ข่าวในประเทศ
1. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงกรณีหลวงตามหาบัวและการแก้ไขกฎหมาย ธปท. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการที่ลูกศิษย์หลวงตามหาบัวได้มายื่นหนังสือที่ ธปท.ให้ตัวแทนไอเอ็มเอฟมารับหนังสือนั้น ไม่มีความกังวลแต่อย่างใด แต่ยังไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ เนื่องจากเป็นช่วงจะมีรัฐบาลใหม่ และเป็นเรื่องของนโยบาย มิใช่เรื่องที่ ธปท.จะดำเนินการได้เองเหมือนนโยบายการเงิน และต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการรวมบัญชี ธปท. ซึ่ง ธปท.ได้ถอนกฎหมายที่ค้างอยู่ในสภาออกทั้งหมดแล้ว ทั้งกฎหมายการรวมบัญชี และกฎหมายที่เกี่ยวกับความเป็นอิสระในการทำงานของ ธปท. ขณะนี้ ธปท.กำลังศึกษากฎหมายใหม่อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการดำเนินนโยบายด้านการเงิน เศรษฐกิจของ ธปท.ถือว่ามีความอิสระในระดับหนึ่งที่สามารถทำให้เศรษฐกิจอยู่ในระดับที่นิ่งได้ (วัฏจักร,ไทยรัฐ 13)
2. ธปท.เปิดเผยปริมาณการเบิกจ่ายธนบัตรในเดือน พ.ย.43 ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ธปท.เปิดเผยว่า ปริมาณธนบัตรหมุนเวียนที่ใช้อยู่ในระบบ ณ สิ้นเดือน พ.ย.43 มีจำนวน 419,341 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.43 จำนวน 5,622 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.36 โดยธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนดังกล่าวไม่นับรวมธนบัตรชนิดราคา 5 แสนบาท 60, 5 และ 1 บาท และเป็นมูลค่าธนบัตรที่ได้หักการจ่ายออก และการทำลายเมื่อครบกำหนดอายุธนบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท มีมูลค่าการหมุนเวียนมากที่สุด รองลงมาคือชนิดราคา 100 บาท (เดลินิวส์,กรุงเทพธุรกิจ 13)
3. แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 43 และอัตราเงินเฟ้อในปี 44 รมช.คลัง (พิสิฐ ลี้อาธรรม) กล่าวว่า เศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวเฉลี่ยได้ร้อยละ 4.5-5 ในปี 43 ซึ่งเป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) และ ธปท.คาดการณ์ไว้ เนื่องจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเมื่อไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี ได้ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 4.9 ขณะเดียวกัน กลุ่มวิชาการ ธ.กรุงศรีอยุธยา เปิดเผยแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อว่า มีความเป็นไปได้ที่จะปรับตัวสูงขึ้นจากการผลักดันของภาระต้นทุนการผลิต เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นและการอ่อนค่าของเงินบาท แต่เชื่อว่ายังอยู่ในภาวะที่สามารถควบคุมได้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 44 จะสูงขึ้นประมาณร้อยละ 2 (ผู้จัดการรายวัน,แนวหน้า 13)
4. ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย.43 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ย.43 ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 70.6 จากเดือน ต.ค.43 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 69.1 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ระดับ 62 เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. ซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.2 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 99.4 เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. ซึ่งอยู่ที่ระดับ 97.8 สำหรับปัจจัยบวกที่มีผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำและการส่งออกที่ดีขึ้น ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนลง ดัชนีหลักทรัพย์ทรงตัวระดับต่ำ ความล่าช้าในการแก้ปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) (ไทยโพสต์ 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. เยอรมนีเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ต.ค. 43 เยอรมนีเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 12.3 พัน ล. มาร์ก จากมูลค่า 7.1 พัน ล. มาร์ก และ 11 พัน ล. มาร์ก ในเดือน ก.ย. 43 และ ต.ค. 42 ตามลำดับ เนื่องจากทั้งการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 เทียบต่อปี อยู่ที่มูลค่า 111.6 พัน ล. มาร์ก ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 อยู่ที่มูลค่า 99.3 พัน ล. มาร์ก ขณะเดียวกัน การขาดดุลเดินสะพัดในเดือน ต.ค. 43 ลดลงเหลือมูลค่า 2.3 พัน ล. มาร์ก เทียบกับที่ขาดดุลมูลค่า 6.6 พัน ล. มาร์กและ 3.5 พัน ล.มาร์กในเดือนก.ย. 43 และ เดือน ต.ค. 42 ตามลำดับ นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า การที่ค่าเงินยูโรอ่อนลงและความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นก่อนถึงช่วงคริสต์มาสเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้การส่งออกขยายตัว และส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ กล่าวว่า การที่ค่าเงินยูโรกำลังแข็งค่าขึ้นและเศรษฐกิจ สรอ. กำลังชะลอตัวลง จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกของเยอรมนีในช่วง เดือนต่อไป (รอยเตอร์12)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.43 ไม่เปลี่ยนแปลงจากการสำรวจครั้งก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.43 ธ.กลางญี่ปุ่นรายงานผลการสำรวจบริษัทรายไตรมาสที่เรียกว่า "Tankan" ว่า จากผลการสำรวจในเดือน ธ.ค.43 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจ (Business Diffusion Index) ของญี่ปุ่นประเภทผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่ระดับบวก 10 ไม่เปลี่ยนแปลงจากผลการสำรวจในเดือน ก.ย.43 แต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าดัชนีฯ จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับเฉลี่ยบวก 11 ทางด้านแผนการใช้จ่ายลงทุนของบริษัท พบว่า ในปีธุรกิจ 43/44 ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือน มี.ค.44 บริษัทขนาดใหญ่มีแผนจะใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในโรงงานและเครื่องมือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.0 และเพิ่มขึ้นมากกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ทั้งนี้ ผลการสำรวจ Tankan เป็นข้อมูลสำคัญประการหนึ่งที่ ธ.กลางญี่ปุ่นใช้พิจารณาประกอบในการกำหนดนโยบายการเงิน (รอยเตอร์ 13)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบต่อปี ในเดือน พ.ย. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ทเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีรายงานว่า เดือน พ.ย. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยรวม เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เทียบต่อปี แต่ตัวเลขที่มีการปรับตามมาตรฐานของกลุ่มยุโร เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบต่อปี และเมื่อเทียบต่อเดือน ตัวเลข CPI ที่ปรับแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่เคยรายงานไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 0.2 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยิ่งย้ำคำเตือนของ ธ.กลางยุโรปที่กล่าวไว้ว่าราคาน้ำมันอาจกดดันเงินเฟ้อในแถบยูโรให้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 2 ในปี 44 ส่วน Core CPI ซึ่งไม่รวมราคาพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน พ.ย.43 เมื่อเทียบต่อปี จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในเดือน ต.ค. 43 (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12 ธ.ค.43 43.505 (43.427)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 ธ.ค. 43
ซื้อ 43.2789 (43.2202) ขาย 43.5947 (43.5305)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,550 (5,550) ขาย 5,650 (5,650)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.34 (24.13)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงกรณีหลวงตามหาบัวและการแก้ไขกฎหมาย ธปท. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการที่ลูกศิษย์หลวงตามหาบัวได้มายื่นหนังสือที่ ธปท.ให้ตัวแทนไอเอ็มเอฟมารับหนังสือนั้น ไม่มีความกังวลแต่อย่างใด แต่ยังไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ เนื่องจากเป็นช่วงจะมีรัฐบาลใหม่ และเป็นเรื่องของนโยบาย มิใช่เรื่องที่ ธปท.จะดำเนินการได้เองเหมือนนโยบายการเงิน และต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการรวมบัญชี ธปท. ซึ่ง ธปท.ได้ถอนกฎหมายที่ค้างอยู่ในสภาออกทั้งหมดแล้ว ทั้งกฎหมายการรวมบัญชี และกฎหมายที่เกี่ยวกับความเป็นอิสระในการทำงานของ ธปท. ขณะนี้ ธปท.กำลังศึกษากฎหมายใหม่อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการดำเนินนโยบายด้านการเงิน เศรษฐกิจของ ธปท.ถือว่ามีความอิสระในระดับหนึ่งที่สามารถทำให้เศรษฐกิจอยู่ในระดับที่นิ่งได้ (วัฏจักร,ไทยรัฐ 13)
2. ธปท.เปิดเผยปริมาณการเบิกจ่ายธนบัตรในเดือน พ.ย.43 ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ธปท.เปิดเผยว่า ปริมาณธนบัตรหมุนเวียนที่ใช้อยู่ในระบบ ณ สิ้นเดือน พ.ย.43 มีจำนวน 419,341 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.43 จำนวน 5,622 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.36 โดยธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนดังกล่าวไม่นับรวมธนบัตรชนิดราคา 5 แสนบาท 60, 5 และ 1 บาท และเป็นมูลค่าธนบัตรที่ได้หักการจ่ายออก และการทำลายเมื่อครบกำหนดอายุธนบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท มีมูลค่าการหมุนเวียนมากที่สุด รองลงมาคือชนิดราคา 100 บาท (เดลินิวส์,กรุงเทพธุรกิจ 13)
3. แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 43 และอัตราเงินเฟ้อในปี 44 รมช.คลัง (พิสิฐ ลี้อาธรรม) กล่าวว่า เศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวเฉลี่ยได้ร้อยละ 4.5-5 ในปี 43 ซึ่งเป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) และ ธปท.คาดการณ์ไว้ เนื่องจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเมื่อไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี ได้ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 4.9 ขณะเดียวกัน กลุ่มวิชาการ ธ.กรุงศรีอยุธยา เปิดเผยแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อว่า มีความเป็นไปได้ที่จะปรับตัวสูงขึ้นจากการผลักดันของภาระต้นทุนการผลิต เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นและการอ่อนค่าของเงินบาท แต่เชื่อว่ายังอยู่ในภาวะที่สามารถควบคุมได้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 44 จะสูงขึ้นประมาณร้อยละ 2 (ผู้จัดการรายวัน,แนวหน้า 13)
4. ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย.43 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ย.43 ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 70.6 จากเดือน ต.ค.43 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 69.1 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ระดับ 62 เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. ซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.2 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 99.4 เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. ซึ่งอยู่ที่ระดับ 97.8 สำหรับปัจจัยบวกที่มีผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำและการส่งออกที่ดีขึ้น ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนลง ดัชนีหลักทรัพย์ทรงตัวระดับต่ำ ความล่าช้าในการแก้ปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) (ไทยโพสต์ 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. เยอรมนีเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ต.ค. 43 เยอรมนีเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 12.3 พัน ล. มาร์ก จากมูลค่า 7.1 พัน ล. มาร์ก และ 11 พัน ล. มาร์ก ในเดือน ก.ย. 43 และ ต.ค. 42 ตามลำดับ เนื่องจากทั้งการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 เทียบต่อปี อยู่ที่มูลค่า 111.6 พัน ล. มาร์ก ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 อยู่ที่มูลค่า 99.3 พัน ล. มาร์ก ขณะเดียวกัน การขาดดุลเดินสะพัดในเดือน ต.ค. 43 ลดลงเหลือมูลค่า 2.3 พัน ล. มาร์ก เทียบกับที่ขาดดุลมูลค่า 6.6 พัน ล. มาร์กและ 3.5 พัน ล.มาร์กในเดือนก.ย. 43 และ เดือน ต.ค. 42 ตามลำดับ นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า การที่ค่าเงินยูโรอ่อนลงและความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นก่อนถึงช่วงคริสต์มาสเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้การส่งออกขยายตัว และส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ กล่าวว่า การที่ค่าเงินยูโรกำลังแข็งค่าขึ้นและเศรษฐกิจ สรอ. กำลังชะลอตัวลง จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกของเยอรมนีในช่วง เดือนต่อไป (รอยเตอร์12)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.43 ไม่เปลี่ยนแปลงจากการสำรวจครั้งก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.43 ธ.กลางญี่ปุ่นรายงานผลการสำรวจบริษัทรายไตรมาสที่เรียกว่า "Tankan" ว่า จากผลการสำรวจในเดือน ธ.ค.43 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจ (Business Diffusion Index) ของญี่ปุ่นประเภทผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่ระดับบวก 10 ไม่เปลี่ยนแปลงจากผลการสำรวจในเดือน ก.ย.43 แต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าดัชนีฯ จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับเฉลี่ยบวก 11 ทางด้านแผนการใช้จ่ายลงทุนของบริษัท พบว่า ในปีธุรกิจ 43/44 ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือน มี.ค.44 บริษัทขนาดใหญ่มีแผนจะใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในโรงงานและเครื่องมือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.0 และเพิ่มขึ้นมากกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ทั้งนี้ ผลการสำรวจ Tankan เป็นข้อมูลสำคัญประการหนึ่งที่ ธ.กลางญี่ปุ่นใช้พิจารณาประกอบในการกำหนดนโยบายการเงิน (รอยเตอร์ 13)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบต่อปี ในเดือน พ.ย. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ทเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีรายงานว่า เดือน พ.ย. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยรวม เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เทียบต่อปี แต่ตัวเลขที่มีการปรับตามมาตรฐานของกลุ่มยุโร เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบต่อปี และเมื่อเทียบต่อเดือน ตัวเลข CPI ที่ปรับแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่เคยรายงานไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 0.2 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยิ่งย้ำคำเตือนของ ธ.กลางยุโรปที่กล่าวไว้ว่าราคาน้ำมันอาจกดดันเงินเฟ้อในแถบยูโรให้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 2 ในปี 44 ส่วน Core CPI ซึ่งไม่รวมราคาพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน พ.ย.43 เมื่อเทียบต่อปี จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในเดือน ต.ค. 43 (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12 ธ.ค.43 43.505 (43.427)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 ธ.ค. 43
ซื้อ 43.2789 (43.2202) ขาย 43.5947 (43.5305)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,550 (5,550) ขาย 5,650 (5,650)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.34 (24.13)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-