1. โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและออสเตรีย (จัดสร้างโรงงานผลิตเอทานอล)
ค.ร.ม. รับทราบโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและออสเตรียในการจัดสร้างโรงงานผลิตเอทานอล เป็นเชื้อเพลิงแลกเปลี่ยนกับการซื้อสินค้าจากไทย โรงงานดังกล่าวจะสามารถผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบภาคเกษตรต่าง ๆ ได้ เช่น อ้อย มันสำปะหลังและข้าวโพด ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมกำลังร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ ทั้งนี้อาจให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นคู่สัญญา โดยอาจร่วมกับบริษัทเอกชนที่มีความสนใจ
ขณะนี้ ออสเตรียได้จัดตั้งกลุ่มบริษัท เพื่อร่วมกันจัดทำข้อเสนอในการดำเนินโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงขนาด 300,000 ลิตรต่อวัน โดยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ รวมกับโรงงานผลิตไฟฟ้าแบบชีวภาพขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ต่อวัน จำนวน 5 โรงงาน โดยรัฐบาลออสเตรียจะจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะยาว ระยะปลอดหนี้ 2 ปี ชำระคืนเงินกู้ 5-10 ปี ไม่มีดอกเบี้ย สำหรับการปรับระบบการผลิตเพื่อให้ใช้วัตถุดิบเกษตรต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ แต่หากสามารถใช้ผลผลิตเพียงอย่างเดียวในหนึ่งโรงงาน จะช่วยลดต้นทุนได้มากกว่าและเอทานอลสามารถใช้แทน MTBE (Methyl Tertiary Butyl Esther) ได้อย่างสมบูรณ์
ส่วนสถานที่ตั้งโรงงานนั้น อาจตั้งกระจายตามภาคต่าง ๆ ที่มีผลผลิตทางการเกษตรป้อนโรงงานได้เพียงพอ ทั้งนี้ จะเป็นการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่จะให้ใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์ในประเทศให้มากที่สุด
2.การเข้าร่วมในบันทึกความเข้าใจระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ค.ร.ม. มีมติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2544 ให้ประเทศไทยเข้าร่วมในบันทึกความเข้าใจระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้หากมีการปรับปรุงถ้อยคำของบันทึกความเข้าใจฯ ที่มิใช่สาระสำคัญก็ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้โดยประสานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
องค์กรและการประสานงาน
1) ประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกันทำหน้าที่ประธานที่ประชุมรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมของอาเซียน (TELMIN) ทุกปี โดยเรียงตามตัวอักษร
2)ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านโทรคมนาคมอาเซียน (TELSOM) จะทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติของ TELMIN ในการกำกับดูแล ประสานงานและดำเนินการตามโครงการและแนวนโยบายที่กำหนดโดย TELMIN
3) การจัดประชุม TELMIN จะมีทุกปี เพื่อหารือประเด็นต่าง ๆ และแนวทางการพัฒนาเพื่อประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งกำหนดนโยบายในสาขาโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน
3. การกำหนดให้สนามบินนครพนมเป็นสนามบินศุลกากร
ค.ร.ม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สนามบินนครพนมเป็นสนามบินศุลกากร ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและส่งเสริมการท่องเที่ยว
ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์
ค.ร.ม. ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อรองรับการทำธุรกรรมการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการจัดตั้งตลาดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จะทำให้ระบบการเงินมีความสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นตลาดที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการผันผวนของราคาและต้นทุนของตราสารการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และราคาหุ้น ฯลฯ
1) ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มีการกำหนดนิยามความหมายที่เกี่ยวข้อง อำนาจหน้าที่การกำกับดูแล คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการ วิธีปฏิบัติ การระงับข้อพิพาทและบทกำหนดโทษ
2) ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อให้กองทุนรวมสามารถบริหารความเสี่ยงโดยการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้
การดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ค.ร.ม. รับทราบผลการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ตามที่สำนักเลขาธิการนากรัฐมนตรีรายงานดังนี้1) นโยบายพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย
- นับตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อวันที่ 1 เมษายน — 30 มิถุนายน 2544มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 2.25 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 95.2 ของผู้มีคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็นผู้ขอพักชำระหนี้ 1.15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 51.24 และขอลดภาระหนี้ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 48.76
- มีการจัดโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ โดยตั้งเป้าฟื้นฟูในปี 2544 จำนวน 131,951 ราย และปี 2545 จำนวน 800,000 ราย
2) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด และระดับอำเภอครบทุกจังหวัดและอำเภอแล้ว
- หมู่บ้านได้จัดเวทีเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน จำนวน44,413 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 62.37
- คณะอนุกรรมการฯ ระดับจังหวัดได้ทำการประเมินความพร้อม จำนวน 1,347 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.03 โดยผ่านการประเมินจำนวน 701 หมู่บ้าน
3) ธนาคารประชาชน
- เริ่มปล่อยกู้ได้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน — 11 กรกฎาคม 2544 มียอดสมาชิกรวม 333,304 ราย จำนวนเงินฝากรวม 562.41 ล้านบาท มีผู้กู้ เงินจำนวน 18,902 ราย รวมยอดกู้ 263.56 ล้านบาท
4) 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์
- กระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดรวม 22 จังหวัดแล้ว- จัดทำบัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมมีศักยภาพ 52 จังหวัด
- ร่วมกับหน่วยงาน/ภาคเอกชน จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ 6.ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
ค.ร.ม. เห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แต่ให้รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปปรับปรุงแล้วนำเสนอ ค.ร.ม. ครั้งต่อไป หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาก็นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในสมัยหน้า
ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเป็นนิติบุคคล และสถาบันพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งให้มีคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลด้านการตลาด กระทรวงอุตสาหกรรมดูแลด้านการผลิต กระทรวงมหาดไทยดูแลเรื่องการพัฒนาชุมชน และกระทรวงการคลังดูแลเรื่องการจัดเก็บภาษีไม่ให้ซ้ำซ้อน
7. การบริการการส่งออกที่รวดเร็ว
ค.ร.ม. รับทราบในส่วนของการให้บริการการส่งออกที่รวดเร็วตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางแก้ไขปัญหาของภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของประเทศ ดังนี้
1) ได้จัดทำข้อมูลขั้นตอนการขออนุญาตและออกใบรับรองสำหรับสินค้าส่งออก
- กลุ่มสินค้าที่มีขั้นตอนการขออนุญาตเป็นพิเศษตามความต้องการของตลาดผู้ซื้อ ได้แก่ อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง แปรรูปและกระป๋อง ผักและผลไม้สด (มะม่วงลำไย ทุเรียน)ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม (ยา) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- กลุ่มสินค้าอื่น ๆ เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไม่มีปัญหาขั้นตอนการขออนุญาตเป็นพิเศษ
2) กระทรวงพาณิชย์ได้เชิญผู้บริหารของหน่วยงานให้บริการ มาหารือร่วมกันโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
เป็นประธาน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันในการให้บริการการส่งออกรวดเร็วขึ้น มีการปรับเข้าหาเป้าหมาย
การทำงานร่วมกัน และมีการประสานงานให้มากขึ้น ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ รับจะไปเร่งรัดการให้บริการโดยเฉพาะ
การออกใบอนุญาตให้รวดเร็วขึ้น
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการส่งออกจะจัดประชุมต่อไปเป็นระยะโดยจะมีการพิจารณาเป็นรายสินค้าและเป็น
การประชุมกลุ่มย่อยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าแต่ละชนิด
8. สรุปผลการศึกษาสินค้านำเข้าของไทย
ค.ร.ม. รับทราบรายงานสรุปผลการศึกษาสินค้านำเข้าของไทย และแนวทางการดำเนินมาตรการลดการนำเข้าในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ มีผลการพิจารณาสรุปได้ดังนี้
1) มาตรการลดการนำเข้า
- สนับสนุนการใช้สินค้าทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปภายในประเทศรวมทั้งพัฒนาศักยภาพการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและให้มีกลไกเชื่อมโยงการผลิตภายในประเทศแบบครบวงจร
- ประหยัดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ควรรณรงค์ให้มีการประหยัดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง
- รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ใช้สินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งนี้ ในภาพรวมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตเป็นแกนกนกลางประสานการจัดทำแผนหลักตามนโยบายรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทย เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างจริงจังและต่อเนื่องอยู่แล้ว
2)การลดการนำเข้าเพื่อมิให้มีการสต๊อกวัตถุดิบในการผลิตมากเกินไปและการลดระยะเวลาให้มีผลตอบแทนในระยะสั้นของสินค้าทุนนั้น พบว่าสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันภาคธุรกิจได้มีการบริหารสินค้าคงคลังโดยวิธีการ just in time และได้มีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการใช้กำลังการผลิตสูงสุดของเครื่องจักรอยู่ด้วยแล้ว จึงยังไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใดเพิ่มเติมในขณะนี้
3) การดำเนินมาตรการเพิ่มจากที่ดำเนินการอยู่แล้วในส่วนของกระทรวงพาณิชย์
- ส่งเสริมให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาจัดตั้ง Purchasing Office ในไทยเพื่อซื้อสินค้าไทยส่งไปขายในประเทศตนหรือตลาดอื่น โดยการอำนวยความสะดวกและให้สิ่งจูงใจด้านต่าง ๆ และเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยอีกทางหนึ่ง
- การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมนิยมสินค้าไทย จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมสินค้ากว้างขึ้น โดยจัดงานแสดงสินค้าของภูมิภาคต่าง ๆหรือเป็นรายสินค้าซึ่งเป็นสินค้าที่มีการผลิตในท้องถิ่นและให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นเข้าร่วมงานสินค้าได้โดยตรง
- การสร้างค่านิยมสินค้าไทย โดยให้การส่งเสริมพัฒนารูปแบบสินค้าไทยให้มีความหลากหลาย รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุภายในประเทศให้ทันสมัย ได้มาตรฐานทัดเทียมกับของต่างประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
- ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทยทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้กรมที่เกี่ยวข้องดำเนินการแล้ว
รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเดือนเมษายน 2544
ค.ร.ม. รับทราบรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเดือนเมษายน 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1) การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเดือนเมษายน 2544 เทียบกับเดือนเมษายน 2543
- สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 49.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 8.71 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 22.12 และปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 9 รายการ ตั้งแต่ร้อยละ 5.81 (เครื่องประดับที่ทำด้วยคริสตัล) ถึงร้อยละ 86.84 (กระเป๋าหนังและเข็มขัดหนัง) และมี 8 รายการที่มีมูลค่านำเข้าลดลงตั้งแต่ร้อยละ 3.48 (ไวน์) ถึงร้อยละ 61.74 (เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารหรือใช้ตกแต่งภายในที่ทำด้วยคริสตัล)
- สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
(1) สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 7.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.18 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 19.16
(2) น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 6.28 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 1.59 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 33.96
(3) ผ้าทอด้วยขนสัตว์ มีมูลค่านำเข้า 5.78 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2.69 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 86.66 2) การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543-เมษายน 2544 เทียบกับเดือนตุลาคม 2542-เมษายน 2543
- มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543-เมษายน 2544) มีมูลค่านำเข้ารวม 347.38 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับต้นปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542-เมษายน 2543) มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 49.61 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 16.66
- สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรกตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543-เมษายน 2544) ได้แก่
(1) สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 60.89 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 9.89 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 24.61
(2) กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 45.36 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 5.16 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 19.16
(3) นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 36.83 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 9.90 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 36.75
--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
ค.ร.ม. รับทราบโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและออสเตรียในการจัดสร้างโรงงานผลิตเอทานอล เป็นเชื้อเพลิงแลกเปลี่ยนกับการซื้อสินค้าจากไทย โรงงานดังกล่าวจะสามารถผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบภาคเกษตรต่าง ๆ ได้ เช่น อ้อย มันสำปะหลังและข้าวโพด ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมกำลังร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ ทั้งนี้อาจให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นคู่สัญญา โดยอาจร่วมกับบริษัทเอกชนที่มีความสนใจ
ขณะนี้ ออสเตรียได้จัดตั้งกลุ่มบริษัท เพื่อร่วมกันจัดทำข้อเสนอในการดำเนินโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงขนาด 300,000 ลิตรต่อวัน โดยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ รวมกับโรงงานผลิตไฟฟ้าแบบชีวภาพขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ต่อวัน จำนวน 5 โรงงาน โดยรัฐบาลออสเตรียจะจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะยาว ระยะปลอดหนี้ 2 ปี ชำระคืนเงินกู้ 5-10 ปี ไม่มีดอกเบี้ย สำหรับการปรับระบบการผลิตเพื่อให้ใช้วัตถุดิบเกษตรต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ แต่หากสามารถใช้ผลผลิตเพียงอย่างเดียวในหนึ่งโรงงาน จะช่วยลดต้นทุนได้มากกว่าและเอทานอลสามารถใช้แทน MTBE (Methyl Tertiary Butyl Esther) ได้อย่างสมบูรณ์
ส่วนสถานที่ตั้งโรงงานนั้น อาจตั้งกระจายตามภาคต่าง ๆ ที่มีผลผลิตทางการเกษตรป้อนโรงงานได้เพียงพอ ทั้งนี้ จะเป็นการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่จะให้ใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์ในประเทศให้มากที่สุด
2.การเข้าร่วมในบันทึกความเข้าใจระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ค.ร.ม. มีมติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2544 ให้ประเทศไทยเข้าร่วมในบันทึกความเข้าใจระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้หากมีการปรับปรุงถ้อยคำของบันทึกความเข้าใจฯ ที่มิใช่สาระสำคัญก็ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้โดยประสานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
องค์กรและการประสานงาน
1) ประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกันทำหน้าที่ประธานที่ประชุมรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมของอาเซียน (TELMIN) ทุกปี โดยเรียงตามตัวอักษร
2)ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านโทรคมนาคมอาเซียน (TELSOM) จะทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติของ TELMIN ในการกำกับดูแล ประสานงานและดำเนินการตามโครงการและแนวนโยบายที่กำหนดโดย TELMIN
3) การจัดประชุม TELMIN จะมีทุกปี เพื่อหารือประเด็นต่าง ๆ และแนวทางการพัฒนาเพื่อประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งกำหนดนโยบายในสาขาโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน
3. การกำหนดให้สนามบินนครพนมเป็นสนามบินศุลกากร
ค.ร.ม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สนามบินนครพนมเป็นสนามบินศุลกากร ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและส่งเสริมการท่องเที่ยว
ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์
ค.ร.ม. ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อรองรับการทำธุรกรรมการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการจัดตั้งตลาดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จะทำให้ระบบการเงินมีความสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นตลาดที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการผันผวนของราคาและต้นทุนของตราสารการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และราคาหุ้น ฯลฯ
1) ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มีการกำหนดนิยามความหมายที่เกี่ยวข้อง อำนาจหน้าที่การกำกับดูแล คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการ วิธีปฏิบัติ การระงับข้อพิพาทและบทกำหนดโทษ
2) ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อให้กองทุนรวมสามารถบริหารความเสี่ยงโดยการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้
การดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ค.ร.ม. รับทราบผลการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ตามที่สำนักเลขาธิการนากรัฐมนตรีรายงานดังนี้1) นโยบายพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย
- นับตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อวันที่ 1 เมษายน — 30 มิถุนายน 2544มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 2.25 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 95.2 ของผู้มีคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็นผู้ขอพักชำระหนี้ 1.15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 51.24 และขอลดภาระหนี้ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 48.76
- มีการจัดโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ โดยตั้งเป้าฟื้นฟูในปี 2544 จำนวน 131,951 ราย และปี 2545 จำนวน 800,000 ราย
2) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด และระดับอำเภอครบทุกจังหวัดและอำเภอแล้ว
- หมู่บ้านได้จัดเวทีเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน จำนวน44,413 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 62.37
- คณะอนุกรรมการฯ ระดับจังหวัดได้ทำการประเมินความพร้อม จำนวน 1,347 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.03 โดยผ่านการประเมินจำนวน 701 หมู่บ้าน
3) ธนาคารประชาชน
- เริ่มปล่อยกู้ได้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน — 11 กรกฎาคม 2544 มียอดสมาชิกรวม 333,304 ราย จำนวนเงินฝากรวม 562.41 ล้านบาท มีผู้กู้ เงินจำนวน 18,902 ราย รวมยอดกู้ 263.56 ล้านบาท
4) 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์
- กระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดรวม 22 จังหวัดแล้ว- จัดทำบัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมมีศักยภาพ 52 จังหวัด
- ร่วมกับหน่วยงาน/ภาคเอกชน จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ 6.ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
ค.ร.ม. เห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แต่ให้รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปปรับปรุงแล้วนำเสนอ ค.ร.ม. ครั้งต่อไป หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาก็นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในสมัยหน้า
ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเป็นนิติบุคคล และสถาบันพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งให้มีคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลด้านการตลาด กระทรวงอุตสาหกรรมดูแลด้านการผลิต กระทรวงมหาดไทยดูแลเรื่องการพัฒนาชุมชน และกระทรวงการคลังดูแลเรื่องการจัดเก็บภาษีไม่ให้ซ้ำซ้อน
7. การบริการการส่งออกที่รวดเร็ว
ค.ร.ม. รับทราบในส่วนของการให้บริการการส่งออกที่รวดเร็วตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางแก้ไขปัญหาของภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของประเทศ ดังนี้
1) ได้จัดทำข้อมูลขั้นตอนการขออนุญาตและออกใบรับรองสำหรับสินค้าส่งออก
- กลุ่มสินค้าที่มีขั้นตอนการขออนุญาตเป็นพิเศษตามความต้องการของตลาดผู้ซื้อ ได้แก่ อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง แปรรูปและกระป๋อง ผักและผลไม้สด (มะม่วงลำไย ทุเรียน)ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม (ยา) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- กลุ่มสินค้าอื่น ๆ เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไม่มีปัญหาขั้นตอนการขออนุญาตเป็นพิเศษ
2) กระทรวงพาณิชย์ได้เชิญผู้บริหารของหน่วยงานให้บริการ มาหารือร่วมกันโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
เป็นประธาน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันในการให้บริการการส่งออกรวดเร็วขึ้น มีการปรับเข้าหาเป้าหมาย
การทำงานร่วมกัน และมีการประสานงานให้มากขึ้น ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ รับจะไปเร่งรัดการให้บริการโดยเฉพาะ
การออกใบอนุญาตให้รวดเร็วขึ้น
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการส่งออกจะจัดประชุมต่อไปเป็นระยะโดยจะมีการพิจารณาเป็นรายสินค้าและเป็น
การประชุมกลุ่มย่อยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าแต่ละชนิด
8. สรุปผลการศึกษาสินค้านำเข้าของไทย
ค.ร.ม. รับทราบรายงานสรุปผลการศึกษาสินค้านำเข้าของไทย และแนวทางการดำเนินมาตรการลดการนำเข้าในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ มีผลการพิจารณาสรุปได้ดังนี้
1) มาตรการลดการนำเข้า
- สนับสนุนการใช้สินค้าทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปภายในประเทศรวมทั้งพัฒนาศักยภาพการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและให้มีกลไกเชื่อมโยงการผลิตภายในประเทศแบบครบวงจร
- ประหยัดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ควรรณรงค์ให้มีการประหยัดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง
- รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ใช้สินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งนี้ ในภาพรวมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตเป็นแกนกนกลางประสานการจัดทำแผนหลักตามนโยบายรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทย เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างจริงจังและต่อเนื่องอยู่แล้ว
2)การลดการนำเข้าเพื่อมิให้มีการสต๊อกวัตถุดิบในการผลิตมากเกินไปและการลดระยะเวลาให้มีผลตอบแทนในระยะสั้นของสินค้าทุนนั้น พบว่าสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันภาคธุรกิจได้มีการบริหารสินค้าคงคลังโดยวิธีการ just in time และได้มีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการใช้กำลังการผลิตสูงสุดของเครื่องจักรอยู่ด้วยแล้ว จึงยังไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใดเพิ่มเติมในขณะนี้
3) การดำเนินมาตรการเพิ่มจากที่ดำเนินการอยู่แล้วในส่วนของกระทรวงพาณิชย์
- ส่งเสริมให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาจัดตั้ง Purchasing Office ในไทยเพื่อซื้อสินค้าไทยส่งไปขายในประเทศตนหรือตลาดอื่น โดยการอำนวยความสะดวกและให้สิ่งจูงใจด้านต่าง ๆ และเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยอีกทางหนึ่ง
- การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมนิยมสินค้าไทย จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมสินค้ากว้างขึ้น โดยจัดงานแสดงสินค้าของภูมิภาคต่าง ๆหรือเป็นรายสินค้าซึ่งเป็นสินค้าที่มีการผลิตในท้องถิ่นและให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นเข้าร่วมงานสินค้าได้โดยตรง
- การสร้างค่านิยมสินค้าไทย โดยให้การส่งเสริมพัฒนารูปแบบสินค้าไทยให้มีความหลากหลาย รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุภายในประเทศให้ทันสมัย ได้มาตรฐานทัดเทียมกับของต่างประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
- ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทยทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้กรมที่เกี่ยวข้องดำเนินการแล้ว
รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเดือนเมษายน 2544
ค.ร.ม. รับทราบรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเดือนเมษายน 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1) การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเดือนเมษายน 2544 เทียบกับเดือนเมษายน 2543
- สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 49.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 8.71 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 22.12 และปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 9 รายการ ตั้งแต่ร้อยละ 5.81 (เครื่องประดับที่ทำด้วยคริสตัล) ถึงร้อยละ 86.84 (กระเป๋าหนังและเข็มขัดหนัง) และมี 8 รายการที่มีมูลค่านำเข้าลดลงตั้งแต่ร้อยละ 3.48 (ไวน์) ถึงร้อยละ 61.74 (เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารหรือใช้ตกแต่งภายในที่ทำด้วยคริสตัล)
- สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
(1) สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 7.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.18 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 19.16
(2) น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 6.28 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 1.59 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 33.96
(3) ผ้าทอด้วยขนสัตว์ มีมูลค่านำเข้า 5.78 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2.69 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 86.66 2) การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543-เมษายน 2544 เทียบกับเดือนตุลาคม 2542-เมษายน 2543
- มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543-เมษายน 2544) มีมูลค่านำเข้ารวม 347.38 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับต้นปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542-เมษายน 2543) มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 49.61 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 16.66
- สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรกตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543-เมษายน 2544) ได้แก่
(1) สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 60.89 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 9.89 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 24.61
(2) กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 45.36 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 5.16 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 19.16
(3) นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 36.83 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 9.90 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 36.75
--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-