กรุงเทพฯ--9 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
อธิบดีกรมอาเซียนเข้าร่วมประชุมและกล่าวถ้อยแถลงปิดการประชุมในนามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในการประชุมสัมมนา GMS-ASEAN ครั้งที่ 2 ณ กรุงพนมเปญ
เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2543 สถาบัน Cambodian Institute for Cooperation and Peace (CICP) ของกัมพูชาได้ร่วมกับมูลนิธิ Friedrich-Ebert-Stiftung (FES) ของเยอรมนีจัดการประชุมประจำปี GMS-ASEAN ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “Development and Governance in the Greater Mekong Subregion: On Track or Adrift?” ที่โรงแรม Sofitel Cambodiana ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นการระดมความคิดเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในด้านต่างๆ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นบุคคลสำคัญและผู้มีชื่อเสียงจากภาครัฐและภาควิชาการในภูมิภาค อาทิ รัฐมนตรีพาณิชย์ คมนาคม เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศและปลัดกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา ประธานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง รวมทั้ง ดร.สุจิตต์ บุญบงการ และ ดร.ธีระ นุชเปี่ยม จากประเทศไทย เป็นต้น
ในการนี้ เจ้านโรดม สิริวุธ ประธานองคมนตรีในกษัตริย์สีหนุในฐานะประธาน CICP ได้มีหนังสือเชิญ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวปิดการประชุมดังกล่าวในวันที่ 2 พฤศจิกายน ภายใต้หัวข้อเรื่อง “The Future of the Greater Mekong Subregion: Peace, Cooperation and Development ” ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่าการประชุม GMS-ASEAN ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของไทยในการส่งเสริมการพัฒนาลุ่มน้ำโขง อย่างไรก็ดี โดยที่ ดร.สุรินทร์ฯ ติดภารกิจอื่นจึงได้มอบหมายให้อธิบดีกรมอาเซียนไปร่วมการสัมมนาและกล่าวถ้อยแถลงปิดการประชุมแทน
อธิบดีกรมอาเซียนได้กล่าวถ้อยแถลงสรุปได้ว่า อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีความสำคัญ หลายฝ่ายจึงได้จัดตั้งกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงขึ้นทั้งระหว่างประเทศภายในภูมิภาคด้วยกันเองและโดยการสนับสนุนของประเทศผู้บริจาคและองค์การพัฒนาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี กระแสของโลกาภิวัตน์และการเข้าร่วมของประเทศลุ่มน้ำโขงในสมาคมอาเซียนทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการพัฒนาลุ่มน้ำโขงเพื่อลดระดับความแตกต่างในการพัฒนาระหว่างประเทศในภูมิภาคและเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้ก้าวทันกับพัฒนาการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในการนี้ อาเซียนได้พยายามระดมความสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ และประเทศไทยร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนยังได้ผลักดันให้ ESCAP รับรองข้อมติในการประกาศ “ทศวรรษแห่งความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ค.ศ. 2000-2009” เพื่อให้ ESCAP ช่วยระดมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงและให้จัดการประชุมประสานงานระหว่างประเทศและระหว่างกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงที่มีอยู่หลายกรอบเพื่อให้การดำเนินงานเสริมสร้างซึ่งกันและกันโดยหลีกเลี่ยงความ ซ้ำซ้อน โดยขณะนี้ ESCAP กำลังจัดเตรียมแผนระยะสั้นและระยะยาวเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตาม ข้อมติดังกล่าวอยู่
ความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะช่วยเสริมสร้างให้อนุภูมิภาคดังกล่าวเป็นเขตแห่งสันติภาพและความสงบสุข อีกทั้งจะช่วยเสริมสร้างความสงบสุขในภูมิภาคที่ต่อเนื่องเช่นในทะเลจีนใต้ด้วย ในการนี้ ประเทศในภูมิภาคได้เรียนรู้ที่จะร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ประเทศ ต่าง ๆ ก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น มีลักษณะพลวัตร เปิดกว้าง เพื่อหารือกันในประเด็นต่าง ๆ ตามสภาวะของความเกี่ยวโยงและการพึ่งพาซึ่งกันและกันในภูมิภาคที่มีเพิ่มขึ้น โดยกรอบการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในเอเชียและแปซิฟิก (ARF) จะสามารถมีบทบาทที่เสริมสร้างในด้านนี้ได้ ในขณะเดียวกันประเทศในภูมิภาคก็ต้องพร้อมที่จะแก้ไขความขัดแย้งใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม มิให้ขยายขอบเขตออกไป โดยคำนึงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาคเป็นสำคัญ สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคยังจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศมีความมั่นใจที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจในภูมิภาค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขงและช่วยให้อาเซียนมีความแข็งแกร่งขึ้น
ในขณะเดียวกันประเทศในภูมิภาคจะต้องร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นลำดับแรก และต้องร่วมมือกันระดมความสนับสนุนจากประชาคมองค์การพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากและต้องใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษ ทั้งนี้ มีความ จำเป็นที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญของโครงการความร่วมมือโดยเน้นโครงการที่จะมีผลการพัฒนา ไปอย่างต่อเนื่องและควรคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาอื่น ๆ ในภูมิภาคที่มีอยู่แล้ว เช่น การสร้างเครือข่ายด้านการคมนาคมขนส่งและพลังงาน หรือการพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการคมนาคมรองรับ เป็นต้น อีกทั้งควรให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และได้เน้นว่าการเสนอและดำเนินโครงการพัฒนาใด ๆ ควรคำนึงถึงประโยชน์ของภูมิภาคโดยรวม และจำเป็นจะต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามพันธกรณีในส่วนของตนอย่างเต็มที่
สำหรับลักษณะของโครงการพัฒนาก็ควรให้สามารถดำเนินการได้ในระยะยาวโดย คนในท้องถิ่น ให้การพัฒนาเป็นไปโดยยั่งยืน ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งแผนงานต่าง ๆ นั้นสามารถอาศัยแนวทางจากวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 และแผนปฏิบัติการฮานอยได้ โดยในภาวะที่ภูมิภาคกำลังฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจก็อาจต้องปรับเน้นโครงการพัฒนาที่เป็นไปได้ เช่น ด้านการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมที่เกี่ยวโยงกับการค้า เป็นต้น ส่วนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นผลประโยชน์ต่อภูมิภาคในระยะยาวก็ต้องร่วมมือกันผลักดันต่อไป โดยให้มีลักษณะเบ็ดเสร็จที่มีแผนงานและมาตรการต่าง ๆ รองรับอย่างพอเพียงเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากโครงการนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่ พร้อมกันนั้นควรเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย
อธิบดีกรมอาเซียนกล่าวสรุปถ้อยแถลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่าอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกำลังเปิดศักราชใหม่ของความร่วมมือที่เต็มไปด้วยโอกาสในด้านต่าง ๆ อย่างมากมาย ประเทศในภูมิภาคจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะร่วมมือกันแสวงประโยชน์จากลู่ทางต่างๆที่มีและต้องพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่ท้าทายด้วยเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและภูมิภาคของเราร่วมกัน
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นในหัวข้อสัมมนาต่าง ๆ ด้วย ซึ่งในการสัมมนาครั้งนี้ได้เน้นเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีเขตแดนติดต่อกัน (cross-border cooperation) การเข้าร่วมของประเทศสมาชิกใหม่ในสมาคมอาเซียน และธรรมรัฐ (governance) ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งผลของการสัมมนานับว่าได้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่ระดับนโยบายของแต่ละประเทศที่จะไปผลักดันความร่วมมือในลุ่มน้ำโขงให้เป็นประโยชน์และมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
อธิบดีกรมอาเซียนเข้าร่วมประชุมและกล่าวถ้อยแถลงปิดการประชุมในนามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในการประชุมสัมมนา GMS-ASEAN ครั้งที่ 2 ณ กรุงพนมเปญ
เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2543 สถาบัน Cambodian Institute for Cooperation and Peace (CICP) ของกัมพูชาได้ร่วมกับมูลนิธิ Friedrich-Ebert-Stiftung (FES) ของเยอรมนีจัดการประชุมประจำปี GMS-ASEAN ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “Development and Governance in the Greater Mekong Subregion: On Track or Adrift?” ที่โรงแรม Sofitel Cambodiana ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นการระดมความคิดเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในด้านต่างๆ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นบุคคลสำคัญและผู้มีชื่อเสียงจากภาครัฐและภาควิชาการในภูมิภาค อาทิ รัฐมนตรีพาณิชย์ คมนาคม เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศและปลัดกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา ประธานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง รวมทั้ง ดร.สุจิตต์ บุญบงการ และ ดร.ธีระ นุชเปี่ยม จากประเทศไทย เป็นต้น
ในการนี้ เจ้านโรดม สิริวุธ ประธานองคมนตรีในกษัตริย์สีหนุในฐานะประธาน CICP ได้มีหนังสือเชิญ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวปิดการประชุมดังกล่าวในวันที่ 2 พฤศจิกายน ภายใต้หัวข้อเรื่อง “The Future of the Greater Mekong Subregion: Peace, Cooperation and Development ” ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่าการประชุม GMS-ASEAN ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของไทยในการส่งเสริมการพัฒนาลุ่มน้ำโขง อย่างไรก็ดี โดยที่ ดร.สุรินทร์ฯ ติดภารกิจอื่นจึงได้มอบหมายให้อธิบดีกรมอาเซียนไปร่วมการสัมมนาและกล่าวถ้อยแถลงปิดการประชุมแทน
อธิบดีกรมอาเซียนได้กล่าวถ้อยแถลงสรุปได้ว่า อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีความสำคัญ หลายฝ่ายจึงได้จัดตั้งกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงขึ้นทั้งระหว่างประเทศภายในภูมิภาคด้วยกันเองและโดยการสนับสนุนของประเทศผู้บริจาคและองค์การพัฒนาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี กระแสของโลกาภิวัตน์และการเข้าร่วมของประเทศลุ่มน้ำโขงในสมาคมอาเซียนทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการพัฒนาลุ่มน้ำโขงเพื่อลดระดับความแตกต่างในการพัฒนาระหว่างประเทศในภูมิภาคและเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้ก้าวทันกับพัฒนาการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในการนี้ อาเซียนได้พยายามระดมความสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ และประเทศไทยร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนยังได้ผลักดันให้ ESCAP รับรองข้อมติในการประกาศ “ทศวรรษแห่งความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ค.ศ. 2000-2009” เพื่อให้ ESCAP ช่วยระดมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงและให้จัดการประชุมประสานงานระหว่างประเทศและระหว่างกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงที่มีอยู่หลายกรอบเพื่อให้การดำเนินงานเสริมสร้างซึ่งกันและกันโดยหลีกเลี่ยงความ ซ้ำซ้อน โดยขณะนี้ ESCAP กำลังจัดเตรียมแผนระยะสั้นและระยะยาวเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตาม ข้อมติดังกล่าวอยู่
ความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะช่วยเสริมสร้างให้อนุภูมิภาคดังกล่าวเป็นเขตแห่งสันติภาพและความสงบสุข อีกทั้งจะช่วยเสริมสร้างความสงบสุขในภูมิภาคที่ต่อเนื่องเช่นในทะเลจีนใต้ด้วย ในการนี้ ประเทศในภูมิภาคได้เรียนรู้ที่จะร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ประเทศ ต่าง ๆ ก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น มีลักษณะพลวัตร เปิดกว้าง เพื่อหารือกันในประเด็นต่าง ๆ ตามสภาวะของความเกี่ยวโยงและการพึ่งพาซึ่งกันและกันในภูมิภาคที่มีเพิ่มขึ้น โดยกรอบการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในเอเชียและแปซิฟิก (ARF) จะสามารถมีบทบาทที่เสริมสร้างในด้านนี้ได้ ในขณะเดียวกันประเทศในภูมิภาคก็ต้องพร้อมที่จะแก้ไขความขัดแย้งใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม มิให้ขยายขอบเขตออกไป โดยคำนึงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาคเป็นสำคัญ สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคยังจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศมีความมั่นใจที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจในภูมิภาค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขงและช่วยให้อาเซียนมีความแข็งแกร่งขึ้น
ในขณะเดียวกันประเทศในภูมิภาคจะต้องร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นลำดับแรก และต้องร่วมมือกันระดมความสนับสนุนจากประชาคมองค์การพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากและต้องใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษ ทั้งนี้ มีความ จำเป็นที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญของโครงการความร่วมมือโดยเน้นโครงการที่จะมีผลการพัฒนา ไปอย่างต่อเนื่องและควรคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาอื่น ๆ ในภูมิภาคที่มีอยู่แล้ว เช่น การสร้างเครือข่ายด้านการคมนาคมขนส่งและพลังงาน หรือการพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการคมนาคมรองรับ เป็นต้น อีกทั้งควรให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และได้เน้นว่าการเสนอและดำเนินโครงการพัฒนาใด ๆ ควรคำนึงถึงประโยชน์ของภูมิภาคโดยรวม และจำเป็นจะต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามพันธกรณีในส่วนของตนอย่างเต็มที่
สำหรับลักษณะของโครงการพัฒนาก็ควรให้สามารถดำเนินการได้ในระยะยาวโดย คนในท้องถิ่น ให้การพัฒนาเป็นไปโดยยั่งยืน ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งแผนงานต่าง ๆ นั้นสามารถอาศัยแนวทางจากวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 และแผนปฏิบัติการฮานอยได้ โดยในภาวะที่ภูมิภาคกำลังฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจก็อาจต้องปรับเน้นโครงการพัฒนาที่เป็นไปได้ เช่น ด้านการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมที่เกี่ยวโยงกับการค้า เป็นต้น ส่วนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นผลประโยชน์ต่อภูมิภาคในระยะยาวก็ต้องร่วมมือกันผลักดันต่อไป โดยให้มีลักษณะเบ็ดเสร็จที่มีแผนงานและมาตรการต่าง ๆ รองรับอย่างพอเพียงเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากโครงการนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่ พร้อมกันนั้นควรเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย
อธิบดีกรมอาเซียนกล่าวสรุปถ้อยแถลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่าอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกำลังเปิดศักราชใหม่ของความร่วมมือที่เต็มไปด้วยโอกาสในด้านต่าง ๆ อย่างมากมาย ประเทศในภูมิภาคจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะร่วมมือกันแสวงประโยชน์จากลู่ทางต่างๆที่มีและต้องพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่ท้าทายด้วยเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและภูมิภาคของเราร่วมกัน
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นในหัวข้อสัมมนาต่าง ๆ ด้วย ซึ่งในการสัมมนาครั้งนี้ได้เน้นเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีเขตแดนติดต่อกัน (cross-border cooperation) การเข้าร่วมของประเทศสมาชิกใหม่ในสมาคมอาเซียน และธรรมรัฐ (governance) ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งผลของการสัมมนานับว่าได้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่ระดับนโยบายของแต่ละประเทศที่จะไปผลักดันความร่วมมือในลุ่มน้ำโขงให้เป็นประโยชน์และมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-