การพัฒนาการแห่งโลกเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น มีการสั่งซื้อสินค้า การทำธุรกรรมด้านการเงินต่างๆ ผ่านเครือข่ายสื่อสารแบบ Wireless Technology หรือ E-commerce และยังมีการพัฒนานำเอาอุปกรณ์สื่อสารโทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone)ไปใช้เป็นช่องทางการทำธุรกรรมต่างๆ ด้านการเงิน และความบันเทิงแบบ B-2-C อีกด้วย เช่น การสั่งโอนเงิน การซื้อหนังสือ หรือตั๋วภาพยนตร์ ซึ่งเรียกว่า Mobile-commerce โดยมีเทคนิคการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อความคำสั่งดำเนินธุรกรรมต่างๆ ระหว่าง โทรศัพท์มือถือกับเครือข่ายองค์กรธุรกิจเรียกว่า WAP : Wireless Application Protocal
เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยของการรับ/ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแบบไร้สายจึงได้มีการคิดค้นเทคนิคในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยรองรับการรับ/ส่งข้อมูลหลากหลายเทคนิค เช่นการใช้เทคนิค SSL (Secure Socket Layers) ซึ่งจะใช้ PIN (Personal Identification Numbers) และ Password แบบ Private Key สำหรับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ หรือข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อใช้ชำระมูลค่าราคาสินค้าหรือบริการ หรือการใช้เทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลแบบ RSA Encryption โดยใช้หลักการ Private Key ของ SSL และมี Public Key เพิ่มอีกชั้นหนึ่งด้วย เทคนิคทั้งสองนี้จะต้องมีการแปลงรหัสทั้งด้านการรับและการส่งของ Mobile Phone โดยใช้ WTLS : Wireless Transport Layer Security เป็นตัวจัดการ ซึ่งจะต้องใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำใน Smart Card ค่อนข้างมากเพื่อให้การทำงานมีความสมบูรณ์ ส่วนเทคนิคแบบ PKI : Public Key Infrastructure ก็มีข้อจำกัดคือผู้ใช้งานจะต้องทำการส่ง Public Key ของผู้ใช้ส่งไปให้แก่องค์กรธุรกิจต่างๆ ที่ตนเองต้องการทำธุรกรรมด้วย ทั้งนี้ยังมีความซับซ้อนในเรื่องของการทำ Digital Signature และจะต้องมี Certificate Authority ทำการบริหารจัดการ ซึ่งอาจจะไม่สะดวกนัก
นอกจากนี้แล้วในแถบประเทศยุโรปและอเมริกาได้ทำการทดสอบการควบคุมความปลอดภัยของการรับ/ส่งคำสั่งรายการต่างๆ โดย Voiceprint หรือ Fingerprint บ้างแล้ว แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น จะต้องทำการบันทึกข้อมูลเหล่านี้ลงบน Central File Server หรือ Smart Card เพื่อทำการ Identify ความเป็นบุคคลของผู้ใช้งาน อีกทั้งความจุของ Smart Card ที่มีอยู่ใน Mobile Phone ก็มีจำกัด
ท้ายที่สุดแล้วแนวโน้มของ Security ที่เหมาะสมที่จะมีอยู่ในธุรกรรมแบบ Wireless Mobile E-commerce ควรจะเป็นเทคนิคแบบ SSL และจะต้องทำการพัฒนาในเรื่องของความจำของ Smart Card ใน Mobile Phone ให้สามารถรองรับ Function ที่ซับซ้อนได้ และรวมถึงต้องลดขั้นตอนในการทำ WTLS ด้วย
--จุลสารระบบการชำระเงิน/มีนาคม 2544--
-ยก-
เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยของการรับ/ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแบบไร้สายจึงได้มีการคิดค้นเทคนิคในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยรองรับการรับ/ส่งข้อมูลหลากหลายเทคนิค เช่นการใช้เทคนิค SSL (Secure Socket Layers) ซึ่งจะใช้ PIN (Personal Identification Numbers) และ Password แบบ Private Key สำหรับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ หรือข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อใช้ชำระมูลค่าราคาสินค้าหรือบริการ หรือการใช้เทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลแบบ RSA Encryption โดยใช้หลักการ Private Key ของ SSL และมี Public Key เพิ่มอีกชั้นหนึ่งด้วย เทคนิคทั้งสองนี้จะต้องมีการแปลงรหัสทั้งด้านการรับและการส่งของ Mobile Phone โดยใช้ WTLS : Wireless Transport Layer Security เป็นตัวจัดการ ซึ่งจะต้องใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำใน Smart Card ค่อนข้างมากเพื่อให้การทำงานมีความสมบูรณ์ ส่วนเทคนิคแบบ PKI : Public Key Infrastructure ก็มีข้อจำกัดคือผู้ใช้งานจะต้องทำการส่ง Public Key ของผู้ใช้ส่งไปให้แก่องค์กรธุรกิจต่างๆ ที่ตนเองต้องการทำธุรกรรมด้วย ทั้งนี้ยังมีความซับซ้อนในเรื่องของการทำ Digital Signature และจะต้องมี Certificate Authority ทำการบริหารจัดการ ซึ่งอาจจะไม่สะดวกนัก
นอกจากนี้แล้วในแถบประเทศยุโรปและอเมริกาได้ทำการทดสอบการควบคุมความปลอดภัยของการรับ/ส่งคำสั่งรายการต่างๆ โดย Voiceprint หรือ Fingerprint บ้างแล้ว แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น จะต้องทำการบันทึกข้อมูลเหล่านี้ลงบน Central File Server หรือ Smart Card เพื่อทำการ Identify ความเป็นบุคคลของผู้ใช้งาน อีกทั้งความจุของ Smart Card ที่มีอยู่ใน Mobile Phone ก็มีจำกัด
ท้ายที่สุดแล้วแนวโน้มของ Security ที่เหมาะสมที่จะมีอยู่ในธุรกรรมแบบ Wireless Mobile E-commerce ควรจะเป็นเทคนิคแบบ SSL และจะต้องทำการพัฒนาในเรื่องของความจำของ Smart Card ใน Mobile Phone ให้สามารถรองรับ Function ที่ซับซ้อนได้ และรวมถึงต้องลดขั้นตอนในการทำ WTLS ด้วย
--จุลสารระบบการชำระเงิน/มีนาคม 2544--
-ยก-