เศรษฐกิจการเงินภาคเหนือปี 2543 เบื้องต้นคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3-4 โดยปรับตัวดีขึ้นในหลายภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ ภาคการส่งออก ซึ่งในปีนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.2 (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 ปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่และการค้าชายแดน ส่วน การนำเข้า ก็เพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงร้อยละ 41.2 จากการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน เพื่อมาขยายกำลังการผลิต ทางด้านการผลิตส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ภาคเกษตร การผลิตยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ปีก่อน โดยพืชผลหลักเกือบทุกชนิดเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย การผลิตสาขาพืชผลเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ปีก่อน ขณะที่ราคาพืชผลเกษตรส่วนใหญ่ลดลงประมาณร้อยละ 7.0 ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงประมาณร้อยละ 3.0 ภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซรามิกที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารก็ขยายตัวในเกณฑ์ดีเช่นกัน แต่อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศส่วนใหญ่ยังไม่กระเตื้องขึ้น ขณะที่ ภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวยังขยายตัว โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยชะลอลง เนื่องจากระมัดระวังการใช้จ่ายและการจัดประชุมสัมมนาในภาคเหนือเริ่มลดลง
การลงทุนภาคเอกชน เริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกมีการขยายกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของต่างประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ทำให้ความต้องการลงทุนใหม่มีน้อย ส่วนการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ยังมีน้อย เนื่องจากอุปทานส่วนเกินมีมาก ในส่วนโครงการที่ได้หยุดชะงักลงแล้วเริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะหลังจากปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสถาบันการเงินเริ่มให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นบ้าง สำหรับ การใช้จ่ายภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากปีก่อน แต่เริ่มชะลอตัวลงมากในช่วงครึ่งหลังของปีเนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายประกอบกับแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากโครงการต่างๆ ของรัฐเริ่มลดลง ทางด้าน การใช้จ่ายภาครัฐ การใช้จ่ายเงินในงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 แต่เมื่อรวมรายจ่ายตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล (มิยาซาวา) รายจ่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.8
ภาคการเงิน ยอดคงค้างของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ โดยรวมยังคงต่ำกว่าสิ้นปีก่อนร้อยละ 11.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.2 ปีก่อน แต่เริ่มมีการให้สินเชื่อใหม่ในบางประเภท เช่น สินเชื่อเพื่อการส่งออก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อแรงงานต่างประเทศ สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างภาครัฐ ขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.2 ปีก่อน ทางด้าน ระดับราคา ราคาสินค้าสูงขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 ปีก่อน จากภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ลดลงมาก ช่วยให้ราคาสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นไม่มาก
ภาคเกษตร
ข้อมูลเบื้องต้นคาดว่าการผลิตภาคเกษตรในภาคเหนือปี 2543 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ประมาณร้อยละ 3.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ปีก่อน โดยผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.0 จากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำฝนมากและกระจายตัว และปริมาณน้ำในเขื่อนพอเพียง ส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น แม้ว่าในช่วงครึ่งหลังของปีพื้นที่เพาะปลูกในบางจังหวัดประสบอุทกภัย แต่พื้นที่เสียหายมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับเนื้อที่ปลูกรวม ผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็น 4.9 ล้านเมตริกตัน ข้าวนาปรัง ผลผลิตขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็น 1.7 ล้านเมตริกตัน อ้อยโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เป็น 12.7 ล้านเมตริกตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เป็น 2.3 ล้านเมตริกตัน มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เป็น 2.4 ล้านเมตริกตัน จากการขยายพื้นที่ปลูก หอมหัวใหญ่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 กระเทียม ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากการขยายพื้นที่ปลูก รวมทั้งมีการปลูกกระเทียมหัวใหญ่สายพันธุ์จากจีนเพื่อสนองความต้องการของตลาด หอมแดง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากราคาจูงใจ ลิ้นจี่ ผลผลิตจากแหล่งผลิตสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.2 เป็น 56.6 พันเมตริกตัน ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 149.0 เป็น 336.8 พันเมตริกตัน ขณะที่ ใบยาเวอร์จิเนีย และ ใบยาเบอร์เลย์ ผลผลิตลดลงร้อยละ 33.1 และร้อยละ 27.9 ตามลำดับ จากการลดโควตาของ
โรงงานยาสูบ
ราคาพืชผลสำคัญลดลงจากปีก่อนเกือบทุกพืช โดยลดลงประมาณร้อยละ 7.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.0 ปีก่อน ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น ข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% และ นาปรัง 14-15% ราคาลดลงร้อยละ 12.5 และร้อยละ 12.7 ตามลำดับ ตามราคาตลาดโลก อ้อยโรงงาน และ มันสำปะหลัง ราคาลดลงร้อยละ 3.3 และร้อยละ 37.0 ตามราคาในตลาดโลก หอมหัวใหญ่ และ กระเทียม ราคาลดลงร้อยละ 8.8 และ 7.4 ตามลำดับ จากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นและการลักลอบนำเข้า ส่วน หอมแดง และ ลำไย ราคาลดลงร้อยละ 29.1 และร้อยละ 46.2 ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ ข้าวโพด ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ตามความต้องการรับซื้อของโรงงานอาหารสัตว์ และ ลิ้นจี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น ในปีนี้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลสำคัญลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 3.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 19.0 ปีก่อน
นอกภาคเกษตร
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมปี 2543 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 11.5 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 13.9 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออกเป็นสำคัญ เช่น อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าทางการเกษตรแปรรูปและเซรามิก โดยการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวประมาณร้อยละ 37.0 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 29.0 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ขยายตัวทั้งจากประเทศในเขตเอเชีย ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ประกอบกับโรงงานหลายแห่งในนิคมอุตสาหกรรมได้ขยายกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองกับความต้องการจากต่างประเทศ ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรขยายตัวตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น ลำไย ลิ้นจี่ อุตสาหกรรมเซรามิกขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อนตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ทางด้านอุตสาหกรรมผลิตเพื่อตอบสนองภายในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาลขยายตัวร้อยละ 7.7 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 21.3 ระยะเดียวกันปีก่อนตามปริมาณผลผลิตอ้อย แม้จะเพิ่มขึ้นแต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าปีก่อน สังกะสี เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.0 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 ระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่การผลิตปูนซีเมนต์ยังคงหดตัวเนื่องจากการลงทุนภาครัฐลดลง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัว
ภาคเหมืองแร่
การผลิตภาคเหมืองแร่ปี 2543 คาดว่าจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 ปีก่อน ผลผลิต ลิกไนต์ ในเดือนมกราคม-พฤศจิกายนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 2.0 เหลือ 16.2 ล้านเมตริกตัน เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศลดลง การผลิต หินปูน เดือนมกราคม-พฤศจิกายน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.6 เหลือ 3.7 ล้านเมตริกตัน ตามภาวะการก่อสร้างที่ค่อนข้างซบเซา อีกทั้งการลงทุนใหม่มีน้อยเนื่องจากการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังเหลือมาก ขณะที่ผลผลิต น้ำมันดิบ ในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 เป็น 8.7 ล้านบาร์เรล เนื่องจากผลิตเต็มกำลังแล้ว แม้ว่าจะมีการค้นหาหลุมใหม่เพื่อทำการผลิตเพิ่มจากราคาน้ำมันที่จูงใจ แต่ก็ไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้มากนัก ส่วนการผลิต ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 เป็น 21.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนน้ำมันเตาที่มีราคาสูงขึ้น
ภาคบริการ
ภาคบริการยังคงแสดงแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากปัจจัยด้านการใช้จ่าย ทางภาคเอกชน และการขยายตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในภาคเหนือตอนบน จำนวนนักท่องเที่ยวในช่วง 9 เดือน ปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 4.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ในปีก่อน โดยทั้งหมดเป็นการเพิ่มขึ้นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เช่น การท่องเที่ยวแบบ Long Stay ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา การพักแรมแบบ Home Stay ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป ส่วนการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซียในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2543 ก็มีผลดีต่อการท่องเที่ยวไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 2 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชะลอตัวลง โดยเฉพาะจากยุโรป ส่วนหนึ่งเพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินยูโรที่อ่อนตัว ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยลดลงร้อยละ 1.3 ในช่วง 9 เดือนแรก จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 4 สำหรับจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 เป็น 3.0 ล้านคน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.5 ช่วงเดียวกันปีก่อนตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีการปรับค่าโดยสารเครื่องบินแต่ก็มีผลกระทบน้อยมากเนื่องจากความต้องการเดินทางโดยเครื่องบินยังมีสูง
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากปลายปีก่อน แต่เริ่มชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี จากการที่ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ รวมทั้งแรงกระตุ้นจากมาตรการของรัฐจากโครงการมิยาซาวาอ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม ยอดจดทะเบียนรถยนต์เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เป็น 22,813 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 ช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1 เป็น 117,965 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.2 ช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ การจูงใจผู้บริโภคด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ และระยะเวลาผ่อนชำระนาน รวมทั้งการเสนอบริการพิเศษหลังการขาย ภาษีมูลค่าเพิ่ม (คำนวณจากฐานภาษีร้อยละ 7) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในปีก่อน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.1 ช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 มียอดคงค้าง 37,739.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.0 เทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 9.1 ในปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง
การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก มีการขยายกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมที่ผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ทำให้ความต้องการลงทุนใหม่มีน้อย สำหรับโรงงานที่จดทะเบียนตั้งใหม่ เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 มีจำนวน 486 โรงงาน เงินลงทุน 2,833.7 ล้านบาท เทียบกับจำนวน 564 โรงงาน เงินลงทุน 4,222.7 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อนขณะที่โรงงานที่จดทะเบียนเลิกกิจการมีจำนวน 204 โรงงาน เงินลงทุน 706.3 ล้านบาท เทียบกับ 255 โรงงาน เงินลงทุน 701.1 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความสนใจลงทุนมีทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้กิจการที่ได้รับ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนขยายตัวในเกณฑ์สูง โดยในปี 2543 มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำนวน 65 ราย เงินลงทุน 12,394.9 ล้านบาท เทียบกับ 42 ราย เงินลงทุน 5,522.5 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิต เสื้อผ้าสำเร็จรูป การผลิตเลนส์และการเจียระไนอัญมณี รองลงมาได้แก่ เกษตรกรรมและผลิตผลการ เกษตร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เป็น 440,102 ตารางเมตร เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 29.4 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ก่อสร้างประเภทพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย และบริการ เป็นสำคัญ สำหรับสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2543 มียอดคงค้าง 13,769.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.4 ระยะเดียวกันปีก่อน และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มียอดคงค้างทั้งสิ้น 10,579.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.3 ระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับ ภาวะการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงซบเซา เนื่องจากอุปทานส่วนเกินที่เหลืออยู่มาก ในส่วนของโครงการที่ได้หยุดชะงักลงแล้วเริ่มมีความเคลื่อนไหวบ้าง โดยเฉพาะหลังจากการเจรจาปรับปรุง โครงสร้างหนี้ สำหรับการลงทุนภาครัฐในปี 2543 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 เหลือ 37,065 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.8 ปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือปี 2543 (มกราคม-ธันวาคม 2543) ในส่วนของเงินงบประมาณขาดดุล 98,112.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 94,979.2 ล้านบาทปีก่อน
รายได้ที่รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 20 แห่งในภาคเหนือ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 7.8 เหลือ 10,094.8 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 19.8 ปีก่อน จากรายได้ที่จัดเก็บจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงเป็นสำคัญ โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 15.7 เหลือ 3,611.0 ล้านบาท ลดลงมากในส่วนที่จัดเก็บจากเงินได้ดอกเบี้ยถึงร้อยละ 38.3 ปีก่อน จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 6.7 เหลือ 3,007.4 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 เป็น 1,710.2 ล้านบาท ส่วนหนึ่งจากการเร่งรัดชำระภาษีและธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการส่งออก
รายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.2 เป็น 108,206.8 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำเป็นสำคัญ โดยรายจ่ายประจำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เป็น 71,141.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในหมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดรายจ่ายอื่นและ งบกลางร้อยละ 22.9 ร้อยละ 16.7 และร้อยละ 11.5 เป็น 1,925.9 ล้านบาท 1,591.6 ล้านบาท และ 12,745.4 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่รายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 1.1 เหลือ 37,065.0 ล้านบาท จาก หมวดเงินอุดหนุนและครุภัณฑ์ฯที่ลดลงร้อยละ 15.6 และร้อยละ 10.6 เหลือ 13,511.8 ล้านบาท และ 15,156.6 ล้านบาท ตามลำดับ รายจ่ายจากงบประมาณภาครัฐเมื่อรวมกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่ม การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ที่เบิกจ่ายในปี 2543 จำนวน 1,382.6 ล้านบาทแล้ว ยอดรวมรายจ่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.8 เหลือ 109,589.4 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ปีก่อน
ทางด้านรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 (เมษายน 2542 - ธันวาคม 2543) มีวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 8,458.1 ล้านบาท ได้เบิกจ่ายทั้งสิ้น 8,176.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.7 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ เงินที่ได้เบิกจ่ายไปแล้วกว่าร้อยละ 60 ใช้ในโครงการเพื่อการจ้างงาน เช่น โครงการขุดลอกคูคลอง หรือซ่อมแซมลำคลองชลประทาน โครงการจ้างบัณฑิตใหม่เป็นลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ ส่วนวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงการก่อสร้างซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ หรือโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วและมีเงินเหลือรอส่งคืนให้กับกรมบัญชีกลาง
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ในปี 2543 มีมูลค่า 1,358.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 36.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 54,341.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 44.5) เพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ และการส่งออกสินค้าผ่านชายแดน โดย การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 1,155.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 46,291.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.4) เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ดีขึ้น และความต้องการบริโภคสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งโรงงานหลายแห่งขยายกำลังการผลิตในช่วงปีก่อนและต้นปีนี้ทำให้รองรับคำสั่งซื้อได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปีตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ส่วนการส่งออกนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีมูลค่า 154.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 6,185.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 36.1) จากการส่งออกลำไยช่วงไตรมาสที่สามและสี่เป็นสำคัญ อีกทั้งยังเป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีความสามารถในการแข่งขันด้านราคามากขึ้น และผู้ประกอบการได้เริ่มใช้การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มากขึ้น การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 8,050.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.2 ในปีก่อน โดย การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 6,636.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35.9 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.4 ในปีก่อน จากการที่ทางการพม่าจัดระเบียบการค้าชายแดนเพื่อเร่งรัดการจัดเก็บภาษี ส่วน การส่งออกไปลาว มีมูลค่า 562.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.7 เนื่องจากความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าเงินกีบค่อนข้างมีเสถียรภาพ ส่วน การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 851.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัว แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าตัวในปีก่อนจากการส่งออกลำไยอบแห้ง เมล็ดข้าวโพดในน้ำเกลือ และยางรถยนต์เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ในปี 2543 มีมูลค่า 1,171.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 46,879.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 50.0) โดย การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 1,128.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 45,186.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 53.2) ตามความต้องการวัตถุดิบและเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ด้าน การนำเข้าผ่านด่านชายแดน มีมูลค่า 1,693.4 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.8 ในปีก่อน ลดลงจากการนำเข้าจากจีน(ตอนใต้) เป็นสำคัญ โดย การนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) ลดลงถึงร้อยละ 29.7 เหลือ 302.5 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการนำเข้าแอ๊ปเปิลลดลงเพราะมีแอ๊ปเปิลคุณภาพดีจากสหรัฐอเมริกา ยุโรปและนิวซีแลนด์ทดแทน ส่วน การนำเข้าจากพม่า เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.5 เป็น 931.6 ล้านบาท เนื่องจากไทยมีความต้องการนำเข้าโค-กระบือ และอัญมณี เพิ่มขึ้น ขณะที่ การนำเข้าจากลาว เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.5 เป็น 459.3 ล้านบาท โดยนำเข้าโค-กระบือ และไม้ซุงเพิ่มขึ้น
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.9 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มในอัตราร้อยละ 3.8 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.8
หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.8 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 8.7 โดยเฉพาะราคาสินค้ากลุ่มยานพาหนะมีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.1 ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก รองลงมาได้แก่หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากการเพิ่มขึ้นของค่าบริการส่วนบุคคล หมวดเคหะสถานราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากการเพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ำประปาถึงร้อยละ 5.6 ซึ่งปรับราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำมัน หมวดเครื่องนุ่งห่มราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากราคาผ้าและบริการตัดเย็บที่สูงขึ้น หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ส่วนหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ราคาเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 0.8 เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.8 ตามการลดลงของราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดที่ลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 8.0 เนื่องจากการแข่งขันของผู้ประกอบการ รองลงมาได้แก่ ราคาสินค้ากลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ลดลงร้อยละ 6.8 กลุ่มผักและผลไม้ราคาลดลงร้อยละ 6.3 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำราคาลดลงร้อยละ 4.3 เนื่องจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนที่เอื้ออำนวยทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก และกลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ราคาลดลงร้อยละ 1.3 จากภาวะการแข่งขันของผู้ประกอบการ ขณะที่กลุ่มอาหารที่ซื้อบริโภคราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะต้นทุนด้านเชื้อเพลิงและค่าการขนส่งที่สูงขึ้น
ดัชนีราคาขายส่ง
ดัชนีราคาขายส่งของภาคเหนือในปี 2543 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.3 เป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้าในหมวดสินค้าเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหารร้อยละ 3.8 ขณะที่ราคาหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
หมวดสินค้าเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหาร ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.8 เป็นผลจากการลดลงของราคากลุ่มสินค้าเกษตรกรรมมากที่สุดถึงร้อยละ 11.0 รองลงมาได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 3.2 กลุ่มอาหารสัตว์ลดลงร้อยละ 0.2 จากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากการเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องดื่มประเภทที่มีแอลกอฮอล์เป็นสำคัญ
หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ราคาเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.2 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมากที่สุดถึงร้อยละ 37.9 ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาได้แก่ สินค้ากลุ่มหนังสัตว์และผลิตภัณฑ์หนังราคาเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.7 เนื่องจากตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้นทำให้วัตถุดิบประเภทหนังดิบมีราคาสูงขึ้น ขณะที่สินค้าเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีมีราคาลดลงร้อยละ 5.5 เนื่องจากมีการแข่งขันกันลดราคาเพื่อระบายสินค้า เช่น สินค้ากลุ่มสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอราคาลดลงร้อยละ 0.7 ราคาสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 การเงินการธนาคาร
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 เงินฝาก ของสาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 273,754.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18,232.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.2 ปีก่อน ส่วนหนึ่งจากเงินฝากที่ประชาชนได้ถอนออกไปในช่วงสิ้นปีก่อน เพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเพิ่มขึ้น และผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินและบัตรเงินฝากในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งครบกำหนดในเดือนสิงหาคม 2543 ที่ผ่านมา นำเงินบางส่วนมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดกำแพงเพชร ลำพูน น่าน แม่ฮ่องสอน และพิษณุโลก
ทางด้าน สินเชื่อ ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 มียอดคงค้าง 180,403.7 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 11.6 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังการให้สินเชื่อ ประกอบกับความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทำให้ลูกหนี้มีการชำระคืนหนี้บางส่วน อีกทั้งมีการโอนสินเชื่อบางส่วนไปบริหารที่ส่วนกลาง และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) รวมทั้งการตัดจำหน่ายลูกหนี้จากการที่ธนาคารพาณิชย์กันสำรองได้ครบแล้ว อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีการให้สินเชื่อใหม่เข้าสู่ระบบ จากผลของการปรับโครงสร้างหนี้และการขยายตัวของบางธุรกิจ เช่น สินเชื่อส่งออก สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อเพื่อการแปรรูปสินค้าเกษตร สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและแรงงานต่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดอุตรดิตถ์ นครสวรรค์ พะเยา เชียงใหม่ และลำปาง
ทางด้าน อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ในปี 2543 มีแนวโน้มลดลงเป็นลำดับ ตามสภาพคล่องของระบบการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ยังอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.00 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.75-4.00 ต่อปี จากสิ้นปีก่อน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.50-8.25 ต่อปี ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 8.25-8.75 ต่อปี จากสิ้นปีก่อน
ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักงานหักบัญชีในภาคเหนือ ปี 2543 มีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 4,290,137 ฉบับ มูลค่า 281,363.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ ทางด้านปริมาณและมูลค่าเช็คคืนลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.3 และร้อยละ 11.1 เหลือ 82,122 ฉบับ มูลค่า 4,536.8 ล้านบาท ในปีนี้ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.6 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บ ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.8 ปีก่อน
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2544
คาดว่าเศรษฐกิจภาคเหนือจะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปี 2543 คือ ในอัตราประมาณร้อยละ 3-4 โดยการผลิตภาคเกษตรซึ่งเป็นภาคการผลิตที่สำคัญ คาดว่าการผลิตจะขยายตัวเนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีเพียงพอต่อการปลูกพืชฤดูแล้งโดยเฉพาะข้าวนาปรัง อย่างไรก็ดี สำหรับผลผลิตไม้ผลบางชนิดเช่น ลิ้นจี่ และลำไย อาจได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศที่ปีนี้หนาวเย็นไม่เพียงพอ ด้านการท่องเที่ยว คาดว่าจะขยายตัวได้ดีเนื่องจากค่าเงินบาทที่เอื้ออำนวยและผู้ประกอบการได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆ สำหรับ ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวโดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมส่งออกซึ่งบางประเภทอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซรามิกได้ขยายกำลังผลิตในปี 2543 แต่ผู้ประกอบการส่งออกคงต้องแข่งขันทางด้านตลาดมากขึ้น จากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจปี 2544 จะขยายตัวได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัย สนับสนุนสำคัญหลายด้านได้แก่ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค มาตรการภาครัฐในการกระตุ้นการใช้จ่าย กลไกการทำงานด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งหากสามารถทำงานได้ดีขึ้นโดยเฉพาะจากความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน ก็จะทำให้ปัญหาสภาพคล่องของธุรกิจผ่อนคลายลง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สมบูรณ์ขึ้นที่จะทำให้เศรษฐกิจภาคเหนือสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องในปี 2544
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
การลงทุนภาคเอกชน เริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกมีการขยายกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของต่างประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ทำให้ความต้องการลงทุนใหม่มีน้อย ส่วนการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ยังมีน้อย เนื่องจากอุปทานส่วนเกินมีมาก ในส่วนโครงการที่ได้หยุดชะงักลงแล้วเริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะหลังจากปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสถาบันการเงินเริ่มให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นบ้าง สำหรับ การใช้จ่ายภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากปีก่อน แต่เริ่มชะลอตัวลงมากในช่วงครึ่งหลังของปีเนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายประกอบกับแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากโครงการต่างๆ ของรัฐเริ่มลดลง ทางด้าน การใช้จ่ายภาครัฐ การใช้จ่ายเงินในงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 แต่เมื่อรวมรายจ่ายตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล (มิยาซาวา) รายจ่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.8
ภาคการเงิน ยอดคงค้างของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ โดยรวมยังคงต่ำกว่าสิ้นปีก่อนร้อยละ 11.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.2 ปีก่อน แต่เริ่มมีการให้สินเชื่อใหม่ในบางประเภท เช่น สินเชื่อเพื่อการส่งออก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อแรงงานต่างประเทศ สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างภาครัฐ ขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.2 ปีก่อน ทางด้าน ระดับราคา ราคาสินค้าสูงขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 ปีก่อน จากภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ลดลงมาก ช่วยให้ราคาสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นไม่มาก
ภาคเกษตร
ข้อมูลเบื้องต้นคาดว่าการผลิตภาคเกษตรในภาคเหนือปี 2543 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ประมาณร้อยละ 3.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ปีก่อน โดยผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.0 จากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำฝนมากและกระจายตัว และปริมาณน้ำในเขื่อนพอเพียง ส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น แม้ว่าในช่วงครึ่งหลังของปีพื้นที่เพาะปลูกในบางจังหวัดประสบอุทกภัย แต่พื้นที่เสียหายมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับเนื้อที่ปลูกรวม ผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็น 4.9 ล้านเมตริกตัน ข้าวนาปรัง ผลผลิตขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็น 1.7 ล้านเมตริกตัน อ้อยโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เป็น 12.7 ล้านเมตริกตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เป็น 2.3 ล้านเมตริกตัน มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เป็น 2.4 ล้านเมตริกตัน จากการขยายพื้นที่ปลูก หอมหัวใหญ่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 กระเทียม ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากการขยายพื้นที่ปลูก รวมทั้งมีการปลูกกระเทียมหัวใหญ่สายพันธุ์จากจีนเพื่อสนองความต้องการของตลาด หอมแดง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากราคาจูงใจ ลิ้นจี่ ผลผลิตจากแหล่งผลิตสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.2 เป็น 56.6 พันเมตริกตัน ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 149.0 เป็น 336.8 พันเมตริกตัน ขณะที่ ใบยาเวอร์จิเนีย และ ใบยาเบอร์เลย์ ผลผลิตลดลงร้อยละ 33.1 และร้อยละ 27.9 ตามลำดับ จากการลดโควตาของ
โรงงานยาสูบ
ราคาพืชผลสำคัญลดลงจากปีก่อนเกือบทุกพืช โดยลดลงประมาณร้อยละ 7.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.0 ปีก่อน ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น ข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% และ นาปรัง 14-15% ราคาลดลงร้อยละ 12.5 และร้อยละ 12.7 ตามลำดับ ตามราคาตลาดโลก อ้อยโรงงาน และ มันสำปะหลัง ราคาลดลงร้อยละ 3.3 และร้อยละ 37.0 ตามราคาในตลาดโลก หอมหัวใหญ่ และ กระเทียม ราคาลดลงร้อยละ 8.8 และ 7.4 ตามลำดับ จากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นและการลักลอบนำเข้า ส่วน หอมแดง และ ลำไย ราคาลดลงร้อยละ 29.1 และร้อยละ 46.2 ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ ข้าวโพด ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ตามความต้องการรับซื้อของโรงงานอาหารสัตว์ และ ลิ้นจี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น ในปีนี้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลสำคัญลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 3.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 19.0 ปีก่อน
นอกภาคเกษตร
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมปี 2543 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 11.5 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 13.9 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออกเป็นสำคัญ เช่น อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าทางการเกษตรแปรรูปและเซรามิก โดยการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวประมาณร้อยละ 37.0 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 29.0 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ขยายตัวทั้งจากประเทศในเขตเอเชีย ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ประกอบกับโรงงานหลายแห่งในนิคมอุตสาหกรรมได้ขยายกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองกับความต้องการจากต่างประเทศ ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรขยายตัวตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น ลำไย ลิ้นจี่ อุตสาหกรรมเซรามิกขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อนตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ทางด้านอุตสาหกรรมผลิตเพื่อตอบสนองภายในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาลขยายตัวร้อยละ 7.7 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 21.3 ระยะเดียวกันปีก่อนตามปริมาณผลผลิตอ้อย แม้จะเพิ่มขึ้นแต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าปีก่อน สังกะสี เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.0 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 ระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่การผลิตปูนซีเมนต์ยังคงหดตัวเนื่องจากการลงทุนภาครัฐลดลง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัว
ภาคเหมืองแร่
การผลิตภาคเหมืองแร่ปี 2543 คาดว่าจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 ปีก่อน ผลผลิต ลิกไนต์ ในเดือนมกราคม-พฤศจิกายนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 2.0 เหลือ 16.2 ล้านเมตริกตัน เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศลดลง การผลิต หินปูน เดือนมกราคม-พฤศจิกายน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.6 เหลือ 3.7 ล้านเมตริกตัน ตามภาวะการก่อสร้างที่ค่อนข้างซบเซา อีกทั้งการลงทุนใหม่มีน้อยเนื่องจากการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังเหลือมาก ขณะที่ผลผลิต น้ำมันดิบ ในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 เป็น 8.7 ล้านบาร์เรล เนื่องจากผลิตเต็มกำลังแล้ว แม้ว่าจะมีการค้นหาหลุมใหม่เพื่อทำการผลิตเพิ่มจากราคาน้ำมันที่จูงใจ แต่ก็ไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้มากนัก ส่วนการผลิต ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 เป็น 21.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนน้ำมันเตาที่มีราคาสูงขึ้น
ภาคบริการ
ภาคบริการยังคงแสดงแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากปัจจัยด้านการใช้จ่าย ทางภาคเอกชน และการขยายตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในภาคเหนือตอนบน จำนวนนักท่องเที่ยวในช่วง 9 เดือน ปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 4.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ในปีก่อน โดยทั้งหมดเป็นการเพิ่มขึ้นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เช่น การท่องเที่ยวแบบ Long Stay ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา การพักแรมแบบ Home Stay ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป ส่วนการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซียในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2543 ก็มีผลดีต่อการท่องเที่ยวไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 2 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชะลอตัวลง โดยเฉพาะจากยุโรป ส่วนหนึ่งเพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินยูโรที่อ่อนตัว ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยลดลงร้อยละ 1.3 ในช่วง 9 เดือนแรก จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 4 สำหรับจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 เป็น 3.0 ล้านคน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.5 ช่วงเดียวกันปีก่อนตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีการปรับค่าโดยสารเครื่องบินแต่ก็มีผลกระทบน้อยมากเนื่องจากความต้องการเดินทางโดยเครื่องบินยังมีสูง
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากปลายปีก่อน แต่เริ่มชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี จากการที่ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ รวมทั้งแรงกระตุ้นจากมาตรการของรัฐจากโครงการมิยาซาวาอ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม ยอดจดทะเบียนรถยนต์เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เป็น 22,813 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 ช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1 เป็น 117,965 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.2 ช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ การจูงใจผู้บริโภคด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ และระยะเวลาผ่อนชำระนาน รวมทั้งการเสนอบริการพิเศษหลังการขาย ภาษีมูลค่าเพิ่ม (คำนวณจากฐานภาษีร้อยละ 7) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในปีก่อน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.1 ช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 มียอดคงค้าง 37,739.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.0 เทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 9.1 ในปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง
การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก มีการขยายกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมที่ผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ทำให้ความต้องการลงทุนใหม่มีน้อย สำหรับโรงงานที่จดทะเบียนตั้งใหม่ เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 มีจำนวน 486 โรงงาน เงินลงทุน 2,833.7 ล้านบาท เทียบกับจำนวน 564 โรงงาน เงินลงทุน 4,222.7 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อนขณะที่โรงงานที่จดทะเบียนเลิกกิจการมีจำนวน 204 โรงงาน เงินลงทุน 706.3 ล้านบาท เทียบกับ 255 โรงงาน เงินลงทุน 701.1 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความสนใจลงทุนมีทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้กิจการที่ได้รับ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนขยายตัวในเกณฑ์สูง โดยในปี 2543 มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำนวน 65 ราย เงินลงทุน 12,394.9 ล้านบาท เทียบกับ 42 ราย เงินลงทุน 5,522.5 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิต เสื้อผ้าสำเร็จรูป การผลิตเลนส์และการเจียระไนอัญมณี รองลงมาได้แก่ เกษตรกรรมและผลิตผลการ เกษตร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เป็น 440,102 ตารางเมตร เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 29.4 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ก่อสร้างประเภทพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย และบริการ เป็นสำคัญ สำหรับสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2543 มียอดคงค้าง 13,769.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.4 ระยะเดียวกันปีก่อน และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มียอดคงค้างทั้งสิ้น 10,579.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.3 ระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับ ภาวะการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงซบเซา เนื่องจากอุปทานส่วนเกินที่เหลืออยู่มาก ในส่วนของโครงการที่ได้หยุดชะงักลงแล้วเริ่มมีความเคลื่อนไหวบ้าง โดยเฉพาะหลังจากการเจรจาปรับปรุง โครงสร้างหนี้ สำหรับการลงทุนภาครัฐในปี 2543 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 เหลือ 37,065 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.8 ปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือปี 2543 (มกราคม-ธันวาคม 2543) ในส่วนของเงินงบประมาณขาดดุล 98,112.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 94,979.2 ล้านบาทปีก่อน
รายได้ที่รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 20 แห่งในภาคเหนือ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 7.8 เหลือ 10,094.8 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 19.8 ปีก่อน จากรายได้ที่จัดเก็บจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงเป็นสำคัญ โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 15.7 เหลือ 3,611.0 ล้านบาท ลดลงมากในส่วนที่จัดเก็บจากเงินได้ดอกเบี้ยถึงร้อยละ 38.3 ปีก่อน จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 6.7 เหลือ 3,007.4 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 เป็น 1,710.2 ล้านบาท ส่วนหนึ่งจากการเร่งรัดชำระภาษีและธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการส่งออก
รายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.2 เป็น 108,206.8 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำเป็นสำคัญ โดยรายจ่ายประจำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เป็น 71,141.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในหมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดรายจ่ายอื่นและ งบกลางร้อยละ 22.9 ร้อยละ 16.7 และร้อยละ 11.5 เป็น 1,925.9 ล้านบาท 1,591.6 ล้านบาท และ 12,745.4 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่รายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 1.1 เหลือ 37,065.0 ล้านบาท จาก หมวดเงินอุดหนุนและครุภัณฑ์ฯที่ลดลงร้อยละ 15.6 และร้อยละ 10.6 เหลือ 13,511.8 ล้านบาท และ 15,156.6 ล้านบาท ตามลำดับ รายจ่ายจากงบประมาณภาครัฐเมื่อรวมกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่ม การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ที่เบิกจ่ายในปี 2543 จำนวน 1,382.6 ล้านบาทแล้ว ยอดรวมรายจ่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.8 เหลือ 109,589.4 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ปีก่อน
ทางด้านรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 (เมษายน 2542 - ธันวาคม 2543) มีวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 8,458.1 ล้านบาท ได้เบิกจ่ายทั้งสิ้น 8,176.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.7 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ เงินที่ได้เบิกจ่ายไปแล้วกว่าร้อยละ 60 ใช้ในโครงการเพื่อการจ้างงาน เช่น โครงการขุดลอกคูคลอง หรือซ่อมแซมลำคลองชลประทาน โครงการจ้างบัณฑิตใหม่เป็นลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ ส่วนวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงการก่อสร้างซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ หรือโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วและมีเงินเหลือรอส่งคืนให้กับกรมบัญชีกลาง
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ในปี 2543 มีมูลค่า 1,358.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 36.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 54,341.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 44.5) เพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ และการส่งออกสินค้าผ่านชายแดน โดย การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 1,155.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 46,291.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.4) เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ดีขึ้น และความต้องการบริโภคสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งโรงงานหลายแห่งขยายกำลังการผลิตในช่วงปีก่อนและต้นปีนี้ทำให้รองรับคำสั่งซื้อได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปีตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ส่วนการส่งออกนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีมูลค่า 154.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 6,185.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 36.1) จากการส่งออกลำไยช่วงไตรมาสที่สามและสี่เป็นสำคัญ อีกทั้งยังเป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีความสามารถในการแข่งขันด้านราคามากขึ้น และผู้ประกอบการได้เริ่มใช้การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มากขึ้น การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 8,050.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.2 ในปีก่อน โดย การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 6,636.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35.9 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.4 ในปีก่อน จากการที่ทางการพม่าจัดระเบียบการค้าชายแดนเพื่อเร่งรัดการจัดเก็บภาษี ส่วน การส่งออกไปลาว มีมูลค่า 562.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.7 เนื่องจากความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าเงินกีบค่อนข้างมีเสถียรภาพ ส่วน การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 851.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัว แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าตัวในปีก่อนจากการส่งออกลำไยอบแห้ง เมล็ดข้าวโพดในน้ำเกลือ และยางรถยนต์เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ในปี 2543 มีมูลค่า 1,171.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 46,879.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 50.0) โดย การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 1,128.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 45,186.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 53.2) ตามความต้องการวัตถุดิบและเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ด้าน การนำเข้าผ่านด่านชายแดน มีมูลค่า 1,693.4 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.8 ในปีก่อน ลดลงจากการนำเข้าจากจีน(ตอนใต้) เป็นสำคัญ โดย การนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) ลดลงถึงร้อยละ 29.7 เหลือ 302.5 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการนำเข้าแอ๊ปเปิลลดลงเพราะมีแอ๊ปเปิลคุณภาพดีจากสหรัฐอเมริกา ยุโรปและนิวซีแลนด์ทดแทน ส่วน การนำเข้าจากพม่า เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.5 เป็น 931.6 ล้านบาท เนื่องจากไทยมีความต้องการนำเข้าโค-กระบือ และอัญมณี เพิ่มขึ้น ขณะที่ การนำเข้าจากลาว เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.5 เป็น 459.3 ล้านบาท โดยนำเข้าโค-กระบือ และไม้ซุงเพิ่มขึ้น
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.9 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มในอัตราร้อยละ 3.8 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.8
หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.8 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 8.7 โดยเฉพาะราคาสินค้ากลุ่มยานพาหนะมีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.1 ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก รองลงมาได้แก่หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากการเพิ่มขึ้นของค่าบริการส่วนบุคคล หมวดเคหะสถานราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากการเพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ำประปาถึงร้อยละ 5.6 ซึ่งปรับราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำมัน หมวดเครื่องนุ่งห่มราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากราคาผ้าและบริการตัดเย็บที่สูงขึ้น หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ส่วนหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ราคาเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 0.8 เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.8 ตามการลดลงของราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดที่ลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 8.0 เนื่องจากการแข่งขันของผู้ประกอบการ รองลงมาได้แก่ ราคาสินค้ากลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ลดลงร้อยละ 6.8 กลุ่มผักและผลไม้ราคาลดลงร้อยละ 6.3 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำราคาลดลงร้อยละ 4.3 เนื่องจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนที่เอื้ออำนวยทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก และกลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ราคาลดลงร้อยละ 1.3 จากภาวะการแข่งขันของผู้ประกอบการ ขณะที่กลุ่มอาหารที่ซื้อบริโภคราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะต้นทุนด้านเชื้อเพลิงและค่าการขนส่งที่สูงขึ้น
ดัชนีราคาขายส่ง
ดัชนีราคาขายส่งของภาคเหนือในปี 2543 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.3 เป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้าในหมวดสินค้าเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหารร้อยละ 3.8 ขณะที่ราคาหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
หมวดสินค้าเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหาร ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.8 เป็นผลจากการลดลงของราคากลุ่มสินค้าเกษตรกรรมมากที่สุดถึงร้อยละ 11.0 รองลงมาได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 3.2 กลุ่มอาหารสัตว์ลดลงร้อยละ 0.2 จากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากการเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องดื่มประเภทที่มีแอลกอฮอล์เป็นสำคัญ
หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ราคาเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.2 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมากที่สุดถึงร้อยละ 37.9 ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาได้แก่ สินค้ากลุ่มหนังสัตว์และผลิตภัณฑ์หนังราคาเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.7 เนื่องจากตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้นทำให้วัตถุดิบประเภทหนังดิบมีราคาสูงขึ้น ขณะที่สินค้าเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีมีราคาลดลงร้อยละ 5.5 เนื่องจากมีการแข่งขันกันลดราคาเพื่อระบายสินค้า เช่น สินค้ากลุ่มสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอราคาลดลงร้อยละ 0.7 ราคาสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 การเงินการธนาคาร
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 เงินฝาก ของสาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 273,754.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18,232.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.2 ปีก่อน ส่วนหนึ่งจากเงินฝากที่ประชาชนได้ถอนออกไปในช่วงสิ้นปีก่อน เพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเพิ่มขึ้น และผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินและบัตรเงินฝากในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งครบกำหนดในเดือนสิงหาคม 2543 ที่ผ่านมา นำเงินบางส่วนมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดกำแพงเพชร ลำพูน น่าน แม่ฮ่องสอน และพิษณุโลก
ทางด้าน สินเชื่อ ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 มียอดคงค้าง 180,403.7 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 11.6 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังการให้สินเชื่อ ประกอบกับความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทำให้ลูกหนี้มีการชำระคืนหนี้บางส่วน อีกทั้งมีการโอนสินเชื่อบางส่วนไปบริหารที่ส่วนกลาง และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) รวมทั้งการตัดจำหน่ายลูกหนี้จากการที่ธนาคารพาณิชย์กันสำรองได้ครบแล้ว อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีการให้สินเชื่อใหม่เข้าสู่ระบบ จากผลของการปรับโครงสร้างหนี้และการขยายตัวของบางธุรกิจ เช่น สินเชื่อส่งออก สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อเพื่อการแปรรูปสินค้าเกษตร สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและแรงงานต่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดอุตรดิตถ์ นครสวรรค์ พะเยา เชียงใหม่ และลำปาง
ทางด้าน อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ในปี 2543 มีแนวโน้มลดลงเป็นลำดับ ตามสภาพคล่องของระบบการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ยังอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.00 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.75-4.00 ต่อปี จากสิ้นปีก่อน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.50-8.25 ต่อปี ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 8.25-8.75 ต่อปี จากสิ้นปีก่อน
ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักงานหักบัญชีในภาคเหนือ ปี 2543 มีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 4,290,137 ฉบับ มูลค่า 281,363.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ ทางด้านปริมาณและมูลค่าเช็คคืนลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.3 และร้อยละ 11.1 เหลือ 82,122 ฉบับ มูลค่า 4,536.8 ล้านบาท ในปีนี้ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.6 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บ ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.8 ปีก่อน
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2544
คาดว่าเศรษฐกิจภาคเหนือจะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปี 2543 คือ ในอัตราประมาณร้อยละ 3-4 โดยการผลิตภาคเกษตรซึ่งเป็นภาคการผลิตที่สำคัญ คาดว่าการผลิตจะขยายตัวเนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีเพียงพอต่อการปลูกพืชฤดูแล้งโดยเฉพาะข้าวนาปรัง อย่างไรก็ดี สำหรับผลผลิตไม้ผลบางชนิดเช่น ลิ้นจี่ และลำไย อาจได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศที่ปีนี้หนาวเย็นไม่เพียงพอ ด้านการท่องเที่ยว คาดว่าจะขยายตัวได้ดีเนื่องจากค่าเงินบาทที่เอื้ออำนวยและผู้ประกอบการได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆ สำหรับ ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวโดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมส่งออกซึ่งบางประเภทอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซรามิกได้ขยายกำลังผลิตในปี 2543 แต่ผู้ประกอบการส่งออกคงต้องแข่งขันทางด้านตลาดมากขึ้น จากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจปี 2544 จะขยายตัวได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัย สนับสนุนสำคัญหลายด้านได้แก่ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค มาตรการภาครัฐในการกระตุ้นการใช้จ่าย กลไกการทำงานด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งหากสามารถทำงานได้ดีขึ้นโดยเฉพาะจากความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน ก็จะทำให้ปัญหาสภาพคล่องของธุรกิจผ่อนคลายลง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สมบูรณ์ขึ้นที่จะทำให้เศรษฐกิจภาคเหนือสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องในปี 2544
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-