กรุงเทพฯ--6 ธ.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
บริษัท DOLE ซึ่งมีฐานการผลิตผลิตภัณฑ์สับปะรดและผลไม้อื่นๆในประเทศไทย ได้เข้าพบนางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ให้รัฐบาลประเทศสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดนำเข้าสำคัญของไทยลดภาษีผลิตภัณฑ์สับปะรด เนื่องจากประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะสหรัฐฯเก็บภาษีนำเข้าน้ำสับปะรดเข้มข้น 4.2 เซ็นต์/ลิตร หรือร้อยละ 12 ซึ่งเป็นอัตราภาษีสูง โดยนาย Patrick A. Nielson ผู้แทนบริษัท DOLE จะ lobby ผ่านบริษัท Patton Boggs เพื่อให้รัฐบาลสหรัฐฯยกเลิกภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์สับปะรด ซึ่งประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกและคาดว่าจะมีโอกาสโน้มน้าวญี่ปุ่นให้เปิดตลาดสับปะรดพอสมควร ทั้งนี้ได้ขอให้รัฐบาลไทยผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหา Tariff Escalation (ภาษีแบบขั้นบันได) กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้ให้ความเห็นว่า ไทยให้ความสำคัญกับการเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรมาโดยตลอด เนื่องจากสินค้าเกษตรแปรรูปเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วได้ใช้มาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมและประเทศพัฒนาแล้วยังไม่ยอมลดการอุดหนุนการส่งออกและลดการอุดหนุนภายในลงมากนัก ภาครัฐจึงยินดีร่วมมือกับภาคเอกชนผลักดันให้ประเทศทั้งสามลดภาษีลงอย่างมาก ในการเจรจาเกษตรรอบใหม่โดยเฉพาะภาษีผลิตภัณฑ์สับปะรด โดยกลุ่มเครนส์จะยื่นข้อเสนอเปิดตลาดให้การยกเลิก Tariff Peak และ Tariff Escalation และเห็นได้ว่าสหรัฐฯควรแปลงอัตราภาษีตามสภาพ (Specific rate) เป็นอัตราภาษีตามราคา (Ad Valorem rate) สำหรับสินค้าเกษตรทุกรายการ เพราะสะดวกในการศึกษาผลกระทบและการเจรจาต่อรอง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
บริษัท DOLE ซึ่งมีฐานการผลิตผลิตภัณฑ์สับปะรดและผลไม้อื่นๆในประเทศไทย ได้เข้าพบนางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ให้รัฐบาลประเทศสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดนำเข้าสำคัญของไทยลดภาษีผลิตภัณฑ์สับปะรด เนื่องจากประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะสหรัฐฯเก็บภาษีนำเข้าน้ำสับปะรดเข้มข้น 4.2 เซ็นต์/ลิตร หรือร้อยละ 12 ซึ่งเป็นอัตราภาษีสูง โดยนาย Patrick A. Nielson ผู้แทนบริษัท DOLE จะ lobby ผ่านบริษัท Patton Boggs เพื่อให้รัฐบาลสหรัฐฯยกเลิกภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์สับปะรด ซึ่งประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกและคาดว่าจะมีโอกาสโน้มน้าวญี่ปุ่นให้เปิดตลาดสับปะรดพอสมควร ทั้งนี้ได้ขอให้รัฐบาลไทยผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหา Tariff Escalation (ภาษีแบบขั้นบันได) กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้ให้ความเห็นว่า ไทยให้ความสำคัญกับการเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรมาโดยตลอด เนื่องจากสินค้าเกษตรแปรรูปเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วได้ใช้มาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมและประเทศพัฒนาแล้วยังไม่ยอมลดการอุดหนุนการส่งออกและลดการอุดหนุนภายในลงมากนัก ภาครัฐจึงยินดีร่วมมือกับภาคเอกชนผลักดันให้ประเทศทั้งสามลดภาษีลงอย่างมาก ในการเจรจาเกษตรรอบใหม่โดยเฉพาะภาษีผลิตภัณฑ์สับปะรด โดยกลุ่มเครนส์จะยื่นข้อเสนอเปิดตลาดให้การยกเลิก Tariff Peak และ Tariff Escalation และเห็นได้ว่าสหรัฐฯควรแปลงอัตราภาษีตามสภาพ (Specific rate) เป็นอัตราภาษีตามราคา (Ad Valorem rate) สำหรับสินค้าเกษตรทุกรายการ เพราะสะดวกในการศึกษาผลกระทบและการเจรจาต่อรอง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-