เนื่องจากปี 2548 ภาวะการค้าสิ่งทอของโลกจะเป็นไปโดยเสรี มีการยกเลิกการควบคุมการนำเข้าด้วยการกำหนดโควต้าทั้งหมดตามพันธกรณีที่ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก(WTO) ได้ลงนามในข้อตกลงสิ่งทอรวมกันไว้ ทำให้การแข่งขันรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้าสินค้าสิ่งทอได้หลากหลายขึ้น ประเทศผู้นำเข้าสิงทอจะนำมาตรการกีดกันการนำเข้ามาใช้กันมากขึ้น โดยเฉพาะการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า(rule of origin) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการกีดกันการนำเข้า มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน(AD &CVD) มาตรการด้านแรงงานและสภาพความเป็นอยู่ของโรงงาน เช่น มาตรฐานแรงงาน SA 8000 ของสหรัฐ นอกจากนี้การแข่งขันจากประเทศที่ได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าการที่ประเทศผู้นำเข้ามีนโยบายรวมกลุ่มการค้ากันเองและให้สิทธิพิเศษในกลุ่มของตน เช่นสหรัฐให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีนำเข้าให้กับกลุ่ม Sub-Sahara African ในสินค้าสิ่งทอและเครื่องแต่งกายที่ใช้วัตถุดิบจากสหรัฐ ประเทศไทยต้องปรับตัวด้วยการ เน้นผลิตสินค้าที่มีความได้เปรียบ เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต พัฒนาตลาดในเชิงรุก สร้างการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม ขยายการค้าสิ่งทอในกลุ่มเอเชียและในประเทศ เตรียมพร้อมในเรื่องมาตรฐานสากล ผลิตสิ่งทอให้มูลค่าสูงขึ้น
ที่มา คณะทำงานเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยต่อการเปิดเสรีสิ่งทอในปี พ.ศ.2548
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-
ที่มา คณะทำงานเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยต่อการเปิดเสรีสิ่งทอในปี พ.ศ.2548
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-