ข่าวในประเทศ
1. ธปท.พอใจมาตรการแก้ไขการเก็งกำไรค่าเงินบาท ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า มาตรการกำกับดูแลซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่ ธปท.ดำเนินการมาแล้ว ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่เคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างผันผวน โดยเมื่อวันที่ 26 ม.ค.43 เงินบาทได้เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 42.80 บาท/ดอลลาร์ จากระดับ 43.00 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงก่อนหน้า โดยมาตรการเกี่ยวกับการดูแลซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่ ธปท.ปรับปรุงแก้ไขให้ชัดเจนนั้น ทำให้การซื้อขายฯ สะท้อนธุรกรรมที่แท้จริง ส่งผลให้การเก็งกำไรลดลง อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ติดตาม ตรวจสอบสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิดว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบที่ ธปท.ปรับปรุงหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีปัญหา และเห็นว่ามาตรการของ ธปท.เพียงพอในการกำกับดูแล และป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทได้ดี (กรุงเทพธุรกิจ 29)
2. รัฐบาลใหม่มีแนวคิดขยายระยะเวลาการชำระเงินกู้ไอเอ็มเอฟ ที่ปรึกษาพรรคไทยรักเปิดเผยว่า ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จะมีการเจรจากับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)เพื่อขอขยายระยะเวลาการชำระเงินกู้ เนื่องจากประเมินว่า ขณะนี้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ ธปท.ประกาศมีจำนวน 3.26 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยทุนสำรองสุทธิหลังหักเงินกู้และภาระสวอปเหลือจำนวน 1.74 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. และหากหักเงินกู้ระยะสั้นที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี จะเหลือประมาณ 1.5 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำเกินไป อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.กล่าวว่า เงินกู้ไอเอ็มเอฟที่มีอยู่เป็นภาระในระยะยาว ดังนั้น ทุนสำรองระดับ 3.26 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. แม้จะไม่สูง แต่ก็ไม่เป็นข้อจำกัดในการบริหารประเทศ (กรุงเทพธุรกิจ,ไทยโพสต์ 27)
3. ก.คลังมั่นใจเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในปี 44 ผู้อำนวยการเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวแล้ว เห็นได้จากธุรกิจได้นำเข้าสินค้าทุนเพื่อใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก แต่ยังคงมีหลายปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งต้องเตรียมมาตรการไว้รองรับผลกระทบ สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องเร่งควบคุมและดำเนินการโดยเร็วคือ การบริหารภาคการคลังให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะการจัดเก็บรายได้ ต้องให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนการจะปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร สำหรับหนี้สาธารณะต้องมีการบริหารที่ดี และเป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้ลงทุนในตราสารของรัฐบาลมีความมั่นใจ เพราะความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ (วัฏจักร 29)
4. ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 44 โฆษก ก.คลังเปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาลในเดือน ธ.ค.43 ว่า มีรายรับจำนวน 54,839 ล.บาท รายจ่าย 70,212 ล.บาท สำหรับเดือน ต.ค.-ธ.ค.43 รัฐบาลมีรายรับ 164,399 ล.บาท รายจ่าย 224,520 ล.บาท ทำให้ขาดดุลงบประมาณ 60,121 ล.บาท และเมื่อรวมกับการเกินดุลงบประมาณ 5,414 ล.บาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 54,707 ล.บาท สำหรับยอดเงินคงคลังเมื่อสิ้นปี 43 มีจำนวน 42,894 ล.บาท (ไทยโพสต์ 27)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนโดยรวมของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 44 คำสั่งซื้อสินค้าคงทนโดยรวม ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 อยู่ที่มูลค่า 214.33 พัน ล. ดอลลาร์ จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในเดือน พ.ย. 43 และตรงข้ามกับผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะลดลงร้อยละ 1.7 ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมคำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่ง คำสั่งซื้อฯ ลดลงร้อยละ 1.4 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ย. 43 ทั้งนี้ การที่คำสั่งซื้อฯ เพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.6 สูงขึ้น 2 เท่าจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ในเดือน พ.ย.43 โดยความต้องการเครื่องบินพาณิชย์และชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการรถยนต์ใหม่กำลังลดลง ประธานสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตแห่งชาติ (Jerry Jasinowski) กล่าวว่า รายงานครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ามีสัญญาณความเสี่ยงเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของ สรอ. เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมกำลังชะลอตัวลง และเรียกร้องให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในการประชุมของ ธ. กลางที่กำหนดขึ้นในวันที่ 30-31 ม.ค. นี้ (รอยเตอร์ 26)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 29 ม.ค.44 ก. เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) รายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ผลผลิตอุตสาหกรรมปรับฤดูกาลของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน พ.ย.43 เพิ่มขึ้นมากเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.0 เนื่องจากเห็นว่าผลผลิตฯ ในเดือน ธ.ค.43 จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออกไปยัง สรอ. ซึ่งเป็นตลาดการส่งออกหลักของญี่ปุ่น ขณะที่ METI กล่าวว่า ผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทีละน้อย โดยประมาณการว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของผลผลิตฯ ในเดือน ม.ค.44 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ลดลงจากประมาณการเดิมที่ร้อยละ 1.5 และในเดือน ก.พ.44 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ขณะเดียวกัน METI รายงานว่า ในไตรมาสเดือน ต.ค.-ธ.ค.43 ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6 และทั้งปี 43 ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับปี 42 เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับแต่ปี 32 (รอยเตอร์ 29)
3. ราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.7 ในปี 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 44 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่า ปี 43 ราคาผู้บริโภครวมทั้งประเทศ ลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับปี 42 นับเป็นการลดลงมากที่สุด ตั้งแต่มีการคำนวณตัวเลขด้วยวิธีปัจจุบัน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 14 และในวันดังกล่าว ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) รายงานด้วยว่า เดือน ธ.ค. 43 ยอดการค้าปลีกรวมทั้งประเทศ ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. 42 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 45 และตลอดทั้งปี 43 ยอดการค้าปลีกโดยรวม ลดลงร้อยละ 1.7 ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่4 จากรายงานครั้งนี้ บ่งชี้ถึงภาวะเงินฝืดและภาวะชะงักงันของผู้บริโภคในญี่ปุ่น (รอยเตอร์ 26)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 26ม.ค.44 42.856 (43.001)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 26 ม.ค. 44
ซื้อ 42.7125 (42.8247) ขาย 43.0141 (43.1415)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,400) ขาย 5,450 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.09 (23.55)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.44 (13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.พอใจมาตรการแก้ไขการเก็งกำไรค่าเงินบาท ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า มาตรการกำกับดูแลซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่ ธปท.ดำเนินการมาแล้ว ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่เคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างผันผวน โดยเมื่อวันที่ 26 ม.ค.43 เงินบาทได้เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 42.80 บาท/ดอลลาร์ จากระดับ 43.00 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงก่อนหน้า โดยมาตรการเกี่ยวกับการดูแลซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่ ธปท.ปรับปรุงแก้ไขให้ชัดเจนนั้น ทำให้การซื้อขายฯ สะท้อนธุรกรรมที่แท้จริง ส่งผลให้การเก็งกำไรลดลง อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ติดตาม ตรวจสอบสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิดว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบที่ ธปท.ปรับปรุงหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีปัญหา และเห็นว่ามาตรการของ ธปท.เพียงพอในการกำกับดูแล และป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทได้ดี (กรุงเทพธุรกิจ 29)
2. รัฐบาลใหม่มีแนวคิดขยายระยะเวลาการชำระเงินกู้ไอเอ็มเอฟ ที่ปรึกษาพรรคไทยรักเปิดเผยว่า ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จะมีการเจรจากับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)เพื่อขอขยายระยะเวลาการชำระเงินกู้ เนื่องจากประเมินว่า ขณะนี้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ ธปท.ประกาศมีจำนวน 3.26 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยทุนสำรองสุทธิหลังหักเงินกู้และภาระสวอปเหลือจำนวน 1.74 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. และหากหักเงินกู้ระยะสั้นที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี จะเหลือประมาณ 1.5 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำเกินไป อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.กล่าวว่า เงินกู้ไอเอ็มเอฟที่มีอยู่เป็นภาระในระยะยาว ดังนั้น ทุนสำรองระดับ 3.26 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. แม้จะไม่สูง แต่ก็ไม่เป็นข้อจำกัดในการบริหารประเทศ (กรุงเทพธุรกิจ,ไทยโพสต์ 27)
3. ก.คลังมั่นใจเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในปี 44 ผู้อำนวยการเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวแล้ว เห็นได้จากธุรกิจได้นำเข้าสินค้าทุนเพื่อใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก แต่ยังคงมีหลายปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งต้องเตรียมมาตรการไว้รองรับผลกระทบ สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องเร่งควบคุมและดำเนินการโดยเร็วคือ การบริหารภาคการคลังให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะการจัดเก็บรายได้ ต้องให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนการจะปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร สำหรับหนี้สาธารณะต้องมีการบริหารที่ดี และเป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้ลงทุนในตราสารของรัฐบาลมีความมั่นใจ เพราะความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ (วัฏจักร 29)
4. ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 44 โฆษก ก.คลังเปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาลในเดือน ธ.ค.43 ว่า มีรายรับจำนวน 54,839 ล.บาท รายจ่าย 70,212 ล.บาท สำหรับเดือน ต.ค.-ธ.ค.43 รัฐบาลมีรายรับ 164,399 ล.บาท รายจ่าย 224,520 ล.บาท ทำให้ขาดดุลงบประมาณ 60,121 ล.บาท และเมื่อรวมกับการเกินดุลงบประมาณ 5,414 ล.บาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 54,707 ล.บาท สำหรับยอดเงินคงคลังเมื่อสิ้นปี 43 มีจำนวน 42,894 ล.บาท (ไทยโพสต์ 27)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนโดยรวมของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 44 คำสั่งซื้อสินค้าคงทนโดยรวม ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 อยู่ที่มูลค่า 214.33 พัน ล. ดอลลาร์ จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในเดือน พ.ย. 43 และตรงข้ามกับผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะลดลงร้อยละ 1.7 ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมคำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่ง คำสั่งซื้อฯ ลดลงร้อยละ 1.4 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ย. 43 ทั้งนี้ การที่คำสั่งซื้อฯ เพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.6 สูงขึ้น 2 เท่าจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ในเดือน พ.ย.43 โดยความต้องการเครื่องบินพาณิชย์และชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการรถยนต์ใหม่กำลังลดลง ประธานสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตแห่งชาติ (Jerry Jasinowski) กล่าวว่า รายงานครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ามีสัญญาณความเสี่ยงเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของ สรอ. เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมกำลังชะลอตัวลง และเรียกร้องให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในการประชุมของ ธ. กลางที่กำหนดขึ้นในวันที่ 30-31 ม.ค. นี้ (รอยเตอร์ 26)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 29 ม.ค.44 ก. เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) รายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ผลผลิตอุตสาหกรรมปรับฤดูกาลของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน พ.ย.43 เพิ่มขึ้นมากเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.0 เนื่องจากเห็นว่าผลผลิตฯ ในเดือน ธ.ค.43 จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออกไปยัง สรอ. ซึ่งเป็นตลาดการส่งออกหลักของญี่ปุ่น ขณะที่ METI กล่าวว่า ผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทีละน้อย โดยประมาณการว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของผลผลิตฯ ในเดือน ม.ค.44 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ลดลงจากประมาณการเดิมที่ร้อยละ 1.5 และในเดือน ก.พ.44 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ขณะเดียวกัน METI รายงานว่า ในไตรมาสเดือน ต.ค.-ธ.ค.43 ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6 และทั้งปี 43 ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับปี 42 เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับแต่ปี 32 (รอยเตอร์ 29)
3. ราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.7 ในปี 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 44 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่า ปี 43 ราคาผู้บริโภครวมทั้งประเทศ ลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับปี 42 นับเป็นการลดลงมากที่สุด ตั้งแต่มีการคำนวณตัวเลขด้วยวิธีปัจจุบัน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 14 และในวันดังกล่าว ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) รายงานด้วยว่า เดือน ธ.ค. 43 ยอดการค้าปลีกรวมทั้งประเทศ ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. 42 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 45 และตลอดทั้งปี 43 ยอดการค้าปลีกโดยรวม ลดลงร้อยละ 1.7 ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่4 จากรายงานครั้งนี้ บ่งชี้ถึงภาวะเงินฝืดและภาวะชะงักงันของผู้บริโภคในญี่ปุ่น (รอยเตอร์ 26)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 26ม.ค.44 42.856 (43.001)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 26 ม.ค. 44
ซื้อ 42.7125 (42.8247) ขาย 43.0141 (43.1415)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,400) ขาย 5,450 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.09 (23.55)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.44 (13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-