มาตรการด้านการเกษตรนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2544
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบนโยบายและมาตรการ นำเข้า วัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2544 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอโดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2544 ดังนี้
1. การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
1.1 ในโควตา ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 5 โดยให้ ผู้มีสิทธินำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศทั้งหมดในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ณ โรงงานสกัดน้ำมันพืช กทม.
1.2 นอกโควตา ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้า ร้อยละ 119
2. การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศนอกสมาชิก WTO
ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 6 และ ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท
3. การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ในโควตา กำหนดปริมาณนำเข้า 53,832 ตัน อากรนำเข้าร้อยละ 20 โดย ให้นำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 30 มิถุนายน 2544
นอกโควตา จากประเทศสมาชิก WTO ให้ทำเข้าโดยเสรี ทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 75.4 และค่า ธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท
นอกโควตา จากประเทศนอกสมาชิก WTO ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าตันละ 2,750 บาท และอากรพิเศษร้อยละ 13.97 (รวมอากรทั้งหมดใกล้เคียงร้อยละ 75.4) และ ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท
4. การนำเข้าปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป
ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 15 สำหรับประเทศนอกภาคีอาเซียน และร้อยละ 5 สำหรับ การนำเข้าปลาป่นที่มีใบรับรองจากประเทศภาคีอาเซียนซึ่งเป็นไปตามข้อ ผูกพันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
มาตรการด้านการอุตสาหกรรม
1. นโยบายการบริหารงานสุราหลังปี 2542
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 อนุมัตินโยบายการบริหารงานสุราแช่พื้นเมือง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ยกเลิกการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2517 เฉพาะในส่วนของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตก่อสร้างโรงงานผลิตสุราแช่พื้นเมือง การทำและขายส่งสุราแช่พื้นเมือง และกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติในการขออนุญาตผลิต และจำหน่ายสุราดังกล่าวขึ้นใหม่ โดยมีสาระสำคัญ คือ ผู้ขออนุญาตสร้างโรงงานต้องเป็นสหกรณ์ และเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพสามิตแล้วต้อง ก่อสร้างโรงงานสุราให้แล้วเสร็จภายในกำหนดไม่เกิน 36 เดือน นับแต่วันที่ทำสัญญากับกรมสรรพสามิต ทั้งนี้ ก่อนการเปิดดำเนินการ ผู้รับอนุญาตก่อสร้างโรงงานสุราต้องทำสัญญาว่าด้วยการอนุญาตให้ทำและขายส่งสุรากับกรมสรรพสามิต โดยจะต้องใช้วัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตสุรา ตามที่กรมสรรพสามิตเห็นชอบ และในกรณีที่ต้องใช้สุราที่ผลิตได้จากโรงงานสุราแห่งอื่นไปใช้ปรุงแต่งสุราของตน ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมสรรพสามิตก่อนเช่นเดียวกัน
2. การบริหารโครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 อนุมัติการบริหารโครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ตามที่กระทรวง อุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1. อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) มีอำนาจอนุมัติการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการ
2. อนุมัติให้สำนักงบประมาณ อนุมัติอัตราและรายการใช้จ่ายของโครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 และวันที่ 29 สิงหาคม 2543 อนุมัติให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินโครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 2,999.4088 ล้าน แต่ปรากฎว่ามีส่วนราชการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนชื่อโครงการ เปลี่ยนแปลงหน่วยงานดำเนินโครงการ เปลี่ยนวิธีดำเนินการหรือกิจกรรม รวมทั้งเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในช่วงของการดำเนินโครงการภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติค่าใช้จ่ายแล้ว
เพื่อให้โครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการสามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนด กระทรวงอุตสาหกรรม จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการให้ กอช. มีอำนาจอนุมัติการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการภายใต้ แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ภายใต้ เงื่อนไข ดังนี้
1. วงเงินรวมทั้งโครงการจะไม่เพิ่มขึ้นไปจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
2. ระยะเวลาดำเนินการทั้งโครงการไม่เกินจากกรอบเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ คือไม่เกินปี 2547
3. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดอื่น ๆ จะต้องให้สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดย กอช. จะมอบให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดและอนุมัติเป็นรายโครงการ
มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์การลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนจำนองเหลือร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์ที่รับโอนจากผู้จำนองให้แก่ลูกหนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากเดิมที่ลดค่าจดทะเบียนดังกล่าวเฉพาะกรณีสถาบันการเงินเป็นผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง) หรือเป็นผู้โอนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง) เท่านั้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบนโยบายและมาตรการ นำเข้า วัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2544 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอโดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2544 ดังนี้
1. การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
1.1 ในโควตา ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 5 โดยให้ ผู้มีสิทธินำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศทั้งหมดในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ณ โรงงานสกัดน้ำมันพืช กทม.
1.2 นอกโควตา ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้า ร้อยละ 119
2. การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศนอกสมาชิก WTO
ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 6 และ ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท
3. การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ในโควตา กำหนดปริมาณนำเข้า 53,832 ตัน อากรนำเข้าร้อยละ 20 โดย ให้นำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 30 มิถุนายน 2544
นอกโควตา จากประเทศสมาชิก WTO ให้ทำเข้าโดยเสรี ทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 75.4 และค่า ธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท
นอกโควตา จากประเทศนอกสมาชิก WTO ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าตันละ 2,750 บาท และอากรพิเศษร้อยละ 13.97 (รวมอากรทั้งหมดใกล้เคียงร้อยละ 75.4) และ ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท
4. การนำเข้าปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป
ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 15 สำหรับประเทศนอกภาคีอาเซียน และร้อยละ 5 สำหรับ การนำเข้าปลาป่นที่มีใบรับรองจากประเทศภาคีอาเซียนซึ่งเป็นไปตามข้อ ผูกพันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
มาตรการด้านการอุตสาหกรรม
1. นโยบายการบริหารงานสุราหลังปี 2542
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 อนุมัตินโยบายการบริหารงานสุราแช่พื้นเมือง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ยกเลิกการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2517 เฉพาะในส่วนของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตก่อสร้างโรงงานผลิตสุราแช่พื้นเมือง การทำและขายส่งสุราแช่พื้นเมือง และกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติในการขออนุญาตผลิต และจำหน่ายสุราดังกล่าวขึ้นใหม่ โดยมีสาระสำคัญ คือ ผู้ขออนุญาตสร้างโรงงานต้องเป็นสหกรณ์ และเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพสามิตแล้วต้อง ก่อสร้างโรงงานสุราให้แล้วเสร็จภายในกำหนดไม่เกิน 36 เดือน นับแต่วันที่ทำสัญญากับกรมสรรพสามิต ทั้งนี้ ก่อนการเปิดดำเนินการ ผู้รับอนุญาตก่อสร้างโรงงานสุราต้องทำสัญญาว่าด้วยการอนุญาตให้ทำและขายส่งสุรากับกรมสรรพสามิต โดยจะต้องใช้วัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตสุรา ตามที่กรมสรรพสามิตเห็นชอบ และในกรณีที่ต้องใช้สุราที่ผลิตได้จากโรงงานสุราแห่งอื่นไปใช้ปรุงแต่งสุราของตน ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมสรรพสามิตก่อนเช่นเดียวกัน
2. การบริหารโครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 อนุมัติการบริหารโครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ตามที่กระทรวง อุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1. อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) มีอำนาจอนุมัติการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการ
2. อนุมัติให้สำนักงบประมาณ อนุมัติอัตราและรายการใช้จ่ายของโครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 และวันที่ 29 สิงหาคม 2543 อนุมัติให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินโครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 2,999.4088 ล้าน แต่ปรากฎว่ามีส่วนราชการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนชื่อโครงการ เปลี่ยนแปลงหน่วยงานดำเนินโครงการ เปลี่ยนวิธีดำเนินการหรือกิจกรรม รวมทั้งเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในช่วงของการดำเนินโครงการภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติค่าใช้จ่ายแล้ว
เพื่อให้โครงการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 จำนวน 59 โครงการสามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนด กระทรวงอุตสาหกรรม จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการให้ กอช. มีอำนาจอนุมัติการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการภายใต้ แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ภายใต้ เงื่อนไข ดังนี้
1. วงเงินรวมทั้งโครงการจะไม่เพิ่มขึ้นไปจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
2. ระยะเวลาดำเนินการทั้งโครงการไม่เกินจากกรอบเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ คือไม่เกินปี 2547
3. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดอื่น ๆ จะต้องให้สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดย กอช. จะมอบให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดและอนุมัติเป็นรายโครงการ
มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์การลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนจำนองเหลือร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์ที่รับโอนจากผู้จำนองให้แก่ลูกหนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากเดิมที่ลดค่าจดทะเบียนดังกล่าวเฉพาะกรณีสถาบันการเงินเป็นผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง) หรือเป็นผู้โอนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง) เท่านั้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-