ข่าวในประเทศ
1. ก.พาณิชย์เปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 อธิบดีกรมการค้าภายในเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (ซีพีไอ) และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศในเดือน ก.ค.43 สูงขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับเดือน มิ.ย.43 แต่สูงขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.42 โดยเป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.9 ขณะที่สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 สำหรับซีพีไอเฉลี่ยในช่วงเดือน ม.ค.- ก.ค.43 สูงขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 42 เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.1 ขณะที่ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.6 ซึ่งอัตราเงินเฟ้อระดับนี้ถือว่าสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.7 เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น คาดว่าตลอดปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 2 เนื่องจากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แม้ราคาน้ำมันดีเซลจะปรับขึ้นสูงกว่าร้อยละ 60 แต่ราคาสินค้ามิได้ปรับเพิ่มแต่อย่างใด (วัฏจักร 2)
3. เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ 5 เดือนแรกปี 43 แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยถึงยอดเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิช่วง 5 เดือนแรกปี 43 ว่า มีเงินทุนไหลออกต่างประเทศรวม 12,400 ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็นการไหลออกในภาคเอกชน 12,800 ล.ดอลลาร์ สรอ. และเงินทุนไหลเข้าของภาครัฐบาล 43 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทำให้มียอดเงินทุนไหลออกสุทธิจำนวนทั้งสิ้น 7,050 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับยอดเงินไหลออกทั้งปีในปี 42 ซึ่งมีจำนวน 8,020 ล.ดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 โดยสาเหตุสำคัญเกิดจาก การชำระคืนหนี้เงินกู้ต่างประเทศของภาคเอกชนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำกว่าต่างประเทศ และช่วงค่าเงินบาทแข็งค่า ประกอบกับมีการระดมทุนในประเทศเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ยอดหนี้ต่างประเทศลดลงจากระดับ 9 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ.เหลือประมาณ 8 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับแนวโน้มเงินทุนไหลออกช่วงครึ่งหลังปี 43 คาดว่า จะยังคงมีจำนวนสูง หาก ธ.กลาง สรอ.ยังคงปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศต่างกันมากขึ้น รวมทั้งหากภาคเอกชนและบีไอบีเอฟยังมีแนวโน้มจะเร่งชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ หรือหากค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงอาจทำให้ผู้มีภาระหนี้ต่างประเทศซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อเตรียมชำระหนี้ที่ใกล้ครบกำหนดชำระอีกทางหนึ่ง (ผู้จัดการรายวัน, มติชน 2)
3. การส่งออกสินค้าไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะสูงกว่าเป้าหมายในปี 43 รมช.พาณิชย์เปิดเผยว่า การส่งสินค้าไทยในปี 43 ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15 และมีมูลค่า 68,000 ล.ดอลลาร์ เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนลงในปัจจุบันทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น ขณะเดียวกัน รมว.พาณิชย์กล่าวว่า สินค้าออกของไทยจะแข่งขันได้ดีขึ้นเมื่อค่าเงินบาทต่ำกว่า 40 บาท/ดอลลาร์ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร รัฐบาลไม่ควรเข้าแทรกแซงให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น เพราะค่าเงินบาทระดับนี้ถือว่าเป็นระดับที่ดี (ไทยโพสต์ 2)
ข่าวต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 43 การใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 อยู่ที่มูลค่า 6.737 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3ในเดือน พ.ค. 43 ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นเป็นการใช้จ่ายด้านสินค้าคงทน สินค้าไม่คงทนและการใช้จ่ายด้านบริการ ขณะที่ รายได้ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ที่มูลค่า 8.267 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ค. 43 การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่ารายได้ในเดือน มิ.ย. ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้งๆที่ ธ. กลาง ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันตั้งแต่กลางปี 42 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน ก. พาณิชย์ รายงานว่า ในเดือน มิ.ย. 43 การใช้จ่ายโครงการก่อสร้าง ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 1.7 อยู่ที่มูลค่า 800 พัน ล. ดอลลาร์ จากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ค. 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และลดลงต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งอาจเป็นเพราะได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ. กลาง (รอยเตอร์ 1)
2. เศรษฐกิจของเกาหลีใต้อาจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6 ในปี 44 รายงานจากโซลเมื่อ 1 ส.ค. 43 จากรายงานการสำรวจประจำปีขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คาดว่า ในปี 44 เศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6 จากที่ขยายตัวในอัตราประมาณร้อยละ 8.5 ในปีนี้ โดยความต้องการของผู้บริโภคและจำนวนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากที่ตกต่ำที่สุดภายหลังสงครามโลกเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามการนำเข้าสินค้าที่ขยายตัว จะส่งผลให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 43 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 ของ GDP จากร้อยละ 6 ในปี 42 ส่วนภาวะเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 3 เนื่องจากตลาดแรงงานได้คลายตัวลง และอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมยังต่ำกว่าระดับสูงสุด (รอยเตอร์ 1)
3. ดัชนี PMI ของเยอรมนีลดลงอยู่ที่ระดับ 58.3 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 1 ส.ค.43 บริษัทวิจัย NTC จากความร่วมมือของ BME German Association for Materials Management, Purchasing and Logistics และสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เดือน ก.ค.43 ดัชนี PMI (Purchasing Managers' Index) ปรับฤดูกาลของเยอรมนี ซึ่งใช้วัดภาวะอุตสาหกรรมการผลิต ลดลงอยู่ที่ระดับ 58.3 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับ 59.5 ในเดือน มิ.ย.43 โดยดัชนีฯ ที่อยู่เหนือระดับ 50 ชี้ถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งนี้ ส่วนประกอบของดัชนีฯ ที่สำคัญมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ คำสั่งซื้อใหม่ลดลงอยู่ที่ระดับ 59.2 จากระดับ 61.4 ในเดือน มิ.ย.43 คำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกลดลงอยู่ที่ระดับ 58.5 จากระดับ 60.0 ในเดือน มิ.ย.43 และดัชนีการผลิตลดลงอยู่ที่ระดับ 58.7 จากระดับ 61.2 ในเดือน มิ.ย.43 แต่ BME รายงานว่า ความต้องการจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศยังขยายตัวดี (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 1 ส.ค. 43 41.221 (41.452)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ1 ส.ค.43ซื้อ 41.0497 (41.2968) ขาย 41.3543 (41.6027)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.48 (25.62)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.พาณิชย์เปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 อธิบดีกรมการค้าภายในเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (ซีพีไอ) และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศในเดือน ก.ค.43 สูงขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับเดือน มิ.ย.43 แต่สูงขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.42 โดยเป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.9 ขณะที่สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 สำหรับซีพีไอเฉลี่ยในช่วงเดือน ม.ค.- ก.ค.43 สูงขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 42 เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.1 ขณะที่ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.6 ซึ่งอัตราเงินเฟ้อระดับนี้ถือว่าสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.7 เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น คาดว่าตลอดปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 2 เนื่องจากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แม้ราคาน้ำมันดีเซลจะปรับขึ้นสูงกว่าร้อยละ 60 แต่ราคาสินค้ามิได้ปรับเพิ่มแต่อย่างใด (วัฏจักร 2)
3. เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ 5 เดือนแรกปี 43 แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยถึงยอดเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิช่วง 5 เดือนแรกปี 43 ว่า มีเงินทุนไหลออกต่างประเทศรวม 12,400 ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็นการไหลออกในภาคเอกชน 12,800 ล.ดอลลาร์ สรอ. และเงินทุนไหลเข้าของภาครัฐบาล 43 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทำให้มียอดเงินทุนไหลออกสุทธิจำนวนทั้งสิ้น 7,050 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับยอดเงินไหลออกทั้งปีในปี 42 ซึ่งมีจำนวน 8,020 ล.ดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 โดยสาเหตุสำคัญเกิดจาก การชำระคืนหนี้เงินกู้ต่างประเทศของภาคเอกชนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำกว่าต่างประเทศ และช่วงค่าเงินบาทแข็งค่า ประกอบกับมีการระดมทุนในประเทศเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ยอดหนี้ต่างประเทศลดลงจากระดับ 9 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ.เหลือประมาณ 8 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับแนวโน้มเงินทุนไหลออกช่วงครึ่งหลังปี 43 คาดว่า จะยังคงมีจำนวนสูง หาก ธ.กลาง สรอ.ยังคงปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศต่างกันมากขึ้น รวมทั้งหากภาคเอกชนและบีไอบีเอฟยังมีแนวโน้มจะเร่งชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ หรือหากค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงอาจทำให้ผู้มีภาระหนี้ต่างประเทศซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อเตรียมชำระหนี้ที่ใกล้ครบกำหนดชำระอีกทางหนึ่ง (ผู้จัดการรายวัน, มติชน 2)
3. การส่งออกสินค้าไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะสูงกว่าเป้าหมายในปี 43 รมช.พาณิชย์เปิดเผยว่า การส่งสินค้าไทยในปี 43 ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15 และมีมูลค่า 68,000 ล.ดอลลาร์ เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนลงในปัจจุบันทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น ขณะเดียวกัน รมว.พาณิชย์กล่าวว่า สินค้าออกของไทยจะแข่งขันได้ดีขึ้นเมื่อค่าเงินบาทต่ำกว่า 40 บาท/ดอลลาร์ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร รัฐบาลไม่ควรเข้าแทรกแซงให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น เพราะค่าเงินบาทระดับนี้ถือว่าเป็นระดับที่ดี (ไทยโพสต์ 2)
ข่าวต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 43 การใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 อยู่ที่มูลค่า 6.737 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3ในเดือน พ.ค. 43 ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นเป็นการใช้จ่ายด้านสินค้าคงทน สินค้าไม่คงทนและการใช้จ่ายด้านบริการ ขณะที่ รายได้ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ที่มูลค่า 8.267 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ค. 43 การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่ารายได้ในเดือน มิ.ย. ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้งๆที่ ธ. กลาง ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันตั้งแต่กลางปี 42 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน ก. พาณิชย์ รายงานว่า ในเดือน มิ.ย. 43 การใช้จ่ายโครงการก่อสร้าง ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 1.7 อยู่ที่มูลค่า 800 พัน ล. ดอลลาร์ จากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ค. 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และลดลงต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งอาจเป็นเพราะได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ. กลาง (รอยเตอร์ 1)
2. เศรษฐกิจของเกาหลีใต้อาจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6 ในปี 44 รายงานจากโซลเมื่อ 1 ส.ค. 43 จากรายงานการสำรวจประจำปีขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คาดว่า ในปี 44 เศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6 จากที่ขยายตัวในอัตราประมาณร้อยละ 8.5 ในปีนี้ โดยความต้องการของผู้บริโภคและจำนวนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากที่ตกต่ำที่สุดภายหลังสงครามโลกเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามการนำเข้าสินค้าที่ขยายตัว จะส่งผลให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 43 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 ของ GDP จากร้อยละ 6 ในปี 42 ส่วนภาวะเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 3 เนื่องจากตลาดแรงงานได้คลายตัวลง และอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมยังต่ำกว่าระดับสูงสุด (รอยเตอร์ 1)
3. ดัชนี PMI ของเยอรมนีลดลงอยู่ที่ระดับ 58.3 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 1 ส.ค.43 บริษัทวิจัย NTC จากความร่วมมือของ BME German Association for Materials Management, Purchasing and Logistics และสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เดือน ก.ค.43 ดัชนี PMI (Purchasing Managers' Index) ปรับฤดูกาลของเยอรมนี ซึ่งใช้วัดภาวะอุตสาหกรรมการผลิต ลดลงอยู่ที่ระดับ 58.3 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับ 59.5 ในเดือน มิ.ย.43 โดยดัชนีฯ ที่อยู่เหนือระดับ 50 ชี้ถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งนี้ ส่วนประกอบของดัชนีฯ ที่สำคัญมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ คำสั่งซื้อใหม่ลดลงอยู่ที่ระดับ 59.2 จากระดับ 61.4 ในเดือน มิ.ย.43 คำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกลดลงอยู่ที่ระดับ 58.5 จากระดับ 60.0 ในเดือน มิ.ย.43 และดัชนีการผลิตลดลงอยู่ที่ระดับ 58.7 จากระดับ 61.2 ในเดือน มิ.ย.43 แต่ BME รายงานว่า ความต้องการจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศยังขยายตัวดี (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 1 ส.ค. 43 41.221 (41.452)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ1 ส.ค.43ซื้อ 41.0497 (41.2968) ขาย 41.3543 (41.6027)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.48 (25.62)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-