดแทน โดยจำหน่ายตามย่านคลองถม พลับพลาไชย เป็นต้น
การลงทุนในอุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวรพบว่า เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 100 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในด้านสินทรัพย์ถาวรประมาณ 50 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเครื่องจักรประมาณร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด หรือประมาณ 25 ล้านบาท ค่าที่ดินและค่าก่อสร้างโรงงาน 25 ล้านบาท และต้องมีเงินลงทุนหมุนเวียนอีกปีละประมาณ 50 ล้านบาทสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ ค่าแรงงาน สาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่เหล็กถาวรส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 40 ของต้นทุนการผลิตรวม รองลงมาคือ ค่าแรงงานร้อยละ 23 ค่าโสหุ้ยการผลิตร้อยละ 20 และค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรร้อยละ 17 วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่คือ ผงเฟอร์ไรท์ ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะไม่มีการผลิตในประเทศไทย เฟอร์ไรท์ที่ผลิตในประเทศไทยไม่ได้อยู่ในรูปผง จึงไม่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมนี้ได้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
แม่เหล็กถาวรเป็นส่วนประกอบใน ลำโพง มอเตอร์ พาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งใช้ในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น วิทยุ โทรทัศน์ ลำโพง และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประมาณ 9 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของต่างชาติทั้งหมดโดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น
ความต้องการแม่เหล็กถาวรของไทยคาดว่าจะขยายตัวสูงตามภาวะความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยและตลาดโลก แต่เนื่องจากการผลิตเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก ส่งผลให้จะต้องนำเข้าแม่เหล็กถาวรมาใช้จำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากปริมาณนำเข้าแม่เหล็กถาวรที่มากกว่าการส่งออก และคาดว่าในปี 2543 ปริมาณนำเข้าแม่เหล็กถาวรจะมากกว่าปริมาณส่งออกอยู่ 1,530 ตัน และมูลค่านำเข้าแม่เหล็กถาวรคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.6 เป็น 3,480 ล้านบาท ดังนั้นรัฐและเอกชนควรจะร่วมมือกันสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงการใช้แม่เหล็กถาวรที่ผลิตในประเทศให้มากขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้า ในขณะที่การส่งออกโดยตรงคาดว่าจะมีเพียง 2,100 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 33.1 ทำให้ประเทศไทยขาดดุลอยู่ถึง 1,380 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามยังมีการส่งออกแม่เหล็กถาวรทางอ้อม โดยผ่านการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจำนวนหนึ่ง
แม่เหล็กถาวรที่ผลิตได้ในประเทศส่วนใหญ่เน้นการผลิตเพื่อส่งออกทั้งการส่งออกทางตรงและทางอ้อม ลักษณะการจำหน่ายในประเทศมีทั้งการจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และการจำหน่ายแม่เหล็กในลักษณะที่เป็นอะไหล่ทดแทน โดยจำหน่ายตามย่านคลองถม พลับพลาไชย เป็นต้น
การลงทุนในอุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวรพบว่า เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 100 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในด้านสินทรัพย์ถาวรประมาณ 50 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเครื่องจักรประมาณร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด หรือประมาณ 25 ล้านบาท ค่าที่ดินและค่าก่อสร้างโรงงาน 25 ล้านบาท และต้องมีเงินลงทุนหมุนเวียนอีกปีละประมาณ 50 ล้านบาทสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ ค่าแรงงาน สาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่เหล็กถาวรส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 40 ของต้นทุนการผลิตรวม รองลงมาคือ ค่าแรงงานร้อยละ 23 ค่าโสหุ้ยการผลิตร้อยละ 20 และค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรร้อยละ 17 วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่คือ ผงเฟอร์ไรท์ ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะไม่มีการผลิตในประเทศไทย เฟอร์ไรท์ที่ผลิตในประเทศไทยไม่ได้อยู่ในรูปผง จึงไม่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมนี้ได้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--