วันนี้ (1 มิถุนายน 2548) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นบริษัท อุตสาหกรรม ปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (บริษัท ทีพีไอ) ระหว่าง Consortium ของผู้ร่วมลงทุนนำโดยกลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลัก ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ธนาคารออมสิน และกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ร่วมกับกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ที่จะทำหน้าที่กระจายหุ้นต่อให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมและเจ้าหนี้ ซึ่งประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ซื้อ กับ บริษัท ทีพีไอ และผู้รักษาหุ้นของเจ้าหนี้ ในฐานะผู้ขาย
การลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นในวันนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทที่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผน โดยกำหนดให้กระทรวงการคลังมีสิทธิโดยเด็ดขาดในการจัดสรรการขายส่วนทุนตามแผนทั้งหมดให้แก่ผู้ร่วมลงทุนที่มีคุณสมบัติสำคัญตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวคือ ต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่เป็นกองทุนหรือมีความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและปิโตรเลียมหรือกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 4 พฤศจิกายน 2548
หุ้นส่วนทุนทั้งหมดที่ทำสัญญาซื้อขายในวันนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 17,550 ล้านหุ้น (คิดเป็นร้อยละ 90 ของทุนจดทะเบียนของทีพีไอ) แยกเป็นหุ้นเพิ่มทุนใหม่จำนวน 11,651 ล้านหุ้น และหุ้นเดิมของเจ้าหนี้จำนวน 5,899 ล้านหุ้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้จัดสรรการกระจายหุ้นจำนวนดังกล่าวให้แก่กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลักเป็นจำนวนร้อยละ 61.5 ผู้ถือหุ้นเดิม จำนวนร้อยละ 20 และเจ้าหนี้ จำนวนร้อยละ 8.5 ตามลำดับ ดังนี้
1) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 31.5
2) ธนาคารออมสิน ร้อยละ 10
3) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ/หรือ กองทุนที่เป็นพันธมิตรของ กบข.
ร้อยละ 10
4) กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ร้อยละ 10
5) ผู้ถือหุ้นเดิม ร้อยละ 20
6) เจ้าหนี้ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงิน ร้อยละ 8.5
สำหรับราคาซื้อขายหุ้นได้มีการตกลงราคาไว้ที่ราคาหุ้นละ 3.30 บาท ซึ่งจะทำให้บริษัท ทีพีไอ มีรายรับจากการขายหุ้นในครั้งนี้เป็นเงินทั้งสิ้น 57,915 ล้านบาท (1,448 ล้านเหรียญ สรอ.) ซึ่งสูงกว่าจำนวนเงินที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้ว่าจะต้องไม่ต่ำกว่า 650 ล้านเหรียญ สรอ.ความสำเร็จจากการขายหุ้นบริษัท ทีพีไอ ดังกล่าว เมื่อรวมกับจำนวนหนี้ที่จะลดลงอีกไม่น้อยกว่า 250 ล้านเหรียญ สรอ. จากการขายหุ้นทีพีไอโพลีน จำนวน 249 ล้านหุ้นที่บริษัท ทีพีไอ ถืออยู่ จะส่งผลให้หนี้ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงินของบริษัท ทีพีไอ ลดลงจากปัจจุบันที่มีประมาณ 2,650 ล้านเหรียญ สรอ. เหลือเพียงประมาณ 950 ล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งจะทำให้บริษัท ทีพีไอ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งทัดเทียมกับบริษัทชั้นนำอื่น ๆ ของไทย และจะเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
การที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและจัดสรรส่วนทุนของบริษัท ทีพีไอ ตามแผนฟื้นฟูกำหนดไว้ จนนำมาสู่การลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นในวันนี้ จะส่งผลดีต่อทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องสมดังเจตนารมณ์ของแผนที่ศาลล้มละลายกลางได้ให้ความเห็นชอบไว้ โดยจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นจากเดิมที่เจ้าหนี้ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 75 มาเป็นผู้ร่วมลงทุนหลักที่มีบริษัท ปตท. เป็นแกนนำถือหุ้นรวมกันร้อยละ 61.5 ซึ่งจะเป็นหลักประกันได้ว่าบริษัท ทีพีไอ จะกลับมาเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีครบวงจรที่มีความก้าวหน้าต่อไป
สำหรับผู้ถือหุ้นเดิม นอกจากจะได้รับประโยชน์จากการที่บริษัท ทีพีไอ กลับมาเป็นบริษัทที่มีความมั่นคงแข็งแกร่งทางด้านการเงินซึ่งจะนำไปสู่การได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผล ที่ดีขึ้นในอนาคตแล้ว ผู้ถือหุ้นเดิมยังได้รับสิทธิจากการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 2 หุ้นใหม่ ในราคาเดียวกันกับกลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลัก และไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาห้ามขายเช่น ที่กำหนดไว้ในกรณีหุ้นที่ขายให้กับกลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลักและเจ้าหนี้ ที่กำหนดระยะเวลาห้ามขายไว้ 2 ปีเพื่อเป็นหลักประกันในความเป็นเอกภาพของการฟื้นฟูกิจการ สิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีสัดส่วนการถือหุ้นโดยรวมเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ถือรวมกันร้อยละ 25 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 30
การดำเนินการภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้คืนจากกระแสรายรับของกิจการที่จะดีขึ้นซึ่งจะทำให้ได้รับชำระคืนหนี้เร็วขึ้นกว่าเดิม ความเสี่ยงต่อภาระหนี้ลดลง และระดับความน่าเชื่อถือของเงินกู้ก็จะปรับดีขึ้นจากหนี้ภายใต้การปรับโครงสร้างกลายเป็นหนี้ปกติ นอกจากนี้ เจ้าหนี้จะได้รับการจัดสรรหุ้นจำนวนร้อยละ 8.5 โดยมีกำหนดระยะเวลาห้ามขาย 2 ปีเช่นเดียวกับผู้ร่วมลงทุนหลักรายอื่น
ส่วนประโยชน์ที่จะมีต่อพนักงานนั้น นอกจากจะมีความมั่นคงในการทำงานแล้ว ตามข้อกำหนดของแผนฟื้นฟูกิจการจะมีการเพิ่มทุนอีกจำนวน 975 ล้านหุ้น เพื่อรองรับโครงการ ออกหลักทรัพย์ให้แก่พนักงาน (ESOP) ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความผูกพันและมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของกิจการด้วยกัน
ความสำเร็จของการดำเนินงานของคณะผู้บริหารแผนและคณะทำงานของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ จะสร้างประโยชน์ต่อกิจการในระยะยาวอย่างแท้จริง กล่าวคือ เป็นการแก้ปัญหาของบริษัท ทีพีไอ แบบเบ็ดเสร็จ ไม่ทำให้บริษัทต้องมีความเสี่ยงกับปัญหาทางการเงินอีกในอนาคต ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะผลักดันให้ บริษัท ทีพีไอ เป็นธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ครบวงจรชั้นนำต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 39/2548 1 มิถุนายน 48--
การลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นในวันนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทที่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผน โดยกำหนดให้กระทรวงการคลังมีสิทธิโดยเด็ดขาดในการจัดสรรการขายส่วนทุนตามแผนทั้งหมดให้แก่ผู้ร่วมลงทุนที่มีคุณสมบัติสำคัญตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวคือ ต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่เป็นกองทุนหรือมีความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและปิโตรเลียมหรือกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 4 พฤศจิกายน 2548
หุ้นส่วนทุนทั้งหมดที่ทำสัญญาซื้อขายในวันนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 17,550 ล้านหุ้น (คิดเป็นร้อยละ 90 ของทุนจดทะเบียนของทีพีไอ) แยกเป็นหุ้นเพิ่มทุนใหม่จำนวน 11,651 ล้านหุ้น และหุ้นเดิมของเจ้าหนี้จำนวน 5,899 ล้านหุ้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้จัดสรรการกระจายหุ้นจำนวนดังกล่าวให้แก่กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลักเป็นจำนวนร้อยละ 61.5 ผู้ถือหุ้นเดิม จำนวนร้อยละ 20 และเจ้าหนี้ จำนวนร้อยละ 8.5 ตามลำดับ ดังนี้
1) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 31.5
2) ธนาคารออมสิน ร้อยละ 10
3) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ/หรือ กองทุนที่เป็นพันธมิตรของ กบข.
ร้อยละ 10
4) กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ร้อยละ 10
5) ผู้ถือหุ้นเดิม ร้อยละ 20
6) เจ้าหนี้ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงิน ร้อยละ 8.5
สำหรับราคาซื้อขายหุ้นได้มีการตกลงราคาไว้ที่ราคาหุ้นละ 3.30 บาท ซึ่งจะทำให้บริษัท ทีพีไอ มีรายรับจากการขายหุ้นในครั้งนี้เป็นเงินทั้งสิ้น 57,915 ล้านบาท (1,448 ล้านเหรียญ สรอ.) ซึ่งสูงกว่าจำนวนเงินที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้ว่าจะต้องไม่ต่ำกว่า 650 ล้านเหรียญ สรอ.ความสำเร็จจากการขายหุ้นบริษัท ทีพีไอ ดังกล่าว เมื่อรวมกับจำนวนหนี้ที่จะลดลงอีกไม่น้อยกว่า 250 ล้านเหรียญ สรอ. จากการขายหุ้นทีพีไอโพลีน จำนวน 249 ล้านหุ้นที่บริษัท ทีพีไอ ถืออยู่ จะส่งผลให้หนี้ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงินของบริษัท ทีพีไอ ลดลงจากปัจจุบันที่มีประมาณ 2,650 ล้านเหรียญ สรอ. เหลือเพียงประมาณ 950 ล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งจะทำให้บริษัท ทีพีไอ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งทัดเทียมกับบริษัทชั้นนำอื่น ๆ ของไทย และจะเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
การที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและจัดสรรส่วนทุนของบริษัท ทีพีไอ ตามแผนฟื้นฟูกำหนดไว้ จนนำมาสู่การลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นในวันนี้ จะส่งผลดีต่อทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องสมดังเจตนารมณ์ของแผนที่ศาลล้มละลายกลางได้ให้ความเห็นชอบไว้ โดยจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นจากเดิมที่เจ้าหนี้ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 75 มาเป็นผู้ร่วมลงทุนหลักที่มีบริษัท ปตท. เป็นแกนนำถือหุ้นรวมกันร้อยละ 61.5 ซึ่งจะเป็นหลักประกันได้ว่าบริษัท ทีพีไอ จะกลับมาเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีครบวงจรที่มีความก้าวหน้าต่อไป
สำหรับผู้ถือหุ้นเดิม นอกจากจะได้รับประโยชน์จากการที่บริษัท ทีพีไอ กลับมาเป็นบริษัทที่มีความมั่นคงแข็งแกร่งทางด้านการเงินซึ่งจะนำไปสู่การได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผล ที่ดีขึ้นในอนาคตแล้ว ผู้ถือหุ้นเดิมยังได้รับสิทธิจากการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 2 หุ้นใหม่ ในราคาเดียวกันกับกลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลัก และไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาห้ามขายเช่น ที่กำหนดไว้ในกรณีหุ้นที่ขายให้กับกลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลักและเจ้าหนี้ ที่กำหนดระยะเวลาห้ามขายไว้ 2 ปีเพื่อเป็นหลักประกันในความเป็นเอกภาพของการฟื้นฟูกิจการ สิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีสัดส่วนการถือหุ้นโดยรวมเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ถือรวมกันร้อยละ 25 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 30
การดำเนินการภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้คืนจากกระแสรายรับของกิจการที่จะดีขึ้นซึ่งจะทำให้ได้รับชำระคืนหนี้เร็วขึ้นกว่าเดิม ความเสี่ยงต่อภาระหนี้ลดลง และระดับความน่าเชื่อถือของเงินกู้ก็จะปรับดีขึ้นจากหนี้ภายใต้การปรับโครงสร้างกลายเป็นหนี้ปกติ นอกจากนี้ เจ้าหนี้จะได้รับการจัดสรรหุ้นจำนวนร้อยละ 8.5 โดยมีกำหนดระยะเวลาห้ามขาย 2 ปีเช่นเดียวกับผู้ร่วมลงทุนหลักรายอื่น
ส่วนประโยชน์ที่จะมีต่อพนักงานนั้น นอกจากจะมีความมั่นคงในการทำงานแล้ว ตามข้อกำหนดของแผนฟื้นฟูกิจการจะมีการเพิ่มทุนอีกจำนวน 975 ล้านหุ้น เพื่อรองรับโครงการ ออกหลักทรัพย์ให้แก่พนักงาน (ESOP) ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความผูกพันและมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของกิจการด้วยกัน
ความสำเร็จของการดำเนินงานของคณะผู้บริหารแผนและคณะทำงานของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ จะสร้างประโยชน์ต่อกิจการในระยะยาวอย่างแท้จริง กล่าวคือ เป็นการแก้ปัญหาของบริษัท ทีพีไอ แบบเบ็ดเสร็จ ไม่ทำให้บริษัทต้องมีความเสี่ยงกับปัญหาทางการเงินอีกในอนาคต ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะผลักดันให้ บริษัท ทีพีไอ เป็นธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ครบวงจรชั้นนำต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 39/2548 1 มิถุนายน 48--