WTO ยืนยันศุภชัยกำลังนำ -------------------------------------------------------------------------------- WTO ได้รับทราบผลการหยั่งเสียงประเทศสมาชิกในการคัดเลือกผู้ที่จะมาเข้าดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลกคนต่อไปว่า ขณะนี้ในจำนวนผู้สมัครทั้งหมดสี่คนนั้น ฯพณฯ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยได้รับ แนวโน้มของเสียงสนับสนุนมากที่สุด รายงายดังกล่าวเป็นการยืนยันรายงานข่าวการประเมิน ของสำนักข่าวหลายแห่งก่อนหน้านี้ การรายงานผลการหยั่งเสียงดังกล่าว ได้กระทำในที่ประชุม ระดับหัวหน้าคณะผู้แทนในบ่ายวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2541 เพื่อเป็นการตอบสนองข้อ เรียกร้องของประเทศสมาชิกจำนวนมาก ที่ต้องการทราบว่าขณะนี้การหยั่งเสียงได้คืบหน้าไป มากเท่าไรและใครได้คะแนนนำ โดยที่ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การการค้าโลกคนปัจจุบัน (นาย Renato Ruggiero ชาวอิตาลี) กำลังจะครบวาระในเดือนเมษายน 2542 ดังนั้น คณะมนตรีใหญ่ขององค์การการค้าโลกจึงได้เริ่มกระบวนการคัดเลือกผู้อำนวยการใหญ่คน ต่อไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 โดยได้ตกลงที่จะทำการสรรหาคนที่จะมาดำรงตำแหน่งแทน ให้ได้ด้วยฉันทามติ (consensus) และตั้งความมุ่งหวัง (aim) ที่จะทำการสรรหาให้เสร็จสิ้นใน ปลายเดือนพฤศจิกายน 2541 เพื่อยืนยันการแต่งตั้งในที่ประชุมสิ้นปีของคณะมนตรีใหญ่ นอกจากนี้โดยที่ นาย Roy MacLaren ซึ่งเป็นชาวแคนาดาจะลงสมัครและขณะเดียวกัน ประธานคณะมนตรีใหญ่ ซึ่งควรจะเป็นผู้บริหารกระบวนการคัดเลือกฯ เป็นชาวแคนาดา เช่นกัน คณะมนตรีใหญ่ จึงต้องเริ่มคิดว่าจะหาวิธีการอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงข้อครหาและต่อมา ในเดือนตุลาคม 2541 คณะมนตรีใหญ่ได้มีมติให้เชิญนาย Celso LAFER เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรบราซิล และนาย William ROSSIER เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็น อดีตประธานคณะมนตรีใหญ่คนละสมัยมาทำหน้าที่เป็นผู้บริหารกระบวนการคัดเลือก ผู้อำนวยการใหญ่คนต่อไป โดยให้เอกอัครราชทูตทั้งสองคนทำการหารือและหยั่งเสียงประเทศ สมาชิกคู่กันไป สำหรับผู้สมัครนั้น เมื่อสิ้นวันปิดรับสมัครในวันที่ 30 กันยายน ได้มีผู้สมัคร 4 คนคือนาย Roy MacLaren (แคนาดา) ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ (ไทย) นาย Mike Moore (นิวซีแลนด์) และนาย Hassan Abouyoub (โมร็อกโก) และหนังสือพิมพ์หลายฉบับก็ได้ ลงข่าวในขณะนั้นว่า ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ มีความเหมาะสมและจะเป็นที่ยอมรับมากที่สุด นอกจากนั้น ภายหลังจากที่ ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ ได้ทำหน้าที่ประธานการประชุม High Level Segment of the Trade and Development Borad ของ UNCTAD ในวันที่ 22 ตุลาคม และเข้า ร่วมประชุม UNCTAD High level Midterm Review ในวันที่ 23 ตุลาคม ก็มีข่าวในคณะ ทูตานุทูตว่าเอกอัครราชทูตและเจ้าหน้าที่การทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในองค์การระหว่างประเทศ ที่เข้าร่วมประชุมดังกล่าว มีความชื่นชมในความรู้ ความสามารถที่แสดงออกไม่ว่าจะในด้าน เนื้อหาที่พิจารณาหรือการดำเนินการประชุม ต่อมา คณะมนตรีใหญ่ได้มีมติให้เชิญผู้สมัคร ทั้ง 4 ไปพบในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างวันที่ 10 - 12 พฤศจิกายน 2541 การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ผู้สมัครแต่ละรายได้มีโอกาสแสดงตนเอง และแสดงความเห็น เกี่ยวกับงานและการบริหารองค์การการค้าโลก เพื่อให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรของประเทศ สมาชิกพิจารณาว่าใครจะเหมาะสมที่สุดที่จะเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าว ภายหลังจากการที่ ผู้สมัครทั้งสี่ได้พบกับคณะมนตรีใหญ่ ก็มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ ได้รับเสียง สนับสนุนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภูมิภาคเอเซีย ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก อาเซียนได้ประกาศให้การสนับสนุน ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ ตั้งแต่เริ่ม และต่อมา ตามด้วย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย ฮ่องกงและเกาหลี นอกจากนั้น ประเทศสำคัญๆ ในภูมิภาคอื่นก็ให้เสียง สนับสนุนด้วย เช่น นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ฮังการี และอีกหลายประเทศในลาตินอเมริกาและ แคริบเบียน สำหรับภูมิภาคแอฟริกานั้น เป็นที่เข้าใจกันว่าจะให้คะแนนเสียงทั้งหมดแก่ ผู้สมัครจากโมร็อกโก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็มีประเทศแอฟริกาหลายประเทศที่แจ้งให้ การสนับสนุนผู้สมัครของไทย อย่างไรก็ตาม ถ้านับจำนวนประเทศในแอฟริกาและเอเซีย ที่เป็นสมาชิก WTO แล้ว จะพบว่าจำนวนประเทศสมาชิกในแอฟริกามีมากกว่า นักการทูต ในนครเจนีวาจึงเริ่มให้ความสนใจว่าในการหยั่งเสียงเพื่อหาฉันทามตินั้น จะคิดอย่างไร จะนับจำนวนประเทศว่าผู้สมัครคนใดได้จำนวนประเทศสนับสนุนมากน้อย หรือว่าจะดูว่า ผู้สมัครคนใดได้รับเสียงสนับสนุนจากหลายภูมิภาคมากกว่ากัน และอยากรู้ว่าในการวิเคราะห์ ของผู้หยั่งเสียงนั้น ใครเป็นคนนำ ในขณะเดียวกันหนังสือพิมพ์หลายฉบับลงข่าวว่า นาย Mike Moore ได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกา และได้เสียงสนับสนุนจากหลายภูมิภาคเช่น เดียวกัน หนังสือพิมพ์บางฉบับลงข่าวว่าผู้ที่นำอยู่คือ ฯพณฯดร.ศุภชัยฯ และนาย Mike Moore บางฉบับก็ลงข่าวว่า ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ และนาย Abouyoub กำลังนำ แต่ที่ทุกฉบับ ลงข่าวเหมือนกันคือสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ยังไม่ประกาศผลการตัดสินใจออกมาอย่างเป็น ทางการว่าจะเลือกใคร สำหรับสหภาพยุโรปนั้น ข่าวว่าฝรั่งเศสและประเทศยุโรปทางตอนใต้ มีความเอนเอียงไปทางนาย Abouyoub ซึ่งเป็นชาวโมร็อกโกและมีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม การใช้ภาษา ประเทศในยุโรป ตอนเหนือกลับเอนเอียงมาทาง ฯพณฯดร.ศุภชัยฯ แต่คณะ กรรมาธิการสหภาพยุโรปได้เคยหลุดปากให้การสนับสนุนนาย Roy MacLaren ชาวแคนาดา ไปแล้วการที่ประเทศสำคัญๆ คือสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการ ค้าสูงมากยังไม่ประกาศผลการตัดสินใจออกมา รวมทั้งยังมีอีกหลายประเทศในยุโรปตะวัน ออก ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ยังสงวนท่าที่อยู่เช่นกัน ทำให้คณะผู้บริหารกระบวนการ หยั่งเสียงไม่สามารถสรุปรายงานที่จะให้ภาพชัดเจนออกมาได้ และได้เก็บข้อมูลการหยั่งเสียง ไว้เป็นความลับ เพราะเกรงว่าถ้าปล่อยข้อมูลว่าใครได้ เสียงนำออกไป ก็อาจไปมีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจของประเทศที่ยังไม่ตัดสินใจได้ การที่ผู้บริหารคณะผู้บริหารกระบวนการคัด เลือกฯได้เก็บข้อมูลไว้เป็นความลับได้สร้างความผิดหวังให้แก่ประเทศสมาชิกหลายประเทศ ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการและในการประชุมอย่างเป็นทางการต่อมาในการประชุม อย่างไม่เป็นทางการของคณะมนตรีใหญ่ในวันที่ 2 ธันวาคม คณะผู้หยั่งเสียงได้รายงานว่าได้ หารือกับเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวร 70 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศสมาชิกจำนวน 90 ประเทศ รวมทั้งได้ติดต่อกับประเทศสมาชิกที่มิได้มีสำนักงานอยู่ในนครเจนีวา (30 ประเทศ) และมีข้อสรุปว่า ส่วนใหญ่ยืนยันให้มีการคัดเลือกด้วยระบบฉันทามติ ทุกประเทศได้แจ้งว่า สามารถรับผู้สมัครคนใดก็ได้ ในขณะที่แจ้งด้วยว่า จะเลือกใครเป็นอันดับที่หนึ่งและใครเป็น อันดับที่สอง ทำให้ความหนาแน่นของเสียงสนับสนุน (depth of support) ของผู้สมัครของ แต่ละคนแตกต่างกัน แต่โดยที่ยังขาดข้อมูลที่สำคัญ (จากสหรัฐฯและสหภาพยุโรป) จึงยัง ไม่มีผลสรุปอย่างชัดเจน แต่หวังว่าจะหาข้อมูลเพิ่มเติมและสรุปผลได้ในกลางเดือนธันวาคม ในการประชุมอย่างเป็นทางการของคณะมนตรีใหญ่ในวันที่ 11 ธันวาคม คณะผู้หยั่งเสียงได้ รายงานว่าใน 5 วันทำงานที่ผ่านมาได้พยายามหารือกับประเทศสมาชิก แต่ก็ยังไม่ได้ข้อมูลที่ สำคัญ (เพราะสหภาพยุโรปยังไม่มีข้อตัดสินใจ) จึงคิดว่าต้องเลื่อนกระบวนการออกไปกระทำ ต่อในกลางเดือนมกราคม 2542 ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ประเทศสมาชิกหลายประเทศ ที่ได้มีความรับผิดชอบรีบตัดสินใจตามกำหนด แต่ไม่สามารถทราบผลได้ สมาชิกหลาย ประเทศได้เรียกร้องให้ประเทศที่ยังไม่ได้ตัดสินใจ ให้รีบตัดสินเพื่อที่คณะผู้หยั่งเสียงจะได้ ข้อมูลครบและสรุปผลได้บางประเทศได้พยายามเร่งกระบวนการโดยเสนอให้ใช้ระบบการ ลงคะแนนเสียง (vote) เพราะมีตัวบทของความตกลงจัดตั้ง WTO กำหนดไว้ว่าถ้าประเด็น ใดไม่ได้รับฉันทามติ ก็ให้ตัดสินด้วยลงคะแนนเสียงได้แต่ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการคัดค้าน จากคณะกรรมาธิการยุโรป เพราะเท่ากับเป็นการลดความสำคัญในการตัดสินใจลงไปเหลือ เท่ากับประเทศเล็กๆ ประเทศสมาชิกอีกหลายประเทศเช่น ออสเตรเลีย ฮังการี อินเดีย และนอร์เวย์ ก็คัดค้านการลงคะแนนเสียงเช่นกัน เพราะเกรงว่าจะกลายเป็นแบบอย่าง (precedent) ที่ทำให้เกิดผลต่อระบบ (systemic implication) อย่างไรก็ตาม ประเทศต่างๆ เหล่านี้ขอทราบผลการหยั่งเสียง ว่ามีแนวโน้ม ของเสียงไปในทิศทางใด ซึ่งเป็นประเด็นที่ ปากีสถานเรียกร้องย้ำแล้วย้ำอีกที่จะขอทราบเพื่อให้กระบวนการมีความคืบหน้า และโดยที่ จะมีการประชุมระดับรัฐมนตรี ในปลายปี 2542 ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่จะมีบทบาทอย่างมาก ในการเอื้ออำนวย ข้อมูลประกอบการประชุม และตะลอมท่าทีให้ได้ฉันทามติในการเจรจา การค้าหลายเรื่อง หลายประเทศจึงเกรงว่า ถ้ากระบวนการจะต้องยืดเยื้อออกไประยะหนึ่ง ก็อาจจะกลายเป็นยืดเยื้อออกไปจนถึง ภายหลังการประชุมระดับรัฐมนตรีดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม คณะผู้หยั่งเสียงยังไม่ยอม แพร่งพรายข้อมูลในเวลานั้น โดยให้เหตุผลว่ามีปัจจัย ด้านตัวบุคคล และด้านการเมืองเข้ามาพัวพันกันการให้เสียงสนับสนุนผู้สมัคร ต่อมาใน วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม คณะผู้หยั่งเสียงได้ตอบสนองข้อเรียกร้องของประเทศสมาชิกที่อยาก ทราบแนวโน้มของเสียงสนับสนุนโดยได้รายงานต่อที่ประชุมหัวหน้าคณะผู้แทน ในที่ประชุม ดังกล่าวคณะผู้หยั่งเสียงได้แจ้งว่าได้ใช้การวัดที่เลยการใช้คณิตศาสตร์ธรรมดา (simple arithmetical calculation) โดยใช้ข้อมูล เท่าที่มีอยู่และมีหลักเกณฑ์สามประการ คือ 1. ลำดับ ความพอใจเลือก (The hierarchy of reference) 2. ภูมิภาคที่ครอบคลุม(The geographic coverage of support ) 3. ระดับ การยอมรับ (The level of acceptance) คณะผู้หยั่งเสียงได้ วิเคราะห์โดยแยกหลักเกณฑ์และไม่พบการขัดแย้งของผลลัพธ์ แต่มีความสอดคล้องกันซึ่งนำ ไปสู่ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ ได้ระดับการสนับสนุนสูงสุด (greatest degree of support) นาย Mike Moore ได้ระดับการสนับสนุนร้อยละ 75 ของ ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ นาย Hassan Abouyoub เกือบถึงร้อยละ 50 ของ ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ นาย MacLaren เกือบถึง ร้อยละ 30 ของ ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ ออท.ผู้แทนถาวรบางประเทศในแอฟริกาได้กล่าว เชิงสงสัยว่าหลักเกณฑ์ข้อที่ 2 และ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร และเสนอว่าควรใช้วิธีง่ายๆ เช่น การลงคะแนนเสียงทดลอง (straw ballot) จะดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโมร็อกโกกล่าวว่า ถ้าเมืองหลวงของโมร็อกโกยังไม่เข้าใจหลักเกณฑ์การวิเคราะห์ที่ใช้ ก็จะไม่มีฉันทามติ เกิดขึ้นได้แต่หลายประเทศก็แสดงความชื่นชมวิธีวิเคราะห์อันชาญฉลาดของคณะผู้หยั่งเสียง และเสนอว่า ในระยะต่อไปเป็นระยะที่ประเทศต่างๆ ต้องกลับไปพิจารณาทบทวนท่าทีใหม่ รวมทั้งประเทศที่ ส่งผู้สมัครควรพิจารณาด้วยว่าจะถอนตัวผู้สมัครหรือไม่แม้ผลการหยั่งเสียง รอบแรกจะออกมา อย่างเป็นที่น่าพอใจของไทย แต่ก็มีสิ่งที่ต้องระลึกไว้ เสมอว่า ยังมี ประเทศอีกหลายประเทศรวมทั้ง สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ยังไม่ตัดสินใจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ยิ่งเหตุการณ์ขณะนี้ยังไม่ แน่ใจว่าโมร็อกโกจะถอนผู้สมัครหรือไม่ เมื่อไร และเมื่อผู้สมัครที่ได้ ท้ายๆ ถอนตัวออกคะแนนเสียงจะเทไปที่ใคร สถานการณ์ จึงยังลื่นไหล (fluid) อยู่ และ ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งที่กรุงเทพฯ เอกอัครราชทูตไทยประจำ ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกอัครราชทูตผู้แทน ถาวรไทยฯ ณ นครเจนีวา ทั้งสองคน จะต้องทำงานรณรงค์หาเสียงต่อไปอย่างไม่ลดมือ ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-