13/11/44 นายสุวรรณ วลัยเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวทางแก้ไขปัญหาและปกป้องพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทย โดยเฉพาะกรณีนายคริสโตเฟอร์ เดเรน นักวิจัยของสหรัฐฯ ที่ได้นำพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ไปใช้ในการวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการทางกฎหมายกับนายคริสโตเฟอร์ เดเรน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อปกป้องผลประโยชน์และเกียรติภูมิของคนไทย ตลอดจนหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องว่าได้พันธุ์ข้าวจากแหล่งใดและโดยวิธีใด เพื่อกดดันให้นักวิจัยสหรัฐฯทำสัญญาผูกมัดว่าจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อการเกษตรของไทย
นอกจากนั้น ยังได้ดำเนินการคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัทสหรัฐ อันอาจจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิของไทย ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์ว่า “ The Only True Jasmine Rice is the Thai Hom Mali Rice “ และเพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องสิทธิเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวไทยในอนาคต
ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก(WTO) ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ ยังได้มีการผลักดันให้มีการเจรจาปัญหาดังกล่าว โดยเสนอให้มีการปรับปรุงความตกลง TRIPS ให้มีการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indications) ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง กำหนดมาตรการเยียวยา (Remedy) กรณีที่มีการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างไม่ถูกต้องและบิดเบือน เช่น การใช้คำว่า ข้าวไทย หรือ Jasmine Rice หรือไหมไทยกับสินค้าที่ไม่ได้ผลิตในประเทศไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้พิจารณาเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และควรเรียกร้องให้สหรัฐเป็นสมาชิกด้วย เพื่อที่จะทำให้สามารถจำแนกพันธุ์พืชและสัตว์ รวมทั้งทรัพยากรพันธุกรรมอื่นๆ ว่าประเทศใดเป็นเจ้าของ ตลอดจนพิจารณาสร้างมาตรการทางกฎหมายเพื่อแยกแยะระหว่างข้าวหอมมะลิไทย และข้าวที่มีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ หรือ GMOs ออกจากกัน
พร้อมกันนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวของประเทศอื่น ซึ่งเป็นการปกป้องพันธุ์ข้าวไทย รวมทั้งส่งเสริมให้มีการขายข้าวหอมมะลิไทยที่ได้คุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมาย คือ จะต้องมีข้าวหอมมะลิอย่างน้อย 92 % ตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศใช้บังคับ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-
นอกจากนั้น ยังได้ดำเนินการคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัทสหรัฐ อันอาจจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิของไทย ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์ว่า “ The Only True Jasmine Rice is the Thai Hom Mali Rice “ และเพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องสิทธิเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวไทยในอนาคต
ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก(WTO) ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ ยังได้มีการผลักดันให้มีการเจรจาปัญหาดังกล่าว โดยเสนอให้มีการปรับปรุงความตกลง TRIPS ให้มีการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indications) ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง กำหนดมาตรการเยียวยา (Remedy) กรณีที่มีการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างไม่ถูกต้องและบิดเบือน เช่น การใช้คำว่า ข้าวไทย หรือ Jasmine Rice หรือไหมไทยกับสินค้าที่ไม่ได้ผลิตในประเทศไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้พิจารณาเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และควรเรียกร้องให้สหรัฐเป็นสมาชิกด้วย เพื่อที่จะทำให้สามารถจำแนกพันธุ์พืชและสัตว์ รวมทั้งทรัพยากรพันธุกรรมอื่นๆ ว่าประเทศใดเป็นเจ้าของ ตลอดจนพิจารณาสร้างมาตรการทางกฎหมายเพื่อแยกแยะระหว่างข้าวหอมมะลิไทย และข้าวที่มีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ หรือ GMOs ออกจากกัน
พร้อมกันนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวของประเทศอื่น ซึ่งเป็นการปกป้องพันธุ์ข้าวไทย รวมทั้งส่งเสริมให้มีการขายข้าวหอมมะลิไทยที่ได้คุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมาย คือ จะต้องมีข้าวหอมมะลิอย่างน้อย 92 % ตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศใช้บังคับ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-