กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนาย Jigmi Yoeser Thinley รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภูฏาน ได้เป็นประธานร่วมในการประชุมทวิภาคีไทย-ภูฏาน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ที่ กระทรวงการต่างประเทศ สรุปผลการประชุมดังกล่าวดังนี้
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าความร่วมมือระหว่างไทยและภูฏานเป็นไปด้วยดีโดยมีปัจจัยที่ สอดคล้องกันหลายประการ เช่น การมีระบอบการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันรวมทั้งการนับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก ซึ่งได้ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีเพื่อนำไปสู่ความร่วมมือและความช่วยเหลือเกื้อกูลกันต่อไป ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างกันมีดังนี้
1. ด้านการค้า : ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือด้านการค้าระหว่างกัน โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการติดต่อด้านธุรกิจระหว่างกันมากขึ้น ในการนี้ ฝ่ายไทยขอให้มี การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าระหว่างกัน และแสดงความยินดีที่ภูฏานประสงค์จะซื้อข้าว จากไทย โดยฝ่ายไทยจะจัดส่งตัวอย่างข้าวไทยชนิดต่างๆ ให้ภูฏานพิจารณาเพื่อสั่งซื้อต่อไป ส่วนฝ่ายภูฏานขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาให้สิทธิพิเศษด้านศุลกากรในการนำเข้าสินค้าจากภูฏาน ซึ่งฝ่ายไทยรับจะพิจารณาต่อไป
2. การลงทุน : ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างกัน ฝ่ายไทยขอให้ภูฏานให้การอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนไทยที่สนใจจะเข้าไปลงทุนในภูฏานพร้อมทั้งขอทราบข้อมูลด้านการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฏระเบียบต่างๆ เพื่อกระตุ้นความ สนใจของนักลงทุนไทย นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยินดีที่ฝ่ายภูฏานเห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการลงทุนด้านการก่อสร้างและพร้อมจะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษต่อบริษัทก่อสร้างของไทยหากเข้าร่วมการประมูลโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติในกรุงทิมพู ในการนี้ฝ่ายไทยเสนอให้มีการจัดทำความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทั้งสองเพื่อเป็นกลไกขยายความร่วมมือในด้านดังกล่าวระหว่างกันด้วย
3. การท่องเที่ยว : ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยให้ไทยเป็น gateway สำหรับนักท่องเที่ยวคุณภาพที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวในภูฏาน โดยฝ่ายไทยขอให้ภูฏานพิจารณาอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราแก่ นักท่องเที่ยวดังกล่าว และฝ่ายภูฏานได้ขอความร่วมมือจากไทยในการพัฒนาบุคลากรด้าน การท่องเที่ยวของภูฏานด้วย
4. ความร่วมมือด้านการบิน : ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าน การบินของสองประเทศได้พบปะหารือกันเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเดินอากาศระหว่างกันมาโดยตลอด
5. ความร่วมมือทางวิชาการ : ฝ่ายภูฏานขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้การช่วยเหลือภูฏาน ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งได้สนองตอบต่อความต้องการของภูฏานในการพัฒนาประเทศ ซึ่งฝ่ายไทยยืนยันที่จะคงให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทรัพยาการมนุษย์แก่ภูฏาน ต่อไป นอกจากนี้ เพื่อให้การจัดสรรความช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ฝ่ายไทย ขอให้ Royal Civil Service ของภูฏานเป็นหน่วยงานหลักในการจัดลำดับความสำคัญเกี่ยวกับ คำขอของฝ่ายภูฏานเพื่อจัดส่งให้ฝ่ายไทยพิจารณาต่อไป
6. ความร่วมมือด้านสาธารณสุข : ฝ่ายภูฏานขอบคุณที่รัฐบาลไทยได้ให้ความร่วมมือ ด้านการพัฒนาบุคลากรและการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ Royal Institute of Health Science ของภูฏาน รวมทั้งการให้บริการแพทย์และสาธารณสุขแก่ชาวภูฏานโดยทั่วไป ซึ่งฝ่ายไทยยืนยันที่จะให้ความร่วมมือกับภูฏานในด้านดังกล่าวต่อไป นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้เสนอให้มีการจัดทำกรอบความร่วมมือทางวิชาการด้าน capacity building for human resources for health development ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลภูฏานซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรค้านสาธารณสุขของภูฏานในอนาคตต่อไป
7. ความร่วมมือด้านการเกษตร : ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดทำกรอบความร่วมมือ ด้านการเกษตรระหว่างกัน โดยกำหนดสาขาที่ต่างฝ่ายต่างมีศักยภาพในการขยายความร่วมมือ ในด้านนี้ไว้ด้วย
8. ความร่วมมือด้านการศึกษา วัฒนธรรม และศาสนา : ฝ่ายไทยพร้อมที่จะให้ ความร่วมมือกับฝ่ายภูฏานโดยเฉพาะด้านการศึกษานอกระบบ การศึกษาด้านวัฒนธรรมและ อาชีวศึกษา (non formal education, cultural education and vocational education) รวมทั้งการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันทางการศึกษาของประเทศทั้งสอง
9. ความร่วมมือพหุภาคี : - ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยกับแนวความคิดในการส่งเสริมความ ร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศในภูมิภาคต่างๆ ของเอเชีย รวมทั้งจะร่วมมือกันในการ พิทักษ์และปกป้องผลประโยชน์ที่มีอยู่ร่วมกันในเวทีพหุภาคีและสหประชาชาติอย่างใกล้ชิดต่อไป
- ทั้งนี้ ฝ่ายไทยยืนยันที่จะสนับสนุนภูฏานในการสมัครเป็นสมาชิก ECOSOC ระหว่างพ.ศ. 2545-2547 และฝ่ายภูฏานจะให้การสนับสนุนผู้สมัครของไทยใน International Law Commission (ILC) ระหว่างปี 2545 —2549 นอกจากนี้ ไทยได้แสดงความขอบคุณต่อการที่ฝ่าย ภูฏานได้ให้การสนับสนุนผู้สมัครของไทยใน Committee on the Right of the Child (CRC) และร่วมอุปถัมภ์ข้อมติของไทยในการประชุม ESCAP สมัยที่ 57 ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพเมื่อเดือนเมษายน ศกนี้ ในหัวข้อ Regional Call for Action to Fight HIV-AIDS in Asia and the Pacific อีกด้วย
10. ด้านอื่นๆ : - ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราสำหรับบุคคลธรรมดา รวมทั้งการจัดทำกรอบความร่วมมือด้านการตรวจลงตราสำหรับบุคคลที่ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างกัน ในการนี้ ฝ่ายไทยเสนอให้มีกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำภูฏาน เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ รวมทั้งการตรวจลงตราบุคคลธรรมดา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนาย Jigmi Yoeser Thinley รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภูฏาน ได้เป็นประธานร่วมในการประชุมทวิภาคีไทย-ภูฏาน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ที่ กระทรวงการต่างประเทศ สรุปผลการประชุมดังกล่าวดังนี้
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าความร่วมมือระหว่างไทยและภูฏานเป็นไปด้วยดีโดยมีปัจจัยที่ สอดคล้องกันหลายประการ เช่น การมีระบอบการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันรวมทั้งการนับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก ซึ่งได้ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีเพื่อนำไปสู่ความร่วมมือและความช่วยเหลือเกื้อกูลกันต่อไป ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างกันมีดังนี้
1. ด้านการค้า : ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือด้านการค้าระหว่างกัน โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการติดต่อด้านธุรกิจระหว่างกันมากขึ้น ในการนี้ ฝ่ายไทยขอให้มี การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าระหว่างกัน และแสดงความยินดีที่ภูฏานประสงค์จะซื้อข้าว จากไทย โดยฝ่ายไทยจะจัดส่งตัวอย่างข้าวไทยชนิดต่างๆ ให้ภูฏานพิจารณาเพื่อสั่งซื้อต่อไป ส่วนฝ่ายภูฏานขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาให้สิทธิพิเศษด้านศุลกากรในการนำเข้าสินค้าจากภูฏาน ซึ่งฝ่ายไทยรับจะพิจารณาต่อไป
2. การลงทุน : ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างกัน ฝ่ายไทยขอให้ภูฏานให้การอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนไทยที่สนใจจะเข้าไปลงทุนในภูฏานพร้อมทั้งขอทราบข้อมูลด้านการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฏระเบียบต่างๆ เพื่อกระตุ้นความ สนใจของนักลงทุนไทย นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยินดีที่ฝ่ายภูฏานเห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการลงทุนด้านการก่อสร้างและพร้อมจะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษต่อบริษัทก่อสร้างของไทยหากเข้าร่วมการประมูลโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติในกรุงทิมพู ในการนี้ฝ่ายไทยเสนอให้มีการจัดทำความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทั้งสองเพื่อเป็นกลไกขยายความร่วมมือในด้านดังกล่าวระหว่างกันด้วย
3. การท่องเที่ยว : ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยให้ไทยเป็น gateway สำหรับนักท่องเที่ยวคุณภาพที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวในภูฏาน โดยฝ่ายไทยขอให้ภูฏานพิจารณาอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราแก่ นักท่องเที่ยวดังกล่าว และฝ่ายภูฏานได้ขอความร่วมมือจากไทยในการพัฒนาบุคลากรด้าน การท่องเที่ยวของภูฏานด้วย
4. ความร่วมมือด้านการบิน : ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าน การบินของสองประเทศได้พบปะหารือกันเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเดินอากาศระหว่างกันมาโดยตลอด
5. ความร่วมมือทางวิชาการ : ฝ่ายภูฏานขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้การช่วยเหลือภูฏาน ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งได้สนองตอบต่อความต้องการของภูฏานในการพัฒนาประเทศ ซึ่งฝ่ายไทยยืนยันที่จะคงให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทรัพยาการมนุษย์แก่ภูฏาน ต่อไป นอกจากนี้ เพื่อให้การจัดสรรความช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ฝ่ายไทย ขอให้ Royal Civil Service ของภูฏานเป็นหน่วยงานหลักในการจัดลำดับความสำคัญเกี่ยวกับ คำขอของฝ่ายภูฏานเพื่อจัดส่งให้ฝ่ายไทยพิจารณาต่อไป
6. ความร่วมมือด้านสาธารณสุข : ฝ่ายภูฏานขอบคุณที่รัฐบาลไทยได้ให้ความร่วมมือ ด้านการพัฒนาบุคลากรและการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ Royal Institute of Health Science ของภูฏาน รวมทั้งการให้บริการแพทย์และสาธารณสุขแก่ชาวภูฏานโดยทั่วไป ซึ่งฝ่ายไทยยืนยันที่จะให้ความร่วมมือกับภูฏานในด้านดังกล่าวต่อไป นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้เสนอให้มีการจัดทำกรอบความร่วมมือทางวิชาการด้าน capacity building for human resources for health development ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลภูฏานซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรค้านสาธารณสุขของภูฏานในอนาคตต่อไป
7. ความร่วมมือด้านการเกษตร : ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดทำกรอบความร่วมมือ ด้านการเกษตรระหว่างกัน โดยกำหนดสาขาที่ต่างฝ่ายต่างมีศักยภาพในการขยายความร่วมมือ ในด้านนี้ไว้ด้วย
8. ความร่วมมือด้านการศึกษา วัฒนธรรม และศาสนา : ฝ่ายไทยพร้อมที่จะให้ ความร่วมมือกับฝ่ายภูฏานโดยเฉพาะด้านการศึกษานอกระบบ การศึกษาด้านวัฒนธรรมและ อาชีวศึกษา (non formal education, cultural education and vocational education) รวมทั้งการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันทางการศึกษาของประเทศทั้งสอง
9. ความร่วมมือพหุภาคี : - ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยกับแนวความคิดในการส่งเสริมความ ร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศในภูมิภาคต่างๆ ของเอเชีย รวมทั้งจะร่วมมือกันในการ พิทักษ์และปกป้องผลประโยชน์ที่มีอยู่ร่วมกันในเวทีพหุภาคีและสหประชาชาติอย่างใกล้ชิดต่อไป
- ทั้งนี้ ฝ่ายไทยยืนยันที่จะสนับสนุนภูฏานในการสมัครเป็นสมาชิก ECOSOC ระหว่างพ.ศ. 2545-2547 และฝ่ายภูฏานจะให้การสนับสนุนผู้สมัครของไทยใน International Law Commission (ILC) ระหว่างปี 2545 —2549 นอกจากนี้ ไทยได้แสดงความขอบคุณต่อการที่ฝ่าย ภูฏานได้ให้การสนับสนุนผู้สมัครของไทยใน Committee on the Right of the Child (CRC) และร่วมอุปถัมภ์ข้อมติของไทยในการประชุม ESCAP สมัยที่ 57 ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพเมื่อเดือนเมษายน ศกนี้ ในหัวข้อ Regional Call for Action to Fight HIV-AIDS in Asia and the Pacific อีกด้วย
10. ด้านอื่นๆ : - ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราสำหรับบุคคลธรรมดา รวมทั้งการจัดทำกรอบความร่วมมือด้านการตรวจลงตราสำหรับบุคคลที่ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างกัน ในการนี้ ฝ่ายไทยเสนอให้มีกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำภูฏาน เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ รวมทั้งการตรวจลงตราบุคคลธรรมดา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-