สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เชิญชวนข้าราชการและประชาชนทั่วไปปลูกต้นไม้เพื่อแก้ไขภัยแล้งระยะยาว ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า คุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไป โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น เพียงทุกฝ่ายผนึกกำลังร่วมกันปลูกต้นไม้ คนละ 2 ต้น ให้ครบจำนวน 1 ล้านต้น ในปี 2548 และจะปลูกเพิ่มอีก 1 ล้านต้นในปี 2549 ก็จะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างป่า สร้างระบบนิเวศและความสมดุลย์ของธรรมชาติของจังหวัด ให้กลับคืนมาโดยเร็ว และจะเป็นการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาวต่อไปดังกล่าว
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวถึงตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า คุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไป โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นจึงมีนโยบายให้ทุกจังหวัด ได้ดำเนินการปลูกต้นไม้ในช่วงฤดูฝนนี้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและความอุดมสมบูรณ์ ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือชุมชน และจะเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัด ปลูกต้นไม้คนละ 2 ต้น และให้มีการดูแลและบำรุงรักษาให้เจริญเติบโต หากมีการตายก็ต้องทำการปลูกซ่อมแซม ประเภทต้นไม้อาจเป็นไม้ผลหรือยืนต้นที่ชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ขี้เหล็ก สะเดา ราชพฤกษ์ จามจุรี เป็นต้น สถานที่ปลูกควรเป็นสถานที่ที่ผู้ปลูกสามารถดูแลรักษาได้โดยสะดวก เช่น บริเวณบ้านพักอาศัย วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ ถนนภายในหมู่บ้าน หรือที่สาธารณะประโยชน์อื่นๆ โดยได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการในปี 2548 เริ่มตั้งแต่ต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน — ธันวาคม 2548 หรืออาจจะมีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น
นอกเหนือจากข้าราชการจะต้องปลูกต้นไม้คนละ 2 ต้นแล้ว ทางจังหวัดยังมีการขยายกลุ่มเป้าหมายเพื่อที่จะให้นักเรียนในจังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้งครู อาจารย์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ประสานพลังงานแผ่นดิน พี่น้องประชาชนทั่วไป ร่วมกันปลูกต้นไม้คนละ 2 ต้น ให้ครบจำนวน 1 ล้านต้น ในปี 2548 และจะปลูกเพิ่มอีก 1 ล้านต้นในปี 2549 เพื่อผนึกพลังมวลชนในจังหวัดนครราชสีมาร่วมกันปลูกต้นไม้ครั้งยิ่งใหญ่นี้ โดยพร้อมเพียงกันเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างป่า สร้างระบบนิเวศ และความสมดุลย์ของธรรมชาติของจังหวัดให้กลับคืนมาโดยเร็ว และจะเป็นการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาวต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวถึงตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า คุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไป โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นจึงมีนโยบายให้ทุกจังหวัด ได้ดำเนินการปลูกต้นไม้ในช่วงฤดูฝนนี้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและความอุดมสมบูรณ์ ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือชุมชน และจะเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัด ปลูกต้นไม้คนละ 2 ต้น และให้มีการดูแลและบำรุงรักษาให้เจริญเติบโต หากมีการตายก็ต้องทำการปลูกซ่อมแซม ประเภทต้นไม้อาจเป็นไม้ผลหรือยืนต้นที่ชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ขี้เหล็ก สะเดา ราชพฤกษ์ จามจุรี เป็นต้น สถานที่ปลูกควรเป็นสถานที่ที่ผู้ปลูกสามารถดูแลรักษาได้โดยสะดวก เช่น บริเวณบ้านพักอาศัย วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ ถนนภายในหมู่บ้าน หรือที่สาธารณะประโยชน์อื่นๆ โดยได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการในปี 2548 เริ่มตั้งแต่ต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน — ธันวาคม 2548 หรืออาจจะมีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น
นอกเหนือจากข้าราชการจะต้องปลูกต้นไม้คนละ 2 ต้นแล้ว ทางจังหวัดยังมีการขยายกลุ่มเป้าหมายเพื่อที่จะให้นักเรียนในจังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้งครู อาจารย์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ประสานพลังงานแผ่นดิน พี่น้องประชาชนทั่วไป ร่วมกันปลูกต้นไม้คนละ 2 ต้น ให้ครบจำนวน 1 ล้านต้น ในปี 2548 และจะปลูกเพิ่มอีก 1 ล้านต้นในปี 2549 เพื่อผนึกพลังมวลชนในจังหวัดนครราชสีมาร่วมกันปลูกต้นไม้ครั้งยิ่งใหญ่นี้ โดยพร้อมเพียงกันเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างป่า สร้างระบบนิเวศ และความสมดุลย์ของธรรมชาติของจังหวัดให้กลับคืนมาโดยเร็ว และจะเป็นการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาวต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-