มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers/Non-tariff Measures) หมายความถึงมาตราการที่มิใช่ภาษีศุลกากร ซึ่งเป็นกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ มาตราการกึ่งภาษีอากร การควบคุมราคา การควบคุมปริมาณข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าบางชนิด การตรวจสอบคุณภาพสินค้า การตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้า
มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) นั้น มักจะไม่ชัดเจนแต่มีผลกระทบต่อการค้าได้มากกว่าการจัดเก็บภาษีขาเข้า ในปี ค.ศ. 1986 พบว่ามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีนั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารในตลาดโลกได้มากถึง 90%
มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) มีอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่
1). การเรียกเก็บภาษีที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (Non-tariff Barriers)เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ภาษีธุรกิจ (Business Taxes) ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีที่นอกเหนือไปจากภาษีศุลกากร (Customs Duties) ที่มีการเรียกเก็บกันโดยปกติของการค้าระหว่างประเทศ
2). การจำกัดปริมาณนำเข้า (Quantitative Restrictions on Imports) รวมถึงการออกใบอนุญาตนำเข้า (Non-automatic Licensing) การกำหนดสัดส่วนของชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content Requirements) การห้ามการนำเข้า (Prohibited Imports) การกำหนดโควต้าการนำเข้า (Trade Quotas) และการจำกัดการส่งออกโดยสมัครใจ (Voluntary Export Restrictions)
3). การกำหนดเกี่ยวกับสุขอนามัย และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (Sanitary and Phytosanitary Regulations)
4). การห้ามนำเข้า (Import Prohibitions)
5). การกำหนดเกี่ยวกับการปิดฉลากสินค้า
6). การกำหนดมาตราฐานสินค้าที่มีความแตกต่างไปจากมาตรฐานสากลที่เป็นบรรทัดฐานของการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศคู่ค้าที่มีมาตรฐานการผลิตอยู่บนพื้นฐานของระบบมาตรฐานสากลระหว่างประเทศไม่สามารถส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในตลาดของประเทศตนได้
ข้อตกลงทางการค้าขององค์การการค้าโลกที่มีการนำมาใช้เป็นมาตรการการกีดกันทางการค้า ได้แก่
1). ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade : TBT)
2). ความตกลงว่าด้วยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS)ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade : TBT)
ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade : TBT)
1). ป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติในทางการค้าระหว่างประเทศ โดยใช้เทคนิคทางด้านการผลิตเป็นเงื่อนไข เพราะระดับการพัฒนาทางอุตสาหกรรม และเทคโนโลยี่ในการผลิตของแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน
2). ก่อให้เกิดความสอดคล้องกันในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม และเทคโนโลยี่การผลิตในกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก
3). สร้างความยุติธรรมในด้านการแข่งขันทางด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยพยายามลดการได้เปรียบและเสียเปรียบทางด้านเทคโนโลยี่และเทคนิคในการผลิตสำหรับกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก
TBT เป็นข้อกำหนดใช้สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมทุกชนิด ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยองค์กรของรัฐบาล เพื่อใช้ในกิจการของรัฐบาลเท่านั้น การกำหนดข้อบังคับทางเทคนิคและมาตรฐานโดยองค์กรรัฐบาลส่วนกลางสำหรับข้อบังคับทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าจะต้องได้รับการปฏิบัติด้วยความอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลีงกันที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศ
ในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับ กฏ ระเบียบทางวิชาการ มาตรฐาน และการรับรองคุณภาพภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้.-
1). มาตรการที่ประเทศต่าง ๆ กำหนดขึ้นจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศและจะต้องไม่เป็นการจำกัดการค้าเกินกว่าความจำเป็น
2). ประเทศสมาชิกจะต้องสนับสนุนให้มีการเจรจาเพื่อบรรลุความตกลงการยอมรับร่วมกันของวิธีการรับรองคุณภาพ
3). ประเทศสมาชิกจะต้องยอมรับกฎ ระเบียบ ทางวิชาการของประเทศอื่น หากเห็นว่าเหมาะสมเท่าเทียมกับประเทศของตน
4). ประเทศสมาชิกผู้กำหนดข้อบังคับจะต้องพิมพ์ข้อบังคับที่นำมาใช้โดยทันที เพื่อให้ประเทศผู้ส่งออกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนามีเวลาปรับปรุงสินค้า หรือวิธีการผลิตสินค้าให้สอดคล้องตามที่กำหนดไว้
ประเทศต่าง ๆ มีข้อกำหนดด้านเทคนิคและมาตรฐานสินค้าที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากความแตกต่างกันในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี่และการผลิต ดังนั้น WTO จึงได้กำหนด TBT Agreement ขึ้น โดยมีหลักการเพื่อสร้างความสอดคล้องในด้านเทคโนโลยี่การผลิตและคุณสมบัติของสินค้าของประเทศสมาชิกไม่ให้มีการนำมาใช้เพื่อการกีดกันทางการค้าและก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติขึ้น
ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้ามีขอบเขตการใช้ต่อกิจกรรมทางด้านการค้าระหว่างประเทศในบางลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
1). การปิดฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยารักษาโรค
2). การกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารสด
3). ข้อกำหนดเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารสด
ขอบเขตของข้อกำหนดที่อยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าสำหรับสินค้าประเภทผลไม้ คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติ การปิดฉลาก และข้อมูลที่ผู้บริโภคควรจะรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
TBT Agreement มีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคทางการค้าที่เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งกำหนดให้สินค้าที่ส่งเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศจะต้องมีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่ได้มาจากขบวนการนำวัตถุดิบมาใช้ซ้ำ (Recycle) ไม่น้อยกว่า 90% ข้อกำหนดดังกล่าวนี้พิจารณาได้ว่าเป็นการละเมิดต่อมาตราที่ 2 (Article II) ของ TBT Agrement ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS) มีเป้าหมายเพื่อ
1). คุ้มครองผู้บริโภคทั้งที่เป็นมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงจากการได้รับอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษ และเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิต
2). คุ้มครองป้องกันชีวิตมนุษย์จากพืชหรือสัตว์ที่เป็นพาหนะของโรค
3). ควบคุมการแพร่ระบาดของจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง และพืช ให้มีขอบเขตอยู่ในพื้นที่อันจำกัด พร้อมทั้งสามารถป้องกันการแพร่ระบาดและทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้
วัตถุประสงค์ของ SPS คือ การให้สิทธิสำหรับประเทศสมาชิกแต่ละประเทศในการปกป้องคุ้มครองชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย์และพืชที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์และสภาพทางสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน แต่ไม่ยินยอมให้ประเทศสมาชิกนำเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะเป้าหมายขององค์การการค้าโลก คือ การเปิดให้มีการค้าเสรี เพื่อขจัดข้อกีดกันทางการค้าให้หมดไปจากวงจรของการค้าระหว่างประเทศ และ SPS ไม่ใช่สาเหตุหรือข้ออ้างที่จะนำมาใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้าในเงื่อนไขใหม่
เนื่องจากมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ของแต่ละประเทศมีไม่เท่าเทียมกัน องค์การการค้าโลกจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับสุขอนามัยของพืชและสัตว์เพื่อเป็นการประเมินค่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยของพืชและสัตว์ พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไข
ดังนั้น การกำหนดมาตรการใด ๆ เพื่อเป็นการปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ของประเทศใด ๆ ก็ตามที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกจะต้องไม่เป็นการละเมิดต่อความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังต่อไปนี้.-
1). มาตรการที่กำหนดบังคับใช้กับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ และสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศจะต้องไม่มีความแตกต่างกัน
2). กฎ ระเบียบที่ใช้จะต้องมีการปฏิบัติต่อประเทศคู่ค้าทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเข้มงวดกวดขันกับประเทศหนึ่งเป็นการเจาะจงโดยเฉพาะ
3). ข้อบังคับที่กำหนดภายใต้มาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืชจะต้องมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศน้อยที่สุด
4). ข้อกำหนดที่บัญญัติขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องหรืออยู่ภายใต้ขอบเขตมาตรฐานที่เป็นสากล เช่น โครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (codex) และในกรณีที่ข้อกำหนดของประเทศใดมีมาตรฐานสูงกว่ามาตรฐานระหว่างประเทศต้องมีเหตุผลและข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน
5). มาตรการสุขอนามัย และสุขขอนามัยพืชทื่กำหนดขึ้นจะต้องพิสูจน์ได้โดยใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน
การตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในบางลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1). การใช้สารอาหารเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
2). การควบคุมสารปนเปื้อนและสารพิษในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
3). การใช้ใบรับรองความปลอดภัยของอาหารและใบรับรองสุขอนามัยของพืชและสัตว์
ดังเช่นวิธีการตรวจสอบสินค้าผลไม้ที่นำเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของศัตรูพืชเป็นข้อกำหนดที่อยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยสุขอนามัยพืช
ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/15 กุมภาพันธ์ 2543--
มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) นั้น มักจะไม่ชัดเจนแต่มีผลกระทบต่อการค้าได้มากกว่าการจัดเก็บภาษีขาเข้า ในปี ค.ศ. 1986 พบว่ามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีนั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารในตลาดโลกได้มากถึง 90%
มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) มีอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่
1). การเรียกเก็บภาษีที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (Non-tariff Barriers)เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ภาษีธุรกิจ (Business Taxes) ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีที่นอกเหนือไปจากภาษีศุลกากร (Customs Duties) ที่มีการเรียกเก็บกันโดยปกติของการค้าระหว่างประเทศ
2). การจำกัดปริมาณนำเข้า (Quantitative Restrictions on Imports) รวมถึงการออกใบอนุญาตนำเข้า (Non-automatic Licensing) การกำหนดสัดส่วนของชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content Requirements) การห้ามการนำเข้า (Prohibited Imports) การกำหนดโควต้าการนำเข้า (Trade Quotas) และการจำกัดการส่งออกโดยสมัครใจ (Voluntary Export Restrictions)
3). การกำหนดเกี่ยวกับสุขอนามัย และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (Sanitary and Phytosanitary Regulations)
4). การห้ามนำเข้า (Import Prohibitions)
5). การกำหนดเกี่ยวกับการปิดฉลากสินค้า
6). การกำหนดมาตราฐานสินค้าที่มีความแตกต่างไปจากมาตรฐานสากลที่เป็นบรรทัดฐานของการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศคู่ค้าที่มีมาตรฐานการผลิตอยู่บนพื้นฐานของระบบมาตรฐานสากลระหว่างประเทศไม่สามารถส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในตลาดของประเทศตนได้
ข้อตกลงทางการค้าขององค์การการค้าโลกที่มีการนำมาใช้เป็นมาตรการการกีดกันทางการค้า ได้แก่
1). ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade : TBT)
2). ความตกลงว่าด้วยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS)ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade : TBT)
ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade : TBT)
1). ป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติในทางการค้าระหว่างประเทศ โดยใช้เทคนิคทางด้านการผลิตเป็นเงื่อนไข เพราะระดับการพัฒนาทางอุตสาหกรรม และเทคโนโลยี่ในการผลิตของแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน
2). ก่อให้เกิดความสอดคล้องกันในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม และเทคโนโลยี่การผลิตในกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก
3). สร้างความยุติธรรมในด้านการแข่งขันทางด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยพยายามลดการได้เปรียบและเสียเปรียบทางด้านเทคโนโลยี่และเทคนิคในการผลิตสำหรับกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก
TBT เป็นข้อกำหนดใช้สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมทุกชนิด ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยองค์กรของรัฐบาล เพื่อใช้ในกิจการของรัฐบาลเท่านั้น การกำหนดข้อบังคับทางเทคนิคและมาตรฐานโดยองค์กรรัฐบาลส่วนกลางสำหรับข้อบังคับทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าจะต้องได้รับการปฏิบัติด้วยความอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลีงกันที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศ
ในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับ กฏ ระเบียบทางวิชาการ มาตรฐาน และการรับรองคุณภาพภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้.-
1). มาตรการที่ประเทศต่าง ๆ กำหนดขึ้นจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศและจะต้องไม่เป็นการจำกัดการค้าเกินกว่าความจำเป็น
2). ประเทศสมาชิกจะต้องสนับสนุนให้มีการเจรจาเพื่อบรรลุความตกลงการยอมรับร่วมกันของวิธีการรับรองคุณภาพ
3). ประเทศสมาชิกจะต้องยอมรับกฎ ระเบียบ ทางวิชาการของประเทศอื่น หากเห็นว่าเหมาะสมเท่าเทียมกับประเทศของตน
4). ประเทศสมาชิกผู้กำหนดข้อบังคับจะต้องพิมพ์ข้อบังคับที่นำมาใช้โดยทันที เพื่อให้ประเทศผู้ส่งออกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนามีเวลาปรับปรุงสินค้า หรือวิธีการผลิตสินค้าให้สอดคล้องตามที่กำหนดไว้
ประเทศต่าง ๆ มีข้อกำหนดด้านเทคนิคและมาตรฐานสินค้าที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากความแตกต่างกันในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี่และการผลิต ดังนั้น WTO จึงได้กำหนด TBT Agreement ขึ้น โดยมีหลักการเพื่อสร้างความสอดคล้องในด้านเทคโนโลยี่การผลิตและคุณสมบัติของสินค้าของประเทศสมาชิกไม่ให้มีการนำมาใช้เพื่อการกีดกันทางการค้าและก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติขึ้น
ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้ามีขอบเขตการใช้ต่อกิจกรรมทางด้านการค้าระหว่างประเทศในบางลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
1). การปิดฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยารักษาโรค
2). การกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารสด
3). ข้อกำหนดเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารสด
ขอบเขตของข้อกำหนดที่อยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าสำหรับสินค้าประเภทผลไม้ คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติ การปิดฉลาก และข้อมูลที่ผู้บริโภคควรจะรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
TBT Agreement มีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคทางการค้าที่เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งกำหนดให้สินค้าที่ส่งเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศจะต้องมีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่ได้มาจากขบวนการนำวัตถุดิบมาใช้ซ้ำ (Recycle) ไม่น้อยกว่า 90% ข้อกำหนดดังกล่าวนี้พิจารณาได้ว่าเป็นการละเมิดต่อมาตราที่ 2 (Article II) ของ TBT Agrement ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS) มีเป้าหมายเพื่อ
1). คุ้มครองผู้บริโภคทั้งที่เป็นมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงจากการได้รับอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษ และเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิต
2). คุ้มครองป้องกันชีวิตมนุษย์จากพืชหรือสัตว์ที่เป็นพาหนะของโรค
3). ควบคุมการแพร่ระบาดของจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง และพืช ให้มีขอบเขตอยู่ในพื้นที่อันจำกัด พร้อมทั้งสามารถป้องกันการแพร่ระบาดและทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้
วัตถุประสงค์ของ SPS คือ การให้สิทธิสำหรับประเทศสมาชิกแต่ละประเทศในการปกป้องคุ้มครองชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย์และพืชที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์และสภาพทางสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน แต่ไม่ยินยอมให้ประเทศสมาชิกนำเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะเป้าหมายขององค์การการค้าโลก คือ การเปิดให้มีการค้าเสรี เพื่อขจัดข้อกีดกันทางการค้าให้หมดไปจากวงจรของการค้าระหว่างประเทศ และ SPS ไม่ใช่สาเหตุหรือข้ออ้างที่จะนำมาใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้าในเงื่อนไขใหม่
เนื่องจากมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ของแต่ละประเทศมีไม่เท่าเทียมกัน องค์การการค้าโลกจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับสุขอนามัยของพืชและสัตว์เพื่อเป็นการประเมินค่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยของพืชและสัตว์ พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไข
ดังนั้น การกำหนดมาตรการใด ๆ เพื่อเป็นการปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ของประเทศใด ๆ ก็ตามที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกจะต้องไม่เป็นการละเมิดต่อความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังต่อไปนี้.-
1). มาตรการที่กำหนดบังคับใช้กับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ และสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศจะต้องไม่มีความแตกต่างกัน
2). กฎ ระเบียบที่ใช้จะต้องมีการปฏิบัติต่อประเทศคู่ค้าทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเข้มงวดกวดขันกับประเทศหนึ่งเป็นการเจาะจงโดยเฉพาะ
3). ข้อบังคับที่กำหนดภายใต้มาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืชจะต้องมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศน้อยที่สุด
4). ข้อกำหนดที่บัญญัติขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องหรืออยู่ภายใต้ขอบเขตมาตรฐานที่เป็นสากล เช่น โครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (codex) และในกรณีที่ข้อกำหนดของประเทศใดมีมาตรฐานสูงกว่ามาตรฐานระหว่างประเทศต้องมีเหตุผลและข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน
5). มาตรการสุขอนามัย และสุขขอนามัยพืชทื่กำหนดขึ้นจะต้องพิสูจน์ได้โดยใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน
การตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในบางลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1). การใช้สารอาหารเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
2). การควบคุมสารปนเปื้อนและสารพิษในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
3). การใช้ใบรับรองความปลอดภัยของอาหารและใบรับรองสุขอนามัยของพืชและสัตว์
ดังเช่นวิธีการตรวจสอบสินค้าผลไม้ที่นำเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของศัตรูพืชเป็นข้อกำหนดที่อยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยสุขอนามัยพืช
ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/15 กุมภาพันธ์ 2543--