การลงทุนภาคเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
การส่งเสริมการลงทุน 1/
โครงที่ได้รับการส่งเสริม
จำนวนโครงการ : ราย 58 23
-81.3 (-60.3)
เงินลงทุน : ล้านบาท 3,665.80 3,068.30
(-88.0) (-16.3)
การจ้างงาน : คน 18,884 8,654
(-5.6) (-54.2)
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง 2/ (พันตารางเมตร) 944.1 683.1
-97.8 (-27.6)
ที่อยู่อาศัย 395.9 448.6
-44.3 -13.3
อาคารพาณิชย์ 447 183.2
-168.1 (-60.0)
บริการ 83.9 44.6
-164.6 (-46.8)
การซื้อขายที่ดิน 3/
จำนวนราย 84,651 89,810
-0.7 -6.1
มูลค่า 14,467.20 14,824.00
-12.2 -2.5
การใช้ไฟฟ้า 4/ (ล้าน กว.ชม.) 5,415.40 5,921.70
-4.5 -9.3
ที่อยู่อาศัย 2,324.60 2,586.00
-0.5 -11.2
ธุรกิจและอุตสาหกรรม 2,601.40 2,774.80
-8.7 -6.6
ที่มา : 1/ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2/ เทศบาลนครและเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3/ กรมที่ดิน
4/ กองเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า
การซื้อขายที่ดิน
ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายนปีนี้ มูลค่าการซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14,824.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.5 โดยมีธุรกรรมการซื้อขายที่ดิน 89,810 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยจังหวัดนครราชสีมามีการซื้อขายที่ดินมูลค่าสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี ตามลำดับ
การใช้ไฟฟ้า
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มีทั้งสิ้น 5,921.7 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.3 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งหมวดที่อยู่อาศัยและหมวดธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเป็นการใช้ไฟฟ้าในหมวดธุรกิจและอุตสาหกรรมมากที่สุด 2,774.8 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เนื่องจากมีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นทั้งกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ หมวดที่อยู่อาศัย 2,586.0 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2
จดทะเบียนรถยนต์
ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากรายงานข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคฯ มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 9,095 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6,519 คัน และรถจักรยานยนต์ 138,038 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 114,899 คัน เนื่องจากตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีการแข่งขันกันออกแคมเปญและกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รถบรรทุกส่วนบุคคล 14,552 คัน ลดลงร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15,600 คัน
จดทะเบียนรถยนต์ใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : คัน)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 6,519 9,095
-49.4 -39.5
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 15,600 14,552
-35.7 (-6.7)
รถจักรยานยนต์ 114,899 138,038
-26.7 -20.1
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : สำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จดทะเบียนธุรกิจ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ 4,866 ราย เงินทุน 3,833.5 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4,096 ราย เงินทุน 3,398.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ18.8 และร้อยละ 12.8 ตามลำดับ เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจในหมวดการก่อสร้าง และการบริการการเงิน การประกันภัย อสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ส่วนการเลิกกิจการ 1,100 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,072 ราย ขณะที่เงินทุน 818.2 ล้านบาท กลับ ลดลงร้อยละ 12.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 935.2 ล้านบาท เป็นการเลิกกิจการของธุรกิจ ก่อสร้าง เป็นสำคัญ สำหรับการเพิ่มทุนจดทะเบียน 153 ราย เงินทุน 1,186.7 ล้านบาท ส่วนใหญ่ เป็นการเพิ่มทุนของธุรกิจขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคาร โรงแรม และก่อสร้าง
จดทะเบียนธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
เงินทุนจดทะเบียนธุรกิจ
- ตั้งใหม่ 3,398.90 3,833.50
-12.8 -12.8
- เพิ่มทุน n.a. 1,186.70
n.a. (n.a.)
- เลิกกิจการ 935.2 818.2
-23.6 (-12.5)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคการก่อสร้าง
ภาวะการก่อสร้างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ค่อนข้างซบเซา โดยเฉพาะการก่อสร้างในเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชนยังไม่กระเตื้องขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ซบเซา การก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยต่ำจูงใจ ซึ่งการก่อสร้างที่อยู่อาศัยจะเป็นความต้องการจากกลุ่มข้าราชการครอบครัวของแรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ เป็นต้น
การก่อสร้างภาครัฐมีไม่มากเช่นปีที่ผ่านมา เนื่องจากการตัดงบประมาณการก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ มีผลทำให้การก่อสร้างถนนหนทาง สะพาน อาคารสำนักงานราชการในโครงการใหม่มีไม่มาก ขณะที่โครงการที่กำลังก่อสร้างมาก่อนหน้ายังดำเนินการต่อเนื่อง
พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ 683,084 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 27.6 จากปีก่อน โดยเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมากที่สุด (สัดส่วนร้อยละ 65.6) รองลงมาได้แก่ การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ (สัดส่วนร้อยละ 26.8) และการก่อสร้างด้านบริการได้แก่ การก่อสร้าง หอพัก ปั๊มน้ำมัน โรงเรียนเอกชน และร้านอาหาร (สัดส่วนร้อยละ 6.5)
จังหวัดที่มีพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างมากที่สุด เรียงลำดับได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น ตามลำดับ
การจ้างงาน
ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในรอบเดือนเมษายน-มิถุนายน 2544 (ล่าสุด) พบว่าอัตราการว่างงานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่ากับร้อยละ 6.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 6.8 เทียบกับอัตราการว่างงานเฉลี่ยของประเทศร้อยละ 3.5 และยังเป็นอัตราสูงสุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ
จังหวัดที่มีอัตราการว่างงานสูงเรียงตามลำดับ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ อุดรธานี หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และนครพนม
สาเหตุสำคัญที่อัตราการว่างงานยังสูง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคการเกษตร ซึ่งรอฤดูการเพาะปลูก ประกอบกับแรงงานส่วนหนึ่งเพิ่งสำเร็จการศึกษาสู่ตลาดแรงงาน รวมถึงภาคธุรกิจส่วนใหญ่ยังจำกัดการจ้างงาน
การจัดหางานโดยผ่านหน่วยงานภาครัฐในช่วง 9 เดือนของปีนี้ พบว่ามีความต้องการแรงงานจำนวน 50,131 อัตรา ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.6 ส่วนใหญ่เป็นงานทางด้านการผลิตหรือที่เกี่ยวข้องกัน ผู้ใช้อุปกรณ์ในการขนส่งและคนงานหรือกรรมกร และงานทางด้านการค้าและการบริการ โดยมีผู้ยื่นความจำนงสมัครงานจำนวน 30,170 คน ลดลงร้อยละ 11.7 และได้รับการบรรจุ 11,360 คน ลดลงร้อยละ 14.2 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.7 ของจำนวนผู้สมัครงานทั้งหมด
สถานการณ์การจ้างงานยังทรงตัว เนื่องจากการลงทุนใหม่มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในธุรกิจเดิม ภาคธุรกิจต่าง ๆ ยังจำกัดการจ้างแรงงานเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ทางด้านแรงงานในภาคที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี โดยในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้มีแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศจำนวน 88,870 คน ลดลงร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงจากการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัทในต่างประเทศ รวมถึงมาตรการจำกัดแรงงานต่างชาติของประเทศไต้หวัน ซึ่งถือเป็นตลาดแรงงานขนาดใหญ่
จังหวัดอุดรธานีมีแรงงานเดินทางไปต่างประเทศมากที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และบุรีรัมย์
ประเทศที่แรงงานนิยมเดินทางไปทำงานมากที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ และอิสราเอล ตามลำดับ
การจ้างงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : คน)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
การจ้างงาน : คน 1/
ผู้สมัครงาน 34,179 30,170
(-24.8) (-11.7)
ตำแหน่งงานว่าง 51,481 50,131
-36 (-2.6)
การบรรจุงาน 13,239 11,360
(-28.4) (-14.2)
แรงงานต่างประเทศ : คน 2/ 95,772 88,870
-23.7 (-7.2)
หมายเหตุ : E ตัวเลขประมาณการ
ที่มา : 1/ ศูนย์ข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2/ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากดัชนีราคาเฉลี่ยสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับลดลงร้อยละ 0.1 ขณะที่ดัชนีราคาเฉลี่ยสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.5
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ราคาเฉลี่ยข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 5.7 อาหารที่ซื้อจากตลาดลดลงร้อยละ 2.1 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 1.5 อย่างไรก็ตาม ราคาเฉลี่ยสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
หมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าทุกหมวด โดยหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 หมวดเคหสถานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และหมวดเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
ดัชนีราคาผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ร้อยละ)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
ระดับราคา (%)
ผู้บริโภคทั่วไป 1.1 1.5
ผู้บริโภครายได้น้อย 0.6 1
ผู้บริโภคเขตชนบท 0.7 1.2
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บแสดงการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ภาคการเงิน
ธนาคารพาณิชย์
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาทั้งสิ้น 487 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 45 สำนักงาน) ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 21 สำนักงาน
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมียอดเงินฝากคงค้าง 249,564.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 เนื่องจากผู้ฝากส่วนหนึ่งยังคงไม่มั่นใจในการนำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่มีผลตอบแทนไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงสูงกว่า ในขณะที่ สินเชื่อคงค้าง 185,133.4 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการโอนหนี้ที่มีปัญหาไปบริหารที่ส่วนกลาง ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 81.8 ลดลงเป็นร้อยละ 74.2 ในเดือนนี้
เงินฝากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
เงินฝาก 241230.6 249564.9
-1.5 -3.5
สินเชื่อ 197271.3 185133.4
(-16.7) (-6.2)
สินเชื่อ/เงินฝาก (%) 81.8 74.2
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
P ตัวเลขเบื้องต้น
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินเชื่อจำแนกตามประเภทธุรกรรมในภาคฯ ณ สิ้นกันยายน 2544 สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์เป็นสินเชื่อที่มีสัดส่วนสูงสุด คือร้อยละ 39.4 ของยอดสินเชื่อรวม มียอดคงค้าง 72,900.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน รองลงมาได้แก่ สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (สัดส่วนร้อยละ 19.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 35,376.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.0 สินเชื่ออุตสาหกรรม (สัดส่วนร้อยละ 14.7) ยอดสินเชื่อคงค้าง 27,172.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.7 สินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง (สัดส่วนร้อยละ 9.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 16,900.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.6 สินเชื่อเพื่อการบริการ (สัดส่วนร้อยละ 7.3) ยอดสินเชื่อคงค้าง 13,464.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.4 และสินเชื่อเพื่อการเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 4.5) ยอดสินเชื่อคงค้าง 8,381.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 122.8 รองลงมา ได้แก่ มุกดาหาร ร้อยละ 113.2 และอุบลราชธานี ร้อยละ 88.5 ในขณะที่จังหวัดชัยภูมิและอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคคิดเป็นร้อยละ 60.5
ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังคงใช้นโยบายที่ไม่เร่งระดมเงินฝาก เพราะธนาคารมีสภาพคล่องอยู่จำนวนมาก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้นได้มาก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจยังไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่ให้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่อาจไหลย้อนกลับมาอีก
ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากนั้นทรงตัวอย่างต่อเนื่องและมาลดลงอีกเล็กน้อยในช่วงเดือนสิงหาคม ทั้งนี้การที่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากในระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ทำให้ธนาคารต้องคำนึงถึงต้นทุนอัตราดอกเบี้ยในด้านเงินฝาก
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
การส่งเสริมการลงทุน 1/
โครงที่ได้รับการส่งเสริม
จำนวนโครงการ : ราย 58 23
-81.3 (-60.3)
เงินลงทุน : ล้านบาท 3,665.80 3,068.30
(-88.0) (-16.3)
การจ้างงาน : คน 18,884 8,654
(-5.6) (-54.2)
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง 2/ (พันตารางเมตร) 944.1 683.1
-97.8 (-27.6)
ที่อยู่อาศัย 395.9 448.6
-44.3 -13.3
อาคารพาณิชย์ 447 183.2
-168.1 (-60.0)
บริการ 83.9 44.6
-164.6 (-46.8)
การซื้อขายที่ดิน 3/
จำนวนราย 84,651 89,810
-0.7 -6.1
มูลค่า 14,467.20 14,824.00
-12.2 -2.5
การใช้ไฟฟ้า 4/ (ล้าน กว.ชม.) 5,415.40 5,921.70
-4.5 -9.3
ที่อยู่อาศัย 2,324.60 2,586.00
-0.5 -11.2
ธุรกิจและอุตสาหกรรม 2,601.40 2,774.80
-8.7 -6.6
ที่มา : 1/ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2/ เทศบาลนครและเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3/ กรมที่ดิน
4/ กองเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า
การซื้อขายที่ดิน
ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายนปีนี้ มูลค่าการซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14,824.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.5 โดยมีธุรกรรมการซื้อขายที่ดิน 89,810 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยจังหวัดนครราชสีมามีการซื้อขายที่ดินมูลค่าสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี ตามลำดับ
การใช้ไฟฟ้า
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มีทั้งสิ้น 5,921.7 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.3 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งหมวดที่อยู่อาศัยและหมวดธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเป็นการใช้ไฟฟ้าในหมวดธุรกิจและอุตสาหกรรมมากที่สุด 2,774.8 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เนื่องจากมีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นทั้งกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ หมวดที่อยู่อาศัย 2,586.0 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2
จดทะเบียนรถยนต์
ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากรายงานข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคฯ มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 9,095 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6,519 คัน และรถจักรยานยนต์ 138,038 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 114,899 คัน เนื่องจากตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีการแข่งขันกันออกแคมเปญและกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รถบรรทุกส่วนบุคคล 14,552 คัน ลดลงร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15,600 คัน
จดทะเบียนรถยนต์ใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : คัน)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 6,519 9,095
-49.4 -39.5
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 15,600 14,552
-35.7 (-6.7)
รถจักรยานยนต์ 114,899 138,038
-26.7 -20.1
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : สำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จดทะเบียนธุรกิจ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ 4,866 ราย เงินทุน 3,833.5 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4,096 ราย เงินทุน 3,398.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ18.8 และร้อยละ 12.8 ตามลำดับ เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจในหมวดการก่อสร้าง และการบริการการเงิน การประกันภัย อสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ส่วนการเลิกกิจการ 1,100 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,072 ราย ขณะที่เงินทุน 818.2 ล้านบาท กลับ ลดลงร้อยละ 12.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 935.2 ล้านบาท เป็นการเลิกกิจการของธุรกิจ ก่อสร้าง เป็นสำคัญ สำหรับการเพิ่มทุนจดทะเบียน 153 ราย เงินทุน 1,186.7 ล้านบาท ส่วนใหญ่ เป็นการเพิ่มทุนของธุรกิจขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคาร โรงแรม และก่อสร้าง
จดทะเบียนธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
เงินทุนจดทะเบียนธุรกิจ
- ตั้งใหม่ 3,398.90 3,833.50
-12.8 -12.8
- เพิ่มทุน n.a. 1,186.70
n.a. (n.a.)
- เลิกกิจการ 935.2 818.2
-23.6 (-12.5)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคการก่อสร้าง
ภาวะการก่อสร้างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ค่อนข้างซบเซา โดยเฉพาะการก่อสร้างในเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชนยังไม่กระเตื้องขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ซบเซา การก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยต่ำจูงใจ ซึ่งการก่อสร้างที่อยู่อาศัยจะเป็นความต้องการจากกลุ่มข้าราชการครอบครัวของแรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ เป็นต้น
การก่อสร้างภาครัฐมีไม่มากเช่นปีที่ผ่านมา เนื่องจากการตัดงบประมาณการก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ มีผลทำให้การก่อสร้างถนนหนทาง สะพาน อาคารสำนักงานราชการในโครงการใหม่มีไม่มาก ขณะที่โครงการที่กำลังก่อสร้างมาก่อนหน้ายังดำเนินการต่อเนื่อง
พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ 683,084 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 27.6 จากปีก่อน โดยเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมากที่สุด (สัดส่วนร้อยละ 65.6) รองลงมาได้แก่ การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ (สัดส่วนร้อยละ 26.8) และการก่อสร้างด้านบริการได้แก่ การก่อสร้าง หอพัก ปั๊มน้ำมัน โรงเรียนเอกชน และร้านอาหาร (สัดส่วนร้อยละ 6.5)
จังหวัดที่มีพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างมากที่สุด เรียงลำดับได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น ตามลำดับ
การจ้างงาน
ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในรอบเดือนเมษายน-มิถุนายน 2544 (ล่าสุด) พบว่าอัตราการว่างงานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่ากับร้อยละ 6.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 6.8 เทียบกับอัตราการว่างงานเฉลี่ยของประเทศร้อยละ 3.5 และยังเป็นอัตราสูงสุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ
จังหวัดที่มีอัตราการว่างงานสูงเรียงตามลำดับ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ อุดรธานี หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และนครพนม
สาเหตุสำคัญที่อัตราการว่างงานยังสูง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคการเกษตร ซึ่งรอฤดูการเพาะปลูก ประกอบกับแรงงานส่วนหนึ่งเพิ่งสำเร็จการศึกษาสู่ตลาดแรงงาน รวมถึงภาคธุรกิจส่วนใหญ่ยังจำกัดการจ้างงาน
การจัดหางานโดยผ่านหน่วยงานภาครัฐในช่วง 9 เดือนของปีนี้ พบว่ามีความต้องการแรงงานจำนวน 50,131 อัตรา ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.6 ส่วนใหญ่เป็นงานทางด้านการผลิตหรือที่เกี่ยวข้องกัน ผู้ใช้อุปกรณ์ในการขนส่งและคนงานหรือกรรมกร และงานทางด้านการค้าและการบริการ โดยมีผู้ยื่นความจำนงสมัครงานจำนวน 30,170 คน ลดลงร้อยละ 11.7 และได้รับการบรรจุ 11,360 คน ลดลงร้อยละ 14.2 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.7 ของจำนวนผู้สมัครงานทั้งหมด
สถานการณ์การจ้างงานยังทรงตัว เนื่องจากการลงทุนใหม่มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในธุรกิจเดิม ภาคธุรกิจต่าง ๆ ยังจำกัดการจ้างแรงงานเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ทางด้านแรงงานในภาคที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี โดยในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้มีแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศจำนวน 88,870 คน ลดลงร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงจากการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัทในต่างประเทศ รวมถึงมาตรการจำกัดแรงงานต่างชาติของประเทศไต้หวัน ซึ่งถือเป็นตลาดแรงงานขนาดใหญ่
จังหวัดอุดรธานีมีแรงงานเดินทางไปต่างประเทศมากที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และบุรีรัมย์
ประเทศที่แรงงานนิยมเดินทางไปทำงานมากที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ และอิสราเอล ตามลำดับ
การจ้างงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : คน)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
การจ้างงาน : คน 1/
ผู้สมัครงาน 34,179 30,170
(-24.8) (-11.7)
ตำแหน่งงานว่าง 51,481 50,131
-36 (-2.6)
การบรรจุงาน 13,239 11,360
(-28.4) (-14.2)
แรงงานต่างประเทศ : คน 2/ 95,772 88,870
-23.7 (-7.2)
หมายเหตุ : E ตัวเลขประมาณการ
ที่มา : 1/ ศูนย์ข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2/ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากดัชนีราคาเฉลี่ยสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับลดลงร้อยละ 0.1 ขณะที่ดัชนีราคาเฉลี่ยสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.5
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ราคาเฉลี่ยข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 5.7 อาหารที่ซื้อจากตลาดลดลงร้อยละ 2.1 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 1.5 อย่างไรก็ตาม ราคาเฉลี่ยสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
หมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าทุกหมวด โดยหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 หมวดเคหสถานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และหมวดเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
ดัชนีราคาผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ร้อยละ)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
ระดับราคา (%)
ผู้บริโภคทั่วไป 1.1 1.5
ผู้บริโภครายได้น้อย 0.6 1
ผู้บริโภคเขตชนบท 0.7 1.2
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บแสดงการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ภาคการเงิน
ธนาคารพาณิชย์
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาทั้งสิ้น 487 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 45 สำนักงาน) ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 21 สำนักงาน
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมียอดเงินฝากคงค้าง 249,564.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 เนื่องจากผู้ฝากส่วนหนึ่งยังคงไม่มั่นใจในการนำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่มีผลตอบแทนไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงสูงกว่า ในขณะที่ สินเชื่อคงค้าง 185,133.4 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการโอนหนี้ที่มีปัญหาไปบริหารที่ส่วนกลาง ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 81.8 ลดลงเป็นร้อยละ 74.2 ในเดือนนี้
เงินฝากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
เงินฝาก 241230.6 249564.9
-1.5 -3.5
สินเชื่อ 197271.3 185133.4
(-16.7) (-6.2)
สินเชื่อ/เงินฝาก (%) 81.8 74.2
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
P ตัวเลขเบื้องต้น
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินเชื่อจำแนกตามประเภทธุรกรรมในภาคฯ ณ สิ้นกันยายน 2544 สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์เป็นสินเชื่อที่มีสัดส่วนสูงสุด คือร้อยละ 39.4 ของยอดสินเชื่อรวม มียอดคงค้าง 72,900.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน รองลงมาได้แก่ สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (สัดส่วนร้อยละ 19.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 35,376.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.0 สินเชื่ออุตสาหกรรม (สัดส่วนร้อยละ 14.7) ยอดสินเชื่อคงค้าง 27,172.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.7 สินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง (สัดส่วนร้อยละ 9.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 16,900.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.6 สินเชื่อเพื่อการบริการ (สัดส่วนร้อยละ 7.3) ยอดสินเชื่อคงค้าง 13,464.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.4 และสินเชื่อเพื่อการเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 4.5) ยอดสินเชื่อคงค้าง 8,381.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 122.8 รองลงมา ได้แก่ มุกดาหาร ร้อยละ 113.2 และอุบลราชธานี ร้อยละ 88.5 ในขณะที่จังหวัดชัยภูมิและอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคคิดเป็นร้อยละ 60.5
ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังคงใช้นโยบายที่ไม่เร่งระดมเงินฝาก เพราะธนาคารมีสภาพคล่องอยู่จำนวนมาก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้นได้มาก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจยังไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่ให้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่อาจไหลย้อนกลับมาอีก
ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากนั้นทรงตัวอย่างต่อเนื่องและมาลดลงอีกเล็กน้อยในช่วงเดือนสิงหาคม ทั้งนี้การที่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากในระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ทำให้ธนาคารต้องคำนึงถึงต้นทุนอัตราดอกเบี้ยในด้านเงินฝาก
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-