นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศได้ร้องเรียนขอให้ภาครัฐช่วยปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศจากการถูกต่างประเทศทุ่มตลาดนั้น กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการช่วยเหลือและติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด โดยในปี 2540 ได้เปิดไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าเหล็ก 2 ชนิด คือ แผ่นรีดร้อน จากรัสเซียและยูเครน และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณตัว H จากโปแลนด์และเกาหลี และในปี 2544 ได้เปิดไต่สวนการทุ่มตลาดเหล็กโครงสร้างรูปพรรณตัว H จากจีน และแผ่นเหล็กรีดเย็นจากรัสเซีย ยูเครน และอาร์เจนตินา ขณะเดียวกันเมื่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศถูกประเทศคู่ค้า คือ สหรัฐอเมริกาใช้มาตราตอบโต้การอุดหนุน และมาตรการปกป้อง (มาตรา 201) ภาครัฐได้ดำเนินการทั้งภายใต้กรอบ WTO และการเจรจาในระดับทวิภาคี เพื่อให้มาตราดังกล่าวยุติลง
นายการุณฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่กระทรวงพาณิชย์ได้ออกพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2542 ก็เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้การใช้มาตรการใด ๆ ตาม พ.ร.บ. หรือประกาศ ฯ ดังกล่าวเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในจะต้องได้รับข้อมูลที่สมบูรณถูกต้องจากอุตสาหกรรมที่ร้องขอ และจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลด้วย เนื่องจาก คต.ในฐานะหน่วยงานภาครัฐจะต้องดำเนินการใด ๆ ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และถูกต้อง โดยจะต้องพิจารณาในภาพรวมของอุตสาหกรรมนั้นทั้งหมด ซึ่งต้องคำนึงถึงทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม คต.ได้มีการประสานกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย และกลุ่มผู้ผลิตเหล็กมาโดยตลอด ในการที่จะดำเนินการต่าง ๆ ตามกรอบของ WTO เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ แต่ขณะเดียวกันการใช้มาตรการต่าง ๆ จะต้องไม่ให้มีผลกระทบกับผู้บริโภค และอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้วย--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2544--
-อน-
-อน-
นายการุณฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่กระทรวงพาณิชย์ได้ออกพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2542 ก็เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้การใช้มาตรการใด ๆ ตาม พ.ร.บ. หรือประกาศ ฯ ดังกล่าวเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในจะต้องได้รับข้อมูลที่สมบูรณถูกต้องจากอุตสาหกรรมที่ร้องขอ และจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลด้วย เนื่องจาก คต.ในฐานะหน่วยงานภาครัฐจะต้องดำเนินการใด ๆ ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และถูกต้อง โดยจะต้องพิจารณาในภาพรวมของอุตสาหกรรมนั้นทั้งหมด ซึ่งต้องคำนึงถึงทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม คต.ได้มีการประสานกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย และกลุ่มผู้ผลิตเหล็กมาโดยตลอด ในการที่จะดำเนินการต่าง ๆ ตามกรอบของ WTO เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ แต่ขณะเดียวกันการใช้มาตรการต่าง ๆ จะต้องไม่ให้มีผลกระทบกับผู้บริโภค และอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้วย--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2544--
-อน-
-อน-