กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้แทนพิเศษจะนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับโลกว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ (World Conference against Racism, Racial Discrimination, Xenophobia and Related Intolerance)
การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นตามข้อมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในปี 2540 สืบเนื่องมาจากปัญหาการเหยียดผิวและการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกอีกทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ อินเตอร์เน็ต เพื่อเผยแพร่ลัทธิความเกลียดชังระหว่างผิวหรือเชื้อชาติ การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเวทีให้ประเทศต่าง ๆ พิจารณาความก้าวหน้า และอุปสรรคในการดำเนินนโยบายในการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ และร่วมกันจัดตั้งมาตรการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนสำหรับการแก้ไขปัญหาการเลือกประติบัติ โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนประจำสหประชาชาติเป็นเลขานุการของการประชุมฯ และจะมีกิจกรรมคู่ขนาน เช่น เวทีการประชุมองค์กรเอกชน เวทีการประชุมเยาวชน และการเสวนาทางวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องระหว่างการประชุมฯ ด้วย ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ และกิจกรรมคู่ขนานประมาณ 12,000 คน
ไทยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ และรัฐบาลไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาตเพื่อเตรียมการเข้าร่วมการประชุมระดับโลกฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศเป็นประธาน มีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เช่น กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงกลาโหม เป็นต้น ในขณะนี้ คณะกรรมการฯ อยู่ในระหว่างการพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่งประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) ซึ่งถึงแม้ว่าไทยจะยังมิได้เป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว ไทยก็มีนโยบายสนับสนุนกิจกรรมของสหประชาชาติในด้านนี้มาตลอด กอปรกับมาตรา 29 และ 30 ของรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบันได้วางกรอบเป็นพื้นฐานที่สอดคล้องกับหลักการการไม่เลือกประติบัติ โดยห้ามมิให้มีการเลือกประติบัติโดยไม่เป็นธรรมแก่บุคคล เพราะความแตกต่างทางถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ ฯลฯ และกระทรวงยุติธรรมยังอยู่ในระหว่างยกร่างพระราชบัญญัติการเลือกประติบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพื่อเป็นการอนุวัติตามรัฐธรรมนูญด้วย
อนึ่ง หัวหน้าคณะผู้แทนไทยจะกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับโลกฯ ในวันที่ 3 กันยายน 2544 เพื่อแสดงท่าทีไทยต่อประเด็นเรื่องการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ ทั้งนี้ ผู้สนใจอาจดูรายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมระดับโลกฯ ได้ที่ website ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ www.uhchr.ch
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้แทนพิเศษจะนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับโลกว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ (World Conference against Racism, Racial Discrimination, Xenophobia and Related Intolerance)
การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นตามข้อมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในปี 2540 สืบเนื่องมาจากปัญหาการเหยียดผิวและการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกอีกทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ อินเตอร์เน็ต เพื่อเผยแพร่ลัทธิความเกลียดชังระหว่างผิวหรือเชื้อชาติ การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเวทีให้ประเทศต่าง ๆ พิจารณาความก้าวหน้า และอุปสรรคในการดำเนินนโยบายในการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ และร่วมกันจัดตั้งมาตรการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนสำหรับการแก้ไขปัญหาการเลือกประติบัติ โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนประจำสหประชาชาติเป็นเลขานุการของการประชุมฯ และจะมีกิจกรรมคู่ขนาน เช่น เวทีการประชุมองค์กรเอกชน เวทีการประชุมเยาวชน และการเสวนาทางวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องระหว่างการประชุมฯ ด้วย ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ และกิจกรรมคู่ขนานประมาณ 12,000 คน
ไทยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ และรัฐบาลไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาตเพื่อเตรียมการเข้าร่วมการประชุมระดับโลกฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศเป็นประธาน มีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เช่น กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงกลาโหม เป็นต้น ในขณะนี้ คณะกรรมการฯ อยู่ในระหว่างการพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่งประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) ซึ่งถึงแม้ว่าไทยจะยังมิได้เป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว ไทยก็มีนโยบายสนับสนุนกิจกรรมของสหประชาชาติในด้านนี้มาตลอด กอปรกับมาตรา 29 และ 30 ของรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบันได้วางกรอบเป็นพื้นฐานที่สอดคล้องกับหลักการการไม่เลือกประติบัติ โดยห้ามมิให้มีการเลือกประติบัติโดยไม่เป็นธรรมแก่บุคคล เพราะความแตกต่างทางถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ ฯลฯ และกระทรวงยุติธรรมยังอยู่ในระหว่างยกร่างพระราชบัญญัติการเลือกประติบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพื่อเป็นการอนุวัติตามรัฐธรรมนูญด้วย
อนึ่ง หัวหน้าคณะผู้แทนไทยจะกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับโลกฯ ในวันที่ 3 กันยายน 2544 เพื่อแสดงท่าทีไทยต่อประเด็นเรื่องการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ ทั้งนี้ ผู้สนใจอาจดูรายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมระดับโลกฯ ได้ที่ website ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ www.uhchr.ch
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-