แท็ก
การส่งออก
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การผลิตสินค้าออกของไทยโดยรวมมีการใช้ วัตถุดิบนำเข้า (Import Content) คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 38.6 ของมูลค่าการส่งออกรวมในแต่ละปี ทั้งนี้ สัดส่วนการใช้ Import Content ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 30.1 ของมูลค่าการ ส่งออกรวมในปี 2532 เป็นร้อยละ 42.9 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต สินค้าออกของไทยไปสู่การผลิต สินค้าที่ต้องใช้เครื่องจักรอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าคุณภาพดีและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยพิจารณาได้จากสัดส่วนการ ส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27 ของมูลค่า ส่งออกรวมในปี 2532 เป็นร้อยละ 57 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2542
การใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีในการผลิตดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาใช้ในการผลิตมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าหมวดอุตสาหกรรมมี Import Content มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ หมวดเหมืองแร่ และหมวดเกษตรกรรม ตามลำดับ สินค้าออกโดยรวม มีสัดส่วนการใช้ Direct Import Content : Indirect Import Content สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสัดส่วน 2:1 ในปี 2532 เป็น 4:1 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 และในช่วงปี 2532-2537 สัดส่วนการใช้ Import Content มีอัตราเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็วมาก ในขณะที่ในช่วง 5 ปีหลัง (2537-ครึ่งแรกของปี 2542) สัดส่วนการใช้ Import Content มีอัตราการเพิ่มขึ้นช้าลง เนื่องจากภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ (ครึ่งหลังปี 2540) มีการส่งออกสินค้าประเภทที่มี Import Content ต่ำมากขึ้น อาทิ เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ยาง และ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบนำเข้าที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมากนัก
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากตาราง I/O ปี 2533 ของ NESDB และกรมศุลกากร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีในการผลิตดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาใช้ในการผลิตมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าหมวดอุตสาหกรรมมี Import Content มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ หมวดเหมืองแร่ และหมวดเกษตรกรรม ตามลำดับ สินค้าออกโดยรวม มีสัดส่วนการใช้ Direct Import Content : Indirect Import Content สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสัดส่วน 2:1 ในปี 2532 เป็น 4:1 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 และในช่วงปี 2532-2537 สัดส่วนการใช้ Import Content มีอัตราเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็วมาก ในขณะที่ในช่วง 5 ปีหลัง (2537-ครึ่งแรกของปี 2542) สัดส่วนการใช้ Import Content มีอัตราการเพิ่มขึ้นช้าลง เนื่องจากภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ (ครึ่งหลังปี 2540) มีการส่งออกสินค้าประเภทที่มี Import Content ต่ำมากขึ้น อาทิ เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ยาง และ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบนำเข้าที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมากนัก
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากตาราง I/O ปี 2533 ของ NESDB และกรมศุลกากร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-