1. สถานการณ์การผลิต
ปัจจุบันการเลี้ยงกุ้งใน จ.ตราด ลดลงมาก
รายงานข่าว แจ้งว่า ขณะนี้พื้นที่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในจังหวัดตราด ลดลงจากปี 2541 ประมาณ 50% โดยในปี 2542-2543 พื้นที่การเลี้ยงกุ้งไม่ได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคากุ้งจะโน้มสูงขึ้นก็ตาม เนื่องจากปี 2541 เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาโรคระบาดในกุ้ง เกิดภาวะการขาดทุนและไม่มีเงินเพียงพอที่จะทำการเลี้ยงรุ่นต่อไป จากพื้นที่เพาะเลี้ยงประมาณ 8,000-9,000 ไร่ ลดลงเหลือประมาณ 4,000 ไร่ ใน ปี 2542 เนื่องจากเกษตรกรกว่าร้อยละ 50 หันไปประกอบอาชีพอื่นแทนทำให้ผลผลิตกุ้งในปี 2542 ของจังหวัดตราดมีประมาณ 100-200 ตัน/เดือน ขณะที่ปี 2541 ผลิตได้ประมาณ 600-700 ตัน/เดือน
การเลี้ยงกุ้งให้ได้ผลนั้นเกษตรกรต้องใช้นักวิชาการประจำฟาร์มดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้กุ้งเกิดโรคระบาด และต้องมีการพัฒนาการเลี้ยงให้ลดต้นทุนมากที่สุด ลูกกุ้งที่นำมาเลี้ยงไม่ควรติดเชื้อเกิน 5% ถ้าติดเชื้อเกิน 15% อัตราการรอดจะน้อย และควรปล่อยลูกกุ้งเพียง 20,000-30,000 ตัว/ไร่เท่านั้น และที่สำคัญเกษตรกรจะเลี้ยงกุ้งได้อย่างยั่นยืนต้องมีการปรับตัวพัฒนาการเลี้ยงให้ทันยุคสมัยมีการติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (8 -13 มีค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,119.69 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 584.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 535.33 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.24 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.68 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 125.98 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 86.35 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 189.48 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ต่างประเทศขอซื้อปลาป่นไทยเพิ่มมากขึ้น
นายสมเกียรติ เหล่าทวีสุข นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย แจ้งว่าสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์และผู้นำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ไต้หวันได้ขอซื้อปลาป่นจากไทยโดยให้ส่งมอบทันทีจำนวน 1,000 ตัน และในเดือนธันวาคมอีก 19,000 ตัน ภายใต้เงื่อนไขจะต้องยึดราคาตลาดโลกเป็นเกณฑ์ในการส่งมอบสินค้าแต่ละล๊อต และจะต้องเป็นปลาป่นระดับโปรตีน 55-65% รวมทั้งขอให้ไทยส่งออกปลาป่นไปยังตลาดไต้หวันทุกปีปีละ 20,000 ตัน
นอกจากนี้สมาคมฯ ยังได้รับการติดต่อจากประเทศจีนเพื่อขอซื้อปลาป่นจำนวน 10,000 ตัน ภายใน 2 เดือนอีกด้วย แต่ยังไม่ตอบตกลง เนื่องจากมีปริมาณที่มากเกินไปโดยทางสมาคมฯต้องการศึกษาถึงผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศ เพราะ อาจจะทำให้ปริมาณปลาป่นในประเทศขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ใช้ปลาป่นในประเทศได้ ทั้งนี้อาจจะขอต่อรองให้เหลือเพียง 5,000 ตัน
จากสภาพการณ์ดังกล่าว คาดว่าน่าจะส่งผลให้ปัญหาราคาปลาป่นและปลาเป็ดที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้คลี่คลายดีขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.16 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.85 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.34 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 364.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 365.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 385.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 382.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.24 บาท ลดลงจาก 17.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.88 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.97 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.16 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 13-17 มีค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.24 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 13-19 มี.ค. 2543--
ปัจจุบันการเลี้ยงกุ้งใน จ.ตราด ลดลงมาก
รายงานข่าว แจ้งว่า ขณะนี้พื้นที่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในจังหวัดตราด ลดลงจากปี 2541 ประมาณ 50% โดยในปี 2542-2543 พื้นที่การเลี้ยงกุ้งไม่ได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคากุ้งจะโน้มสูงขึ้นก็ตาม เนื่องจากปี 2541 เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาโรคระบาดในกุ้ง เกิดภาวะการขาดทุนและไม่มีเงินเพียงพอที่จะทำการเลี้ยงรุ่นต่อไป จากพื้นที่เพาะเลี้ยงประมาณ 8,000-9,000 ไร่ ลดลงเหลือประมาณ 4,000 ไร่ ใน ปี 2542 เนื่องจากเกษตรกรกว่าร้อยละ 50 หันไปประกอบอาชีพอื่นแทนทำให้ผลผลิตกุ้งในปี 2542 ของจังหวัดตราดมีประมาณ 100-200 ตัน/เดือน ขณะที่ปี 2541 ผลิตได้ประมาณ 600-700 ตัน/เดือน
การเลี้ยงกุ้งให้ได้ผลนั้นเกษตรกรต้องใช้นักวิชาการประจำฟาร์มดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้กุ้งเกิดโรคระบาด และต้องมีการพัฒนาการเลี้ยงให้ลดต้นทุนมากที่สุด ลูกกุ้งที่นำมาเลี้ยงไม่ควรติดเชื้อเกิน 5% ถ้าติดเชื้อเกิน 15% อัตราการรอดจะน้อย และควรปล่อยลูกกุ้งเพียง 20,000-30,000 ตัว/ไร่เท่านั้น และที่สำคัญเกษตรกรจะเลี้ยงกุ้งได้อย่างยั่นยืนต้องมีการปรับตัวพัฒนาการเลี้ยงให้ทันยุคสมัยมีการติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (8 -13 มีค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,119.69 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 584.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 535.33 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.24 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.68 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 125.98 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 86.35 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 189.48 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ต่างประเทศขอซื้อปลาป่นไทยเพิ่มมากขึ้น
นายสมเกียรติ เหล่าทวีสุข นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย แจ้งว่าสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์และผู้นำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ไต้หวันได้ขอซื้อปลาป่นจากไทยโดยให้ส่งมอบทันทีจำนวน 1,000 ตัน และในเดือนธันวาคมอีก 19,000 ตัน ภายใต้เงื่อนไขจะต้องยึดราคาตลาดโลกเป็นเกณฑ์ในการส่งมอบสินค้าแต่ละล๊อต และจะต้องเป็นปลาป่นระดับโปรตีน 55-65% รวมทั้งขอให้ไทยส่งออกปลาป่นไปยังตลาดไต้หวันทุกปีปีละ 20,000 ตัน
นอกจากนี้สมาคมฯ ยังได้รับการติดต่อจากประเทศจีนเพื่อขอซื้อปลาป่นจำนวน 10,000 ตัน ภายใน 2 เดือนอีกด้วย แต่ยังไม่ตอบตกลง เนื่องจากมีปริมาณที่มากเกินไปโดยทางสมาคมฯต้องการศึกษาถึงผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศ เพราะ อาจจะทำให้ปริมาณปลาป่นในประเทศขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ใช้ปลาป่นในประเทศได้ ทั้งนี้อาจจะขอต่อรองให้เหลือเพียง 5,000 ตัน
จากสภาพการณ์ดังกล่าว คาดว่าน่าจะส่งผลให้ปัญหาราคาปลาป่นและปลาเป็ดที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้คลี่คลายดีขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.16 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.85 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.34 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 364.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 365.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 385.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 382.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.24 บาท ลดลงจาก 17.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.88 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.97 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.16 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 13-17 มีค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.24 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 13-19 มี.ค. 2543--