หนี้ต่างประเทศลดลงมากต่อเนื่องตามหนี้ภาคเอกชนประกอบกับค่าเงินเยนอ่อนตัวลง
เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 ลดลง 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงมากในส่วนของหนี้ภาคเอกชน
หนี้ภาคเอกชน ลดลง 0.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยหนี้ภาคธนาคาร ลดลง 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นการลดลงของหนี้ของ กิจการวิเทศธนกิจ ที่การชำระคืนเพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนประกอบกับผลของค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง ขณะที่หนี้ของธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการนำเข้าเงินกู้ ระยะสั้น เพื่อปรับสภาพคล่องในช่วงสิ้นปี สำหรับ หนี้ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร ลดลง 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของหนี้สินเชื่อระยะสั้นที่มีการชำระคืนสูง ในช่วงสิ้นปี
หนี้ภาคทางการ ลดลง 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือนนี้ ภาครัฐบาล มีการเบิกจ่ายเงินกู้สูงกว่าการชำระคืน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ผลจากค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง ทำให้ยอดหนี้คงค้างเมื่อเทียบเท่าดอลลาร์ สรอ. ลดลง
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 หนี้ต่างประเทศรวม ลดลง 15.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ในขณะที่ภาคธนาคารชะลอการชำระหนี้ลงเมื่อเทียบกับปี ก่อนหน้า และภาคทางการเริ่มชำระหนี้ต่างประเทศ ประกอบกับผลของค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง
หนี้ภาคเอกชน ลดลงถึง 13.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในจำนวนนี้เป็นการลดลงของ หนี้ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร ถึง 7.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ระยะยาว โดยเฉพาะในช่วงต้นปีซึ่งมีการระดมเงินโดยการออกตราสารหนี้ในประเทศมาก สำหรับ หนี้ภาคธนาคาร ลดลง 5.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของหนี้ระยะสั้นของกิจการวิเทศธนกิจ
หนี้ภาคทางการ ลดลง 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในปีนี้มีการชำระคืนหนี้สูงกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ ส่วนหนึ่งเป็นการชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนดของรัฐวิสาหกิจ และมีการชำระหนี้ของธปท. ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ สรอ. โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ : สัดส่วนหนี้ระยะยาว ต่อระยะสั้นปรับดีขึ้นอยู่ในระดับ 82 : 18 และ สัดส่วนหนี้ ภาคเอกชนต่อภาคทางการ เป็น 58 : 42 เทียบกับ ณ สิ้นปีก่อนที่มีสัดส่วน 79 : 21 และสัดส่วน 62: 38 ตามลำดับ
ภาระการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ในปี 2543 สัดส่วนภาระการชำระคืนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออก สินค้าและบริการ (Debt service ratio) เท่ากับร้อยละ 15.4 โดย ภาระการชำระคืนหนี้ต่างประเทศรวม (ไม่รวมการชำระคืนเงินต้นก่อนครบกำหนด) ลดลงร้อยละ 10 ขณะที่รายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 ลดลง 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงมากในส่วนของหนี้ภาคเอกชน
หนี้ภาคเอกชน ลดลง 0.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยหนี้ภาคธนาคาร ลดลง 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นการลดลงของหนี้ของ กิจการวิเทศธนกิจ ที่การชำระคืนเพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนประกอบกับผลของค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง ขณะที่หนี้ของธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการนำเข้าเงินกู้ ระยะสั้น เพื่อปรับสภาพคล่องในช่วงสิ้นปี สำหรับ หนี้ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร ลดลง 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของหนี้สินเชื่อระยะสั้นที่มีการชำระคืนสูง ในช่วงสิ้นปี
หนี้ภาคทางการ ลดลง 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือนนี้ ภาครัฐบาล มีการเบิกจ่ายเงินกู้สูงกว่าการชำระคืน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ผลจากค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง ทำให้ยอดหนี้คงค้างเมื่อเทียบเท่าดอลลาร์ สรอ. ลดลง
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 หนี้ต่างประเทศรวม ลดลง 15.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ในขณะที่ภาคธนาคารชะลอการชำระหนี้ลงเมื่อเทียบกับปี ก่อนหน้า และภาคทางการเริ่มชำระหนี้ต่างประเทศ ประกอบกับผลของค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง
หนี้ภาคเอกชน ลดลงถึง 13.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในจำนวนนี้เป็นการลดลงของ หนี้ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร ถึง 7.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ระยะยาว โดยเฉพาะในช่วงต้นปีซึ่งมีการระดมเงินโดยการออกตราสารหนี้ในประเทศมาก สำหรับ หนี้ภาคธนาคาร ลดลง 5.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของหนี้ระยะสั้นของกิจการวิเทศธนกิจ
หนี้ภาคทางการ ลดลง 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในปีนี้มีการชำระคืนหนี้สูงกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ ส่วนหนึ่งเป็นการชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนดของรัฐวิสาหกิจ และมีการชำระหนี้ของธปท. ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ สรอ. โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ : สัดส่วนหนี้ระยะยาว ต่อระยะสั้นปรับดีขึ้นอยู่ในระดับ 82 : 18 และ สัดส่วนหนี้ ภาคเอกชนต่อภาคทางการ เป็น 58 : 42 เทียบกับ ณ สิ้นปีก่อนที่มีสัดส่วน 79 : 21 และสัดส่วน 62: 38 ตามลำดับ
ภาระการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ในปี 2543 สัดส่วนภาระการชำระคืนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออก สินค้าและบริการ (Debt service ratio) เท่ากับร้อยละ 15.4 โดย ภาระการชำระคืนหนี้ต่างประเทศรวม (ไม่รวมการชำระคืนเงินต้นก่อนครบกำหนด) ลดลงร้อยละ 10 ขณะที่รายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-