16/11/44 นายสุวรรณ วลัยเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการดำเนินการจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ว่า จะต้องจัดทำกฎหมายให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2545 ซึ่งมีประเด็นที่จะต้องให้ความสนใจอยู่ 3 ประการ คือ การจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร การจัดเตรียมคลังเก็บสินค้า และการเลือกสินค้าที่จะนำมาซื้อขายในตลาด
“เนื่องจากสินค้าเกษตรนั้นไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนตายตัว เช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรม ดังนั้นการที่จะนำสินค้าใดมาจำหน่ายในตลาดนั้น จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานทั้งปริมาณและคุณภาพ เช่น หากนำกุ้งมาจำหน่ายควรมีการกำหนดว่าเป็นกุ้งขนาดกี่ตัวต่อกิโลกรัม หรือมันสำปะหลังควรกำหนดว่ามีเชื้อแป้งกี่เปอร์เซนต์ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมที่จะดำเนินการวางมาตรฐานสินค้าเกษตร เช่นเดียวกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) แต่ขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ หากมีการเปิดการดำเนินการซื้อขายในตลาดแล้ว และต้องมีการส่งมอบสินค้าก็อาจจะเกิดข้อถกเถียงกันได้
ส่วนในเรื่องของการจัดเตรียมคลังสินค้านั้นอาจจะเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญนัก แม้ว่าปริมาณการซื้อขายจะมีอยู่สูงเป็นหลักพัน หลักหมื่น หรืออาจถึงแสนตันก็จริง แต่ในทางปฏิบัติการส่งมอบสินค้ามีเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ เนื่องจากสัญญาซื้อขายจะเป็นลักษณะ low over ไปเรื่อยๆ”
สำหรับประเด็นที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ การเลือกสินค้าที่จะนำมาค้าในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยควรจะต้องพิจารณาว่าหากเลือกสินค้าที่รัฐบาลมีการแทรกแซงราคา จะทำให้เกิดการบิดเบือนด้านราคาซื้อขายภายในตลาดหรือไม่ เพราะหากมีการซื้อขายโดยคาดการณ์ราคาในอนาคตไว้ แต่เมื่อรัฐบาลเข้าแทรกแซงราคาสินค้านั้นก็จะเพิ่มสูงขึ้นจากความเป็นจริง ทำให้กลไกตลาดบิดเบือนไปไม่เป็นไปตามอุปสงค์อุปทานที่แท้จริง ดังนั้นการเลือกสินค้าที่จะใช้ซื้อขายในตลาดจึงควรที่จะคำนึงถึงนโยบายการแทรกแซงราคาของรัฐบาลไว้ด้วย รวมทั้งต้องคำนึงถึงมูลค่าการตลาดของสินค้านั้นๆ อีกด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-
“เนื่องจากสินค้าเกษตรนั้นไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนตายตัว เช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรม ดังนั้นการที่จะนำสินค้าใดมาจำหน่ายในตลาดนั้น จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานทั้งปริมาณและคุณภาพ เช่น หากนำกุ้งมาจำหน่ายควรมีการกำหนดว่าเป็นกุ้งขนาดกี่ตัวต่อกิโลกรัม หรือมันสำปะหลังควรกำหนดว่ามีเชื้อแป้งกี่เปอร์เซนต์ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมที่จะดำเนินการวางมาตรฐานสินค้าเกษตร เช่นเดียวกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) แต่ขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ หากมีการเปิดการดำเนินการซื้อขายในตลาดแล้ว และต้องมีการส่งมอบสินค้าก็อาจจะเกิดข้อถกเถียงกันได้
ส่วนในเรื่องของการจัดเตรียมคลังสินค้านั้นอาจจะเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญนัก แม้ว่าปริมาณการซื้อขายจะมีอยู่สูงเป็นหลักพัน หลักหมื่น หรืออาจถึงแสนตันก็จริง แต่ในทางปฏิบัติการส่งมอบสินค้ามีเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ เนื่องจากสัญญาซื้อขายจะเป็นลักษณะ low over ไปเรื่อยๆ”
สำหรับประเด็นที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ การเลือกสินค้าที่จะนำมาค้าในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยควรจะต้องพิจารณาว่าหากเลือกสินค้าที่รัฐบาลมีการแทรกแซงราคา จะทำให้เกิดการบิดเบือนด้านราคาซื้อขายภายในตลาดหรือไม่ เพราะหากมีการซื้อขายโดยคาดการณ์ราคาในอนาคตไว้ แต่เมื่อรัฐบาลเข้าแทรกแซงราคาสินค้านั้นก็จะเพิ่มสูงขึ้นจากความเป็นจริง ทำให้กลไกตลาดบิดเบือนไปไม่เป็นไปตามอุปสงค์อุปทานที่แท้จริง ดังนั้นการเลือกสินค้าที่จะใช้ซื้อขายในตลาดจึงควรที่จะคำนึงถึงนโยบายการแทรกแซงราคาของรัฐบาลไว้ด้วย รวมทั้งต้องคำนึงถึงมูลค่าการตลาดของสินค้านั้นๆ อีกด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-