กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 34 และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (อาเซียน +3) ว่ามีความพอใจกับผลการประชุมครั้งนี้ เพราะเป็นการประชุมพหุภาคีที่มีผลเป็นรูปธรรมหลายประการ อันจะเป็นโอกาสให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันมากขึ้น สำหรับ ข้อเสนอสำคัญของไทยที่ได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 34 ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานการประชุม และ/หรือแถลงการณ์ร่วม มีดังนี้
1. การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามที่อาเซียนได้ตกลงร่นระยะเวลาการทำให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติดจากปี ค.ศ. 2020 เป็น ค.ศ. 2015 นั้น ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอของไทยที่ให้ปี ค.ศ. 2002-2003 เป็นปีแห่งการปลูกจิตสำนึกเรื่องยาเสพติดในอาเซียน (Asean Drugs Awareness Years) โดยจะมีการเตรียมการในปี ค.ศ. 2002 และดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์ป้องกัน ยาเสพติดตลอดปี ค.ศ. 2003
2. การให้ความสำคัญแก่ภาคประชาชนของอาเซียน ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอของไทยให้มีการพิจารณาแนวทางความร่วมมือเพื่อ ปรับปรุงและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข เพื่อให้สังคมของอาเซียนเป็นสังคมที่เอื้ออาทรและมีพัฒนาการที่ยั่งยืน
3. ความร่วมมือด้านการศึกษา ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีความร่วมมือและการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ ในอาเซียน เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในอาเซียนได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันการศึกษา
4. การประชุมความร่วมมือในเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue — ACD) ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของไทยเรื่องการประชุมความร่วมมือในเอเชีย (ACD) และเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ และสามารถกระทำได้โดยจะช่วยส่งเสริมบทบาทและความร่วมมือของ อาเซียน ที่ประชุมเห็นชอบให้บรรจุแนวคิดเรื่องนี้ไว้ในรายงานของการประชุม ซึ่งจะนำไปสู่การหารือร่วมกันในรายละเอียดต่อไป
5. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (อาเซียน + 3)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความพอใจกับความคืบหน้าของความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Swap Arrangement) และได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าคณะรัฐมนตรีของไทยได้ให้ความเห็นชอบข้อตกลงการแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคีระหว่างไทยและญี่ปุ่นแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับจีน นอกจากนั้น ฝ่ายไทยย้ำการสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนการเงินแห่งเอเชีย (Asia Monetary Fund)
ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวด้วยว่าฝ่ายจีนเห็นพ้องกับข้อเสนอของไทยที่ให้รัฐมนตรี ต่างประเทศรับบทบาทผู้ประสานงาน และดูภาพรวมของความสัมพันธ์ในกรอบอาเซียน + 3 ทั้งหมด เนื่องจากในปัจจุบันกรอบความร่วมมือของอาเซียน + 3 ได้ขยาย และมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ รับผิดชอบโดยเอกเทศซึ่งอาจทำให้ขาดการประสานงานในภาพรวมเท่าที่ควร นอกจากนั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ยังได้เสนอให้อาเซียน + 3 มีบทบาทร่วมกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องความริเริ่ม เพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for Asean Integration —IAI) ซึ่งที่ประชุมได้ตกลงที่จะพิจารณาร่วมกันต่อไป
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เชิญญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาลุ่มน้ำโขงระดับรัฐมนตรี (Asean Mekong Basin Development Cooperation — AMBDC) ซึ่งไทยเป็นประธาน และเป็นเวทีการประชุมเดียวที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด และจีนเข้าร่วมอยู่แล้ว ซึ่งหากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เข้าร่วมก็จะช่วยให้ความร่วมมือต่างๆ ของอาเซียนดำเนินไปใน แนวทางเดียวกัน นอกจากนี้ที่ประชุมได้ตกลงในหลักการกับข้อเสนอของไทยที่ให้เชิญประเทศทั้งสองเข้าร่วมในโครงการความร่วมมือป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของอาเซียนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 34 และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (อาเซียน +3) ว่ามีความพอใจกับผลการประชุมครั้งนี้ เพราะเป็นการประชุมพหุภาคีที่มีผลเป็นรูปธรรมหลายประการ อันจะเป็นโอกาสให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันมากขึ้น สำหรับ ข้อเสนอสำคัญของไทยที่ได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 34 ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานการประชุม และ/หรือแถลงการณ์ร่วม มีดังนี้
1. การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามที่อาเซียนได้ตกลงร่นระยะเวลาการทำให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติดจากปี ค.ศ. 2020 เป็น ค.ศ. 2015 นั้น ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอของไทยที่ให้ปี ค.ศ. 2002-2003 เป็นปีแห่งการปลูกจิตสำนึกเรื่องยาเสพติดในอาเซียน (Asean Drugs Awareness Years) โดยจะมีการเตรียมการในปี ค.ศ. 2002 และดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์ป้องกัน ยาเสพติดตลอดปี ค.ศ. 2003
2. การให้ความสำคัญแก่ภาคประชาชนของอาเซียน ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอของไทยให้มีการพิจารณาแนวทางความร่วมมือเพื่อ ปรับปรุงและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข เพื่อให้สังคมของอาเซียนเป็นสังคมที่เอื้ออาทรและมีพัฒนาการที่ยั่งยืน
3. ความร่วมมือด้านการศึกษา ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีความร่วมมือและการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ ในอาเซียน เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในอาเซียนได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันการศึกษา
4. การประชุมความร่วมมือในเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue — ACD) ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของไทยเรื่องการประชุมความร่วมมือในเอเชีย (ACD) และเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ และสามารถกระทำได้โดยจะช่วยส่งเสริมบทบาทและความร่วมมือของ อาเซียน ที่ประชุมเห็นชอบให้บรรจุแนวคิดเรื่องนี้ไว้ในรายงานของการประชุม ซึ่งจะนำไปสู่การหารือร่วมกันในรายละเอียดต่อไป
5. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (อาเซียน + 3)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความพอใจกับความคืบหน้าของความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Swap Arrangement) และได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าคณะรัฐมนตรีของไทยได้ให้ความเห็นชอบข้อตกลงการแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคีระหว่างไทยและญี่ปุ่นแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับจีน นอกจากนั้น ฝ่ายไทยย้ำการสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนการเงินแห่งเอเชีย (Asia Monetary Fund)
ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวด้วยว่าฝ่ายจีนเห็นพ้องกับข้อเสนอของไทยที่ให้รัฐมนตรี ต่างประเทศรับบทบาทผู้ประสานงาน และดูภาพรวมของความสัมพันธ์ในกรอบอาเซียน + 3 ทั้งหมด เนื่องจากในปัจจุบันกรอบความร่วมมือของอาเซียน + 3 ได้ขยาย และมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ รับผิดชอบโดยเอกเทศซึ่งอาจทำให้ขาดการประสานงานในภาพรวมเท่าที่ควร นอกจากนั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ยังได้เสนอให้อาเซียน + 3 มีบทบาทร่วมกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องความริเริ่ม เพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for Asean Integration —IAI) ซึ่งที่ประชุมได้ตกลงที่จะพิจารณาร่วมกันต่อไป
ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เชิญญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาลุ่มน้ำโขงระดับรัฐมนตรี (Asean Mekong Basin Development Cooperation — AMBDC) ซึ่งไทยเป็นประธาน และเป็นเวทีการประชุมเดียวที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด และจีนเข้าร่วมอยู่แล้ว ซึ่งหากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เข้าร่วมก็จะช่วยให้ความร่วมมือต่างๆ ของอาเซียนดำเนินไปใน แนวทางเดียวกัน นอกจากนี้ที่ประชุมได้ตกลงในหลักการกับข้อเสนอของไทยที่ให้เชิญประเทศทั้งสองเข้าร่วมในโครงการความร่วมมือป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของอาเซียนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-