กรุงเทพฯ--16 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2544) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องชายแดนไทย-พม่า สรุปได้ดังนี้
1. อธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนเป็นสิ่งที่ล่วงละเมิดมิได้ การที่ทหารพม่ารุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยจึงเป็นเหตุที่ทำให้ฝ่ายไทยต้องตอบโต้ และการปิดพรมแดนเพื่อความปลอดภัยก็เป็นสิ่งจำเป็น แม้ว่าการค้าและการท่องเที่ยวจะมีความสำคัญ แต่อธิปไตยของชาติเป็นสิ่งสำคัญกว่า
2. การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการดำเนินการอย่างเป็นเอกภาพของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินการที่รัฐบาลใช้มาตลอด 3 ปี ความเป็นเอกภาพนี้จะทำให้แก้ไขปัญหาลุล่วงไปได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวม
3.จากการดำเนินนโยบายดังกล่าวนำไปสู่การประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย-พม่า ส่วนท้องถิ่น (Township Border Committee-TBC)ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดี และหวังว่าจะนำไปสู่การประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-พม่า (Regional Border Committee-RBC) ที่ชะงักงันมากกว่า 2 ปี ตลอดจนการหารือในระดับสูง (Joint Committee-JC) ซึ่งฝ่ายไทยเรียกร้องให้มีการประชุมมาตลอด แต่ฝ่ายพม่ายังไม่พร้อม
4. การที่พม่าเรียกร้องให้ไทยชดเชยค่าเสียหายเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าฝ่ายไทยเป็นผู้สร้างปัญหา ข้อเท็จจิรงจะต้องดูจากภาพรวม ต้นเหตุของเรื่องมาจากการที่ทหารพม่ารุกลำเขตแดนไทยถือเป็นการล่วงล้ำอธิปไตยของไทยและสร้างความเสียหายแก่ฝ่ายไทยซึ่งยอมรับมิได้
5. ต่อข้อกล่าวหาว่าไทยขัดขวางการปราบปรามชนกลุ่มน้อยที่ค้ายาเสพติดก็ไม่มีมูลความจริง นโยบายของไทยต่อเรื่องการปราบปรามยาเสพติดเป็นที่ตระหนักของประชาคมโลก การกล่าวหาเช่นนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2544) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องชายแดนไทย-พม่า สรุปได้ดังนี้
1. อธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนเป็นสิ่งที่ล่วงละเมิดมิได้ การที่ทหารพม่ารุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยจึงเป็นเหตุที่ทำให้ฝ่ายไทยต้องตอบโต้ และการปิดพรมแดนเพื่อความปลอดภัยก็เป็นสิ่งจำเป็น แม้ว่าการค้าและการท่องเที่ยวจะมีความสำคัญ แต่อธิปไตยของชาติเป็นสิ่งสำคัญกว่า
2. การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการดำเนินการอย่างเป็นเอกภาพของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินการที่รัฐบาลใช้มาตลอด 3 ปี ความเป็นเอกภาพนี้จะทำให้แก้ไขปัญหาลุล่วงไปได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวม
3.จากการดำเนินนโยบายดังกล่าวนำไปสู่การประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย-พม่า ส่วนท้องถิ่น (Township Border Committee-TBC)ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดี และหวังว่าจะนำไปสู่การประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-พม่า (Regional Border Committee-RBC) ที่ชะงักงันมากกว่า 2 ปี ตลอดจนการหารือในระดับสูง (Joint Committee-JC) ซึ่งฝ่ายไทยเรียกร้องให้มีการประชุมมาตลอด แต่ฝ่ายพม่ายังไม่พร้อม
4. การที่พม่าเรียกร้องให้ไทยชดเชยค่าเสียหายเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าฝ่ายไทยเป็นผู้สร้างปัญหา ข้อเท็จจิรงจะต้องดูจากภาพรวม ต้นเหตุของเรื่องมาจากการที่ทหารพม่ารุกลำเขตแดนไทยถือเป็นการล่วงล้ำอธิปไตยของไทยและสร้างความเสียหายแก่ฝ่ายไทยซึ่งยอมรับมิได้
5. ต่อข้อกล่าวหาว่าไทยขัดขวางการปราบปรามชนกลุ่มน้อยที่ค้ายาเสพติดก็ไม่มีมูลความจริง นโยบายของไทยต่อเรื่องการปราบปรามยาเสพติดเป็นที่ตระหนักของประชาคมโลก การกล่าวหาเช่นนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-