ข่าวในประเทศ
1. แนวทางการรับซื้อหนี้เสียของ ธพ. ในการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ ปลัด ก.คลังในฐานะรองประธานคณะกรรมการศึกษาการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลางหรือเอเอ็มซีแห่งชาติ (นายสมใจนึก เอ็งตระกูล) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 มี.ค. 44 นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการรับซื้อหนี้เสียจาก ธพ. โดยก่อนหน้านี้ได้ตกลงกันไว้ว่าจะรับซื้อหนี้เสียที่มีเจ้าหนี้ 3 รายขึ้นไปจำนวน 3 แสน ล.บาท และคาดว่าจะรับซื้อหนี้เสียในราคาส่วนลดที่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ส่วน ธพ. ของรัฐกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะรับซื้อทั้งจำนวนหรือซื้อเฉพาะส่วนลดเพราะปกติกรัฐบาลได้รับภาระอยู่แล้ว นอกจากนี้อาจต้องบังคับซื้อหนี้เสียจาก ธพ.เอกชน เนื่องจากอาจไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ทั้งนี้ เชื่อว่าการดึงหนี้เสียออกจากระบบจะทำให้ส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝากแคบลง เพราะจะทำให้ ธพ.ไม่ต้องกันเงินสำรองเผื่อหนี้สูญอีก และสามารถดำเนินธุรกิจมีกำไรต่อไปได้ (เดลินิวส์ 27)
2. ก.คลังเตรียมจัดสรรเงินเพื่อใช้ตามนโยบายของรัฐบาล ปลัด ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านการจัดสรรวงเงินเพื่อนำมาใช้ตามนโยบายของรัฐบาล โดยจากการประชุมร่วมกับสำนัก งปม.คาดว่า จะสามารถตัดโครงการที่ไม่มีความจำเป็นใน งปม.ปี 44 ได้อย่างน้อยจำนวน 9,000 ล.บาท และประเมินว่า เมื่อรวมกับเงินนอก งปม.ที่อยู่ในรูปกองทุนหมุนเวียนต่างๆ จะมีประมาณ 20,000-30,000 ล.บาท ทั้งนี้ หากเงินจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ก.คลังยังมีแนวทางในการกู้ยืมจาก ธพ.ที่มีสภาพคล่องในระบบสูงมาก เช่น ธ.ออมสิน โดยการกู้ยืมอาจเป็นจำนวนไม่มาก และมีหลักประกันเป็นหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่ ก.คลังถือหุ้นอยู่ เช่น บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (โลกวันนี้ 27)
3. ธ.ออมสินเตรียมเปิดให้บริการในรูปแบบธนาคารประชาชน ผู้อำนวยการ ธ.ออมสิน เปิดเผยถึงการเตรียมให้บริการในรูปแบบธนาคารประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลว่า ธ.ออมสินได้ศึกษาความเป็นไปได้เสร็จแล้ว โดยหลักการ ธ.ออมสินจะให้สินเชื่อแก่ประชาชนที่ประกอบธุรกิจรายย่อยวงเงินไม่เกิน 10,000-20,000 บาทต่อราย โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือใช้บุคคลค้ำประกัน และแยกบัญชีลูกค้าในส่วนของธนาคารประชาชนออกจากบัญชีของ ธ.ออมสิน โดยให้สำนักงานสาขาเป็นจุดให้สินเชื่อตลอดจนพิจารณาการให้สินเชื่อ แต่รัฐบาลจะต้องให้เงินสนับสนุนจำนวน 20,000 ล.บาทในระยะแรก (ไทยรัฐ 27)
4. ธกส. เตรียมออกจำหน่ายบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชนทั่วไป รองผู้จัดการธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เปิดเผยว่า ธกส. เตรียมออกจำหน่ายบัตรออมทรัพย์ทวีสิน 5 จำนวน 10 ล้านหน่วย ๆ ละ 500 บาท เป็นจำนวนเงินรวม 5,000 ล.บาท อายุ 3 ปี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับ ธกส. โดยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราประมาณร้อยละ 4 ซึ่งการออกบัตรออมทรัพย์ครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายพักชำระหนี้ภาคเกษตรของรัฐบาลแต่อย่างใด เป็นเพียงการระดมทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง แต่ธกส.พร้อมดำเนินการตามนโยบายพักชำระหนี้ของรัฐบาล และขณะนี้ได้เร่งทำความเข้าใจกับพนักงานเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวเพื่อนำไปประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบต่อไป (เดลินิวส์ 27)
ข่าวต่างประเทศ
1. ยอดการขายบ้านมือสองของ สรอ. ลดลงร้อยละ 6.6 ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 26 ก.พ. 44 National Association of Realtors (NAR) เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ยอดการขายบ้านมือสองของ สรอ. มีจำนวน 4.65 ล. หลังต่อปี ลดลงร้อยละ 6.6 จากตัวเลขที่ปรับแล้ว จำนวน 4.98 ล. หลัง ต่อปี ในเดือน ธ.ค. 43 นับเป็นยอดขายฯต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 43 ที่มีจำนวน 4.54 ล. หลังต่อปี และลดลงต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะมีจำนวน 4.98 ล. หลังต่อปี (รอยเตอร์26)
2. นักเศรษฐศาสตร์คาดหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น รายงานจากโตเกียวเมื่อ 26 ก.พ.44 รอยเตอร์สำรวจความคาดหมายเกี่ยวกับตัวเลขเบื้องต้นผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค.43) ที่ทางการจะประกาศกลางเดือน มี.ค.นี้ นักเศรษฐศาสตร์ 20 คน คาดว่าจีดีพี จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.4 โดย 1 คนคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.1 ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 และที่เหลือคาดจีดีพีจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.17-0.9 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3 (ก.ค.-ก.ย.43) จีดีพีตามราคาที่แท้จริงหลังทบทวนตัวเลข เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเพียงร้อยละ 0.6 ผลการสำรวจดังกล่าวบ่งชี้ถึงการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ว่า จีดีพีของญี่ปุ่นในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือน มี.ค.44 จะสอดคล้องกับเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ระดับร้อยละ 1.2 สำหรับปีงบประมาณต่อไป (เริ่มต้นเดือน เม.ย.44) จีดีพีจะขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดที่ระดับร้อยละ 1.7 โดยการคาดการณ์เฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2 (รอยเตอร์ 26)
3. ยอดขายในร้านค้าเครือข่ายของห้างสรรพสินค้าของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 26 ก.พ.44 Japan Chain Store Association รายงานว่า ยอดขายของร้านค้าในเครือข่ายของห้างสรรพสินค้าในเดือน ม.ค.44 ลดลงร้อยละ 2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เหลือจำนวน 1.41 ล้านล้านเยน (12.17 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 26 เมื่อเทียบปีต่อปี(รอยเตอร์ 26)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 9.9 ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 26 ก.พ. 44 คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ ลดลงร้อยละ 9.9 จากเดือน ม.ค. 43 หลังจากที่เดือน ธ.ค. 43 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ19.7 ส่วนผลผลิตฯ เฉลี่ย 3 เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบปีต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ในเดือน ธ.ค. 43 ขณะเดียวกัน ในเดือน ม.ค. 44 ผลผลิตด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบปีต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ในเดือน ธ.ค. 43 ทั้งนี้ ผลผลิตฯที่ลดลงในเดือนดังกล่าว ปัจจัยส่วนหนึ่งเนื่องจากมีช่วงวันหยุดขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติส่งผลให้โรงงานหลายแห่งปิด ขณะเดียวกันความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมลดลง นักวิเคราะห์ กล่าวว่ารายงานครั้งนี้ บ่งชี้ถึงแนวโน้มความอ่อนแอของผลผลิตภาคอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงหลายเดือนต่อไป (รอยเตอร์26)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 26 ก.พ. 44 42.942 (43.116)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 26 ก.พ. 44ซื้อ 42.7295 (42.9112) ขาย 43.0389 (43.2142)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,300) ขาย 5,500 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.09 (23.64)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. แนวทางการรับซื้อหนี้เสียของ ธพ. ในการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ ปลัด ก.คลังในฐานะรองประธานคณะกรรมการศึกษาการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลางหรือเอเอ็มซีแห่งชาติ (นายสมใจนึก เอ็งตระกูล) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 มี.ค. 44 นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการรับซื้อหนี้เสียจาก ธพ. โดยก่อนหน้านี้ได้ตกลงกันไว้ว่าจะรับซื้อหนี้เสียที่มีเจ้าหนี้ 3 รายขึ้นไปจำนวน 3 แสน ล.บาท และคาดว่าจะรับซื้อหนี้เสียในราคาส่วนลดที่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ส่วน ธพ. ของรัฐกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะรับซื้อทั้งจำนวนหรือซื้อเฉพาะส่วนลดเพราะปกติกรัฐบาลได้รับภาระอยู่แล้ว นอกจากนี้อาจต้องบังคับซื้อหนี้เสียจาก ธพ.เอกชน เนื่องจากอาจไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ทั้งนี้ เชื่อว่าการดึงหนี้เสียออกจากระบบจะทำให้ส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝากแคบลง เพราะจะทำให้ ธพ.ไม่ต้องกันเงินสำรองเผื่อหนี้สูญอีก และสามารถดำเนินธุรกิจมีกำไรต่อไปได้ (เดลินิวส์ 27)
2. ก.คลังเตรียมจัดสรรเงินเพื่อใช้ตามนโยบายของรัฐบาล ปลัด ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านการจัดสรรวงเงินเพื่อนำมาใช้ตามนโยบายของรัฐบาล โดยจากการประชุมร่วมกับสำนัก งปม.คาดว่า จะสามารถตัดโครงการที่ไม่มีความจำเป็นใน งปม.ปี 44 ได้อย่างน้อยจำนวน 9,000 ล.บาท และประเมินว่า เมื่อรวมกับเงินนอก งปม.ที่อยู่ในรูปกองทุนหมุนเวียนต่างๆ จะมีประมาณ 20,000-30,000 ล.บาท ทั้งนี้ หากเงินจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ก.คลังยังมีแนวทางในการกู้ยืมจาก ธพ.ที่มีสภาพคล่องในระบบสูงมาก เช่น ธ.ออมสิน โดยการกู้ยืมอาจเป็นจำนวนไม่มาก และมีหลักประกันเป็นหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่ ก.คลังถือหุ้นอยู่ เช่น บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (โลกวันนี้ 27)
3. ธ.ออมสินเตรียมเปิดให้บริการในรูปแบบธนาคารประชาชน ผู้อำนวยการ ธ.ออมสิน เปิดเผยถึงการเตรียมให้บริการในรูปแบบธนาคารประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลว่า ธ.ออมสินได้ศึกษาความเป็นไปได้เสร็จแล้ว โดยหลักการ ธ.ออมสินจะให้สินเชื่อแก่ประชาชนที่ประกอบธุรกิจรายย่อยวงเงินไม่เกิน 10,000-20,000 บาทต่อราย โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือใช้บุคคลค้ำประกัน และแยกบัญชีลูกค้าในส่วนของธนาคารประชาชนออกจากบัญชีของ ธ.ออมสิน โดยให้สำนักงานสาขาเป็นจุดให้สินเชื่อตลอดจนพิจารณาการให้สินเชื่อ แต่รัฐบาลจะต้องให้เงินสนับสนุนจำนวน 20,000 ล.บาทในระยะแรก (ไทยรัฐ 27)
4. ธกส. เตรียมออกจำหน่ายบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชนทั่วไป รองผู้จัดการธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เปิดเผยว่า ธกส. เตรียมออกจำหน่ายบัตรออมทรัพย์ทวีสิน 5 จำนวน 10 ล้านหน่วย ๆ ละ 500 บาท เป็นจำนวนเงินรวม 5,000 ล.บาท อายุ 3 ปี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับ ธกส. โดยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราประมาณร้อยละ 4 ซึ่งการออกบัตรออมทรัพย์ครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายพักชำระหนี้ภาคเกษตรของรัฐบาลแต่อย่างใด เป็นเพียงการระดมทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง แต่ธกส.พร้อมดำเนินการตามนโยบายพักชำระหนี้ของรัฐบาล และขณะนี้ได้เร่งทำความเข้าใจกับพนักงานเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวเพื่อนำไปประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบต่อไป (เดลินิวส์ 27)
ข่าวต่างประเทศ
1. ยอดการขายบ้านมือสองของ สรอ. ลดลงร้อยละ 6.6 ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 26 ก.พ. 44 National Association of Realtors (NAR) เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ยอดการขายบ้านมือสองของ สรอ. มีจำนวน 4.65 ล. หลังต่อปี ลดลงร้อยละ 6.6 จากตัวเลขที่ปรับแล้ว จำนวน 4.98 ล. หลัง ต่อปี ในเดือน ธ.ค. 43 นับเป็นยอดขายฯต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 43 ที่มีจำนวน 4.54 ล. หลังต่อปี และลดลงต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะมีจำนวน 4.98 ล. หลังต่อปี (รอยเตอร์26)
2. นักเศรษฐศาสตร์คาดหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น รายงานจากโตเกียวเมื่อ 26 ก.พ.44 รอยเตอร์สำรวจความคาดหมายเกี่ยวกับตัวเลขเบื้องต้นผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค.43) ที่ทางการจะประกาศกลางเดือน มี.ค.นี้ นักเศรษฐศาสตร์ 20 คน คาดว่าจีดีพี จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.4 โดย 1 คนคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.1 ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 และที่เหลือคาดจีดีพีจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.17-0.9 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3 (ก.ค.-ก.ย.43) จีดีพีตามราคาที่แท้จริงหลังทบทวนตัวเลข เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเพียงร้อยละ 0.6 ผลการสำรวจดังกล่าวบ่งชี้ถึงการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ว่า จีดีพีของญี่ปุ่นในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือน มี.ค.44 จะสอดคล้องกับเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ระดับร้อยละ 1.2 สำหรับปีงบประมาณต่อไป (เริ่มต้นเดือน เม.ย.44) จีดีพีจะขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดที่ระดับร้อยละ 1.7 โดยการคาดการณ์เฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2 (รอยเตอร์ 26)
3. ยอดขายในร้านค้าเครือข่ายของห้างสรรพสินค้าของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 26 ก.พ.44 Japan Chain Store Association รายงานว่า ยอดขายของร้านค้าในเครือข่ายของห้างสรรพสินค้าในเดือน ม.ค.44 ลดลงร้อยละ 2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เหลือจำนวน 1.41 ล้านล้านเยน (12.17 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 26 เมื่อเทียบปีต่อปี(รอยเตอร์ 26)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 9.9 ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 26 ก.พ. 44 คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ ลดลงร้อยละ 9.9 จากเดือน ม.ค. 43 หลังจากที่เดือน ธ.ค. 43 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ19.7 ส่วนผลผลิตฯ เฉลี่ย 3 เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบปีต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ในเดือน ธ.ค. 43 ขณะเดียวกัน ในเดือน ม.ค. 44 ผลผลิตด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบปีต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ในเดือน ธ.ค. 43 ทั้งนี้ ผลผลิตฯที่ลดลงในเดือนดังกล่าว ปัจจัยส่วนหนึ่งเนื่องจากมีช่วงวันหยุดขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติส่งผลให้โรงงานหลายแห่งปิด ขณะเดียวกันความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมลดลง นักวิเคราะห์ กล่าวว่ารายงานครั้งนี้ บ่งชี้ถึงแนวโน้มความอ่อนแอของผลผลิตภาคอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงหลายเดือนต่อไป (รอยเตอร์26)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 26 ก.พ. 44 42.942 (43.116)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 26 ก.พ. 44ซื้อ 42.7295 (42.9112) ขาย 43.0389 (43.2142)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,300) ขาย 5,500 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.09 (23.64)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-