สรุปข่าวประจำวัน
ข่าวในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยว่าภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งแรกปี 44 ไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวหรือหดตัว ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกปี 44 ว่า เศรษฐกิจยังทรงตัวต่อเนื่อง โดยไม่มีสัญญาณว่าจะหดตัวหรือฟื้นตัว ทั้งนี้ ภาคการส่งออกในครึ่งปีแรกขยายตัวติดลบร้อยละ 0.9 เทียบกับปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 21.1 ขณะที่การนำเข้ายังขยายตัวร้อยละ 7.2 แต่ลดลงจากปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 34.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเพียง 467 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุล 2.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ดังนั้นที่คาดว่าทั้งปีดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 5-5.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ก็มีความเป็นไปได้ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังยังไม่มีความแน่นอน เนื่องจากในช่วงภาวะการเงินอ่อนแอ นโยบายการเงินจะไม่มีประสิทธิภาพนัก จึงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายการคลังซึ่งต้องใช้ระยะเวลาจึงจะแสดงผลที่ชัดเจน รวมทั้งขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ..(ไทยโพสต์, ไทยรัฐ 1)
2. รมว.คลังเปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการประเมินราคาสินทรัพย์ค้ำประกันหนี้เอ็นพีแอลก่อนที่จะโอนไปยัง บสท. รมว.คลังเปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ส.ค.44 จะมีการประชุมคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เพื่อพิจารณาและสรุปหลักเกณฑ์การประเมินราคาสินทรัพย์ค้ำประกันหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคาร เพื่อให้การโอนสินทรัพย์ดังกล่าวไปยัง บสท.ไม่เกิดความล่าช้า โดยเฉพาะในส่วนของธนาคารรัฐสามารถดำเนินการได้ทันทีโดยใช้แนวทางการประเมินราคาของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่วน ธพ. เอกชนสามารถเสนอแนวทางการประเมินราคาสินทรัพย์มาได้ ซึ่ง บสท. จะพิจารณาอิงกับแนวทางมาตรฐานของ ธปท.ขณะที่นายทนง พิทยะ ประธาน บสท. เปิดเผยว่าการโอนหนี้เอ็นพีแอลไปยัง บสท. แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของธนาคารรัฐจะสามารถดำเนินการได้ภายในเดือน ส.ค.44 ส่วนของ ธพ.เอกชนยังมีปัญหาเกี่ยวกับการตีความราคาหลักทรัพย์ค้ำประกัน จากราคามูลค่าบัญชีหรือราคาประเมินของกรมที่ดิน หากพบว่าราคาไหนต่ำกว่าให้เลือกราคานั้น ทำให้ ธพ.เอกชนมีปัญหาในแง่ของการปฏิบัติ ซึ่งเรื่องนี้จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ บสท. ในการประชุมสัปดาห์หน้าต่อไป สำหรับหนี้เอ็นพีแอลของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ว่าจ้าง ธพ.ต่างชาติบริหารนั้น จะมีการโอนมายัง บสท. เหมือนกับกรณีของ ธ.ไทยธนาคารโดยใช้เงื่อนไขเดียวกัน................(กรุงเทพธุรกิจ,โลกวันนี้, แนวหน้า 1)
3. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มธุรกิจ ธพ.ไทยในช่วงครึ่งหลังปี 44 บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินแนวโน้มธุรกิจของระบบ ธพ.ไทยในครึ่งหลังปี 44 ว่า รายได้สุทธิจากการดำเนินงานน่าจะปรับตัวลดลงจากกำไร 7.13 พัน ล.บาทในครึ่งปีแรกมาเป็นขาดทุน 2.99 พัน ล.บาท โดยที่ตัวเลขทั้งปีคาดว่าจะเป็นกำไรประมาณ 4.14 พัน ล.บาท ลดลงจากกำไร 8.11 พัน ล.บาทของปี 43 โดยการประมาณการดังกล่าวไม่ได้นำปัจจัยอื่นมาพิจารณา เช่น ผลขาดทุนจากการโอนหนี้เสียให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) หรือผลกระทบจากการปรับดอกเบี้ยเงินฝากเงินกู้เนื่องจากแรงกดดันในการลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย......(แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ลดลงในเดือน ก.ค. 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 31 ก.ค. 44 Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมในเดือน ก.ค. 44 ลดลงอยู่ที่ระดับ 116.5 จากระดับ 118.9 ในเดือน มิ.ย. 44 ซึ่งต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 117.5 ทั้งนี้ การที่บริษัทต่างๆของ สรอ. ประกาศลดการจ้างงานลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนดังกล่าวลดลง และเป็นสัญญาณว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวต่อไป ขณะเดียวกัน ดัชนีความเชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ลดลงอยู่ที่ระดับ 152 จากระดับ 156.8 ในเดือน มิ.ย. 44 และดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ก็ลดลงที่ระดับ 92.9 จากระดับ 93.5 จากรายงานครั้งนี้ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดหวังว่า ธ. กลาง สรอ. จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเล็กน้อยในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินในเดือน ส.ค.นี้ โดยนับตั้งแต่ต้นปี 44 ธ. กลางได้ลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วถึง 6 ครั้ง (รอยเตอร์31)
2. การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน มิ.ย.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 31 ก.ค.44 ก.พาณิชย์เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.44 ยอดการใช้จ่าย (หลังปรับฤดูกาล) ของผู้บริโภค สรอ. มีจำนวน 7.069 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ค.44 โดยมีสาเหตุจากการใช้จ่ายสินค้าคงทนสูงขึ้นร้อยละ 1.5 ขณะที่รายได้สุทธิส่วนบุคคลในเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ค. และอัตราการออมของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ชะลอลงจากเดือน พ.ค.ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับเพิ่มขึ้นจากรายงานครั้งแรกที่ลดลงร้อยละ 1.1 ทั้งนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคและรายได้สุทธิฯ ในเดือน มิ.ย.ดังกล่าว สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 และ 0.2 ตามลำดับ สำหรับ chained index ซึ่งเป็นดัชนีที่ประธาน ธ.กลาง (Alan greenspan) ยินยอมให้ใช้เป็นตัววัดเงินเฟ้อ ทั้งที่เป็นดัชนีโดยรวมและไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในเดือน มิ.ย. 44 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน .(รอยเตอร์ 31)
3. คำสั่งเพื่อการก่อสร้างและการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของญี่ปุ่นมีจำนวนลดลงในเดือน มิ.ย.44 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 31 ก.ค.44 ก. ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง (Ministry of Land, Infrastructure and Transport) เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.44 คำสั่งเพื่อการก่อสร้างของบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ 50 แห่งในญี่ปุ่น มีมูลค่า 1,013.81 พัน ล.เยน ลดลงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ขณะเดียวกัน ตัวเลขการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในเดือน มิ.ย. 44 มีจำนวนทั้งสิ้น 101,168 หลัง ลดลงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6…….(รอยเตอร์ 31)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 31 ก.ค. 44 45.726 (45.678)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 31 ก.ค. 44ซื้อ 45.5348 (45.4563) ขาย 45.8424 (45.7654)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.70 (23.69)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 14.79 (14.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ข่าวในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยว่าภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งแรกปี 44 ไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวหรือหดตัว ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกปี 44 ว่า เศรษฐกิจยังทรงตัวต่อเนื่อง โดยไม่มีสัญญาณว่าจะหดตัวหรือฟื้นตัว ทั้งนี้ ภาคการส่งออกในครึ่งปีแรกขยายตัวติดลบร้อยละ 0.9 เทียบกับปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 21.1 ขณะที่การนำเข้ายังขยายตัวร้อยละ 7.2 แต่ลดลงจากปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 34.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเพียง 467 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุล 2.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ดังนั้นที่คาดว่าทั้งปีดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 5-5.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ก็มีความเป็นไปได้ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังยังไม่มีความแน่นอน เนื่องจากในช่วงภาวะการเงินอ่อนแอ นโยบายการเงินจะไม่มีประสิทธิภาพนัก จึงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายการคลังซึ่งต้องใช้ระยะเวลาจึงจะแสดงผลที่ชัดเจน รวมทั้งขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ..(ไทยโพสต์, ไทยรัฐ 1)
2. รมว.คลังเปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการประเมินราคาสินทรัพย์ค้ำประกันหนี้เอ็นพีแอลก่อนที่จะโอนไปยัง บสท. รมว.คลังเปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ส.ค.44 จะมีการประชุมคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เพื่อพิจารณาและสรุปหลักเกณฑ์การประเมินราคาสินทรัพย์ค้ำประกันหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคาร เพื่อให้การโอนสินทรัพย์ดังกล่าวไปยัง บสท.ไม่เกิดความล่าช้า โดยเฉพาะในส่วนของธนาคารรัฐสามารถดำเนินการได้ทันทีโดยใช้แนวทางการประเมินราคาของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่วน ธพ. เอกชนสามารถเสนอแนวทางการประเมินราคาสินทรัพย์มาได้ ซึ่ง บสท. จะพิจารณาอิงกับแนวทางมาตรฐานของ ธปท.ขณะที่นายทนง พิทยะ ประธาน บสท. เปิดเผยว่าการโอนหนี้เอ็นพีแอลไปยัง บสท. แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของธนาคารรัฐจะสามารถดำเนินการได้ภายในเดือน ส.ค.44 ส่วนของ ธพ.เอกชนยังมีปัญหาเกี่ยวกับการตีความราคาหลักทรัพย์ค้ำประกัน จากราคามูลค่าบัญชีหรือราคาประเมินของกรมที่ดิน หากพบว่าราคาไหนต่ำกว่าให้เลือกราคานั้น ทำให้ ธพ.เอกชนมีปัญหาในแง่ของการปฏิบัติ ซึ่งเรื่องนี้จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ บสท. ในการประชุมสัปดาห์หน้าต่อไป สำหรับหนี้เอ็นพีแอลของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ว่าจ้าง ธพ.ต่างชาติบริหารนั้น จะมีการโอนมายัง บสท. เหมือนกับกรณีของ ธ.ไทยธนาคารโดยใช้เงื่อนไขเดียวกัน................(กรุงเทพธุรกิจ,โลกวันนี้, แนวหน้า 1)
3. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มธุรกิจ ธพ.ไทยในช่วงครึ่งหลังปี 44 บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินแนวโน้มธุรกิจของระบบ ธพ.ไทยในครึ่งหลังปี 44 ว่า รายได้สุทธิจากการดำเนินงานน่าจะปรับตัวลดลงจากกำไร 7.13 พัน ล.บาทในครึ่งปีแรกมาเป็นขาดทุน 2.99 พัน ล.บาท โดยที่ตัวเลขทั้งปีคาดว่าจะเป็นกำไรประมาณ 4.14 พัน ล.บาท ลดลงจากกำไร 8.11 พัน ล.บาทของปี 43 โดยการประมาณการดังกล่าวไม่ได้นำปัจจัยอื่นมาพิจารณา เช่น ผลขาดทุนจากการโอนหนี้เสียให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) หรือผลกระทบจากการปรับดอกเบี้ยเงินฝากเงินกู้เนื่องจากแรงกดดันในการลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย......(แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ลดลงในเดือน ก.ค. 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 31 ก.ค. 44 Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมในเดือน ก.ค. 44 ลดลงอยู่ที่ระดับ 116.5 จากระดับ 118.9 ในเดือน มิ.ย. 44 ซึ่งต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 117.5 ทั้งนี้ การที่บริษัทต่างๆของ สรอ. ประกาศลดการจ้างงานลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนดังกล่าวลดลง และเป็นสัญญาณว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวต่อไป ขณะเดียวกัน ดัชนีความเชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ลดลงอยู่ที่ระดับ 152 จากระดับ 156.8 ในเดือน มิ.ย. 44 และดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ก็ลดลงที่ระดับ 92.9 จากระดับ 93.5 จากรายงานครั้งนี้ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดหวังว่า ธ. กลาง สรอ. จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเล็กน้อยในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินในเดือน ส.ค.นี้ โดยนับตั้งแต่ต้นปี 44 ธ. กลางได้ลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วถึง 6 ครั้ง (รอยเตอร์31)
2. การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน มิ.ย.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 31 ก.ค.44 ก.พาณิชย์เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.44 ยอดการใช้จ่าย (หลังปรับฤดูกาล) ของผู้บริโภค สรอ. มีจำนวน 7.069 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ค.44 โดยมีสาเหตุจากการใช้จ่ายสินค้าคงทนสูงขึ้นร้อยละ 1.5 ขณะที่รายได้สุทธิส่วนบุคคลในเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ค. และอัตราการออมของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ชะลอลงจากเดือน พ.ค.ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับเพิ่มขึ้นจากรายงานครั้งแรกที่ลดลงร้อยละ 1.1 ทั้งนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคและรายได้สุทธิฯ ในเดือน มิ.ย.ดังกล่าว สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 และ 0.2 ตามลำดับ สำหรับ chained index ซึ่งเป็นดัชนีที่ประธาน ธ.กลาง (Alan greenspan) ยินยอมให้ใช้เป็นตัววัดเงินเฟ้อ ทั้งที่เป็นดัชนีโดยรวมและไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในเดือน มิ.ย. 44 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน .(รอยเตอร์ 31)
3. คำสั่งเพื่อการก่อสร้างและการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของญี่ปุ่นมีจำนวนลดลงในเดือน มิ.ย.44 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 31 ก.ค.44 ก. ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง (Ministry of Land, Infrastructure and Transport) เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.44 คำสั่งเพื่อการก่อสร้างของบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ 50 แห่งในญี่ปุ่น มีมูลค่า 1,013.81 พัน ล.เยน ลดลงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ขณะเดียวกัน ตัวเลขการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในเดือน มิ.ย. 44 มีจำนวนทั้งสิ้น 101,168 หลัง ลดลงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6…….(รอยเตอร์ 31)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 31 ก.ค. 44 45.726 (45.678)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 31 ก.ค. 44ซื้อ 45.5348 (45.4563) ขาย 45.8424 (45.7654)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.70 (23.69)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 14.79 (14.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-