1. ความเป็นมาของความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Agreement : ITA)
- ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 - 13 ธันวาคม 2539 ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้มีการประกาศปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เรียกว่า ITA โดยประเทศภาคีเริ่มแรก 28 ประเทศ ได้แก่ APEC 9 ประเทศ (สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย สิงคโปร์) กลุ่มสหภาพยุโรป (15 ประเทศ) ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และตุรกี
- วัตถุประสงค์ เพื่อให้การค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปโดยเสรี โดยการลดอัตราภาษีนำเข้าให้เหลือ 0 ภายในปี 2543 (ค.ศ.2000) รวมทั้งลดเลิกค่าธรรมเนียมพิเศษ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกสามารถขอขยายเวลาได้ตามความเหมาะสมโดยประเทศสมาชิกทั้งหมดจะต้องให้ความเห็นชอบก่อน
- ปฏิญญาดังกล่าว มีขอบเขตครอบคลุมสินค้าประเภท เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคำนวณและส่วนประกอบ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมสื่อบันทึกข้อมูล อุปกรณ์กึ่งตัวนำ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการวัดและตรวจสอบ เป็นต้น โดยกำหนดรายการสินค้าออกเป็น 2 ส่วน คือ- Attachment A เป็นรายการสินค้าที่กำหนดตามประเภทพิกัด HS 6 หลักจำนวน 190 รายการ- Attachment B เป็นรายการสินค้าที่ยังไม่ได้กำหนดประเภทพิกัด HS จำนวน 13 รายการ? ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก จำนวน 48 ประเทศ มีมูลค่าการค้าสินค้า IT รวมทั้งหมดประมาณร้อยละ 93 ของมูลค่าการค้าสินค้า IT ของโลก ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดในปฏิญญาฯ ที่ระบุว่า ปฏิญญานี้จะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อมูลค่าการค้าของประเทศภาคีรวมกันแล้ว ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าการค้าสินค้า IT ของโลก? การเจรจา ITA รอบแรกได้เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2540 แต่ตามวรรค 3ของปฏิญญาฯ ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการต่อไปโดยกำหนดให้ คณะกรรมการว่าด้วยการขยายการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศจัดประชุมเป็นระยะเพื่อทบทวนขยายขอบข่ายสินค้า ซึ่งคณะกรรมการฯ กำหนดให้มีการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศรอบสอง (ITA-2) โดยให้ประเทศสมาชิกยื่นรายการสินค้า IT เพิ่มเติมภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 และกำหนดปิดการเจรจา ITA-2 ในวันที่ 20 กันยายน 2541 แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถปิดรอบการเจรจาลงได้เพราะยังมีความขัดแย้งในเรื่องรายการสินค้าของประเทศสมาชิก
2. พันธกรณีของไทยภายใต้ ITA
- ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก ITA เมื่อเดือนมีนาคม 2540 โดยมีพันธกรณีที่แสดงไว้ในตารางข้อผูกพันของไทย แบ่งรายการสินค้าออกเป็น 2 ส่วน คือ
Attachment A ประเทศไทยจะลดภาษีนำเข้าจากอัตราตามกฎหมาย สำหรับรายการที่ไม่ได้ผูกพันไว้กับ WTO ส่วนรายการที่ได้ผูกพันไว้กับ WTO จะลดจากอัตราที่ผูกพัน และมีการลดแบบเป็นขั้น ขั้นละเท่าๆ กันทุกปี (Equal Steps) โดยจะเริ่มลดครั้งแรก 2 ขั้น (Double Cut) ในวันที่ 1 มกราคม 2541 (ค.ศ. 1998) ตามรายการสินค้าใน 2 บัญชี คือ
- บัญชี Normal Track จะลดภาษีนำเข้าลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2543 (ค.ศ. 2000) จำนวน 153 รายการ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข แผงทรานซิสเตอร์ และเครื่องมือในการผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เป็นต้น
- บัญชี Slow Track จะลดภาษีนำเข้าลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2548 (ค.ศ. 2005) จำนวน 37 รายการ เช่น เครื่องโทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว เครื่องรับโทรศัพท์ แผงวงจรพิมพ์ และเคเบิลใยแก้ว เป็นต้น
Attachment B เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าใน Attachment A มีจำนวน 16 รายการ
- ไทยได้ประกาศลดภาษีขาเข้าสินค้า IT ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก 21/2542 (ทส.1) ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2542 ซึ่งล่าช้ากว่าที่ได้กำหนดไว้ในข้อผูกพันว่าจะเริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เนื่องจากปัญหาของการจำแนกพิกัดภาษีศุลกากรให้ถูกต้องตรงกับรายการสินค้าที่แจ้งไว้ในตารางข้อผูกพัน? สำหรับการเจรจา ITA-2 ประเทศไทยได้กำหนดท่าทีที่ชัดเจน ดังนี้- มอบให้คณะผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO ประสานกับมาเลเซียและอินเดียอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามท่าทีการเข้าร่วมใน ITA-2- หากมาเลเซียและอินเดียเข้าร่วมใน ITA-2 ไทยคงต้องเข้าร่วมด้วยโดยขอความยืดหยุ่นในเรื่องการจัดทำบัญชีรายการสินค้าและกรอบระยะเวลาในการลดภาษี โดยแบ่งออกเป็น 3 บัญชี สินค้าส่วนใหญ่ จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ได้ภายในปี 2545 (ค.ศ. 2002) ส่วนที่เหลือจะลดภาษีภายในปี 2549-2550 (ค.ศ. 2006-2007)
อย่างไรก็ดี จากรายงานล่าสุดของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO แจ้งว่าขณะนี้ทั้งมาเลเซียและอินเดีย ยังไม่มีท่าทีเข้าร่วม ITA-2 เพราะยังมีความเห็นขัดแย้งในการขยายสินค้าบางรายการ
3. ผลกระทบของความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผลต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมการเปิดเสรีการค้าสินค้า IT จะมีผลให้สินค้า IT ราคาถูกลง ประชาชนทั่วไปมีโอกาสได้ใช้สินค้า IT มากขึ้น การขยายตัวของสินค้า IT จะมีผลในการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษา การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านต่าง ๆ นอกเหนือไปจากการเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้ การใช้สินค้า IT จะกระจายไปสู่หัวเมืองต่าง ๆ และชนบทมากขึ้น ผู้อยู่ในชนบทจะมีโอกาสแสวงหาความรู้ได้ทัดเทียมกับคนเมือง ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างทางสังคมได้อีกทางหนึ่ง
- ผลด้านการผลิตและพัฒนาสินค้า IT1) ผลต่อผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกผลด้านบวก- ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เป็นบริษัทต่างชาติ หรือเป็นการร่วมทุนกับต่างชาติ และได้รับการส่งเสริมจาก BOI มีสิทธิพิเศษได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกอยู่แล้ว จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง แต่จะได้ประโยชน์จากการลดกำแพงภาษีของประเทศอื่น ซึ่งจะส่งผลให้ส่งออกได้มากขึ้น
ผลด้านลบ- การเปิดเสรีพร้อมกันในหลายประเทศ จะเป็นตัวบังคับให้มีการปรับโครงสร้างการผลิต สินค้าใดที่มีศักยภาพในการแข่งขันจะขยายการผลิตมากขึ้น สินค้าใดแข่งขันไม่ได้ก็ต้องเลิกผลิตไปในที่สุด ดังนั้น การย้ายฐานการผลิตจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจะเกิดขึ้นได้ง่าย ซึ่งบริษัทคนไทยจะเสียเปรียบบริษัทต่างชาติ เพราะมีข้อจำกัดด้านเงินทุนและขาดความชำนาญในข้อมูลเชิงธุรกิจและข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ2) ผลต่อผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศผลด้านบวก- ต้นทุนการผลิตลดลงจากการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนผลด้านลบ- สินค้าสำเร็จรูปจะแข่งขันกับสินค้านำเข้าไม่ได้ เพราะวัตถุดิบและชิ้นส่วนบางตัวที่อยู่นอกกรอบ ITA ยังมีอัตราภาษีสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ในระยะยาวผู้ประกอบการจำนวนมากคงจะต้องเลิกผลิต หรือนำเข้าส่วนประกอบที่เกือบสำเร็จรูปมาผลิตแทนการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การจ้างงานลดลง
- ผลด้านการค้าและการลงทุน1) ผลด้านการค้ามูลค่าการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย มีการขยายตัวมากขึ้นทุกปี จากมูลค่า 661.6 พันล้านบาท ในปี 2538 เพิ่มเป็น 1,018.5 พันล้านบาท ในปี 2542 และส่วนใหญ่เป็นการค้าภายในกลุ่มประเทศ ITA ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 93.2 ดังนั้นการเข้าร่วมในความตกลง ITA จะมีผลให้การค้าสินค้า IT ของไทยขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) ผลด้านการลงทุนกิจการขนาดใหญ่ที่เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วม ITA มากนัก เนื่องจากได้รับการส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การที่สินค้านำเข้ามีราคาถูกลงอาจเกิดผลต่อการตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำของสินค้า IT เช่น ลวดทองแดง สายไฟฟ้า เพราะโครงสร้างภาษีไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิตและการใช้ชิ้นส่วนต่อเนื่องในประเทศ การลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานในประเทศจะหมดไป
- ผลต่อผู้บริโภคในประเทศการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้า IT ทำให้สินค้ามีราคาลดลง ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายในราคาที่ถูกลงและมีคุณภาพดีขึ้น และจะซื้อสินค้า IT จากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างไรก็ตาม การที่ผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าจากต่างประเทศ จะเกิดผลกระทบในระยะยาว คือ ทำให้เกิดการลดปริมาณการผลิตสินค้าในประเทศ ผู้ประกอบการต้องปิดกิจการ ทำให้ผู้จำหน่ายสินค้านำเข้ามีอำนาจทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลเสียต่อผู้บริโภคในระยะยาวได้
4. นโยบายและมาตรการของรัฐเพื่อรองรับการเปิดเสรี ITA
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการในการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเปิดเสรีตามกรอบ ITA ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนแม่บทดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2542 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ โดยมีนโยบายและมาตรการที่สำคัญ คือ
- การสร้างระบบธุรกรรมที่เป็นมาตรฐานสากล มีมาตรการที่สำคัญ คือ- สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นองค์กรอิสระเพื่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการจัดตั้งระบบธุรกรรม การปรับปรุงระบบพิธีการศุลกากร และบริการท่าเรือ จัดทำระบบการซื้อขายชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์เฉพาะด้าน เช่น ศูนย์ทดสอบ ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์รับรองการใช้เงินวิจัยและพัฒนา ศูนย์ระบบธุรกรรม ศูนย์บริการให้คำปรึกษาด้านการจัดการ และการเงิน และศูนย์เทคโนโลยี เป็นต้น- ปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องทั้งระบบตั้งแต่วัตถุดิบ ชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป- ยกระดับผลิตภัณฑ์และเร่งใช้มาตรฐานความปลอดภัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งสนับสนุนให้มีหน่วยงานรับรองมาตรฐานให้เพียงพอกับความต้องการ
- การเพิ่มมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในประเทศ และสนับสนุนผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถผลิตได้ครบวงจร
- ประชาสัมพันธ์ทางตรง (road show) เพื่อชักชวนและประสานความร่วมมือกับบริษัทข้ามชาติ ในการเข้ามาลงทุนผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง- ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์- สนับสนุนเงินกู้ระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการ- จัดหาบุคลากร เพื่อให้คำปรึกษาทางเทคนิคการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่ SMEs- ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อจูงใจให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรและการพัฒนาบุคลากร
- การพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบและเทคโนโลยีเฉพาะผลิตภัณฑ์
- วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป้าหมายให้สำเร็จในระยะสั้น เช่น การซื้อสิทธิ์ในการผลิต การจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ การจัดตั้งโรงงานต้นแบบ และการร่วมทุน
- จัดตั้งศูนย์ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อติดตามข้อมูลสำหรับปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และป้องกันการนำเทคโนโลยีที่ล้าสมัยมาจดทะเบียนลิขสิทธิ์? การสร้างชื่อเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเอง
- ใช้มาตรการภาษีส่งเสริมการใช้เครื่องหมายการค้าของประเทศไทยเอง
- ใช้เครือข่ายหน่วยงานไทยในต่างประเทศในการเผยแพร่เครื่องหมายการค้าและผลิตภัณฑ์
- ใช้กลไกการจัดซื้อภาครัฐในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าไทย
- จัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าถาวร และผลักดันให้ผู้ผลิตเข้าร่วมในการแสดงสินค้าในต่างประเทศ
- จัดทำและเจรจากับผู้ผลิตรายใหญ่ให้รับ Qualified Part List และ QualifiedVendor List สำหรับชิ้นส่วนที่มีคุณภาพของไทย
- สนับสนุนให้มีธุรกิจจัดหาชิ้นส่วนจากต่างประเทศสำหรับผู้ผลิตในประเทศโดยไม่จำเป็นต้องผ่านประเทศกลาง เช่น สิงคโปร์
- การสร้างระบบการจัดการที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน
ให้มีศูนย์ฝึกอบรมและประสานงานการฝึกอบรมทักษะด้านการเงิน การตลาด และการผลิตของผู้บริหารและผู้ประกอบการ- จัดจ้างผู้บริหารที่มีความชำนาญเฉพาะด้านให้เข้าร่วมจัดวางรูปแบบและบริหาร รวมทั้งถ่ายทอดทักษะการจัดการในรูปของเงินอุดหนุน- ปรับปรุงระบบและหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยเน้นการเพิ่มทักษะและภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
- ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 - 13 ธันวาคม 2539 ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้มีการประกาศปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เรียกว่า ITA โดยประเทศภาคีเริ่มแรก 28 ประเทศ ได้แก่ APEC 9 ประเทศ (สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย สิงคโปร์) กลุ่มสหภาพยุโรป (15 ประเทศ) ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และตุรกี
- วัตถุประสงค์ เพื่อให้การค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปโดยเสรี โดยการลดอัตราภาษีนำเข้าให้เหลือ 0 ภายในปี 2543 (ค.ศ.2000) รวมทั้งลดเลิกค่าธรรมเนียมพิเศษ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกสามารถขอขยายเวลาได้ตามความเหมาะสมโดยประเทศสมาชิกทั้งหมดจะต้องให้ความเห็นชอบก่อน
- ปฏิญญาดังกล่าว มีขอบเขตครอบคลุมสินค้าประเภท เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคำนวณและส่วนประกอบ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมสื่อบันทึกข้อมูล อุปกรณ์กึ่งตัวนำ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการวัดและตรวจสอบ เป็นต้น โดยกำหนดรายการสินค้าออกเป็น 2 ส่วน คือ- Attachment A เป็นรายการสินค้าที่กำหนดตามประเภทพิกัด HS 6 หลักจำนวน 190 รายการ- Attachment B เป็นรายการสินค้าที่ยังไม่ได้กำหนดประเภทพิกัด HS จำนวน 13 รายการ? ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก จำนวน 48 ประเทศ มีมูลค่าการค้าสินค้า IT รวมทั้งหมดประมาณร้อยละ 93 ของมูลค่าการค้าสินค้า IT ของโลก ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดในปฏิญญาฯ ที่ระบุว่า ปฏิญญานี้จะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อมูลค่าการค้าของประเทศภาคีรวมกันแล้ว ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าการค้าสินค้า IT ของโลก? การเจรจา ITA รอบแรกได้เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2540 แต่ตามวรรค 3ของปฏิญญาฯ ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการต่อไปโดยกำหนดให้ คณะกรรมการว่าด้วยการขยายการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศจัดประชุมเป็นระยะเพื่อทบทวนขยายขอบข่ายสินค้า ซึ่งคณะกรรมการฯ กำหนดให้มีการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศรอบสอง (ITA-2) โดยให้ประเทศสมาชิกยื่นรายการสินค้า IT เพิ่มเติมภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 และกำหนดปิดการเจรจา ITA-2 ในวันที่ 20 กันยายน 2541 แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถปิดรอบการเจรจาลงได้เพราะยังมีความขัดแย้งในเรื่องรายการสินค้าของประเทศสมาชิก
2. พันธกรณีของไทยภายใต้ ITA
- ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก ITA เมื่อเดือนมีนาคม 2540 โดยมีพันธกรณีที่แสดงไว้ในตารางข้อผูกพันของไทย แบ่งรายการสินค้าออกเป็น 2 ส่วน คือ
Attachment A ประเทศไทยจะลดภาษีนำเข้าจากอัตราตามกฎหมาย สำหรับรายการที่ไม่ได้ผูกพันไว้กับ WTO ส่วนรายการที่ได้ผูกพันไว้กับ WTO จะลดจากอัตราที่ผูกพัน และมีการลดแบบเป็นขั้น ขั้นละเท่าๆ กันทุกปี (Equal Steps) โดยจะเริ่มลดครั้งแรก 2 ขั้น (Double Cut) ในวันที่ 1 มกราคม 2541 (ค.ศ. 1998) ตามรายการสินค้าใน 2 บัญชี คือ
- บัญชี Normal Track จะลดภาษีนำเข้าลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2543 (ค.ศ. 2000) จำนวน 153 รายการ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข แผงทรานซิสเตอร์ และเครื่องมือในการผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เป็นต้น
- บัญชี Slow Track จะลดภาษีนำเข้าลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2548 (ค.ศ. 2005) จำนวน 37 รายการ เช่น เครื่องโทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว เครื่องรับโทรศัพท์ แผงวงจรพิมพ์ และเคเบิลใยแก้ว เป็นต้น
Attachment B เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าใน Attachment A มีจำนวน 16 รายการ
- ไทยได้ประกาศลดภาษีขาเข้าสินค้า IT ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก 21/2542 (ทส.1) ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2542 ซึ่งล่าช้ากว่าที่ได้กำหนดไว้ในข้อผูกพันว่าจะเริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เนื่องจากปัญหาของการจำแนกพิกัดภาษีศุลกากรให้ถูกต้องตรงกับรายการสินค้าที่แจ้งไว้ในตารางข้อผูกพัน? สำหรับการเจรจา ITA-2 ประเทศไทยได้กำหนดท่าทีที่ชัดเจน ดังนี้- มอบให้คณะผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO ประสานกับมาเลเซียและอินเดียอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามท่าทีการเข้าร่วมใน ITA-2- หากมาเลเซียและอินเดียเข้าร่วมใน ITA-2 ไทยคงต้องเข้าร่วมด้วยโดยขอความยืดหยุ่นในเรื่องการจัดทำบัญชีรายการสินค้าและกรอบระยะเวลาในการลดภาษี โดยแบ่งออกเป็น 3 บัญชี สินค้าส่วนใหญ่ จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ได้ภายในปี 2545 (ค.ศ. 2002) ส่วนที่เหลือจะลดภาษีภายในปี 2549-2550 (ค.ศ. 2006-2007)
อย่างไรก็ดี จากรายงานล่าสุดของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO แจ้งว่าขณะนี้ทั้งมาเลเซียและอินเดีย ยังไม่มีท่าทีเข้าร่วม ITA-2 เพราะยังมีความเห็นขัดแย้งในการขยายสินค้าบางรายการ
3. ผลกระทบของความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผลต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมการเปิดเสรีการค้าสินค้า IT จะมีผลให้สินค้า IT ราคาถูกลง ประชาชนทั่วไปมีโอกาสได้ใช้สินค้า IT มากขึ้น การขยายตัวของสินค้า IT จะมีผลในการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษา การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านต่าง ๆ นอกเหนือไปจากการเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้ การใช้สินค้า IT จะกระจายไปสู่หัวเมืองต่าง ๆ และชนบทมากขึ้น ผู้อยู่ในชนบทจะมีโอกาสแสวงหาความรู้ได้ทัดเทียมกับคนเมือง ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างทางสังคมได้อีกทางหนึ่ง
- ผลด้านการผลิตและพัฒนาสินค้า IT1) ผลต่อผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกผลด้านบวก- ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เป็นบริษัทต่างชาติ หรือเป็นการร่วมทุนกับต่างชาติ และได้รับการส่งเสริมจาก BOI มีสิทธิพิเศษได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกอยู่แล้ว จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง แต่จะได้ประโยชน์จากการลดกำแพงภาษีของประเทศอื่น ซึ่งจะส่งผลให้ส่งออกได้มากขึ้น
ผลด้านลบ- การเปิดเสรีพร้อมกันในหลายประเทศ จะเป็นตัวบังคับให้มีการปรับโครงสร้างการผลิต สินค้าใดที่มีศักยภาพในการแข่งขันจะขยายการผลิตมากขึ้น สินค้าใดแข่งขันไม่ได้ก็ต้องเลิกผลิตไปในที่สุด ดังนั้น การย้ายฐานการผลิตจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจะเกิดขึ้นได้ง่าย ซึ่งบริษัทคนไทยจะเสียเปรียบบริษัทต่างชาติ เพราะมีข้อจำกัดด้านเงินทุนและขาดความชำนาญในข้อมูลเชิงธุรกิจและข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ2) ผลต่อผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศผลด้านบวก- ต้นทุนการผลิตลดลงจากการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนผลด้านลบ- สินค้าสำเร็จรูปจะแข่งขันกับสินค้านำเข้าไม่ได้ เพราะวัตถุดิบและชิ้นส่วนบางตัวที่อยู่นอกกรอบ ITA ยังมีอัตราภาษีสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ในระยะยาวผู้ประกอบการจำนวนมากคงจะต้องเลิกผลิต หรือนำเข้าส่วนประกอบที่เกือบสำเร็จรูปมาผลิตแทนการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การจ้างงานลดลง
- ผลด้านการค้าและการลงทุน1) ผลด้านการค้ามูลค่าการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย มีการขยายตัวมากขึ้นทุกปี จากมูลค่า 661.6 พันล้านบาท ในปี 2538 เพิ่มเป็น 1,018.5 พันล้านบาท ในปี 2542 และส่วนใหญ่เป็นการค้าภายในกลุ่มประเทศ ITA ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 93.2 ดังนั้นการเข้าร่วมในความตกลง ITA จะมีผลให้การค้าสินค้า IT ของไทยขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) ผลด้านการลงทุนกิจการขนาดใหญ่ที่เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วม ITA มากนัก เนื่องจากได้รับการส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การที่สินค้านำเข้ามีราคาถูกลงอาจเกิดผลต่อการตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำของสินค้า IT เช่น ลวดทองแดง สายไฟฟ้า เพราะโครงสร้างภาษีไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิตและการใช้ชิ้นส่วนต่อเนื่องในประเทศ การลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานในประเทศจะหมดไป
- ผลต่อผู้บริโภคในประเทศการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้า IT ทำให้สินค้ามีราคาลดลง ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายในราคาที่ถูกลงและมีคุณภาพดีขึ้น และจะซื้อสินค้า IT จากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างไรก็ตาม การที่ผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าจากต่างประเทศ จะเกิดผลกระทบในระยะยาว คือ ทำให้เกิดการลดปริมาณการผลิตสินค้าในประเทศ ผู้ประกอบการต้องปิดกิจการ ทำให้ผู้จำหน่ายสินค้านำเข้ามีอำนาจทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลเสียต่อผู้บริโภคในระยะยาวได้
4. นโยบายและมาตรการของรัฐเพื่อรองรับการเปิดเสรี ITA
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการในการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเปิดเสรีตามกรอบ ITA ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนแม่บทดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2542 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ โดยมีนโยบายและมาตรการที่สำคัญ คือ
- การสร้างระบบธุรกรรมที่เป็นมาตรฐานสากล มีมาตรการที่สำคัญ คือ- สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นองค์กรอิสระเพื่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการจัดตั้งระบบธุรกรรม การปรับปรุงระบบพิธีการศุลกากร และบริการท่าเรือ จัดทำระบบการซื้อขายชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์เฉพาะด้าน เช่น ศูนย์ทดสอบ ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์รับรองการใช้เงินวิจัยและพัฒนา ศูนย์ระบบธุรกรรม ศูนย์บริการให้คำปรึกษาด้านการจัดการ และการเงิน และศูนย์เทคโนโลยี เป็นต้น- ปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องทั้งระบบตั้งแต่วัตถุดิบ ชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป- ยกระดับผลิตภัณฑ์และเร่งใช้มาตรฐานความปลอดภัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งสนับสนุนให้มีหน่วยงานรับรองมาตรฐานให้เพียงพอกับความต้องการ
- การเพิ่มมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในประเทศ และสนับสนุนผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถผลิตได้ครบวงจร
- ประชาสัมพันธ์ทางตรง (road show) เพื่อชักชวนและประสานความร่วมมือกับบริษัทข้ามชาติ ในการเข้ามาลงทุนผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง- ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์- สนับสนุนเงินกู้ระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการ- จัดหาบุคลากร เพื่อให้คำปรึกษาทางเทคนิคการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่ SMEs- ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อจูงใจให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรและการพัฒนาบุคลากร
- การพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบและเทคโนโลยีเฉพาะผลิตภัณฑ์
- วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป้าหมายให้สำเร็จในระยะสั้น เช่น การซื้อสิทธิ์ในการผลิต การจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ การจัดตั้งโรงงานต้นแบบ และการร่วมทุน
- จัดตั้งศูนย์ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อติดตามข้อมูลสำหรับปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และป้องกันการนำเทคโนโลยีที่ล้าสมัยมาจดทะเบียนลิขสิทธิ์? การสร้างชื่อเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเอง
- ใช้มาตรการภาษีส่งเสริมการใช้เครื่องหมายการค้าของประเทศไทยเอง
- ใช้เครือข่ายหน่วยงานไทยในต่างประเทศในการเผยแพร่เครื่องหมายการค้าและผลิตภัณฑ์
- ใช้กลไกการจัดซื้อภาครัฐในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าไทย
- จัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าถาวร และผลักดันให้ผู้ผลิตเข้าร่วมในการแสดงสินค้าในต่างประเทศ
- จัดทำและเจรจากับผู้ผลิตรายใหญ่ให้รับ Qualified Part List และ QualifiedVendor List สำหรับชิ้นส่วนที่มีคุณภาพของไทย
- สนับสนุนให้มีธุรกิจจัดหาชิ้นส่วนจากต่างประเทศสำหรับผู้ผลิตในประเทศโดยไม่จำเป็นต้องผ่านประเทศกลาง เช่น สิงคโปร์
- การสร้างระบบการจัดการที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน
ให้มีศูนย์ฝึกอบรมและประสานงานการฝึกอบรมทักษะด้านการเงิน การตลาด และการผลิตของผู้บริหารและผู้ประกอบการ- จัดจ้างผู้บริหารที่มีความชำนาญเฉพาะด้านให้เข้าร่วมจัดวางรูปแบบและบริหาร รวมทั้งถ่ายทอดทักษะการจัดการในรูปของเงินอุดหนุน- ปรับปรุงระบบและหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยเน้นการเพิ่มทักษะและภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-