ปาฐกถาพิเศษเรื่อง
"เศรษฐกิจไทยกับความในใจ ดร.สมคิด"
โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ที่สถาบันศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 22 มิถุนายน 2544
----------------
ศศินทร์ให้เกียรติผม ผมมีโอกาสมาช่วยในช่วงต้น แต่ในช่วงกลาง และช่วงท้ายนั้น เนื่องจากเวลาไม่ค่อยมีติดค้างศศินทร์มานาน วันนี้เป็นโอกาสดี เพราะว่า เป็นงานที่จัดโดยศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันเพื่อหาเงินใช้ในการกุศลโดยเฉพาะ ทั้งนี้จึงเป็นความยินดีที่ผมจะมาพูดในวันนี้เป็นการพิเศษ และต้องขอแสดงความยินดีที่ศศินทร์ จะมีอายุครบ 20 ปี สำหรับหัวข้อ "เศรษฐกิจไทยกับความในใจของสมคิด" จริงๆ แล้วผมไม่มีความในใจ ผมเป็นคนเปิดเผยตลอดเวลา และถ้ามีความในใจก็คงไม่ให้ใครทราบ เพราะภาพพจน์ของผมในอดีตนั้นเป็นภาพพจน์ของคนที่ชอบวางกลยุทธ์ การวางกลยุทธ์ ก็ต้องไม่ให้ใครอ่านใจผมออก แต่จริงๆ แล้วผมไม่เคยเป็นนักกลยุทธ์เลย ผมเคยบอกอาจารย์ของผมว่า คนชอบมองว่าผมเป็นคนชอบวางกลยุทธ์ แต่ผมคิดอะไรไม่เคยได้อย่างนั้นสักที ถ้าผมวางกลยุทธ์เก่งจริง วันนี้ผมคงไม่ต้องมายืนเป็น รมว.คลัง
ผมคงพูดถึงปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ผมจะไม่พูดเชิงวิชาการ แต่จะพูดจากประสบการณ์ที่ยังมีอยู่ จากภาพที่อยู่ในใจของผมตลอด 20 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่สำเร็จการศึกษาจากอเมริกามา เนื่องจากผู้ใหญ่ให้ความเมตตา ผมก็มีโอกาสเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับภาคเอกชน สถานที่แรกที่เข้าไปทำคือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผมจบเศรษฐศาสตร์ และ MBA การเงิน และมาการตลาด แต่งานแรกที่มีโอกาสเข้ามาสู่เอกชนนั้น คือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงที่กำลังจะ take off พอดี ผู้ใหญ่ในสมัยนั้นได้แก่ ดร.มารวยฯ และอาจารย์สังเวียนฯ ท่านให้ผมเข้าไปเป็นที่ปรึกษา เข้าไปนั่งอยู่ใน Leasing Committee อยู่ 10 กว่าปี ได้เห็นตั้งแต่นักธุรกิจธรรมดาเดินผ่าน Leasing Committee เดินผ่านออกไปเป็นมหาเศรษฐี คนแล้วคนเล่า แล้วก็กลายเป็นคนที่ล้มละลายไปกว่า 50% ในช่วงท้ายสุดที่ผ่านมา
จนกระทั่งมีโอกาสเข้าไปในวงการของ mass company โดยการชักชวนของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ในสมัยนั้น แต่งานที่ทำขณะนั้นไม่ใช่การตลาด ไม่ใช่การเงิน แต่ทำฐานข้อมูล เรื่องหุ้น ผมซึ่งไม่ใช่ expert เรื่องหุ้น ก็เอา Competitive Model ของ Michael Porter ไปสร้างหลักการวิเคราะห์หุ้น แบบ fundamental ไม่ใช่ technical เป็นแบบอย่างที่ลูกศิษย์รุ่นต่อๆ มานำไปสู่การวิเคราะห์ คู่แข่ง และบริษัท เพื่อคาดการณ์ราคาหุ้นในตลาดอนาคตข้างหน้า จากนั้นก็ไปสู่ที่ปรึกษากลุ่ม customer จากนั้นก็เข้าไปสู่วงการ finance และ banking 2-3 แห่ง ไปสู่วงการอุตสาหกรรมหลักอีก 2-3 แห่ง เข้าไปถึงตลาดก็ได้เห็นอะไรบางอย่างเป็น jigsaw puzzle อะไรบางอย่าง ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังขึ้น โชคดีที่ผู้ใหญ่ให้ความเมตตาผมจับผมเข้าไปอยู่ในด้านของการเมือง ผมพบ ดร.ทักษิณ เมื่อ 7-8 ปี ที่แล้ว ท่านให้ความเมตตาเอาผมไปช่วยเรื่องกระทรวงต่างประเทศ ชีวิตก็เลยเข้าไปสู่การ เมืองเอาความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในเรื่องต่างประเทศ ในลักษณะของเศรษฐกิจนำการต่างประเทศ จากนั้นเข้าไปสู่กระทรวงพาณิชย์ ไปสู่ทำเนียบรัฐบาล ไปสู่กระทรวงอุตสาหกรรม ท้ายสุดไปช่วยที่กระทรวงการคลังในขณะที่ประเทศเข้าสู่วิกฤติ
ภาพที่เห็นทั้งหมดในช่วง 15-20 ปี ทำให้สมองส่วนหนึ่งได้เห็นภาคเอกชนในช่วงนั้น ตั้งแต่ตอนขึ้นถึงตอนที่แตกสลาย ได้เห็นการเมืองซึ่งมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง ได้เห็นกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร ทำให้ภาพที่ผมมีอยู่นั้นอาจจะแตกต่างจากการมองภาพของคนอื่น ซึ่งไม่เหมือนกัน ย้อนหลังไปประมาณ 3 ปี ที่ผ่านมา ขณะนั้น ดร.ทักษิณ ตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นมา บังเอิญผมอยู่ในส่วนนั้นในการก่อตั้ง ผมยังจำได้ดีว่า ผมคุยกับ ดร.ทักษิณ ในขณะนั้นว่า ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้นไม่ใช้เกิดจากปัญหาวิกฤติทางการเงิน แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากการสั่งสมปัจจัยเชิงโครงสร้างของประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นมา แล้วมันผุ กร่อน ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังพุ่งขึ้นไป
ผมเห็นการผลิตในลักษณะการรับจ้างทำของ ต่างชาติย้ายโรงงานมาถึงเมืองไทย ขอเพียงให้ค่าแรงราคาถูก รับจ้างทำของแล้วก็ส่งออก พ่อค้าก็ทำตามอย่างนั้น 10 กว่าปีที่ผ่านมาโครงสร้างของการส่งออกไม่เคยเน้นที่ความสามารถเชิงแข่งขัน ฉะนั้นในช่วงที่เศรษฐกิจพุ่งขึ้นไป ยอดส่งออกก็ทำได้ดี แต่การที่ยอดขายพุ่งขึ้นนั้นความสามารถเชิงการทำกลับลดลง ผมได้เห็นบริษัทเอกชน ตลอดเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่บริษัทที่ดีที่สุด ปานกลาง ถึงระดับที่แย่ๆ ไม่ได้เห็นความพยายามของบริษัทเอกชนที่จะเน้นในการพัฒนาความสามารถเชิงการผลิต เชิงเทคโนโลยี แต่บริษัทส่วนใหญ่ภูมิใจเรื่อง GDP growth ว่าจะเป็น NICs ประเทศต่อไป ภูมิใจอยู่กับตัวเลขเงินที่มีอยู่นั้นแทนที่จะกู้มาเพื่อพัฒนาความสามารถในการผลิตของประเทศ ของบริษัท แต่เงินต่อเงินที่ไหลมาเรื่อยๆ ซึ่งโดยเฉพาะใน 5 ปีหลัง นำไปสู่การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์มากเกินไป เวลาที่ไปอยู่ Finance กับ แบงก์จะเห็นตัวเลขทันที การปล่อยเงินกู้ของธนาคารขณะนั้น เวลาให้สินเชื่อ โครงการนี้ดี น่าสนใจ เจ้าของกิจการเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ ฉะนั้นปล่อยสินเชื่อ พร้อมหลักทรัพย์ค้ำประกันด้วยที่ดิน เพราะราคาที่ดินในขณะนั้นสูง ใช้หุ้นค้ำประกัน ถัวเฉลี่ย 6 เดือน ย้อนหลัง ซึ่งขณะนั้นเฟะทั้งหมด
การที่ภาคการเงินขยายตัวโดยที่ไม่มี base การที่การส่งออกขยายตัว โดยที่ความสามารถค่อยๆ ลดลงการ ที่บริษัทเอกชนไม่พัฒนาความสามารถของตัวเอง สิ่งเหล่านี้สั่งสม เวลามองไปในระบบราชการเรารู้ทันทีเลยว่า ความสามารถในการก้าวทันโลกเริ่มถดถอยแล้ว คนเก่ง คนดี เริ่มออกจากระบบราชการเริ่มก้าวไม่ทันโลก ระบบราชการที่ใหญ่ และเทอะทะ ทำให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ยาก เป็นไปได้ช้า ตอนเกิดวิกฤติในตอนนั้นผมจำได้ดีเราไม่พร้อมเลย เราลอยตัวค่าเงิน แต่ระบบข้าราชการไม่พร้อม เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ ทุกอย่างถูกชี้นำโดย IMF ตลอด เขาเข้ามาแล้วชี้นำเราก็ต้องเชื่อ เพราะเวลาเราถามเขาเราถามด้วยความไม่แน่ใจ ทำไมไม่เป็นอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ ถามได้ไม่เต็มปากเต็มคำเพราะเราขาดความมั่นใจ
เขาเข้ามาด้วยความมั่นใจ เขาก็ชี้นำวิธีการที่แก้ไขที่เขาคิดว่าเขาถูก แต่ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจต่างกัน สิ่งเหล่านี้เริ่มสั่งสมความผุกร่อนของปัจจัยทางโครงสร้าง ฉะนั้นวิกฤติที่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจ เริ่มจากการล้มของสถาบันการเงิน ผมจำได้ว่ามันเริ่มปะทุจากภาค real estate มีปัญหา จากนั้นเข้าสู่ระบบการเงินที่ปล่อยเงินกู้ให้กับภาคอสังหาฯ การส่งออกเริ่มชะลอตัว ค่าเงินบาทเริ่มถูกโจมตี ฉะนั้นปัญหาของเศรษฐกิจประเทศจริงๆ มันไม่ได้อยู่ที่ว่า GDP growth เป็นเท่าไร ต่อให้อัดฉีดเงินเข้าไปอย่างโครงการมิยาซาวาอีก 1-2% อีกไม่นานก็แฟบลงมา เพราะ real engine of growth นั้นไม่มี ที่มีก็ใช้ไม่ได้ ฉะนั้นผมได้คุยกับนายก ฯ ในขณะนั้นว่า สิ่งท้าทายประเทศมี 2 อย่าง คือ
1.ทำอย่างไรให้ประเทศหลุดพ้นจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ท้าทายมากกว่าคือว่าทำอย่างไรที่จะเตรียมตัวให้ประเทศไทยให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ประเทศอื่นเขาเผชิญอย่างเดียวคือ เตรียมตัวตัวเองกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงของโลก แต่เมืองไทยเจอ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน และเจอในขณะที่เราอ่อนแอที่สุด อันนี้คือความท้าทาย ฉะนั้นเมื่อคติความท้าทายของไทยรักไทยในขณะนั้นซึ่งคนไม่เข้าใจ มันจึงเกิดขึ้นแน่ คือ Review Thailand ไม่มีทางอื่นนอกจากการสร้างขึ้นมา การ review ขึ้นมาใหม่ review ใน factory factor ให้เข้มแข็ง review ใน new engine of growth ซึ่งเป็นฐานในการสร้างภาษีในอนาคตข้างหน้า ไม่ใช่เป็นการ review GDP ขึ้นมามันคนละเรื่องกัน review Thailand มาสู่การคิดใหม่ทำใหม่ นี้คือเบื้องหลังของคำว่า "คิดใหม่ ทำใหม่" ของไทยรักไทย ไม่ใช่สักแต่ว่าคิด สักแต่ว่าทำ คนละอย่างกัน
ฉะนั้นเมื่อเป็นหลักปฎิบัติอย่างนี้ ทางพรรคก็เริ่มทำงาน เริ่มเขียนนโยบาย วิธีการในการชนะเลือกตั้งมีเพียงอย่างเดียว พรรคใหม่นั้นส่วนใหญ่เป็นพรรคที่ถูกดูแคลน เพราะขาดรากเหง้าความแข็งแกร่ง แต่วิธีมีอย่างเดียว คือ การใช้นโยบายนำการเมือง เอานโยบายที่เราคิดว่าถูกต้องที่สุดเป็นตัวนำเสนอ ในขณะที่พรรคคู่แข่งไม่เคยสนใจในเรื่องของนโยบาย นโยบายที่เขียนขึ้นมานั้นเป็นนโยบายในเชิงสร้างพื้นฐานให้กับระบบเศรษฐกิจไทยในอนาคตข้างหน้า ฉะนั้นทันทีที่รัฐบาลชุดนี้เข้าบริหารราชการ นโยบายได้ถูกนำมาปฎิบัติ เริ่มจากรากเหง้าของประเทศ ในอดีตฐานรากไม่เข้มแข็ง high growth GDP กระจุกตัวกระจุกเดียว ไม่มีการกระจายตัวสู่ชนบท และภูมิภาคกระจุกตัวอยู่ในภาคธุรกิจเพียงไม่กี่กลุ่ม ไม่มีประเทศไหนที่พัฒนาแล้วในโลกที่การเติบโตของประเทศนั้นอยู่เพียงฐานธุรกิจใหญ่ๆ ไม่กี่กลุ่ม ประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องมีธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางเต็มไปหมด สามารถสร้างรายได้ สร้างการผลิตขึ้นมา ค้าขายแข่งกับโลกได้ แต่ประเทศไทย เราบอก จีดีพี 10% เราภูมิใจมากแต่ดูดีๆ สินค้ากระจุกตัว สินค้าเหล้านั้นเราแข่งขันไม่ได้เลยนอกจากค่าแรงที่ถูก
ฉะนั้นนโยบายของพรรคไทยรักไทยคือ สร้างฐานรากที่แข็งแรง นั้นคือการใช้นโยบาย พักหนี้เกษตรกร แต่ในช่วงหาเสียงก็ถูกบิดบอกว่านี้คือการโยกหนี้ มันคนละเรื่องกัน เราต้องการผ่อนคลายภาระหนี้ของเกษตรกร และสิ่งที่ตามมา คือ เรื่องกองทุนหมู่บ้าน ต้องการให้ภูมิภาคมีความแข็งแกร่ง ถ้าเศรษฐกิจภูมิภาคแข็งแกร่ง เศรษฐกิจในเมืองก็มีความเข็มแข็ง ผมทราบได้อย่างไร บริษัทกลุ่มหนึ่งที่ผมเป็นที่ปรึกษาอยู่ ตัวเลขค้าขายเดิมที 40 ต่างจังหวัด 60 ในเมือง แต่ในช่วง 5 ปีหลังมัน Shift เป็น 60 ต่างจังหวัด 40 ในเมือง เมื่อไร เศรษฐกิจในภูมิภาคเจริญขึ้นมา เศรษฐกิจในเมืองแข็งแรงทันที ฉะนั้นรากเหง้าจริงๆ ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ฐานรอบนอก ไม่ใช่ฐานข้างใน สิ่งที่ต้องการคือ ทำอย่างไรแต่ละภูมิภาคนั้นจะสามารถมีช่องทางมีโอกาสทำมาค้าขายขึ้นมา ถ้าเขามีความสามารถในการผลิต ให้แต่ละชุมชนมีสินค้าของตัวเองขึ้นมา 1 หรือ 2 อย่างก็แล้วแต่ นั้นคือกองทุนหมู่บ้าน ธ.ก.ส. ต้องเข้าไปช่วยเขา แต่ในขณะเดียวกันในภูมิภาคนั้นยังมีเมืองใหญ่และมีเมืองเล็ก ยกตัวอย่างเช่น เชียงใหม่จะต้องให้ความช่วยเหลือทั่วภูมิภาค เป็นต้นสถาบันการศึกษาต้องรู้จักการใช้การศึกษาเพื่อให้เกิดการผลิตในภูมิภาค มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม่โจ้ ไม่ใช่มีหน้าที่ผลิตอย่างเดียว แต่มีหน้าที่ว่าทำอย่างไรสามารถพัฒนาสินค้าเกษตรที่มีฐานใหญ่ที่ทางภาคเหนือ สามารถแปรรูปสินค้า community ไปสู่สินค้าเกษตรที่แข่งขันได้มีมูลค่า MBA ต้องเน้นในเชิงทำอย่างไรให้มันเกิดวิสาหกิจชุมชน สร้างสินค้าขึ้นมา อันนี้คือความคิดที่อยู่เบื้องหลังของเรื่องการเกษตร สินค้าเกษตรในอนาคตข้างหน้าจะต้องไม่ถูกตัดตอนจากอุตสาหกรรมจาก community ไปสู่การส่งออก ตัดตอนไม่ได้ ถ้าตัดตอนเมื่อไร ผมชี้ได้เลยคุณอยากเพิ่มการส่งออก คุณเพิ่มไม่ได้เลย
เมื่อเช้านี้ด้วยเจตนาที่ดีผมขอให้ท่าน รมว.สุริยะ เรียกประชุมผู้ส่งออกกลุ่มหนึ่ง ผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็ง ซึ่งมียอดขายแสนกว่าล้านต่อปี ตอนนี้การส่งออกเริ่มลดลงวิธีการให้การส่งออกสูงขึ้นมานั้นจะต้องดูเป็นกลุ่ม ถ้าสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ยอดขายตกก็ต้องฟื้นได้ margin นิดเดียว แต่ตัวสำคัญคืออะไร คือกลุ่มส่งออกที่อยู่ในประเทศไทย เกิดการจ้างงานในประเทศไทย สินค้าหลักๆ margin อยู่ในประเทศไทยพวกนี้เริ่มเข้ามา อะไรที่ช่วยได้รีบช่วยเขา ถ้าเรา up เขาขึ้นมาได้เปอร์เซ็นต์ของยอดรายได้ขึ้นมา เมื่อเช้านั้นได้คุยกัน 1.ระดับราคาตัดราคากันเอง กุ้งแช่แข็งของเรา สับปะรดกระป๋องของเราเหมือนกัน ถ้าท่านจะส่งสินค้าออกได้จริง 1.ตัววัตถุดิบ เป็นพันธุ์พืช หรือเป็นพันธุ์ของสัตว์ ต้องดีพอ
2.การผลิตในพื้นที่ต้องมีคุณภาพ ถ้าไม่มีคุณภาพ เช่น การจับปลา สะพานปลาเหล่านั้นไม่มีสุขอนามัย ถ้าคนมาเห็นจะส่งออกไม่ได้ และการผลิตในโรงงานต้องมีการควบคุมคุณภาพและเรื่องของ brand เขาถามผม 1 คำถามถ้าจะให้ส่งออกเพิ่มมากขึ้น วัตถุดิบหนึ่งเต็มหมดแล้ว ต้องรับซื้อเขามา ฉะนั้นถ้าวัตถุดิบไม่มีคุณภาพก็ไม่สามารถคัดขึ้นมาใส่ไว้ในโรงงานผลิตให้ดีได้ ที่สำคัญการตลาดตัดตอน เวลาส่งไปขายในเชิงตัวใหญ่ๆ ของในสหรัฐอเมริกา และในตลาดยุโรปทั้งหลายเราต้องมีความสามารถในการเจาะตลาด ต้องเป็น brand ที่เจาะตลาดเข้าไปได้ คือถ้าบอกว่า up สินค้าการเกษตรแปรรูปมันไม่ง่ายเหมือนเขียนนโยบาย เช่น บอกว่าต้องเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออก ถ้าเราไม่ทำวันนี้อีก 2 ปี เราจะแข่งขันไม่ได้เลย นี้คือข้อเท็จจริงของการส่งออกประเทศไทย นี้คือแค่เพียงตัวอย่าง ต้องมีการประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อเจาะตลาด เพื่อให้สินค้าขยายตัวออกไปได้ นั้นคือสิ่งที่ทำได้ นี้คือข้อเท็จจริง
ถ้าเราสามารถทำให้วิธีการผลิตในภูมิภาคเข้มแข็งขึ้นมาได้ แต่ละหมู่บ้านแต่ละตำบลมีสินค้าที่ทำได้ นั้นคือตัวหลักของการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว คุณบอกว่าคุณต้องการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ผมถามว่าคุณจะเอารายได้พวกนี้มาจากไหน คุณให้คนเข้ามาเที่ยวเยอะแยะไปหมด แต่รายได้หลักของการท่องเที่ยวไปต่างจังหวัด มันมาจากสินค้าที่ซื้อ ไม่ใช่มาจากโรงงานที่มี เดินไปตามท้องถนน สองซีกของร้านค้าสินค้าเต็มไปหมดเลยไม่ใช่สินค้า brand name แต่เป็นสินค้า SMEs ทั้งนั้น นักท่องเที่ยวมาซื้อของเต็มไปหมด แต่ผมไปเที่ยวภูเก็ต สมุยจะซื้อสินค้าอย่างหนึ่งไม่รู้จะซื้ออะไรเลย และถ้าต่างชาติเขาเข้ามาเที่ยวเมืองไทย เชียงใหม่ก็มีแต่ช้างม้า มีพระ ทำไมภูเก็ตก็ยังไปเจอช้างอีก ภูเก็ตก็ต้องมีแต่สินค้าของภูเก็ต เพชรบุรี ก็ต้องมีสินค้าของเพชรบุรี สมัยนี้ทำไม่ยากเลยแต่ โปรแกรม MBA ของเมืองไทยต้องเปลี่ยนบริษัท ที่มีอยู่ในขณะนี้ต้องพัฒนาตัวเอง ผมคุยกับหลายคน ถ้าบริษัทไหนเน้นการพัฒนาภายในต้องช่วยเขาในเชิงภาษี บริษัทที่ขนาดใหญ่ต้องให้เขาเข้มแข็งขึ้นเพื่อแข่งขันในโลกได้ แต่เรื่องในอนาคตมันเป็นเรื่องของคนตัวเล็กๆ ในอดีตโอกาสมันไม่เปิด SMEs แปลว่าหนี้เยอะทุนน้อย หนี้เยอะทุนน้อยกู้แบงก์ได้ กู้แบงก์ไม่ได้ ประเทศที่สามารถสร้าง SMEs ขึ้นมาได้คืออะไร ตลาด NPL ต้องแข็งแรง เงินกู้ต้องมี และที่สำคัญก็คือว่าการทำธุรกิจ วันนี้ได้ประชุมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สมมุติว่าถ้าคุณต้องการพัฒนาสินค้าการส่งออกหัวใจสำคัญคืออะไร สถาบันทั้งหลายคือหัวใจ ฉะนั้นขณะนี้ บอย.เกิดแล้ว ที่ผ่านมาอำนาจมีน้อย ที่สำคัญที่จะออกในวันที่ 25 มิ.ย. 2544 นี้ หลายคนวิพากษ์วิจารณ์ คือ ธนาคารประชาชน ช่วยภาคเกษตร คือ ธ.ก.ส. ธ.ก.ส.ไม่ใช่มีหน้าที่เป็น banker ธ.ก.ส.มีหน้าที่ๆ จะต้องช่วยพัฒนาหมู่บ้าน และการสร้างอาชีพของเขาให้แข็งแรง และให้เงินกู้กับเขา ไม่ใช่ให้ไปแล้ว 1 ราย ปีหน้ามาดูกันใหม่
ออมสินจะต้องเป็นธนาคารเพื่อประชาชนจริงๆ เพื่อเอาเงินนี้ไปสู่ชาวบ้านที่ค้าขายวันต่อวัน แต่อนาคตข้างหน้าผมขอให้เขาขยับไป ผมได้คุยกับเขา ถ้าชาวบ้านบางคนค้าขายอยู่ปากซอยอารีย์กู้ได้ 15,000 หาบุคคล 2 คนมาค้ำประกันที่เป็นสมาชิกของออมสิน ถ้าหากปีหนึ่งผ่านไปใช้หนี้คืนหมดรอบหน้ากู้ได้ 30,000 ถือว่าเป็นการรู้จักกันมากขึ้น สิ่งที่ผมขอร้องคืออะไร ถ้าผมมีลูกศิษย์ 5 คน แต่ละคนจบปริญญาตรีต้องการกู้เงินคนละ 30,000 รวม 150,000 ต้องการทำธุรกิจเรื่องเขียนซอฟแวร์ อันนี้ผมให้การส่งเสริม คนเหล่านี้มีการศึกษาอาจจะตกงาน แต่ต้องการดิ้นรน อนาคตข้างหน้าคนที่จบจากอาชีวศึกษา คนที่จบช่างเทคนิคไม่ต้องขวนขวายเรียนมหาวิทยาลัย สามารถเข้าไปสู่ธุรกิจได้เลย ธุรกิจเริ่มขยายตัวมากขึ้น เข้าไปสู่เรื่อง SMEs ไปขอกู้บอย. ผมท้าพนันกับผู้อำนวยการออมสินบอกว่า ถ้าคุณสร้างธนาคารประชาชนได้ดีพอ ขยายเม็ดเงินได้ดีพอ ภายใน 2 ปี ธนาคารเอกชน โดยเฉพาะธนาคารฝรั่งจะเริ่มเข้ามา อันนี้คือสิ่งที่กำลังจะเกิด อาจจะมีขรุขระบ้าง แต่ในอนาคตมันจะดีขึ้นเพราะทุกอย่างมันมีจุดเริ่มต้น
TAMC คือหัวใจสำคัญ ภาค real sector สร้างขึ้นมาก็จริง แต่ถ้า finance ไม่ทำงานทุกอย่างมันก็ติดลบ เวลานี้เกิดขึ้นมาแล้ว ทุกอย่างจะค่อยเดินไปเรื่อยๆ NPL จะถูกปรับโครงสร้าง และในขณะที่ NPL มีการปรับโครงสร้าง มันจะมีสินเชื่อค่อนข้างดีไม่มีการปรับโครงสร้าง ให้มันแข็งแรงขึ้นมา เดิมทีมันอ่อนแอ TAMC จะมีอำนาจในการปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เมื่อมันแข็งแรงขึ้นมาสถาบันการเงินที่ฉลาดต้องเข้าไปเติม เติมเงิน เติมทุน เปลี่ยนจากธุรกิจที่อัมพาตไปสู่ธุรกิจที่เริ่มขยับขยายตัว Private Sector เริ่มเดิน ถ้าเราสังเกตดี ๆ 3 เดือนกว่าที่ผ่านมาที่รัฐบาลเข้ามาทำงาน นี่คือการผลักดันหรือ Engine ให้ฟันเฟืองเริ่มหมุน ที่ผ่านมา 3-4 ปีฟันเฟืองไม่หมุนเป็นอัมพาต ฉะนั้นเมื่อเริ่มหมุนก็จะเริ่มเดิน แต่เมื่อเริ่มเดินเศรษฐกิจโลกกลับชะลอตัว ถามว่าโทษคนไทยได้ไหม ไม่ได้ เศรษฐกิจสหรัฐและญี่ปุ่นแย่ลงจริงๆ ขายสินค้าไม่ได้ ฉะนั้นรัฐบาลก็ต้องเริ่มดูแล้วว่าจะทำอย่างไร เน้น high growth ไม่ได้ จะทำอย่างไรที่จะเน้น sustainable growth ให้มันเพียงพอ คนไทยส่วนใหญ่เกิดความกลัวขึ้นมาจากหลายปีที่ผ่านมา confidence ไม่มีอะไรเหลือเลยตรงนี้อันตรายมาก ถ้าการส่งออกหยุด การลงทุนหยุด รัฐบาล (G) ไม่มีเงิน ตัวเดียวที่เป็นความหวังคือ การบริโภค (C) และถ้าทุกวันมีแต่แนวลบ การคาดการณ์ปรับกันทุกเดือน แต่ไม่เน้นทางแก้ คนที่อ่านหนังสือพิมพ์ หรือดู TV ใครจะกล้าใช้จ่ายเงิน กระทรวงพาณิชย์ต้องทำทุกอย่างให้มีการส่งออกมากที่สุด การท่องเที่ยวมากที่สุด กระทรวงการคลังเร่งการใช้จ่ายงบประมาณ เหลืออีก 4 - 5 เดือน กระทรวงการคลัง ยังมีเงินอีก 200,000 กว่าล้านบาท ไม่ใช่ใช้จ่ายช้า แต่เราต้องการเร่งให้ใช้จ่ายได้มากขึ้น ตัว G เร่งการใช้จ่าย เดือนกรกฎาคมกองทุนหมู่บ้านเร่งฉีดเงินเข้าไป ผมออกเยี่ยมธนาคารพาณิชย์ 4 แห่งที่เป็นของรัฐ เพื่อสร้างความมั่นใจ ผมไม่เคยไปบอกให้ธนาคารเหล่านั้นปล่อยสินเชื่อเท่านั้นเท่านี้ ผมเพียงแต่ไปหาและบอกว่าประเทศไทยนั้น สถาบันการเงินไม่ใช่ไม่มีสินเชื่อ แต่ไม่มีเครดิต ระบบเครดิตของประเทศถูกทำลาย เครดิตในที่นี้หมายถึง ความเชื่อใจซึ่งกันและกันจากช่องทางของสถาบันการเงินไปสู่ช่องทางของการค้าขาย เมื่อระบบความเชื่อใจไม่มี เงินมันก็ไม่มี เป็นทอด ๆ
ฉะนั้น ภายใต้ระบบเครดิตที่ถูกทำลาย มีทางเดียวคือ ความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ถ้าวันนี้สถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อ ยังมี demand มีกลุ่มที่ส่งออก แต่หาสินเชื่อไม่ได้ ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1% ไม่มีพ่อค้าคนไหนบ่นสักคนเดียว ที่เค้าบ่นคือว่า เมื่อไรเค้าจะหาสินเชื่อได้ ผมเพิ่งไปเยี่ยมสถาบันการเงินของรัฐ บอกเค้าว่าลอง present ข้าวของคุณออกมา เค้าก็ present ออกมาเอง ผมไม่ได้บอกว่าต้องเท่าไร ผมบอกว่าภายใต้การปล่อยสินเชื่อเท่านี้ ผมขอให้ส่งออกเยอะหน่อยได้ไหม ตัวนี้สำคัญ ให้เค้าไปหมุน SMEs เยอะหน่อยได้ไหม ผมจะเอา บอย. และ บสย.ช่วย ผมไปธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผมบอกว่าการเคหะฯ มานั่งอยู่ด้วย ซีกหนึ่งของเมืองไทยไม่มีที่อยู่อาศัย ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ครู ต้องการที่อยู่ ตึกเต็มไปหมด ไม่มีคนอยู่ ธนาคารมีสภาพคล่องอยู่ 6 แสนล้าน ทำไมการเคหะฯ ถึงไม่ matching ตรงกลาง ทำการตลาดให้คนเหล่านี้เข้ามา สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อ คนเหล่านี้รายได้ประจำชัดเจน ไม่มีความเสี่ยง ตัดเงินจากเงินเดือนข้าราชการทยอยจ่ายหนี้ ทำไมไม่คิดทำอย่างนี้ขึ้นมา ให้นโยบายไป ธนาคารกรุงไทยโดดเข้าไป ธนาคารอาคารสงเคราะห์โดดเข้าไป ผมไปเยี่ยมไทยธนาคาร เป็นอนาคตในเชิง corporate lending ของธนาคารรัฐ ฉะนั้นในอนาคตข้างหน้าธนาคารไทยจะต้องเป็นอีกแบบหนึ่งที่เน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับ corporate lending เป็นสำคัญ ผมเชื่อสิ่งเหล่านี้ พยายามให้ธนาคารเริ่มเดิน
เมื่อธนาคารรัฐเริ่มเดิน ธนาคารเอกชนก็เริ่มมั่นใจและก้าวตาม ระบบการแข่งขันจะเริ่มเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ถ้าทุกสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อ ไม่อยากให้มีความเสี่ยง ทุกคน control margin ของตัวเอง เกรงว่าปล่อยแล้วจะมีหนี้เสีย ไม่มีใครจะมาเพิ่มทุนเจ๊งกันหมด ทุกคนจะอยู่ไม่ได้เลย จะให้ธนาคารเอกชนเดินเข้ามาเสี่ยงก็ไม่ได้ ธนาคารรัฐต้องเริ่มเดินก่อน ผมเชื่อว่าเมื่อความหวาดกลัวหายไป มันกลายเป็น norm ไปแล้ว
เวลาถามธนาคารเรื่องการปล่อยสินเชื่อ ถ้าปล่อยผิดหรือมีความผิดเชิงละเมิด ติดคุกฟรีๆ อย่างนั้น ผมอยู่อย่างนี้สบายๆ เดินเข้าห้องประชุม ธนาคาร แอร์เย็นเฉียบ เก้าอี้อย่างดี ดีกว่าเก้าอี้รัฐมนตรีคลังเสียอีก แต่ถามว่ามีไปเพื่ออะไร ถ้าภาคเอกชนดิ้นรนหาสินเชื่อไม่ได้ ประชาชนก็ลำบาก คุณจะมานั่งเก้าอี้สบายๆ ห้องเย็นเฉียบ ห้องประชุมหรูหราจะไปได้สักกี่น้ำ
ฉะนั้น ถามว่าตัวนี้เป็น G หรือเปล่า ก็เป็นตัว G แต่ผ่านทางระบบสินเชื่ออัดฉีดเข้าไปถึงมือประชาชนเลย ไม่ต้องผ่านขั้นตอนของทางราชการ ถามว่าเท่านี้พอไหมถ้าเรากลัวมากว่า อเมริกาจะแย่ ญี่ปุ่นจะแย่ ถ้าเราเอาเงินเตรียมไว้อีก 58,000 ล้านในกระเป๋าสำหรับปีข้างหน้า เมื่อถึงสภาคราวหน้าก็จะต้องถูกว่ากล่าวพอสมควรแน่นอน แต่รัฐทำไมจะต้องมี รัฐบาลยินดีที่จะให้ถูกด่า ดีกว่าที่จะไม่มีอะไรเตรียมไว้เลยยามฉุกเฉิน ในเชิงการเมือง ไม่มีใครอยากทำอย่างนี้หรอก แต่รัฐบาลนี้มองว่ามันจำเป็นเก็บไว้ก่อน และจะไม่ใช้สัพเพเหระ นั่นเป็นเงินภาษีของประชาชน ถ้าไม่พอจริงๆ แล้วผมสั่งรัฐมนตรีแล้ว 3 - 4 เดือนนี้มีอะไรบ้างที่จะต้องทำ แต่ถ้าผมไม่บอก ไม่จำเป็นทำไปทำไม ถ้า GDP growth ต่ำเหลือ 2% เปอร์เซ็นต์ ก็ 2% แต่ที่สำคัญก็คืออย่าให้เกิดโกลาหลขึ้นมา ให้คนมีงานทำ ประคองตัวเองไว้ สินค้าส่งออกอันไหนส่งออกได้ก็ทยอยทำเอาไว้ สร้างการบริโภคภายใน พุ่งตัวเองขึ้นมา GDP 5% ถามตรงๆ ถ้าเพิ่มได้อีกหน่อย ความรวยเกิดได้กับกี่บริษัท
เราหลงกับ GDP มานานพอแล้ว GDP เป็นแค่ตัววัด growth แต่ที่สำคัญคือ content ภายใน GDP ต่างหากว่า GDP นั้นกระจาย secure แค่ไหนกับประชาชน ฉะนั้นเราไม่กังวลจนเกินไป แต่ทุกคนทำเต็มที่ แล้วก็ไม่อยากให้ขาดความเชื่อมั่นทุกคนต้องช่วยกัน ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราพยายามประคองอยู่ ทาง ธปท. ดูแลคือการเตรียมไว้ล่วงหน้า หลายสิ่งหลายอย่าง อะไรไม่ควรพูดเราก็ไม่พูด เรายังเชื่อว่าเราจะไปได้ดีขอแค่มีความมั่นใจ จากวันนี้ถึงครึ่งปีหลัง เราพยายาม maintain stability ภายใต้ growth ที่มันจะชะลอตัวลง การส่งออกสมมติว่าเหลือ 1% 2% หรือ 3% แต่จำได้ไหมว่า การส่งออกปีที่แล้วฐานมันใหญ่มาก การที่บอกว่า Zero Growth ไม่ได้หมายความว่าส่งออกไม่ได้เลย แต่คือการส่งออกเท่ากับปีที่แล้ว ถ้าส่งออกเท่ากับปีที่แล้ว เราต้องสร้างภายในประเทศยอมรับ คิดต้องคิดในเชิงบวก ไม่ใช่วันนี้ติดลบ 10% แล้วเราจะทำยังไงดี ถ้ารัฐบาลตกใจไปอีกคนก็เรียบร้อยเลย ประชาชนจะเอาที่พึ่งที่ไหน ผมเชื่อในความเป็นผู้นำของท่านนายกฯ ถ้าเราทำงานกันเป็นทีม เราช่วยท่านได้แน่ๆ
ครึ่งปีหลังสิ่งที่ผมต้องการทำ 1. ผมต้องการเน้นกระบวนการของการ privatization จะดันสิ่งเหล่านี้ให้ไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ให้ได้ ให้ประชาชนเกิดประโยชน์สูงสุด 4 เดือนที่อยู่ในตำแหน่ง ที่วันนี้มูดี้ส์ ก็ดี IMF ก็ดี S&P ก็ดีที่มาแล้วพอใจออกไปเพราะตัวนี้ เพราะเค้าอ่านออกว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ชะลอตัวแน่นอน โอกาสใด ๆ ที่จะมีรายได้มาใช้หนี้ในอนาคตข้างหน้ามาจาก 2 สาย สายที่ 1 คือ ภาษี ถ้าปีหน้าภาษี 5%, 6% เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ มันก็ได้รายได้ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งมาจากการ asset base บัญชีมี 2 ซีก ซีกหนึ่งคือรายได้ทางภาษี อีกด้านหนึ่งคือสินทรัพย์ของประเทศ โชว์ให้เค้าเห็นว่าทรัพย์สินเรามีเยอะอย่างนี้เราไม่ได้มีไว้ขาย แต่เราสามารถทำให้มูลค่าแข็งแรงขึ้นมาได้ รัฐวิสาหกิจของเรามีมหาศาล มีศักยภาพ ถ้าสามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้มูลค่ามันจะขึ้นมาเป็น สิบ ๆ เท่า ทีนี้ถ้าผมกระจายหุ้นบางส่วนให้ประชาชน บางส่วนให้นักลงทุน คลังถือหุ้นสิ่งเหล่านี้ ผมมีเงินใช้หนี้คุณได้รอด ชี้ตรงนี้ให้เค้าเห็นถึงมั่นใจในตัวเรา ไม่มีการเจรจาหนี้ไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชนที่หงอไปหาเจ้าหนี้ เพราะว่าผมจะลดค่าใช้จ่าย คุณเคยเห็นบริษัทที่ turn around ด้วยการลดค่าใช้จ่ายอย่างเดียวไหม บริษัทที่ turn around ได้มีสูตรบอกเลยว่า 1. หยุดเลือก 2. ลดค่าใช้จ่าย 3. shape new strategy หารายได้ คุณจะต้อง project อะไรบางอย่างให้เจ้าหน้าที่เค้าดู ว่าตอนนี้หนี้สินเต็มไปหมดแต่ไม่ต้องเป็นห่วงมันแค่ 50 % กว่า, 60% ของ GDP เทียบกับประเทศอื่นแล้วผมยังอยู่ได้สบาย แต่สำคัญที่ว่าอนาคตข้างหน้าของผมซิ ผมมีอย่างนี้ 1 2 3 4 5 ผมจ่ายหนี้ได้แน่นอน fundamental เมืองไทยยังดีอยู่ สินค้าส่งออกผมทำได้ เราต้องโชว์สิ่งเหล่านี้ให้เค้าเห็น
วิสัยเจ้าหนี้เห็นลูกหนี้ซอมซ่อ หิวโซ เดินเข้ามาขอยืดหนี้ ขอยืดค่าใช้จ่าย ผมยึดทรัพย์ทันที แต่ถ้าคุณเดินเข้ามาด้วยความมั่นใจมี new prospect ถามคุณสมเจตน์ได้เลย คุณสมเจตน์เอาหุ้นเข้าตลาด คุณต้อง project 5 ปี project ของคุณเป็นอย่างนี้นะ คนที่เค้าตัดสิน เค้ามั่นใจคุณ เอาคุณเข้าตลาดเลย แต่ถ้าคุณ project อีกอย่างหนึ่งขาดความมั่นใจ ขาด fundamental รองรับ เค้าก็ไม่ให้คุณเข้า 4 เดือนที่ผ่านมานี่คือสิ่งที่ผมเจอ กว่าจะทำให้เค้ามั่นใจเข้าใจได้พูดเป็นชั่วโมงเจอไม่รู้กี่ราย ความเหนื่อยของกระทรวงการคลังไม่ได้อยู่ที่เงิน งานเนี่ยทำเลย กลับบ้านก็หลับ ความเหนื่อยอยู่ที่ใจ 1. คุณรับภาระให้กับประชาชน 2. คุณรู้หลาย ๆ อย่างแต่คุณพูดไม่ได้ 3. จะพูดอะไรต้องระวัง 3 ข้อนี้ คุณต้องเจอนักข่าวทุกวันๆ ละ 3 รอบ ซึ่งผมก็เข้าใจเค้านะครับ แล้วเดี๋ยวนี้เค้าก็ดีกับผมมาก เพราะเราเริ่มเข้าใจกันดีมาก ไม่ใช่ของง่ายเลยมันมีความเหนื่อยในใจ ทุกวันนี้มีข่าวใหม่หมด บางทีตรงนี้เราต้องทำใจว่าทุกนาทีที่อยู่ที่กระทรวงการคลัง ไม่ใช่มานั่งบอกว่า โอ้วันนี้เหนื่อย แต่ต้องมองว่านี้เป็นโอกาสต้องคิดว่าจะใช้วิกฤติครั้งนี้ ปฏิรูปประเทศไทยอย่างไร ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหา แค่เพียงว่า GDP growth ต่ำเหลือ 0%
ปัญหาของประเทศไทยที่แท้จริงคือสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดที่ไม่สามารถสัมภาษณ์จบภายใน 1 นาที หรือ 2 นาที นี่คือความในใจของผมว่า รากเหง้าของประเทศไทยที่จะพลิกฟื้นขึ้นมานั้นไม่ใช่ของง่าย ไม่ใช่สิ่งที่ทำโดยฉาบฉวย มันไม่ใช่สิ่งที่จะแก้ไขเฉพาะจุดแต่มันต้องมองภาพรวม และไม่ใช่ด้วยคน 36 คนใน ครม. แต่มันต้องใช้คนทั้งประเทศที่มีพลังร่วมกัน นี่คือหัวใจสำคัญ คุณคงเคยเห็นปลาวาฬเกยตื้น การจะเข็นปลาวาฬให้ลงทะเลอีกทีหนึ่งต้องใช้คนจำนวนมาก ประเทศไทยก็คล้ายๆอย่างนั้น fundamental มันดีแต่มันเกยตื้น และทำทุกอย่างต้องพร้อมๆ กันไปไม่ใช่จับเฉพาะจุด ไม่ใช่ NPL มันทุกเรื่องมาพร้อมๆกันไป ผมพูดอย่างนี้เพราะภาพที่ผมเห็นแตกต่างกับคนอื่นเห็น เพราะ 16 ปีที่ผ่านมาผมอยู่ในภาค private sector อยู่ในการเมือง อยู่ในวงราชการมันเป็น jigsaw puzzle ทุกตัวมันต่อเข้ามา ผมอาจจะผิดก็ได้ แต่ตราบใดที่ผมอยู่ที่นี่ ผมจะไม่เน้นการกู้หนี้ ตั้งโต๊ะแจกเงิน นั่นไม่ใช่วิสัยของผม ถ้าจะต้องอัดฉีดจริงต้องจำเป็นจริงๆ ถึงจะอัดฉีด สภาพที่มีอยู่ต้องต่อท่อเรียบร้อย เงินที่มีอยู่ต้องปล่อยออกให้หมด ไม่ใช่คิดจะกู้ก็กู้ แล้วอัดฉีดเข้าไป ฉีดเสร็จ GDP เพิ่มขึ้น 1% แต่หนี้เพิ่มขึ้น 5 หมื่นล้านบาท ถามว่า 1% นั้นได้อะไรขึ้นมา ได้ถนนเพิ่มกี่สาย แต่หนี้ที่จ่ายถึงแม้ตัวเลขหนี้จะ manage ได้สบาย แต่ต้องประคับประคองเพราะเป็นเงินทุกบาททุกสตางค์ของลูกหนี้ทั้งนั้น ฉะนั้นถ้าจะทำงานอย่างฉาบฉวยก็ทำได้ แต่ทีนี้ให้ทีมงานเค้าเตรียมไว้มีโครงการอะไรที่มันสามารถสร้างรายได้แต่ละด้านไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่มีอยู่ในงบประมาณอยู่แล้ว และถึงมือประชาชนทันที list ออกมาแล้วดูว่าใช้เงินเท่าไร แล้วใช้เผื่อจำเป็นจะเอาเงินมาจากไหน กู้จากตรงไหน แล้วมันจะเกินขอบเขตการชำระหนี้หรือไม่ นี่คือความรับผิดชอบของรัฐบาล
พวกผมไม่ใช่นักการเมือง พวกผมมาที่นี่เพื่อทำงาน วันหนึ่งก็ต้องออก คนที่เข้ามาเพื่อทำงานไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตาว่าผมทำอะไรไปบ้าง ทำงานออกมาให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติได้ เราไม่ใช่นักการเมืองมืออาชีพบังเอิญเป็นอาชีพใหม่ของผม ตำแหน่งนี้ในขณะนี้เป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างลำบากเพราะเราอยู่ในภาวะที่วิกฤติแต่ว่าก็ถือเป็นเกียรติที่นายกฯ มองว่าเราคงจะไว้วางใจได้บ้าง นายกฯ ต้องการคนใหม่ๆ ซึ่งมองภาพต่างจากคนเดิมๆ มองอีกแบบหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับนายกฯ เมื่อเขาไว้วางใจเราก็ทำงานตรงนี้อย่างเต็มที่และคณะกรรมการชุดนี้ไม่มีการมองว่าคนนี้ใหญ่กว่าคนนั้น ทุกคนทำงานเป็นทีมภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ผมคงจะจบการพูดนี้และจะบอกว่าเราทำให้ดีที่สุดและเราจะคอยดูแลให้ประชาชน ผมในฐานะใกล้ชิดกับศศินทร์ วันหลังมีโอกาสผมจะมาช่วยศศินทร์
_________________________
กรองจิตร,ชนาธิป : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ : ตรวจ/ทาน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง--จบ--
-ศน-
"เศรษฐกิจไทยกับความในใจ ดร.สมคิด"
โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ที่สถาบันศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 22 มิถุนายน 2544
----------------
ศศินทร์ให้เกียรติผม ผมมีโอกาสมาช่วยในช่วงต้น แต่ในช่วงกลาง และช่วงท้ายนั้น เนื่องจากเวลาไม่ค่อยมีติดค้างศศินทร์มานาน วันนี้เป็นโอกาสดี เพราะว่า เป็นงานที่จัดโดยศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันเพื่อหาเงินใช้ในการกุศลโดยเฉพาะ ทั้งนี้จึงเป็นความยินดีที่ผมจะมาพูดในวันนี้เป็นการพิเศษ และต้องขอแสดงความยินดีที่ศศินทร์ จะมีอายุครบ 20 ปี สำหรับหัวข้อ "เศรษฐกิจไทยกับความในใจของสมคิด" จริงๆ แล้วผมไม่มีความในใจ ผมเป็นคนเปิดเผยตลอดเวลา และถ้ามีความในใจก็คงไม่ให้ใครทราบ เพราะภาพพจน์ของผมในอดีตนั้นเป็นภาพพจน์ของคนที่ชอบวางกลยุทธ์ การวางกลยุทธ์ ก็ต้องไม่ให้ใครอ่านใจผมออก แต่จริงๆ แล้วผมไม่เคยเป็นนักกลยุทธ์เลย ผมเคยบอกอาจารย์ของผมว่า คนชอบมองว่าผมเป็นคนชอบวางกลยุทธ์ แต่ผมคิดอะไรไม่เคยได้อย่างนั้นสักที ถ้าผมวางกลยุทธ์เก่งจริง วันนี้ผมคงไม่ต้องมายืนเป็น รมว.คลัง
ผมคงพูดถึงปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ผมจะไม่พูดเชิงวิชาการ แต่จะพูดจากประสบการณ์ที่ยังมีอยู่ จากภาพที่อยู่ในใจของผมตลอด 20 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่สำเร็จการศึกษาจากอเมริกามา เนื่องจากผู้ใหญ่ให้ความเมตตา ผมก็มีโอกาสเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับภาคเอกชน สถานที่แรกที่เข้าไปทำคือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผมจบเศรษฐศาสตร์ และ MBA การเงิน และมาการตลาด แต่งานแรกที่มีโอกาสเข้ามาสู่เอกชนนั้น คือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงที่กำลังจะ take off พอดี ผู้ใหญ่ในสมัยนั้นได้แก่ ดร.มารวยฯ และอาจารย์สังเวียนฯ ท่านให้ผมเข้าไปเป็นที่ปรึกษา เข้าไปนั่งอยู่ใน Leasing Committee อยู่ 10 กว่าปี ได้เห็นตั้งแต่นักธุรกิจธรรมดาเดินผ่าน Leasing Committee เดินผ่านออกไปเป็นมหาเศรษฐี คนแล้วคนเล่า แล้วก็กลายเป็นคนที่ล้มละลายไปกว่า 50% ในช่วงท้ายสุดที่ผ่านมา
จนกระทั่งมีโอกาสเข้าไปในวงการของ mass company โดยการชักชวนของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ในสมัยนั้น แต่งานที่ทำขณะนั้นไม่ใช่การตลาด ไม่ใช่การเงิน แต่ทำฐานข้อมูล เรื่องหุ้น ผมซึ่งไม่ใช่ expert เรื่องหุ้น ก็เอา Competitive Model ของ Michael Porter ไปสร้างหลักการวิเคราะห์หุ้น แบบ fundamental ไม่ใช่ technical เป็นแบบอย่างที่ลูกศิษย์รุ่นต่อๆ มานำไปสู่การวิเคราะห์ คู่แข่ง และบริษัท เพื่อคาดการณ์ราคาหุ้นในตลาดอนาคตข้างหน้า จากนั้นก็ไปสู่ที่ปรึกษากลุ่ม customer จากนั้นก็เข้าไปสู่วงการ finance และ banking 2-3 แห่ง ไปสู่วงการอุตสาหกรรมหลักอีก 2-3 แห่ง เข้าไปถึงตลาดก็ได้เห็นอะไรบางอย่างเป็น jigsaw puzzle อะไรบางอย่าง ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังขึ้น โชคดีที่ผู้ใหญ่ให้ความเมตตาผมจับผมเข้าไปอยู่ในด้านของการเมือง ผมพบ ดร.ทักษิณ เมื่อ 7-8 ปี ที่แล้ว ท่านให้ความเมตตาเอาผมไปช่วยเรื่องกระทรวงต่างประเทศ ชีวิตก็เลยเข้าไปสู่การ เมืองเอาความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในเรื่องต่างประเทศ ในลักษณะของเศรษฐกิจนำการต่างประเทศ จากนั้นเข้าไปสู่กระทรวงพาณิชย์ ไปสู่ทำเนียบรัฐบาล ไปสู่กระทรวงอุตสาหกรรม ท้ายสุดไปช่วยที่กระทรวงการคลังในขณะที่ประเทศเข้าสู่วิกฤติ
ภาพที่เห็นทั้งหมดในช่วง 15-20 ปี ทำให้สมองส่วนหนึ่งได้เห็นภาคเอกชนในช่วงนั้น ตั้งแต่ตอนขึ้นถึงตอนที่แตกสลาย ได้เห็นการเมืองซึ่งมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง ได้เห็นกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร ทำให้ภาพที่ผมมีอยู่นั้นอาจจะแตกต่างจากการมองภาพของคนอื่น ซึ่งไม่เหมือนกัน ย้อนหลังไปประมาณ 3 ปี ที่ผ่านมา ขณะนั้น ดร.ทักษิณ ตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นมา บังเอิญผมอยู่ในส่วนนั้นในการก่อตั้ง ผมยังจำได้ดีว่า ผมคุยกับ ดร.ทักษิณ ในขณะนั้นว่า ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้นไม่ใช้เกิดจากปัญหาวิกฤติทางการเงิน แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากการสั่งสมปัจจัยเชิงโครงสร้างของประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นมา แล้วมันผุ กร่อน ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังพุ่งขึ้นไป
ผมเห็นการผลิตในลักษณะการรับจ้างทำของ ต่างชาติย้ายโรงงานมาถึงเมืองไทย ขอเพียงให้ค่าแรงราคาถูก รับจ้างทำของแล้วก็ส่งออก พ่อค้าก็ทำตามอย่างนั้น 10 กว่าปีที่ผ่านมาโครงสร้างของการส่งออกไม่เคยเน้นที่ความสามารถเชิงแข่งขัน ฉะนั้นในช่วงที่เศรษฐกิจพุ่งขึ้นไป ยอดส่งออกก็ทำได้ดี แต่การที่ยอดขายพุ่งขึ้นนั้นความสามารถเชิงการทำกลับลดลง ผมได้เห็นบริษัทเอกชน ตลอดเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่บริษัทที่ดีที่สุด ปานกลาง ถึงระดับที่แย่ๆ ไม่ได้เห็นความพยายามของบริษัทเอกชนที่จะเน้นในการพัฒนาความสามารถเชิงการผลิต เชิงเทคโนโลยี แต่บริษัทส่วนใหญ่ภูมิใจเรื่อง GDP growth ว่าจะเป็น NICs ประเทศต่อไป ภูมิใจอยู่กับตัวเลขเงินที่มีอยู่นั้นแทนที่จะกู้มาเพื่อพัฒนาความสามารถในการผลิตของประเทศ ของบริษัท แต่เงินต่อเงินที่ไหลมาเรื่อยๆ ซึ่งโดยเฉพาะใน 5 ปีหลัง นำไปสู่การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์มากเกินไป เวลาที่ไปอยู่ Finance กับ แบงก์จะเห็นตัวเลขทันที การปล่อยเงินกู้ของธนาคารขณะนั้น เวลาให้สินเชื่อ โครงการนี้ดี น่าสนใจ เจ้าของกิจการเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ ฉะนั้นปล่อยสินเชื่อ พร้อมหลักทรัพย์ค้ำประกันด้วยที่ดิน เพราะราคาที่ดินในขณะนั้นสูง ใช้หุ้นค้ำประกัน ถัวเฉลี่ย 6 เดือน ย้อนหลัง ซึ่งขณะนั้นเฟะทั้งหมด
การที่ภาคการเงินขยายตัวโดยที่ไม่มี base การที่การส่งออกขยายตัว โดยที่ความสามารถค่อยๆ ลดลงการ ที่บริษัทเอกชนไม่พัฒนาความสามารถของตัวเอง สิ่งเหล่านี้สั่งสม เวลามองไปในระบบราชการเรารู้ทันทีเลยว่า ความสามารถในการก้าวทันโลกเริ่มถดถอยแล้ว คนเก่ง คนดี เริ่มออกจากระบบราชการเริ่มก้าวไม่ทันโลก ระบบราชการที่ใหญ่ และเทอะทะ ทำให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ยาก เป็นไปได้ช้า ตอนเกิดวิกฤติในตอนนั้นผมจำได้ดีเราไม่พร้อมเลย เราลอยตัวค่าเงิน แต่ระบบข้าราชการไม่พร้อม เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ ทุกอย่างถูกชี้นำโดย IMF ตลอด เขาเข้ามาแล้วชี้นำเราก็ต้องเชื่อ เพราะเวลาเราถามเขาเราถามด้วยความไม่แน่ใจ ทำไมไม่เป็นอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ ถามได้ไม่เต็มปากเต็มคำเพราะเราขาดความมั่นใจ
เขาเข้ามาด้วยความมั่นใจ เขาก็ชี้นำวิธีการที่แก้ไขที่เขาคิดว่าเขาถูก แต่ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจต่างกัน สิ่งเหล่านี้เริ่มสั่งสมความผุกร่อนของปัจจัยทางโครงสร้าง ฉะนั้นวิกฤติที่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจ เริ่มจากการล้มของสถาบันการเงิน ผมจำได้ว่ามันเริ่มปะทุจากภาค real estate มีปัญหา จากนั้นเข้าสู่ระบบการเงินที่ปล่อยเงินกู้ให้กับภาคอสังหาฯ การส่งออกเริ่มชะลอตัว ค่าเงินบาทเริ่มถูกโจมตี ฉะนั้นปัญหาของเศรษฐกิจประเทศจริงๆ มันไม่ได้อยู่ที่ว่า GDP growth เป็นเท่าไร ต่อให้อัดฉีดเงินเข้าไปอย่างโครงการมิยาซาวาอีก 1-2% อีกไม่นานก็แฟบลงมา เพราะ real engine of growth นั้นไม่มี ที่มีก็ใช้ไม่ได้ ฉะนั้นผมได้คุยกับนายก ฯ ในขณะนั้นว่า สิ่งท้าทายประเทศมี 2 อย่าง คือ
1.ทำอย่างไรให้ประเทศหลุดพ้นจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ท้าทายมากกว่าคือว่าทำอย่างไรที่จะเตรียมตัวให้ประเทศไทยให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ประเทศอื่นเขาเผชิญอย่างเดียวคือ เตรียมตัวตัวเองกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงของโลก แต่เมืองไทยเจอ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน และเจอในขณะที่เราอ่อนแอที่สุด อันนี้คือความท้าทาย ฉะนั้นเมื่อคติความท้าทายของไทยรักไทยในขณะนั้นซึ่งคนไม่เข้าใจ มันจึงเกิดขึ้นแน่ คือ Review Thailand ไม่มีทางอื่นนอกจากการสร้างขึ้นมา การ review ขึ้นมาใหม่ review ใน factory factor ให้เข้มแข็ง review ใน new engine of growth ซึ่งเป็นฐานในการสร้างภาษีในอนาคตข้างหน้า ไม่ใช่เป็นการ review GDP ขึ้นมามันคนละเรื่องกัน review Thailand มาสู่การคิดใหม่ทำใหม่ นี้คือเบื้องหลังของคำว่า "คิดใหม่ ทำใหม่" ของไทยรักไทย ไม่ใช่สักแต่ว่าคิด สักแต่ว่าทำ คนละอย่างกัน
ฉะนั้นเมื่อเป็นหลักปฎิบัติอย่างนี้ ทางพรรคก็เริ่มทำงาน เริ่มเขียนนโยบาย วิธีการในการชนะเลือกตั้งมีเพียงอย่างเดียว พรรคใหม่นั้นส่วนใหญ่เป็นพรรคที่ถูกดูแคลน เพราะขาดรากเหง้าความแข็งแกร่ง แต่วิธีมีอย่างเดียว คือ การใช้นโยบายนำการเมือง เอานโยบายที่เราคิดว่าถูกต้องที่สุดเป็นตัวนำเสนอ ในขณะที่พรรคคู่แข่งไม่เคยสนใจในเรื่องของนโยบาย นโยบายที่เขียนขึ้นมานั้นเป็นนโยบายในเชิงสร้างพื้นฐานให้กับระบบเศรษฐกิจไทยในอนาคตข้างหน้า ฉะนั้นทันทีที่รัฐบาลชุดนี้เข้าบริหารราชการ นโยบายได้ถูกนำมาปฎิบัติ เริ่มจากรากเหง้าของประเทศ ในอดีตฐานรากไม่เข้มแข็ง high growth GDP กระจุกตัวกระจุกเดียว ไม่มีการกระจายตัวสู่ชนบท และภูมิภาคกระจุกตัวอยู่ในภาคธุรกิจเพียงไม่กี่กลุ่ม ไม่มีประเทศไหนที่พัฒนาแล้วในโลกที่การเติบโตของประเทศนั้นอยู่เพียงฐานธุรกิจใหญ่ๆ ไม่กี่กลุ่ม ประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องมีธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางเต็มไปหมด สามารถสร้างรายได้ สร้างการผลิตขึ้นมา ค้าขายแข่งกับโลกได้ แต่ประเทศไทย เราบอก จีดีพี 10% เราภูมิใจมากแต่ดูดีๆ สินค้ากระจุกตัว สินค้าเหล้านั้นเราแข่งขันไม่ได้เลยนอกจากค่าแรงที่ถูก
ฉะนั้นนโยบายของพรรคไทยรักไทยคือ สร้างฐานรากที่แข็งแรง นั้นคือการใช้นโยบาย พักหนี้เกษตรกร แต่ในช่วงหาเสียงก็ถูกบิดบอกว่านี้คือการโยกหนี้ มันคนละเรื่องกัน เราต้องการผ่อนคลายภาระหนี้ของเกษตรกร และสิ่งที่ตามมา คือ เรื่องกองทุนหมู่บ้าน ต้องการให้ภูมิภาคมีความแข็งแกร่ง ถ้าเศรษฐกิจภูมิภาคแข็งแกร่ง เศรษฐกิจในเมืองก็มีความเข็มแข็ง ผมทราบได้อย่างไร บริษัทกลุ่มหนึ่งที่ผมเป็นที่ปรึกษาอยู่ ตัวเลขค้าขายเดิมที 40 ต่างจังหวัด 60 ในเมือง แต่ในช่วง 5 ปีหลังมัน Shift เป็น 60 ต่างจังหวัด 40 ในเมือง เมื่อไร เศรษฐกิจในภูมิภาคเจริญขึ้นมา เศรษฐกิจในเมืองแข็งแรงทันที ฉะนั้นรากเหง้าจริงๆ ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ฐานรอบนอก ไม่ใช่ฐานข้างใน สิ่งที่ต้องการคือ ทำอย่างไรแต่ละภูมิภาคนั้นจะสามารถมีช่องทางมีโอกาสทำมาค้าขายขึ้นมา ถ้าเขามีความสามารถในการผลิต ให้แต่ละชุมชนมีสินค้าของตัวเองขึ้นมา 1 หรือ 2 อย่างก็แล้วแต่ นั้นคือกองทุนหมู่บ้าน ธ.ก.ส. ต้องเข้าไปช่วยเขา แต่ในขณะเดียวกันในภูมิภาคนั้นยังมีเมืองใหญ่และมีเมืองเล็ก ยกตัวอย่างเช่น เชียงใหม่จะต้องให้ความช่วยเหลือทั่วภูมิภาค เป็นต้นสถาบันการศึกษาต้องรู้จักการใช้การศึกษาเพื่อให้เกิดการผลิตในภูมิภาค มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม่โจ้ ไม่ใช่มีหน้าที่ผลิตอย่างเดียว แต่มีหน้าที่ว่าทำอย่างไรสามารถพัฒนาสินค้าเกษตรที่มีฐานใหญ่ที่ทางภาคเหนือ สามารถแปรรูปสินค้า community ไปสู่สินค้าเกษตรที่แข่งขันได้มีมูลค่า MBA ต้องเน้นในเชิงทำอย่างไรให้มันเกิดวิสาหกิจชุมชน สร้างสินค้าขึ้นมา อันนี้คือความคิดที่อยู่เบื้องหลังของเรื่องการเกษตร สินค้าเกษตรในอนาคตข้างหน้าจะต้องไม่ถูกตัดตอนจากอุตสาหกรรมจาก community ไปสู่การส่งออก ตัดตอนไม่ได้ ถ้าตัดตอนเมื่อไร ผมชี้ได้เลยคุณอยากเพิ่มการส่งออก คุณเพิ่มไม่ได้เลย
เมื่อเช้านี้ด้วยเจตนาที่ดีผมขอให้ท่าน รมว.สุริยะ เรียกประชุมผู้ส่งออกกลุ่มหนึ่ง ผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็ง ซึ่งมียอดขายแสนกว่าล้านต่อปี ตอนนี้การส่งออกเริ่มลดลงวิธีการให้การส่งออกสูงขึ้นมานั้นจะต้องดูเป็นกลุ่ม ถ้าสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ยอดขายตกก็ต้องฟื้นได้ margin นิดเดียว แต่ตัวสำคัญคืออะไร คือกลุ่มส่งออกที่อยู่ในประเทศไทย เกิดการจ้างงานในประเทศไทย สินค้าหลักๆ margin อยู่ในประเทศไทยพวกนี้เริ่มเข้ามา อะไรที่ช่วยได้รีบช่วยเขา ถ้าเรา up เขาขึ้นมาได้เปอร์เซ็นต์ของยอดรายได้ขึ้นมา เมื่อเช้านั้นได้คุยกัน 1.ระดับราคาตัดราคากันเอง กุ้งแช่แข็งของเรา สับปะรดกระป๋องของเราเหมือนกัน ถ้าท่านจะส่งสินค้าออกได้จริง 1.ตัววัตถุดิบ เป็นพันธุ์พืช หรือเป็นพันธุ์ของสัตว์ ต้องดีพอ
2.การผลิตในพื้นที่ต้องมีคุณภาพ ถ้าไม่มีคุณภาพ เช่น การจับปลา สะพานปลาเหล่านั้นไม่มีสุขอนามัย ถ้าคนมาเห็นจะส่งออกไม่ได้ และการผลิตในโรงงานต้องมีการควบคุมคุณภาพและเรื่องของ brand เขาถามผม 1 คำถามถ้าจะให้ส่งออกเพิ่มมากขึ้น วัตถุดิบหนึ่งเต็มหมดแล้ว ต้องรับซื้อเขามา ฉะนั้นถ้าวัตถุดิบไม่มีคุณภาพก็ไม่สามารถคัดขึ้นมาใส่ไว้ในโรงงานผลิตให้ดีได้ ที่สำคัญการตลาดตัดตอน เวลาส่งไปขายในเชิงตัวใหญ่ๆ ของในสหรัฐอเมริกา และในตลาดยุโรปทั้งหลายเราต้องมีความสามารถในการเจาะตลาด ต้องเป็น brand ที่เจาะตลาดเข้าไปได้ คือถ้าบอกว่า up สินค้าการเกษตรแปรรูปมันไม่ง่ายเหมือนเขียนนโยบาย เช่น บอกว่าต้องเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออก ถ้าเราไม่ทำวันนี้อีก 2 ปี เราจะแข่งขันไม่ได้เลย นี้คือข้อเท็จจริงของการส่งออกประเทศไทย นี้คือแค่เพียงตัวอย่าง ต้องมีการประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อเจาะตลาด เพื่อให้สินค้าขยายตัวออกไปได้ นั้นคือสิ่งที่ทำได้ นี้คือข้อเท็จจริง
ถ้าเราสามารถทำให้วิธีการผลิตในภูมิภาคเข้มแข็งขึ้นมาได้ แต่ละหมู่บ้านแต่ละตำบลมีสินค้าที่ทำได้ นั้นคือตัวหลักของการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว คุณบอกว่าคุณต้องการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ผมถามว่าคุณจะเอารายได้พวกนี้มาจากไหน คุณให้คนเข้ามาเที่ยวเยอะแยะไปหมด แต่รายได้หลักของการท่องเที่ยวไปต่างจังหวัด มันมาจากสินค้าที่ซื้อ ไม่ใช่มาจากโรงงานที่มี เดินไปตามท้องถนน สองซีกของร้านค้าสินค้าเต็มไปหมดเลยไม่ใช่สินค้า brand name แต่เป็นสินค้า SMEs ทั้งนั้น นักท่องเที่ยวมาซื้อของเต็มไปหมด แต่ผมไปเที่ยวภูเก็ต สมุยจะซื้อสินค้าอย่างหนึ่งไม่รู้จะซื้ออะไรเลย และถ้าต่างชาติเขาเข้ามาเที่ยวเมืองไทย เชียงใหม่ก็มีแต่ช้างม้า มีพระ ทำไมภูเก็ตก็ยังไปเจอช้างอีก ภูเก็ตก็ต้องมีแต่สินค้าของภูเก็ต เพชรบุรี ก็ต้องมีสินค้าของเพชรบุรี สมัยนี้ทำไม่ยากเลยแต่ โปรแกรม MBA ของเมืองไทยต้องเปลี่ยนบริษัท ที่มีอยู่ในขณะนี้ต้องพัฒนาตัวเอง ผมคุยกับหลายคน ถ้าบริษัทไหนเน้นการพัฒนาภายในต้องช่วยเขาในเชิงภาษี บริษัทที่ขนาดใหญ่ต้องให้เขาเข้มแข็งขึ้นเพื่อแข่งขันในโลกได้ แต่เรื่องในอนาคตมันเป็นเรื่องของคนตัวเล็กๆ ในอดีตโอกาสมันไม่เปิด SMEs แปลว่าหนี้เยอะทุนน้อย หนี้เยอะทุนน้อยกู้แบงก์ได้ กู้แบงก์ไม่ได้ ประเทศที่สามารถสร้าง SMEs ขึ้นมาได้คืออะไร ตลาด NPL ต้องแข็งแรง เงินกู้ต้องมี และที่สำคัญก็คือว่าการทำธุรกิจ วันนี้ได้ประชุมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สมมุติว่าถ้าคุณต้องการพัฒนาสินค้าการส่งออกหัวใจสำคัญคืออะไร สถาบันทั้งหลายคือหัวใจ ฉะนั้นขณะนี้ บอย.เกิดแล้ว ที่ผ่านมาอำนาจมีน้อย ที่สำคัญที่จะออกในวันที่ 25 มิ.ย. 2544 นี้ หลายคนวิพากษ์วิจารณ์ คือ ธนาคารประชาชน ช่วยภาคเกษตร คือ ธ.ก.ส. ธ.ก.ส.ไม่ใช่มีหน้าที่เป็น banker ธ.ก.ส.มีหน้าที่ๆ จะต้องช่วยพัฒนาหมู่บ้าน และการสร้างอาชีพของเขาให้แข็งแรง และให้เงินกู้กับเขา ไม่ใช่ให้ไปแล้ว 1 ราย ปีหน้ามาดูกันใหม่
ออมสินจะต้องเป็นธนาคารเพื่อประชาชนจริงๆ เพื่อเอาเงินนี้ไปสู่ชาวบ้านที่ค้าขายวันต่อวัน แต่อนาคตข้างหน้าผมขอให้เขาขยับไป ผมได้คุยกับเขา ถ้าชาวบ้านบางคนค้าขายอยู่ปากซอยอารีย์กู้ได้ 15,000 หาบุคคล 2 คนมาค้ำประกันที่เป็นสมาชิกของออมสิน ถ้าหากปีหนึ่งผ่านไปใช้หนี้คืนหมดรอบหน้ากู้ได้ 30,000 ถือว่าเป็นการรู้จักกันมากขึ้น สิ่งที่ผมขอร้องคืออะไร ถ้าผมมีลูกศิษย์ 5 คน แต่ละคนจบปริญญาตรีต้องการกู้เงินคนละ 30,000 รวม 150,000 ต้องการทำธุรกิจเรื่องเขียนซอฟแวร์ อันนี้ผมให้การส่งเสริม คนเหล่านี้มีการศึกษาอาจจะตกงาน แต่ต้องการดิ้นรน อนาคตข้างหน้าคนที่จบจากอาชีวศึกษา คนที่จบช่างเทคนิคไม่ต้องขวนขวายเรียนมหาวิทยาลัย สามารถเข้าไปสู่ธุรกิจได้เลย ธุรกิจเริ่มขยายตัวมากขึ้น เข้าไปสู่เรื่อง SMEs ไปขอกู้บอย. ผมท้าพนันกับผู้อำนวยการออมสินบอกว่า ถ้าคุณสร้างธนาคารประชาชนได้ดีพอ ขยายเม็ดเงินได้ดีพอ ภายใน 2 ปี ธนาคารเอกชน โดยเฉพาะธนาคารฝรั่งจะเริ่มเข้ามา อันนี้คือสิ่งที่กำลังจะเกิด อาจจะมีขรุขระบ้าง แต่ในอนาคตมันจะดีขึ้นเพราะทุกอย่างมันมีจุดเริ่มต้น
TAMC คือหัวใจสำคัญ ภาค real sector สร้างขึ้นมาก็จริง แต่ถ้า finance ไม่ทำงานทุกอย่างมันก็ติดลบ เวลานี้เกิดขึ้นมาแล้ว ทุกอย่างจะค่อยเดินไปเรื่อยๆ NPL จะถูกปรับโครงสร้าง และในขณะที่ NPL มีการปรับโครงสร้าง มันจะมีสินเชื่อค่อนข้างดีไม่มีการปรับโครงสร้าง ให้มันแข็งแรงขึ้นมา เดิมทีมันอ่อนแอ TAMC จะมีอำนาจในการปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เมื่อมันแข็งแรงขึ้นมาสถาบันการเงินที่ฉลาดต้องเข้าไปเติม เติมเงิน เติมทุน เปลี่ยนจากธุรกิจที่อัมพาตไปสู่ธุรกิจที่เริ่มขยับขยายตัว Private Sector เริ่มเดิน ถ้าเราสังเกตดี ๆ 3 เดือนกว่าที่ผ่านมาที่รัฐบาลเข้ามาทำงาน นี่คือการผลักดันหรือ Engine ให้ฟันเฟืองเริ่มหมุน ที่ผ่านมา 3-4 ปีฟันเฟืองไม่หมุนเป็นอัมพาต ฉะนั้นเมื่อเริ่มหมุนก็จะเริ่มเดิน แต่เมื่อเริ่มเดินเศรษฐกิจโลกกลับชะลอตัว ถามว่าโทษคนไทยได้ไหม ไม่ได้ เศรษฐกิจสหรัฐและญี่ปุ่นแย่ลงจริงๆ ขายสินค้าไม่ได้ ฉะนั้นรัฐบาลก็ต้องเริ่มดูแล้วว่าจะทำอย่างไร เน้น high growth ไม่ได้ จะทำอย่างไรที่จะเน้น sustainable growth ให้มันเพียงพอ คนไทยส่วนใหญ่เกิดความกลัวขึ้นมาจากหลายปีที่ผ่านมา confidence ไม่มีอะไรเหลือเลยตรงนี้อันตรายมาก ถ้าการส่งออกหยุด การลงทุนหยุด รัฐบาล (G) ไม่มีเงิน ตัวเดียวที่เป็นความหวังคือ การบริโภค (C) และถ้าทุกวันมีแต่แนวลบ การคาดการณ์ปรับกันทุกเดือน แต่ไม่เน้นทางแก้ คนที่อ่านหนังสือพิมพ์ หรือดู TV ใครจะกล้าใช้จ่ายเงิน กระทรวงพาณิชย์ต้องทำทุกอย่างให้มีการส่งออกมากที่สุด การท่องเที่ยวมากที่สุด กระทรวงการคลังเร่งการใช้จ่ายงบประมาณ เหลืออีก 4 - 5 เดือน กระทรวงการคลัง ยังมีเงินอีก 200,000 กว่าล้านบาท ไม่ใช่ใช้จ่ายช้า แต่เราต้องการเร่งให้ใช้จ่ายได้มากขึ้น ตัว G เร่งการใช้จ่าย เดือนกรกฎาคมกองทุนหมู่บ้านเร่งฉีดเงินเข้าไป ผมออกเยี่ยมธนาคารพาณิชย์ 4 แห่งที่เป็นของรัฐ เพื่อสร้างความมั่นใจ ผมไม่เคยไปบอกให้ธนาคารเหล่านั้นปล่อยสินเชื่อเท่านั้นเท่านี้ ผมเพียงแต่ไปหาและบอกว่าประเทศไทยนั้น สถาบันการเงินไม่ใช่ไม่มีสินเชื่อ แต่ไม่มีเครดิต ระบบเครดิตของประเทศถูกทำลาย เครดิตในที่นี้หมายถึง ความเชื่อใจซึ่งกันและกันจากช่องทางของสถาบันการเงินไปสู่ช่องทางของการค้าขาย เมื่อระบบความเชื่อใจไม่มี เงินมันก็ไม่มี เป็นทอด ๆ
ฉะนั้น ภายใต้ระบบเครดิตที่ถูกทำลาย มีทางเดียวคือ ความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ถ้าวันนี้สถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อ ยังมี demand มีกลุ่มที่ส่งออก แต่หาสินเชื่อไม่ได้ ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1% ไม่มีพ่อค้าคนไหนบ่นสักคนเดียว ที่เค้าบ่นคือว่า เมื่อไรเค้าจะหาสินเชื่อได้ ผมเพิ่งไปเยี่ยมสถาบันการเงินของรัฐ บอกเค้าว่าลอง present ข้าวของคุณออกมา เค้าก็ present ออกมาเอง ผมไม่ได้บอกว่าต้องเท่าไร ผมบอกว่าภายใต้การปล่อยสินเชื่อเท่านี้ ผมขอให้ส่งออกเยอะหน่อยได้ไหม ตัวนี้สำคัญ ให้เค้าไปหมุน SMEs เยอะหน่อยได้ไหม ผมจะเอา บอย. และ บสย.ช่วย ผมไปธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผมบอกว่าการเคหะฯ มานั่งอยู่ด้วย ซีกหนึ่งของเมืองไทยไม่มีที่อยู่อาศัย ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ครู ต้องการที่อยู่ ตึกเต็มไปหมด ไม่มีคนอยู่ ธนาคารมีสภาพคล่องอยู่ 6 แสนล้าน ทำไมการเคหะฯ ถึงไม่ matching ตรงกลาง ทำการตลาดให้คนเหล่านี้เข้ามา สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อ คนเหล่านี้รายได้ประจำชัดเจน ไม่มีความเสี่ยง ตัดเงินจากเงินเดือนข้าราชการทยอยจ่ายหนี้ ทำไมไม่คิดทำอย่างนี้ขึ้นมา ให้นโยบายไป ธนาคารกรุงไทยโดดเข้าไป ธนาคารอาคารสงเคราะห์โดดเข้าไป ผมไปเยี่ยมไทยธนาคาร เป็นอนาคตในเชิง corporate lending ของธนาคารรัฐ ฉะนั้นในอนาคตข้างหน้าธนาคารไทยจะต้องเป็นอีกแบบหนึ่งที่เน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับ corporate lending เป็นสำคัญ ผมเชื่อสิ่งเหล่านี้ พยายามให้ธนาคารเริ่มเดิน
เมื่อธนาคารรัฐเริ่มเดิน ธนาคารเอกชนก็เริ่มมั่นใจและก้าวตาม ระบบการแข่งขันจะเริ่มเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ถ้าทุกสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อ ไม่อยากให้มีความเสี่ยง ทุกคน control margin ของตัวเอง เกรงว่าปล่อยแล้วจะมีหนี้เสีย ไม่มีใครจะมาเพิ่มทุนเจ๊งกันหมด ทุกคนจะอยู่ไม่ได้เลย จะให้ธนาคารเอกชนเดินเข้ามาเสี่ยงก็ไม่ได้ ธนาคารรัฐต้องเริ่มเดินก่อน ผมเชื่อว่าเมื่อความหวาดกลัวหายไป มันกลายเป็น norm ไปแล้ว
เวลาถามธนาคารเรื่องการปล่อยสินเชื่อ ถ้าปล่อยผิดหรือมีความผิดเชิงละเมิด ติดคุกฟรีๆ อย่างนั้น ผมอยู่อย่างนี้สบายๆ เดินเข้าห้องประชุม ธนาคาร แอร์เย็นเฉียบ เก้าอี้อย่างดี ดีกว่าเก้าอี้รัฐมนตรีคลังเสียอีก แต่ถามว่ามีไปเพื่ออะไร ถ้าภาคเอกชนดิ้นรนหาสินเชื่อไม่ได้ ประชาชนก็ลำบาก คุณจะมานั่งเก้าอี้สบายๆ ห้องเย็นเฉียบ ห้องประชุมหรูหราจะไปได้สักกี่น้ำ
ฉะนั้น ถามว่าตัวนี้เป็น G หรือเปล่า ก็เป็นตัว G แต่ผ่านทางระบบสินเชื่ออัดฉีดเข้าไปถึงมือประชาชนเลย ไม่ต้องผ่านขั้นตอนของทางราชการ ถามว่าเท่านี้พอไหมถ้าเรากลัวมากว่า อเมริกาจะแย่ ญี่ปุ่นจะแย่ ถ้าเราเอาเงินเตรียมไว้อีก 58,000 ล้านในกระเป๋าสำหรับปีข้างหน้า เมื่อถึงสภาคราวหน้าก็จะต้องถูกว่ากล่าวพอสมควรแน่นอน แต่รัฐทำไมจะต้องมี รัฐบาลยินดีที่จะให้ถูกด่า ดีกว่าที่จะไม่มีอะไรเตรียมไว้เลยยามฉุกเฉิน ในเชิงการเมือง ไม่มีใครอยากทำอย่างนี้หรอก แต่รัฐบาลนี้มองว่ามันจำเป็นเก็บไว้ก่อน และจะไม่ใช้สัพเพเหระ นั่นเป็นเงินภาษีของประชาชน ถ้าไม่พอจริงๆ แล้วผมสั่งรัฐมนตรีแล้ว 3 - 4 เดือนนี้มีอะไรบ้างที่จะต้องทำ แต่ถ้าผมไม่บอก ไม่จำเป็นทำไปทำไม ถ้า GDP growth ต่ำเหลือ 2% เปอร์เซ็นต์ ก็ 2% แต่ที่สำคัญก็คืออย่าให้เกิดโกลาหลขึ้นมา ให้คนมีงานทำ ประคองตัวเองไว้ สินค้าส่งออกอันไหนส่งออกได้ก็ทยอยทำเอาไว้ สร้างการบริโภคภายใน พุ่งตัวเองขึ้นมา GDP 5% ถามตรงๆ ถ้าเพิ่มได้อีกหน่อย ความรวยเกิดได้กับกี่บริษัท
เราหลงกับ GDP มานานพอแล้ว GDP เป็นแค่ตัววัด growth แต่ที่สำคัญคือ content ภายใน GDP ต่างหากว่า GDP นั้นกระจาย secure แค่ไหนกับประชาชน ฉะนั้นเราไม่กังวลจนเกินไป แต่ทุกคนทำเต็มที่ แล้วก็ไม่อยากให้ขาดความเชื่อมั่นทุกคนต้องช่วยกัน ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราพยายามประคองอยู่ ทาง ธปท. ดูแลคือการเตรียมไว้ล่วงหน้า หลายสิ่งหลายอย่าง อะไรไม่ควรพูดเราก็ไม่พูด เรายังเชื่อว่าเราจะไปได้ดีขอแค่มีความมั่นใจ จากวันนี้ถึงครึ่งปีหลัง เราพยายาม maintain stability ภายใต้ growth ที่มันจะชะลอตัวลง การส่งออกสมมติว่าเหลือ 1% 2% หรือ 3% แต่จำได้ไหมว่า การส่งออกปีที่แล้วฐานมันใหญ่มาก การที่บอกว่า Zero Growth ไม่ได้หมายความว่าส่งออกไม่ได้เลย แต่คือการส่งออกเท่ากับปีที่แล้ว ถ้าส่งออกเท่ากับปีที่แล้ว เราต้องสร้างภายในประเทศยอมรับ คิดต้องคิดในเชิงบวก ไม่ใช่วันนี้ติดลบ 10% แล้วเราจะทำยังไงดี ถ้ารัฐบาลตกใจไปอีกคนก็เรียบร้อยเลย ประชาชนจะเอาที่พึ่งที่ไหน ผมเชื่อในความเป็นผู้นำของท่านนายกฯ ถ้าเราทำงานกันเป็นทีม เราช่วยท่านได้แน่ๆ
ครึ่งปีหลังสิ่งที่ผมต้องการทำ 1. ผมต้องการเน้นกระบวนการของการ privatization จะดันสิ่งเหล่านี้ให้ไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ให้ได้ ให้ประชาชนเกิดประโยชน์สูงสุด 4 เดือนที่อยู่ในตำแหน่ง ที่วันนี้มูดี้ส์ ก็ดี IMF ก็ดี S&P ก็ดีที่มาแล้วพอใจออกไปเพราะตัวนี้ เพราะเค้าอ่านออกว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ชะลอตัวแน่นอน โอกาสใด ๆ ที่จะมีรายได้มาใช้หนี้ในอนาคตข้างหน้ามาจาก 2 สาย สายที่ 1 คือ ภาษี ถ้าปีหน้าภาษี 5%, 6% เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ มันก็ได้รายได้ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งมาจากการ asset base บัญชีมี 2 ซีก ซีกหนึ่งคือรายได้ทางภาษี อีกด้านหนึ่งคือสินทรัพย์ของประเทศ โชว์ให้เค้าเห็นว่าทรัพย์สินเรามีเยอะอย่างนี้เราไม่ได้มีไว้ขาย แต่เราสามารถทำให้มูลค่าแข็งแรงขึ้นมาได้ รัฐวิสาหกิจของเรามีมหาศาล มีศักยภาพ ถ้าสามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้มูลค่ามันจะขึ้นมาเป็น สิบ ๆ เท่า ทีนี้ถ้าผมกระจายหุ้นบางส่วนให้ประชาชน บางส่วนให้นักลงทุน คลังถือหุ้นสิ่งเหล่านี้ ผมมีเงินใช้หนี้คุณได้รอด ชี้ตรงนี้ให้เค้าเห็นถึงมั่นใจในตัวเรา ไม่มีการเจรจาหนี้ไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชนที่หงอไปหาเจ้าหนี้ เพราะว่าผมจะลดค่าใช้จ่าย คุณเคยเห็นบริษัทที่ turn around ด้วยการลดค่าใช้จ่ายอย่างเดียวไหม บริษัทที่ turn around ได้มีสูตรบอกเลยว่า 1. หยุดเลือก 2. ลดค่าใช้จ่าย 3. shape new strategy หารายได้ คุณจะต้อง project อะไรบางอย่างให้เจ้าหน้าที่เค้าดู ว่าตอนนี้หนี้สินเต็มไปหมดแต่ไม่ต้องเป็นห่วงมันแค่ 50 % กว่า, 60% ของ GDP เทียบกับประเทศอื่นแล้วผมยังอยู่ได้สบาย แต่สำคัญที่ว่าอนาคตข้างหน้าของผมซิ ผมมีอย่างนี้ 1 2 3 4 5 ผมจ่ายหนี้ได้แน่นอน fundamental เมืองไทยยังดีอยู่ สินค้าส่งออกผมทำได้ เราต้องโชว์สิ่งเหล่านี้ให้เค้าเห็น
วิสัยเจ้าหนี้เห็นลูกหนี้ซอมซ่อ หิวโซ เดินเข้ามาขอยืดหนี้ ขอยืดค่าใช้จ่าย ผมยึดทรัพย์ทันที แต่ถ้าคุณเดินเข้ามาด้วยความมั่นใจมี new prospect ถามคุณสมเจตน์ได้เลย คุณสมเจตน์เอาหุ้นเข้าตลาด คุณต้อง project 5 ปี project ของคุณเป็นอย่างนี้นะ คนที่เค้าตัดสิน เค้ามั่นใจคุณ เอาคุณเข้าตลาดเลย แต่ถ้าคุณ project อีกอย่างหนึ่งขาดความมั่นใจ ขาด fundamental รองรับ เค้าก็ไม่ให้คุณเข้า 4 เดือนที่ผ่านมานี่คือสิ่งที่ผมเจอ กว่าจะทำให้เค้ามั่นใจเข้าใจได้พูดเป็นชั่วโมงเจอไม่รู้กี่ราย ความเหนื่อยของกระทรวงการคลังไม่ได้อยู่ที่เงิน งานเนี่ยทำเลย กลับบ้านก็หลับ ความเหนื่อยอยู่ที่ใจ 1. คุณรับภาระให้กับประชาชน 2. คุณรู้หลาย ๆ อย่างแต่คุณพูดไม่ได้ 3. จะพูดอะไรต้องระวัง 3 ข้อนี้ คุณต้องเจอนักข่าวทุกวันๆ ละ 3 รอบ ซึ่งผมก็เข้าใจเค้านะครับ แล้วเดี๋ยวนี้เค้าก็ดีกับผมมาก เพราะเราเริ่มเข้าใจกันดีมาก ไม่ใช่ของง่ายเลยมันมีความเหนื่อยในใจ ทุกวันนี้มีข่าวใหม่หมด บางทีตรงนี้เราต้องทำใจว่าทุกนาทีที่อยู่ที่กระทรวงการคลัง ไม่ใช่มานั่งบอกว่า โอ้วันนี้เหนื่อย แต่ต้องมองว่านี้เป็นโอกาสต้องคิดว่าจะใช้วิกฤติครั้งนี้ ปฏิรูปประเทศไทยอย่างไร ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหา แค่เพียงว่า GDP growth ต่ำเหลือ 0%
ปัญหาของประเทศไทยที่แท้จริงคือสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดที่ไม่สามารถสัมภาษณ์จบภายใน 1 นาที หรือ 2 นาที นี่คือความในใจของผมว่า รากเหง้าของประเทศไทยที่จะพลิกฟื้นขึ้นมานั้นไม่ใช่ของง่าย ไม่ใช่สิ่งที่ทำโดยฉาบฉวย มันไม่ใช่สิ่งที่จะแก้ไขเฉพาะจุดแต่มันต้องมองภาพรวม และไม่ใช่ด้วยคน 36 คนใน ครม. แต่มันต้องใช้คนทั้งประเทศที่มีพลังร่วมกัน นี่คือหัวใจสำคัญ คุณคงเคยเห็นปลาวาฬเกยตื้น การจะเข็นปลาวาฬให้ลงทะเลอีกทีหนึ่งต้องใช้คนจำนวนมาก ประเทศไทยก็คล้ายๆอย่างนั้น fundamental มันดีแต่มันเกยตื้น และทำทุกอย่างต้องพร้อมๆ กันไปไม่ใช่จับเฉพาะจุด ไม่ใช่ NPL มันทุกเรื่องมาพร้อมๆกันไป ผมพูดอย่างนี้เพราะภาพที่ผมเห็นแตกต่างกับคนอื่นเห็น เพราะ 16 ปีที่ผ่านมาผมอยู่ในภาค private sector อยู่ในการเมือง อยู่ในวงราชการมันเป็น jigsaw puzzle ทุกตัวมันต่อเข้ามา ผมอาจจะผิดก็ได้ แต่ตราบใดที่ผมอยู่ที่นี่ ผมจะไม่เน้นการกู้หนี้ ตั้งโต๊ะแจกเงิน นั่นไม่ใช่วิสัยของผม ถ้าจะต้องอัดฉีดจริงต้องจำเป็นจริงๆ ถึงจะอัดฉีด สภาพที่มีอยู่ต้องต่อท่อเรียบร้อย เงินที่มีอยู่ต้องปล่อยออกให้หมด ไม่ใช่คิดจะกู้ก็กู้ แล้วอัดฉีดเข้าไป ฉีดเสร็จ GDP เพิ่มขึ้น 1% แต่หนี้เพิ่มขึ้น 5 หมื่นล้านบาท ถามว่า 1% นั้นได้อะไรขึ้นมา ได้ถนนเพิ่มกี่สาย แต่หนี้ที่จ่ายถึงแม้ตัวเลขหนี้จะ manage ได้สบาย แต่ต้องประคับประคองเพราะเป็นเงินทุกบาททุกสตางค์ของลูกหนี้ทั้งนั้น ฉะนั้นถ้าจะทำงานอย่างฉาบฉวยก็ทำได้ แต่ทีนี้ให้ทีมงานเค้าเตรียมไว้มีโครงการอะไรที่มันสามารถสร้างรายได้แต่ละด้านไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่มีอยู่ในงบประมาณอยู่แล้ว และถึงมือประชาชนทันที list ออกมาแล้วดูว่าใช้เงินเท่าไร แล้วใช้เผื่อจำเป็นจะเอาเงินมาจากไหน กู้จากตรงไหน แล้วมันจะเกินขอบเขตการชำระหนี้หรือไม่ นี่คือความรับผิดชอบของรัฐบาล
พวกผมไม่ใช่นักการเมือง พวกผมมาที่นี่เพื่อทำงาน วันหนึ่งก็ต้องออก คนที่เข้ามาเพื่อทำงานไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตาว่าผมทำอะไรไปบ้าง ทำงานออกมาให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติได้ เราไม่ใช่นักการเมืองมืออาชีพบังเอิญเป็นอาชีพใหม่ของผม ตำแหน่งนี้ในขณะนี้เป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างลำบากเพราะเราอยู่ในภาวะที่วิกฤติแต่ว่าก็ถือเป็นเกียรติที่นายกฯ มองว่าเราคงจะไว้วางใจได้บ้าง นายกฯ ต้องการคนใหม่ๆ ซึ่งมองภาพต่างจากคนเดิมๆ มองอีกแบบหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับนายกฯ เมื่อเขาไว้วางใจเราก็ทำงานตรงนี้อย่างเต็มที่และคณะกรรมการชุดนี้ไม่มีการมองว่าคนนี้ใหญ่กว่าคนนั้น ทุกคนทำงานเป็นทีมภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ผมคงจะจบการพูดนี้และจะบอกว่าเราทำให้ดีที่สุดและเราจะคอยดูแลให้ประชาชน ผมในฐานะใกล้ชิดกับศศินทร์ วันหลังมีโอกาสผมจะมาช่วยศศินทร์
_________________________
กรองจิตร,ชนาธิป : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ : ตรวจ/ทาน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง--จบ--
-ศน-