กรุงเทพฯ--22 พ.ย.---กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งให้ทราบถึงข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการประชุม ฯ ดังนี้
1. โครงสร้างและกลไกของอาเซียน อาเซียนได้จัดโครงสร้างการบริหารและมีกลไกการดำเนินงานขององค์กรเพื่อให้กิจกรรม ต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลตามนโยบายเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ การดำเนินงาน ของอาเซียนจะประกอบด้วยกลไกต่าง ๆ อาทิ การประชุมสุดยอดอาเซียนหรือการประชุมผู้นำรัฐบาล อาเซียน (ASEAN Summit) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (Post Ministerial Conferences) การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers Meeting) และ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอื่น ๆ (Other ASEAN Ministerial Meetings) เช่น เกษตร คมนาคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การศึกษา และพลังงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการประชุม ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสซึ่งเป็นกรอบหารือระดับปลัดกระทรวง และการประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน ซึ่งเป็นกรอบหารือระหว่างอธิบดีกรมอาเซียน รวมทั้งการประชุมระดับคณะกรรมการด้านต่างๆ อีกหลายสาขา
2. การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นกลไกระดับสูงสุดในการกำหนดทิศทางและริเริ่มกิจกรรม หรือแนวทางความร่วมมือใหม่ ๆ ของอาเซียน โดยจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการทุก ๆ 3 ปี จนถึง ปัจจุบันได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนมาแล้ว 6 ครั้ง (ครั้งล่าสุดได้จัดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม เมื่อปี 2541)
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนธันวาคม 2538 ที่กรุงเทพฯ ที่ประชุมได้มี มติให้จัด "การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ" ขึ้นทุกปี ยกเว้นในปีที่จะมีการจัดประชุมอย่าง เป็นทางการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้ เนื่องจาก สถานการณ์ของโลกได้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการนั้นจะไม่กำหนด หัวข้อการหารืออย่างตายตัวและจะไม่เน้นเรื่องพิธีการ การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการได้ จัดขึ้นมา 3 ครั้งแล้ว โดยจัดที่อินโดนีเซีย เมื่อปี 2539 มาเลเซีย เมื่อปี 2540 และฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2542 ซึ่งในครั้งนั้นผู้นำอาเซียนได้มีการหารือร่วมและแยกเป็นรายประเทศกับผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 4 จะจัดขึ้นที่ สิงคโปร์ ในช่วงวันที่ 24-25 พฤศจิกายน ศกนี้ โดยจะมีการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำของ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ด้วย
กลไกการประชุมสุดยอดอาเซียน "อย่างเป็นทางการ" และ "ไม่เป็นทางการ" นี้ได้สร้างความ สับสนแก่บุคคลทั่วไปเนื่องจากในทางปฏิบัติแล้ว มีความแตกต่างระหว่างทั้งสองการประชุมน้อยมาก ประเทศ สมาชิกจึงเสนอให้มีการทบทวนกลไกดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เห็นชอบต่อข้อเสนอที่จะให้ยกเลิกความแตกต่างระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการ โดยนับแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ในปี 2544 เป็นต้นไป จะมีเพียงการประชุมสุดยอดอาเซียนประจำปีในลักษณะ Working Summit แทนและประเทศที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนจะเป็นประเทศเดียวกับประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การหารือในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยข้อเสนอดังกล่าวนี้จะให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 4 ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
3. สาระสำคัญของการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งนี้ หัวข้อการหารือของผู้นำอาเซียน จะครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งท้าทายต่ออาเซียน (Challenges to ASEAN) อาทิ การแข่งขันด้าน เศรษฐกิจ ความสมานฉันท์ด้านการเมือง และปัญหาด้านสังคม เป็นต้น รวมทั้งการเผชิญกับสิ่งท้าทาย ต่าง ๆ ของอาเซียน (Meeting the Challenges) อาทิ การส่งเสริมบูรณาการของอาเซียนและความร่วมมือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับการประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี นั้น ประเด็นหารือจะครอบคลุมเรื่องอนาคตของภูมิภาคเอเชียตะวันออก และการ ส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคดังกล่าว นอกจากนี้ จะมีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง อาเซียนกับญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐเกาหลี เป็นรายประเทศด้วย ที่ประชุมฯ จะมีการ รับรองรายงานของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนเพื่อพิจารณาวิสัยทัศน์อาเซียนสู่ ค.ศ. 2020 (ASEAN Eminent Persons' Group on Vision 2020) โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้เสนอแนะความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาเซียนในหลายประเด็น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม การพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศ นอกภูมิภาค และการพัฒนาองค์กรอาเซียน ขณะเดียวกัน ที่ประชุมฯ จะรับทราบการดำเนินงานของกลุ่ม วิสัยทัศน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (East Asia Vision Group - EAVG) ซึ่งมีข้อเสนอหลายประการ อาทิ การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก การจัดตั้งกองทุนการเงินเอเชีย การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย ตะวันออก และการจัดตั้งกลไกที่เป็นรูปธรรมสำหรับความร่วมมือในภูมิภาค เป็นต้น
ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการนี้จะมีการลงนามในความตกลงของ อาเซียน 2 ฉบับ คือ 1) ร่างพิธีสารกำหนดรูปแบบสำหรับการชะลอการโอนย้ายสินค้าในบัญชียกเว้นการ ลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List-TEL) มาสู่บัญชีการลดภาษี (Inclusion List-IL) พิธีสารดังกล่าวกำหนดให้ประเทศสมาชิกสามารถขอชะลอการโอนย้ายสินค้าในบัญชี TEL เข้าในบัญชี IL เฉพาะสินค้า TEL อุตสาหกรรมในงวดสุดท้ายที่ทุกประเทศมีอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 หรือให้ประเทศสมาชิกสามารถระงับข้อลดหย่อนสำหรับสินค้าใน IL เป็นการชั่วคราว ซึ่งการจัดทำพิธีสารนี้ ถือว่าเป็นความคืบหน้าของ AFTA ในการจัดการกับปัญหาความขัดข้องของประเทศสมาชิกในการปฏิบัติตามพันธกรณี และ 2) ร่างกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) โดยให้เพิ่มข้อบทกำหนดให้ประเทศสมาชิกที่พร้อมจะเร่งดำเนินการตามความตกลง ฯ จากปี 2546 (ค.ศ. 2003) เป็นปี 2545 (ค.ศ. 2002) สามารถดำเนินการได้และให้ช่วยเหลือประเทศสมาชิกอื่น ๆ ที่ยังไม่พร้อมในการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินการดังกล่าวด้วย
4. บทบาทท่าทีและผลประโยชน์ของไทย ประเทศไทยได้มีบทบาทและเสนอแนวความคิดต่าง ๆ อย่างแข็งขันในกรอบการประชุม สุดยอดอาเซียนฯ เสมอมา โดยในการประชุมที่ผ่านมา ไทยได้เสนอให้มีการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียน ปี ค.ศ. 2020 (ASEAN Vision 2020) แนวความคิดในเรื่องสังคมเปิดและมีความเอื้ออาทรต่อกัน (open and caring societies) ดังที่บรรจุไว้ในวิสัยทัศน์อาเซียน ปี ค.ศ. 2020 แนวความคิดในเรื่องบูรณาการ ของอาเซียน (integration of ASEAN) ในขณะที่มีการขยายสมาชิกภาพมากขึ้น โดยให้ส่งเสริมปฎิสัมพันธ์ (enhanced interaction) ระหว่างกันมากขึ้น นอกจากนี้ ไทยยังได้พยายามมีบทบาทอย่างเต็มที่ในการเสนอเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาความร่วมมือในกรอบลุ่มน้ำโขงเพื่อลดความแตกต่างระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้ง การพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) และมหาวิทยาลัยเสมือนแห่งอาเซียน (ASEAN Virtual University) โดยอาศัยเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์และ เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ในการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย
การประชุมสุดยอดอาเซียนฯ ครั้งนี้ ประเทศไทยคงจะต้องมีบทบาทต่อไป โดยประเด็น สิ่งท้าทายต่ออาเซียนนั้น ไทยจะมุ่งเน้นในหลายระดับ กล่าวคือ ในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก อาเซียนจะต้องสร้างความเข้มแข็งเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน และจะต้องให้ประชาคมโลกมี ความเชื่อมั่นในพลวัตรทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ทั้งนี้ เนื่องจาก ปัจจุบันสิ่งที่ท้าทายต่ออาเซียนมีมากมาย เช่น การขจัดความยากจน การพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และปัญหาข้ามชาติต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับประเด็นการเผชิญกับสิ่งท้าทายของอาเซียน ไทยจะเน้นแนวทาง ระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การพัฒนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีชีวภาพที่จะนำไปสู่การพัฒนาด้านการเกษตร การพึ่งพาตนเองใน ด้านพลังงาน ตลอดจนการให้ความสำคัญต่อบทบาทของประชาชน เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผลของการ ประชุมครั้งนี้จะบรรลุเป็นรูปธรรมได้ หากประเทศสมาชิกมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ท้าทาย แต่ละประเทศอยู่ในขณะนี้ และจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและความรุ่งเรือง ให้กลับคืนสู่ภูมิภาคโดยเร็ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งให้ทราบถึงข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการประชุม ฯ ดังนี้
1. โครงสร้างและกลไกของอาเซียน อาเซียนได้จัดโครงสร้างการบริหารและมีกลไกการดำเนินงานขององค์กรเพื่อให้กิจกรรม ต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลตามนโยบายเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ การดำเนินงาน ของอาเซียนจะประกอบด้วยกลไกต่าง ๆ อาทิ การประชุมสุดยอดอาเซียนหรือการประชุมผู้นำรัฐบาล อาเซียน (ASEAN Summit) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (Post Ministerial Conferences) การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers Meeting) และ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอื่น ๆ (Other ASEAN Ministerial Meetings) เช่น เกษตร คมนาคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การศึกษา และพลังงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการประชุม ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสซึ่งเป็นกรอบหารือระดับปลัดกระทรวง และการประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน ซึ่งเป็นกรอบหารือระหว่างอธิบดีกรมอาเซียน รวมทั้งการประชุมระดับคณะกรรมการด้านต่างๆ อีกหลายสาขา
2. การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นกลไกระดับสูงสุดในการกำหนดทิศทางและริเริ่มกิจกรรม หรือแนวทางความร่วมมือใหม่ ๆ ของอาเซียน โดยจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการทุก ๆ 3 ปี จนถึง ปัจจุบันได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนมาแล้ว 6 ครั้ง (ครั้งล่าสุดได้จัดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม เมื่อปี 2541)
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนธันวาคม 2538 ที่กรุงเทพฯ ที่ประชุมได้มี มติให้จัด "การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ" ขึ้นทุกปี ยกเว้นในปีที่จะมีการจัดประชุมอย่าง เป็นทางการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้ เนื่องจาก สถานการณ์ของโลกได้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการนั้นจะไม่กำหนด หัวข้อการหารืออย่างตายตัวและจะไม่เน้นเรื่องพิธีการ การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการได้ จัดขึ้นมา 3 ครั้งแล้ว โดยจัดที่อินโดนีเซีย เมื่อปี 2539 มาเลเซีย เมื่อปี 2540 และฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2542 ซึ่งในครั้งนั้นผู้นำอาเซียนได้มีการหารือร่วมและแยกเป็นรายประเทศกับผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 4 จะจัดขึ้นที่ สิงคโปร์ ในช่วงวันที่ 24-25 พฤศจิกายน ศกนี้ โดยจะมีการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำของ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ด้วย
กลไกการประชุมสุดยอดอาเซียน "อย่างเป็นทางการ" และ "ไม่เป็นทางการ" นี้ได้สร้างความ สับสนแก่บุคคลทั่วไปเนื่องจากในทางปฏิบัติแล้ว มีความแตกต่างระหว่างทั้งสองการประชุมน้อยมาก ประเทศ สมาชิกจึงเสนอให้มีการทบทวนกลไกดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เห็นชอบต่อข้อเสนอที่จะให้ยกเลิกความแตกต่างระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการ โดยนับแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ในปี 2544 เป็นต้นไป จะมีเพียงการประชุมสุดยอดอาเซียนประจำปีในลักษณะ Working Summit แทนและประเทศที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนจะเป็นประเทศเดียวกับประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การหารือในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยข้อเสนอดังกล่าวนี้จะให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 4 ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
3. สาระสำคัญของการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งนี้ หัวข้อการหารือของผู้นำอาเซียน จะครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งท้าทายต่ออาเซียน (Challenges to ASEAN) อาทิ การแข่งขันด้าน เศรษฐกิจ ความสมานฉันท์ด้านการเมือง และปัญหาด้านสังคม เป็นต้น รวมทั้งการเผชิญกับสิ่งท้าทาย ต่าง ๆ ของอาเซียน (Meeting the Challenges) อาทิ การส่งเสริมบูรณาการของอาเซียนและความร่วมมือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับการประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี นั้น ประเด็นหารือจะครอบคลุมเรื่องอนาคตของภูมิภาคเอเชียตะวันออก และการ ส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคดังกล่าว นอกจากนี้ จะมีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง อาเซียนกับญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐเกาหลี เป็นรายประเทศด้วย ที่ประชุมฯ จะมีการ รับรองรายงานของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนเพื่อพิจารณาวิสัยทัศน์อาเซียนสู่ ค.ศ. 2020 (ASEAN Eminent Persons' Group on Vision 2020) โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้เสนอแนะความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาเซียนในหลายประเด็น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม การพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศ นอกภูมิภาค และการพัฒนาองค์กรอาเซียน ขณะเดียวกัน ที่ประชุมฯ จะรับทราบการดำเนินงานของกลุ่ม วิสัยทัศน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (East Asia Vision Group - EAVG) ซึ่งมีข้อเสนอหลายประการ อาทิ การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก การจัดตั้งกองทุนการเงินเอเชีย การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย ตะวันออก และการจัดตั้งกลไกที่เป็นรูปธรรมสำหรับความร่วมมือในภูมิภาค เป็นต้น
ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการนี้จะมีการลงนามในความตกลงของ อาเซียน 2 ฉบับ คือ 1) ร่างพิธีสารกำหนดรูปแบบสำหรับการชะลอการโอนย้ายสินค้าในบัญชียกเว้นการ ลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List-TEL) มาสู่บัญชีการลดภาษี (Inclusion List-IL) พิธีสารดังกล่าวกำหนดให้ประเทศสมาชิกสามารถขอชะลอการโอนย้ายสินค้าในบัญชี TEL เข้าในบัญชี IL เฉพาะสินค้า TEL อุตสาหกรรมในงวดสุดท้ายที่ทุกประเทศมีอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 หรือให้ประเทศสมาชิกสามารถระงับข้อลดหย่อนสำหรับสินค้าใน IL เป็นการชั่วคราว ซึ่งการจัดทำพิธีสารนี้ ถือว่าเป็นความคืบหน้าของ AFTA ในการจัดการกับปัญหาความขัดข้องของประเทศสมาชิกในการปฏิบัติตามพันธกรณี และ 2) ร่างกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) โดยให้เพิ่มข้อบทกำหนดให้ประเทศสมาชิกที่พร้อมจะเร่งดำเนินการตามความตกลง ฯ จากปี 2546 (ค.ศ. 2003) เป็นปี 2545 (ค.ศ. 2002) สามารถดำเนินการได้และให้ช่วยเหลือประเทศสมาชิกอื่น ๆ ที่ยังไม่พร้อมในการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินการดังกล่าวด้วย
4. บทบาทท่าทีและผลประโยชน์ของไทย ประเทศไทยได้มีบทบาทและเสนอแนวความคิดต่าง ๆ อย่างแข็งขันในกรอบการประชุม สุดยอดอาเซียนฯ เสมอมา โดยในการประชุมที่ผ่านมา ไทยได้เสนอให้มีการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียน ปี ค.ศ. 2020 (ASEAN Vision 2020) แนวความคิดในเรื่องสังคมเปิดและมีความเอื้ออาทรต่อกัน (open and caring societies) ดังที่บรรจุไว้ในวิสัยทัศน์อาเซียน ปี ค.ศ. 2020 แนวความคิดในเรื่องบูรณาการ ของอาเซียน (integration of ASEAN) ในขณะที่มีการขยายสมาชิกภาพมากขึ้น โดยให้ส่งเสริมปฎิสัมพันธ์ (enhanced interaction) ระหว่างกันมากขึ้น นอกจากนี้ ไทยยังได้พยายามมีบทบาทอย่างเต็มที่ในการเสนอเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาความร่วมมือในกรอบลุ่มน้ำโขงเพื่อลดความแตกต่างระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้ง การพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) และมหาวิทยาลัยเสมือนแห่งอาเซียน (ASEAN Virtual University) โดยอาศัยเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์และ เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ในการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย
การประชุมสุดยอดอาเซียนฯ ครั้งนี้ ประเทศไทยคงจะต้องมีบทบาทต่อไป โดยประเด็น สิ่งท้าทายต่ออาเซียนนั้น ไทยจะมุ่งเน้นในหลายระดับ กล่าวคือ ในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก อาเซียนจะต้องสร้างความเข้มแข็งเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน และจะต้องให้ประชาคมโลกมี ความเชื่อมั่นในพลวัตรทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ทั้งนี้ เนื่องจาก ปัจจุบันสิ่งที่ท้าทายต่ออาเซียนมีมากมาย เช่น การขจัดความยากจน การพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และปัญหาข้ามชาติต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับประเด็นการเผชิญกับสิ่งท้าทายของอาเซียน ไทยจะเน้นแนวทาง ระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การพัฒนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีชีวภาพที่จะนำไปสู่การพัฒนาด้านการเกษตร การพึ่งพาตนเองใน ด้านพลังงาน ตลอดจนการให้ความสำคัญต่อบทบาทของประชาชน เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผลของการ ประชุมครั้งนี้จะบรรลุเป็นรูปธรรมได้ หากประเทศสมาชิกมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ท้าทาย แต่ละประเทศอยู่ในขณะนี้ และจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและความรุ่งเรือง ให้กลับคืนสู่ภูมิภาคโดยเร็ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-