ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือในช่วง 9 เดือนแรกปี 2544 มีสัญญาณดีบางด้าน ได้แก่ รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรขยายตัวจากปีก่อน เนื่องจากได้รับผลดีจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น และนโยบายของรัฐที่เร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ และการผลิตเพื่อส่งออกลดลงตามความต้องการภายในและต่างประเทศที่ชะลอตัวลง ส่วนการท่องเที่ยวแสดงทิศทางที่ชะลอตัวจากปีก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนไทย-พม่าในช่วงครึ่งปีแรก และภาวะการแข่งขันในแถบเอเชีย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญโดยรวมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 เนื่องจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวยเช่นปีก่อน พืชสำคัญที่ผลผลิตลดลงได้แก่ อ้อย ลดลงร้อยละ 9.5 เนื่องจากปัญหาโรคหนอนกอระบาด มันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 9.6 จากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกเพราะราคาปีก่อนไม่จูงใจ ส่วน ลำไย และ ลิ้นจี่ ลดลงร้อยละ 48.2 และร้อยละ 33.3 เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ขณะที่ราคาพืชสำคัญเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 โดยเฉพาะราคา อ้อย ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 ตามราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่สูงขึ้น และ ถั่วเขียว ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4 ตามราคาในตลาดโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 4.4
2. นอกภาคเกษตร
2.1 ภาคอุตสาหกรรม ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะการผลิตของ อุตสาหกรรมน้ำตาลลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.2 เนื่องจากปริมาณผลผลิตอ้อยที่ลดลง ส่วนการผลิตเพื่อส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูนลดลงร้อยละ 1.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ขณะที่การผลิตสังกะสีช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 จากความต้องการใช้ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น
2.2 ภาคเหมืองแร่ การผลิตลิกไนต์ช่วงมกราคม-สิงหาคม 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เป็น 12.7 ล้านเมตริกตัน เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำมันเตา ส่วนการผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.5 เป็น 4.4 ล้านเมตริกตัน ตามแนวโน้มการก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้นจากที่ซบเซาต่อเนื่องมากว่า 3 ปี การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากใช้กำลังการผลิตเต็มกำลังแล้ว ขณะที่การผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 50.9 เนื่องจากสินแร่ลดลงมาก จึงมีการนำเข้าแร่สังกะสีจากต่างประเทศทดแทน
2.3 ภาคบริการ ยังแสดงแนวโน้มชะลอตัวโดยเฉพาะการท่องเที่ยว ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากปัญหาความไม่สงบตามชายแดนไทย-พม่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ประกอบกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งประสบ กับภาวะการแข่งขันในแถบเอเชีย
3. การใช้จ่ายภาคเอกชน เครื่องชี้การใช้จ่ายชะลอตัวลงจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 14.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ระยะเดียวกัน ปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการเร่งรัดจัดเก็บ หากหักส่วนที่เร่งรัดจัดเก็บออกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจะขยายตัวเพียงเล็กน้อย ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 ระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณรถยนต์จดทะเบียนลดลงร้อยละ 6.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.8 ระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้การจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 15.2 ขณะที่การจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9
4. การลงทุนภาคเอกชน เงินลงทุนในอุตสาหกรรมตั้งใหม่ช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2544 มีจำนวน 367 โรงงาน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 43.1 ระยะเดียวกันปีก่อน การลงทุนผลิตปีนี้ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเกษตร และคาดว่าจะก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4 เป็น 8,111 อัตรา ด้านความสนใจลงทุนผลิตสินค้าเพื่อส่งออกปรากฎว่าโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนโครงการและเงินลงทุนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.2 และร้อยละ 35.9 ตามลำดับ โครงการลงทุนในปีนี้มีสัดส่วนการส่งออกเฉลี่ยร้อยละ 80.4 ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนผลิตสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ ไฟฟ้า หมวดเกษตรกรรมและผลผลิตเกษตร ในขณะที่ความสนใจลงทุนด้านก่อสร้างปรับตัวดีขึ้น โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.6 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ปีก่อน ตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีของพื้นที่การก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยและประเภทพาณิชยกรรม
5. ฐานะการคลังรัฐบาล ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เงินในงบประมาณขาดดุล เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 เป็น 80,297.2 ล้านบาท จากรายจ่ายรวมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ปีก่อน โดย รายจ่ายประจำ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.4 โดยเฉพาะหมวดรายจ่ายอื่นและงบกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.0 และร้อยละ 12.0 ตามลำดับ ส่วน รายจ่าย ลงทุน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 เพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะรายจ่ายในหมวดเงินอุดหนุนตามรายจ่ายที่ให้กับสถาบันการศึกษา และการโอนเงินให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลตามนโยบายการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค
ทางด้าน รายได้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ส่วนใหญ่จากการเร่งรัดจัดเก็บ โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.8 และร้อยละ 14.2 ตามลำดับ
6. การค้าต่างประเทศ มูลค่า การส่งออก ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.0 เหลือ 913.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 ปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 40,468.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่มีทิศทางของการฟื้นตัวที่ชัดเจน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย ประกอบกับประเทศพม่าเข้มงวดการนำเข้าสินค้าจากไทย โดยมูลค่าการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.3 เหลือ 710.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1 ปีก่อน ส่วนการส่งออกผ่านชายแดนลดลงจากปีก่อนร้อยละ 34.7 เหลือ 98.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1 ปีก่อน (ในรูปเงินบาท 4,379.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.1)
สำหรับการส่งออกผ่านชายแดนมีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลำดับ หลังจากการร่วมเจรจาระหว่าง ผู้นำไทยและพม่าเมื่อวันที่ 3-5 กันยายน 2544 ส่งผลให้การส่งออกไปพม่าในเดือนกันยายน 2544 มีมูลค่าสูงสุดในปีนี้ ขณะที่การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 33.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัว (ในรูปเงินบาท 1,467.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัว) โดยเพิ่มขึ้นมากในช่วงที่มีการปิดด่านท่าขี้เหล็กของพม่า และการส่งออกไปลาวมีมูลค่า 1.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นปีก่อนร้อยละ 14.1 (ในรูปเงินบาท 485.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6)
ด้านมูลค่า การนำเข้า ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 เหลือ 760.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 ปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 33,598.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1) ส่วนใหญ่เป็นการลดการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อส่งออกตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ลดลง ส่งผลให้ ดุลการค้า ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้เกินดุล 153.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับที่เกินดุล 145.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาทมูลค่า 6,869.2 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 5,681.5 ล้านบาทปีก่อน)
7. ระดับราคาสินค้า สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 ตามการเพิ่มขึ้นของ ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.2 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มผักและผลไม้ร้อยละ 5.6 เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ลดลงจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย รองลงมาคือกลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากความต้องการข้าวหอมมะลิที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่วนราคาสินค้าหมวดไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ตามราคาหมวดยานพาหนะ การขนส่งและสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 4.9 จากปรับตัวของราคาน้ำมันในช่วงครึ่งปีแรก รองลงมาคือหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต
8. ภาคการเงิน สภาพคล่องในระบบยังอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากยอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ขณะที่ สินเชื่อ มียอดคงค้างทั้งสิ้น 165.3 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการขยายสินเชื่อในบางประเภท เช่น สินเชื่ออุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับการเกษตร สินเชื่อก่อสร้างภาคเอกชน และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ทางด้าน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ลดลงจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 0.50 ต่อปี ตามสภาพคล่องที่ยังมีอยู่สูง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ 3 เดือน ลดลงเหลือร้อยละ 2.00 ต่อปี และร้อยละ 2.50 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) ลดลงเหลือร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี
ส่วน ปริมาณการใช้เช็ค เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยมีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 3,287,587 ฉบับ มูลค่า 216.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ ในจำนวนนี้มีปริมาณเช็คคืนทั้งสิ้น 66,370 ฉบับ มูลค่า 3.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 และร้อยละ 4.4 ตามลำดับ สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.6 ใกล้เคียงกับร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.6 ปีก่อน
9. แนวโน้มเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือในไตรมาส 4 ปี 2544 คาดว่าการผลิตภาคเกษตรในไตรมาส 4 จะได้รับผลดีจากปริมาณน้ำที่มีมาก ส่งผลให้ผลผลิตพืชสำคัญซึ่งจะออกสู่ตลาดในช่วงไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัว อาทิ ข้าวนาปีและอ้อย ประกอบกับเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนาน่าจะได้รับประโยชน์จากโครงการประกันราคาข้าวตามนโยบายของรัฐบาล อย่างไรก็ดี การผลิตภาค อุตสาหกรรมทั้งการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ และการผลิตเพื่อส่งออกยังคงแสดงทิศทางที่ลดลงตามความ ต้องการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแสดงทิศทางที่ชะลอตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา และการทำสงครามกับ ผู้ก่อการร้าย ทั้งนี้ เริ่มมีสัญญาณการยกเลิกสัญญาจองห้องพักของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในไตรมาส 4 โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญโดยรวมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 เนื่องจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวยเช่นปีก่อน พืชสำคัญที่ผลผลิตลดลงได้แก่ อ้อย ลดลงร้อยละ 9.5 เนื่องจากปัญหาโรคหนอนกอระบาด มันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 9.6 จากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกเพราะราคาปีก่อนไม่จูงใจ ส่วน ลำไย และ ลิ้นจี่ ลดลงร้อยละ 48.2 และร้อยละ 33.3 เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ขณะที่ราคาพืชสำคัญเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 โดยเฉพาะราคา อ้อย ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 ตามราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่สูงขึ้น และ ถั่วเขียว ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4 ตามราคาในตลาดโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 4.4
2. นอกภาคเกษตร
2.1 ภาคอุตสาหกรรม ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะการผลิตของ อุตสาหกรรมน้ำตาลลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.2 เนื่องจากปริมาณผลผลิตอ้อยที่ลดลง ส่วนการผลิตเพื่อส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูนลดลงร้อยละ 1.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ขณะที่การผลิตสังกะสีช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 จากความต้องการใช้ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น
2.2 ภาคเหมืองแร่ การผลิตลิกไนต์ช่วงมกราคม-สิงหาคม 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เป็น 12.7 ล้านเมตริกตัน เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำมันเตา ส่วนการผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.5 เป็น 4.4 ล้านเมตริกตัน ตามแนวโน้มการก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้นจากที่ซบเซาต่อเนื่องมากว่า 3 ปี การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากใช้กำลังการผลิตเต็มกำลังแล้ว ขณะที่การผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 50.9 เนื่องจากสินแร่ลดลงมาก จึงมีการนำเข้าแร่สังกะสีจากต่างประเทศทดแทน
2.3 ภาคบริการ ยังแสดงแนวโน้มชะลอตัวโดยเฉพาะการท่องเที่ยว ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากปัญหาความไม่สงบตามชายแดนไทย-พม่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ประกอบกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งประสบ กับภาวะการแข่งขันในแถบเอเชีย
3. การใช้จ่ายภาคเอกชน เครื่องชี้การใช้จ่ายชะลอตัวลงจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 14.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ระยะเดียวกัน ปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการเร่งรัดจัดเก็บ หากหักส่วนที่เร่งรัดจัดเก็บออกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจะขยายตัวเพียงเล็กน้อย ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 ระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณรถยนต์จดทะเบียนลดลงร้อยละ 6.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.8 ระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้การจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 15.2 ขณะที่การจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9
4. การลงทุนภาคเอกชน เงินลงทุนในอุตสาหกรรมตั้งใหม่ช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2544 มีจำนวน 367 โรงงาน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 43.1 ระยะเดียวกันปีก่อน การลงทุนผลิตปีนี้ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเกษตร และคาดว่าจะก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4 เป็น 8,111 อัตรา ด้านความสนใจลงทุนผลิตสินค้าเพื่อส่งออกปรากฎว่าโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนโครงการและเงินลงทุนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.2 และร้อยละ 35.9 ตามลำดับ โครงการลงทุนในปีนี้มีสัดส่วนการส่งออกเฉลี่ยร้อยละ 80.4 ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนผลิตสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ ไฟฟ้า หมวดเกษตรกรรมและผลผลิตเกษตร ในขณะที่ความสนใจลงทุนด้านก่อสร้างปรับตัวดีขึ้น โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.6 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ปีก่อน ตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีของพื้นที่การก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยและประเภทพาณิชยกรรม
5. ฐานะการคลังรัฐบาล ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เงินในงบประมาณขาดดุล เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 เป็น 80,297.2 ล้านบาท จากรายจ่ายรวมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ปีก่อน โดย รายจ่ายประจำ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.4 โดยเฉพาะหมวดรายจ่ายอื่นและงบกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.0 และร้อยละ 12.0 ตามลำดับ ส่วน รายจ่าย ลงทุน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 เพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะรายจ่ายในหมวดเงินอุดหนุนตามรายจ่ายที่ให้กับสถาบันการศึกษา และการโอนเงินให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลตามนโยบายการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค
ทางด้าน รายได้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ส่วนใหญ่จากการเร่งรัดจัดเก็บ โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.8 และร้อยละ 14.2 ตามลำดับ
6. การค้าต่างประเทศ มูลค่า การส่งออก ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.0 เหลือ 913.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 ปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 40,468.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่มีทิศทางของการฟื้นตัวที่ชัดเจน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย ประกอบกับประเทศพม่าเข้มงวดการนำเข้าสินค้าจากไทย โดยมูลค่าการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.3 เหลือ 710.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1 ปีก่อน ส่วนการส่งออกผ่านชายแดนลดลงจากปีก่อนร้อยละ 34.7 เหลือ 98.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1 ปีก่อน (ในรูปเงินบาท 4,379.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.1)
สำหรับการส่งออกผ่านชายแดนมีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลำดับ หลังจากการร่วมเจรจาระหว่าง ผู้นำไทยและพม่าเมื่อวันที่ 3-5 กันยายน 2544 ส่งผลให้การส่งออกไปพม่าในเดือนกันยายน 2544 มีมูลค่าสูงสุดในปีนี้ ขณะที่การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 33.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัว (ในรูปเงินบาท 1,467.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัว) โดยเพิ่มขึ้นมากในช่วงที่มีการปิดด่านท่าขี้เหล็กของพม่า และการส่งออกไปลาวมีมูลค่า 1.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นปีก่อนร้อยละ 14.1 (ในรูปเงินบาท 485.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6)
ด้านมูลค่า การนำเข้า ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 เหลือ 760.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 ปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 33,598.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1) ส่วนใหญ่เป็นการลดการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อส่งออกตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ลดลง ส่งผลให้ ดุลการค้า ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้เกินดุล 153.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับที่เกินดุล 145.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาทมูลค่า 6,869.2 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 5,681.5 ล้านบาทปีก่อน)
7. ระดับราคาสินค้า สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 ตามการเพิ่มขึ้นของ ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.2 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มผักและผลไม้ร้อยละ 5.6 เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ลดลงจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย รองลงมาคือกลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากความต้องการข้าวหอมมะลิที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่วนราคาสินค้าหมวดไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ตามราคาหมวดยานพาหนะ การขนส่งและสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 4.9 จากปรับตัวของราคาน้ำมันในช่วงครึ่งปีแรก รองลงมาคือหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต
8. ภาคการเงิน สภาพคล่องในระบบยังอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากยอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ขณะที่ สินเชื่อ มียอดคงค้างทั้งสิ้น 165.3 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการขยายสินเชื่อในบางประเภท เช่น สินเชื่ออุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับการเกษตร สินเชื่อก่อสร้างภาคเอกชน และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ทางด้าน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ลดลงจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 0.50 ต่อปี ตามสภาพคล่องที่ยังมีอยู่สูง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ 3 เดือน ลดลงเหลือร้อยละ 2.00 ต่อปี และร้อยละ 2.50 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) ลดลงเหลือร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี
ส่วน ปริมาณการใช้เช็ค เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยมีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 3,287,587 ฉบับ มูลค่า 216.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ ในจำนวนนี้มีปริมาณเช็คคืนทั้งสิ้น 66,370 ฉบับ มูลค่า 3.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 และร้อยละ 4.4 ตามลำดับ สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.6 ใกล้เคียงกับร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.6 ปีก่อน
9. แนวโน้มเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือในไตรมาส 4 ปี 2544 คาดว่าการผลิตภาคเกษตรในไตรมาส 4 จะได้รับผลดีจากปริมาณน้ำที่มีมาก ส่งผลให้ผลผลิตพืชสำคัญซึ่งจะออกสู่ตลาดในช่วงไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัว อาทิ ข้าวนาปีและอ้อย ประกอบกับเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนาน่าจะได้รับประโยชน์จากโครงการประกันราคาข้าวตามนโยบายของรัฐบาล อย่างไรก็ดี การผลิตภาค อุตสาหกรรมทั้งการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ และการผลิตเพื่อส่งออกยังคงแสดงทิศทางที่ลดลงตามความ ต้องการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแสดงทิศทางที่ชะลอตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา และการทำสงครามกับ ผู้ก่อการร้าย ทั้งนี้ เริ่มมีสัญญาณการยกเลิกสัญญาจองห้องพักของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในไตรมาส 4 โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-