กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน เมื่อเดือนเมษายน 2539 ทั้งนี้ ความตกลงฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2539 เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์
ขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนของอาเซียน เพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของอาเซียน สนับสนุนการแบ่งผลิต ลดต้นทุนการผลิตโดยการลดภาษีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป และวัตถุดิบ เพิ่มการลงทุนระหว่างอาเซียนและการลงทุนจากนอกอาเซียน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของอาเซียนหลักการดำเนินการ
ผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการอย่างน้อย 1 รายในประเทศอาเซียนประเทศหนึ่งร่วมมือกับผู้ประกอบการอีกอย่างน้อย 1 ราย ในอีกประเทศอาเซียนหนึ่งยื่นคำร้องขอรับสิทธิประโยชน์ ภายใต้ AICO ต่อหน่วยงานที่แต่ละประเทศกำหนด AICO จะมีผู้ประกอบการมากกว่า 1 รายในแต่ละประเทศ และมีประเทศที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 2 ประเทศก็ได
ประเภทสินค้า
สินค้าทั่วไป ยกเว้นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ขัดต่อศีลธรรมวัฒนธรรมอันดีงาม หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช โดยมีแหล่งกำเนิดในอาเซียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 40 การอนุมัติสินค้าจะระบุพิกัด HS 8-digit ขึ้นไป
องค์กรที่มีสิทธิขอรับสิทธิประโยชน์
บริษัทที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้นใหม่ หรือบริษัทที่ก่อตั้งและดำเนินกิจการอยู่แล้วในอาเซียน
ต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นคนชาติที่บริษัทนั้นตั้งอยู่อย่างน้อยร้อยละ 30
ต้องชี้แจงแสดงเหตุผลว่าจะร่วมมือกันอย่างไรสิทธิประโยชน์
สินค้าและวัตถุดิบทีใช้ในการผลิตที่เกี่ยวข้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0-5 สินค้านั้นได้รับการยอมรับเสมือนเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประเทศที่ให้สิทธิประโยชน์
ไม่ถูกจำกัดด้วยระบบโควต้าหรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี
หน่วยงานหลัก (National Authority)
National Authority ของไทยสำหรับโครงการ AICO คือ สำนักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
การสนับสนุนให้ภาคเอกชนใช้ประโยชน์จากโครงการ AICO
- ยกเว้นเป็นการชั่วคราวต่อหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้อาเซียนต้องถือหุ้นภายใต้ โครงการ AICO อย่างน้อยร้อยละ 30 สำหรับคำขอโครงการ AICO ที่ยื่นในช่วงปี 1999-2000
- เร่งรัดระยะเวลาเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาโครงการ AICO ให้รวดเร็วขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการ AICO เพิ่มขึ้น
- กล่าวโดยสรุป ขณะนี้มีบริษัทฯ ต่างๆ ในอาเซียนยื่นเสนอขอโครงการ AICO ทั้งสิ้น 89 โครงการ มีโครงการที่ไทยเข้าร่วมด้วย 56 โครงการ สินค้าที่ได้รับอนุมัติในโครงการ AICO ส่วนใหญ่จะเป็นยานยนต์และชิ้นส่วน นอกจากนั้น เป็นสินค้าอื่นๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องยนต์การ-เกษตร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก เป็นต้น
แนวทางสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการ AICO ของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 31 เมื่อวันที่ 27 กันยายน — 2 ตุลาคม 2542 มีมติให้บริษัทการค้า (Trading company) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) สามารถเข้าร่วมโครงการ AICO ได้ ทั้งนี้ การยินยอมอนุมัติให้บริษัทการค้าเข้าร่วมโครงการ AICO ได้ ก็เพื่อช่วยให้ SMEs สามารถเข้าร่วมโครงการ AICO ได้ เนื่องจากขณะนี้ SMEs ประสบปัญหาสำคัญในการเข้าร่วมโครงการ AICO โดยมีข้อจำกัดในการดำเนินการด้านช่องทางการตลาด และไม่สามารถจับคู่เพื่อแลกเปลี่ยนการผลิตสินค้าในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาข้างต้น การพิจารณาหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ AICO ของ SMEs ได้ยึดหลักการปฏิบัติเป็นพิเศษ และมีความยืดหยุ่น เพื่อสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการ AICO ของ SMEs
สื่อมวลชนที่ประสงค์จะเข้าร่วมทำข่าวการประชุม AEM ครั้งที่ 32 นี้ โปรดติดต่อขอรับแบบลงทะเบียนและแจ้งความจำนงได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ภายในวันที่ 11 กันยายน ศกนี้
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน เมื่อเดือนเมษายน 2539 ทั้งนี้ ความตกลงฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2539 เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์
ขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนของอาเซียน เพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของอาเซียน สนับสนุนการแบ่งผลิต ลดต้นทุนการผลิตโดยการลดภาษีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป และวัตถุดิบ เพิ่มการลงทุนระหว่างอาเซียนและการลงทุนจากนอกอาเซียน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของอาเซียนหลักการดำเนินการ
ผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการอย่างน้อย 1 รายในประเทศอาเซียนประเทศหนึ่งร่วมมือกับผู้ประกอบการอีกอย่างน้อย 1 ราย ในอีกประเทศอาเซียนหนึ่งยื่นคำร้องขอรับสิทธิประโยชน์ ภายใต้ AICO ต่อหน่วยงานที่แต่ละประเทศกำหนด AICO จะมีผู้ประกอบการมากกว่า 1 รายในแต่ละประเทศ และมีประเทศที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 2 ประเทศก็ได
ประเภทสินค้า
สินค้าทั่วไป ยกเว้นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ขัดต่อศีลธรรมวัฒนธรรมอันดีงาม หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช โดยมีแหล่งกำเนิดในอาเซียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 40 การอนุมัติสินค้าจะระบุพิกัด HS 8-digit ขึ้นไป
องค์กรที่มีสิทธิขอรับสิทธิประโยชน์
บริษัทที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้นใหม่ หรือบริษัทที่ก่อตั้งและดำเนินกิจการอยู่แล้วในอาเซียน
ต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นคนชาติที่บริษัทนั้นตั้งอยู่อย่างน้อยร้อยละ 30
ต้องชี้แจงแสดงเหตุผลว่าจะร่วมมือกันอย่างไรสิทธิประโยชน์
สินค้าและวัตถุดิบทีใช้ในการผลิตที่เกี่ยวข้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0-5 สินค้านั้นได้รับการยอมรับเสมือนเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประเทศที่ให้สิทธิประโยชน์
ไม่ถูกจำกัดด้วยระบบโควต้าหรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี
หน่วยงานหลัก (National Authority)
National Authority ของไทยสำหรับโครงการ AICO คือ สำนักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
การสนับสนุนให้ภาคเอกชนใช้ประโยชน์จากโครงการ AICO
- ยกเว้นเป็นการชั่วคราวต่อหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้อาเซียนต้องถือหุ้นภายใต้ โครงการ AICO อย่างน้อยร้อยละ 30 สำหรับคำขอโครงการ AICO ที่ยื่นในช่วงปี 1999-2000
- เร่งรัดระยะเวลาเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาโครงการ AICO ให้รวดเร็วขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการ AICO เพิ่มขึ้น
- กล่าวโดยสรุป ขณะนี้มีบริษัทฯ ต่างๆ ในอาเซียนยื่นเสนอขอโครงการ AICO ทั้งสิ้น 89 โครงการ มีโครงการที่ไทยเข้าร่วมด้วย 56 โครงการ สินค้าที่ได้รับอนุมัติในโครงการ AICO ส่วนใหญ่จะเป็นยานยนต์และชิ้นส่วน นอกจากนั้น เป็นสินค้าอื่นๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องยนต์การ-เกษตร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก เป็นต้น
แนวทางสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการ AICO ของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 31 เมื่อวันที่ 27 กันยายน — 2 ตุลาคม 2542 มีมติให้บริษัทการค้า (Trading company) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) สามารถเข้าร่วมโครงการ AICO ได้ ทั้งนี้ การยินยอมอนุมัติให้บริษัทการค้าเข้าร่วมโครงการ AICO ได้ ก็เพื่อช่วยให้ SMEs สามารถเข้าร่วมโครงการ AICO ได้ เนื่องจากขณะนี้ SMEs ประสบปัญหาสำคัญในการเข้าร่วมโครงการ AICO โดยมีข้อจำกัดในการดำเนินการด้านช่องทางการตลาด และไม่สามารถจับคู่เพื่อแลกเปลี่ยนการผลิตสินค้าในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาข้างต้น การพิจารณาหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ AICO ของ SMEs ได้ยึดหลักการปฏิบัติเป็นพิเศษ และมีความยืดหยุ่น เพื่อสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการ AICO ของ SMEs
สื่อมวลชนที่ประสงค์จะเข้าร่วมทำข่าวการประชุม AEM ครั้งที่ 32 นี้ โปรดติดต่อขอรับแบบลงทะเบียนและแจ้งความจำนงได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ภายในวันที่ 11 กันยายน ศกนี้
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-