ข้าวนาปรัง : สถานการณ์ข้าวนาปรัง ปี 2544
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังปี 2544 ว่าจะมี 7.678 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 5.096 ล้านตันข้าวเปลือก โดยพื้นที่และผลผลิตลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.33 และ 1.16 ตามลำดับ เนื่องจากราคาข้าวในปีที่แล้วไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก ถึงแม้ปริมาณน้ำจะมีเพียงพอ สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้พันธุ์ดีมากขึ้น
เกษตรกรอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ซึ่งเก็บเกี่ยวไปแล้วร้อยละ 52.10 ของผลผลิตทั้งหมด ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน จะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุด และราคามีแนวโน้มลดลง กล่าวคือราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้เดือนเมษายน 2544 เฉลี่ยตันละ 3,872 บาท ลดลงจาก 4,216 บาทของเดือนก่อนร้อยละ 8.16 และลดลงจากตันละ 4,446 บาทของเดือนเมษายน 2543 ร้อยละ 12.91
จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดย กนข มีมติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังแนวใหม่ปี 2544 จำนวน 1 ล้านตัน และยกเลิกมาตรกรรับจำนำข้าวนาปรังที่มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2544 เนื่องจากเกิดปัญหาไม่สามารถหาผู้เข้าร่วมโครงการได้ ทั้งนี้เพราะผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการไม่มีสถานที่เก็บข้าวเปลือก สถานที่เก็บที่มีอยู่ใช้เก็บข้าวเปลือกนาปีตามโครงการรับจำนำเต็มพื้นที่แล้ว ประกอบกับวิธีการรับจำนำที่ผ่านมาไม่สามารถระบายข้าวได้ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนทำให้โรงสีไม่มีที่เก็บ และรัฐบาลก็ยังขาดแคลนในเรื่องเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเก็บรักษา นอกจากนี้เกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรีไม่ยอมรับราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังปี 2544 แต่ต้องการใช้ราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2543/44 ซึ่งมีราคาสูงกว่าแทน
สำหรับสาระสำคัญของการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังแนวใหม่ ปี 2544 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้เข้าร่วมประชุมด้วยนั้น สรุปได้ดังนี้
1) ปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ปี 2544 จำนวน 1 ล้านตันให้ อคส. และ อ.ต.ก. ดำเนินการหน่วยละ 5 แสนตัน โดย อคส. และ อ.ต.ก. นำข้าวเปลือกที่รับจำนำไว้บางส่วนไปแปรสภาพเป็นข้าวสารเพื่อจำหน่ายได้ก่อนหลุดจำนำ และอีกส่วนหนึ่งให้เก็บรอไว้เพื่อให้เกษตรกรไถ่ถอน แต่ให้คำนึงถึงข้อกฎหมายในเรื่องการนำของที่ยังไม่หลุดจำนำไปไปแปรสภาพหรือจำหน่ายด้วย โดยให้ออกระเบียบขึ้นมารองรับเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ปฏิบัติตามโดยไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย
2) ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดี-กรมการค้าต่างประเทศ ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า และผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหน้าที่กำหนดปริมาณข้าวเปลือกที่ อคส. หรือ อ.ต.ก. จะแปรสภาพเป็นข้าวสารก่อนหลุดจำนำ รวมทั้งกำหนดปริมาณ ราคา และเงื่อนไขในการจำหน่าย
3) ให้โรงสีที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้แปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารและดูแลจัดการในเรื่องการจำหน่ายข้าวสาร โดยให้คิดค่าจัดการ ค่าแปรสภาพข้าว ค่าเก็บรักษา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากค่าจำหน่ายปลายข้าว รำข้าว และอื่น ๆ แล้วนำมาหักจากอัตราการส่งมอบต้นข้าว ต่อ อคส. และ อ.ต.ก.
4) ให้ อคส. และ อ.ต.ก. ออกใบประทวนให้แก่เกษตรกรที่มีหลักฐานรับรองความเป็นเกษตรกรและเอกสารอื่นครบถ้วน ภายใน 3 วันทำการ และให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินกู้แก่เกษตรกรตามใบประทวนภายใน 3 วันทำการ
5) ราคารับจำนำข้าวเปลือก ให้พิจารณาจากต้นทุนบวกด้วยผลตอบแทนที่เหมาะสมโดยไม่ทำให้กลไกตลาดเสียหาย แต่ราคาอาจปรับตัวสูงขึ้นได้ในกรณีที่ราคาข้าวสารหรือปัจจัยอื่น ๆ ปรับตัวสูงขึ้น และมีความเหมาะสมที่จะกำหนดราคารับจำนำใหม่
ส่วนการกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ปี 2544 จะให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนการผลิตร้อยละ 33.48 ราคาเป้าหมายนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2544 (ความชื้น 15%) ซึ่งเป็น ร้อยละ 95 ของราคาเป้าหมายนำ กำหนดได้ดังนี้ หน่วย:บาท/ตัน ชนิดข้าว ราคาเป้าหมายนำ ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 5,130 4,870 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 5,030 4,775 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 4,830 4,585 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 4,730 4,490 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 4,530 4,300
สรุป สถานการณ์ข้าวนาปรังปี 2544
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังปี 2544 ว่าจะมี 7.678 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 5.096 ล้านตันข้าวเปลือก โดยพื้นที่และผลผลิตลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.33 และ 1.16 ตามลำดับ เนื่องจากราคาข้าวในปีที่แล้วไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก ถึงแม้ปริมาณน้ำจะมีเพียงพอ สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้พันธุ์ดีมากขึ้น
เกษตรกรอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ซึ่งเก็บเกี่ยวไปแล้วร้อยละ 52.10 ของผลผลิตทั้งหมด ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน จะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุด และราคามีแนวโน้มลดลง กล่าวคือราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้เดือนเมษายน 2544 เฉลี่ยตันละ 3,872 บาท ลดลงจาก 4,216 บาทของเดือนก่อนร้อยละ 8.16 และลดลงจากตันละ 4,446 บาทของเดือนเมษายน 2543 ร้อยละ 12.91
จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดย กนข มีมติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังแนวใหม่ปี 2544 จำนวน 1 ล้านตัน และยกเลิกมาตรกรรับจำนำข้าวนาปรังที่มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2544 เนื่องจากเกิดปัญหาไม่สามารถหาผู้เข้าร่วมโครงการได้ ทั้งนี้เพราะผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการไม่มีสถานที่เก็บข้าวเปลือก นอกจากนี้เกษตรไม่ยอมรับราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังปี 2544 แต่ต้องการใช้ราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2543/44 ซึ่งมีราคาสูงกว่าแทน
สาระสำคัญของการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังแนวใหม่ ปี 2544 ที่สำนักงาน-เศรษฐกิจการเกษตรได้เข้าร่วมประชุมด้วยนั้น สรุปได้ดังนี้
1) ปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ปี 2544 จำนวน 1 ล้านตันให้ อคส. และ อ.ต.ก. ดำเนินการหน่วยละ 5 แสนตัน โดย อคส. และ อ.ต.ก. นำข้าวเปลือกที่รับจำนำไว้บางส่วนไปแปรสภาพเป็นข้าวสารเพื่อจำหน่ายได้ก่อนหลุดจำนำ และอีกส่วนหนึ่งให้เก็บรอไว้เพื่อให้เกษตรกรไถ่ถอน แต่ให้คำนึงถึงข้อกฎหมายในเรื่องการนำของที่ยังไม่หลุดจำนำไปไปแปรสภาพหรือจำหน่ายด้วย โดยให้ออกระเบียบขึ้นมารองรับเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ปฏิบัติตามโดยไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย
2) ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดี-กรมการค้าต่างประเทศ ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า และผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหน้าที่กำหนดปริมาณข้าวเปลือกที่ อคส. หรือ อ.ต.ก. จะแปรสภาพเป็นข้าวสารก่อนหลุดจำนำ รวมทั้งกำหนดปริมาณ ราคา และเงื่อนไขในการจำหน่าย
3) ให้โรงสีที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้แปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร และดูแลจัดการในเรื่องการจำหน่ายข้าวสาร โดยให้คิดค่าจัดการ ค่าแปรสภาพข้าว ค่าเก็บรักษา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากค่าจำหน่ายปลายข้าว รำข้าว และอื่น ๆ แล้วนำมาหักจากอัตราการส่งมอบต้นข้าว ต่อ อคส. และ อ.ต.ก.
4) ให้ อคส. และ อ.ต.ก. ออกใบประทวนให้แก่เกษตรกรที่มีหลักฐานรับรองความเป็นเกษตรกรและเอกสารอื่นครบถ้วน ภายใน 3 วันทำการ และให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินกู้แก่เกษตรกรตามใบประทวนภายใน 3 วันทำการ
5) ราคารับจำนำข้าวเปลือก ให้พิจารณาจากต้นทุนบวกด้วยผลตอบแทนที่เหมาะสมโดยไม่ทำให้กลไกตลาดเสียหาย แต่ราคาอาจปรับตัวสูงขึ้นได้ในกรณีที่ราคาข้าวสารหรือปัจจัยอื่น ๆ ปรับตัวสูงขึ้น และมีความเหมาะสมที่จะกำหนดราคารับจำนำใหม่
ส่วนการกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ปี 2544 จะให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนการผลิตร้อยละ 33.48 ดังนั้น ราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25 % (ความชื้น 15%) มีราคาตันละ 4,000 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 14 ประจำวันที่ 9-15 เม.ย. 2544--
-สส-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังปี 2544 ว่าจะมี 7.678 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 5.096 ล้านตันข้าวเปลือก โดยพื้นที่และผลผลิตลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.33 และ 1.16 ตามลำดับ เนื่องจากราคาข้าวในปีที่แล้วไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก ถึงแม้ปริมาณน้ำจะมีเพียงพอ สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้พันธุ์ดีมากขึ้น
เกษตรกรอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ซึ่งเก็บเกี่ยวไปแล้วร้อยละ 52.10 ของผลผลิตทั้งหมด ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน จะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุด และราคามีแนวโน้มลดลง กล่าวคือราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้เดือนเมษายน 2544 เฉลี่ยตันละ 3,872 บาท ลดลงจาก 4,216 บาทของเดือนก่อนร้อยละ 8.16 และลดลงจากตันละ 4,446 บาทของเดือนเมษายน 2543 ร้อยละ 12.91
จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดย กนข มีมติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังแนวใหม่ปี 2544 จำนวน 1 ล้านตัน และยกเลิกมาตรกรรับจำนำข้าวนาปรังที่มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2544 เนื่องจากเกิดปัญหาไม่สามารถหาผู้เข้าร่วมโครงการได้ ทั้งนี้เพราะผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการไม่มีสถานที่เก็บข้าวเปลือก สถานที่เก็บที่มีอยู่ใช้เก็บข้าวเปลือกนาปีตามโครงการรับจำนำเต็มพื้นที่แล้ว ประกอบกับวิธีการรับจำนำที่ผ่านมาไม่สามารถระบายข้าวได้ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนทำให้โรงสีไม่มีที่เก็บ และรัฐบาลก็ยังขาดแคลนในเรื่องเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเก็บรักษา นอกจากนี้เกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรีไม่ยอมรับราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังปี 2544 แต่ต้องการใช้ราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2543/44 ซึ่งมีราคาสูงกว่าแทน
สำหรับสาระสำคัญของการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังแนวใหม่ ปี 2544 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้เข้าร่วมประชุมด้วยนั้น สรุปได้ดังนี้
1) ปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ปี 2544 จำนวน 1 ล้านตันให้ อคส. และ อ.ต.ก. ดำเนินการหน่วยละ 5 แสนตัน โดย อคส. และ อ.ต.ก. นำข้าวเปลือกที่รับจำนำไว้บางส่วนไปแปรสภาพเป็นข้าวสารเพื่อจำหน่ายได้ก่อนหลุดจำนำ และอีกส่วนหนึ่งให้เก็บรอไว้เพื่อให้เกษตรกรไถ่ถอน แต่ให้คำนึงถึงข้อกฎหมายในเรื่องการนำของที่ยังไม่หลุดจำนำไปไปแปรสภาพหรือจำหน่ายด้วย โดยให้ออกระเบียบขึ้นมารองรับเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ปฏิบัติตามโดยไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย
2) ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดี-กรมการค้าต่างประเทศ ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า และผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหน้าที่กำหนดปริมาณข้าวเปลือกที่ อคส. หรือ อ.ต.ก. จะแปรสภาพเป็นข้าวสารก่อนหลุดจำนำ รวมทั้งกำหนดปริมาณ ราคา และเงื่อนไขในการจำหน่าย
3) ให้โรงสีที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้แปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารและดูแลจัดการในเรื่องการจำหน่ายข้าวสาร โดยให้คิดค่าจัดการ ค่าแปรสภาพข้าว ค่าเก็บรักษา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากค่าจำหน่ายปลายข้าว รำข้าว และอื่น ๆ แล้วนำมาหักจากอัตราการส่งมอบต้นข้าว ต่อ อคส. และ อ.ต.ก.
4) ให้ อคส. และ อ.ต.ก. ออกใบประทวนให้แก่เกษตรกรที่มีหลักฐานรับรองความเป็นเกษตรกรและเอกสารอื่นครบถ้วน ภายใน 3 วันทำการ และให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินกู้แก่เกษตรกรตามใบประทวนภายใน 3 วันทำการ
5) ราคารับจำนำข้าวเปลือก ให้พิจารณาจากต้นทุนบวกด้วยผลตอบแทนที่เหมาะสมโดยไม่ทำให้กลไกตลาดเสียหาย แต่ราคาอาจปรับตัวสูงขึ้นได้ในกรณีที่ราคาข้าวสารหรือปัจจัยอื่น ๆ ปรับตัวสูงขึ้น และมีความเหมาะสมที่จะกำหนดราคารับจำนำใหม่
ส่วนการกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ปี 2544 จะให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนการผลิตร้อยละ 33.48 ราคาเป้าหมายนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2544 (ความชื้น 15%) ซึ่งเป็น ร้อยละ 95 ของราคาเป้าหมายนำ กำหนดได้ดังนี้ หน่วย:บาท/ตัน ชนิดข้าว ราคาเป้าหมายนำ ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 5,130 4,870 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 5,030 4,775 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 4,830 4,585 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 4,730 4,490 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 4,530 4,300
สรุป สถานการณ์ข้าวนาปรังปี 2544
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังปี 2544 ว่าจะมี 7.678 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 5.096 ล้านตันข้าวเปลือก โดยพื้นที่และผลผลิตลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.33 และ 1.16 ตามลำดับ เนื่องจากราคาข้าวในปีที่แล้วไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก ถึงแม้ปริมาณน้ำจะมีเพียงพอ สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้พันธุ์ดีมากขึ้น
เกษตรกรอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ซึ่งเก็บเกี่ยวไปแล้วร้อยละ 52.10 ของผลผลิตทั้งหมด ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน จะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุด และราคามีแนวโน้มลดลง กล่าวคือราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้เดือนเมษายน 2544 เฉลี่ยตันละ 3,872 บาท ลดลงจาก 4,216 บาทของเดือนก่อนร้อยละ 8.16 และลดลงจากตันละ 4,446 บาทของเดือนเมษายน 2543 ร้อยละ 12.91
จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดย กนข มีมติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังแนวใหม่ปี 2544 จำนวน 1 ล้านตัน และยกเลิกมาตรกรรับจำนำข้าวนาปรังที่มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2544 เนื่องจากเกิดปัญหาไม่สามารถหาผู้เข้าร่วมโครงการได้ ทั้งนี้เพราะผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการไม่มีสถานที่เก็บข้าวเปลือก นอกจากนี้เกษตรไม่ยอมรับราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังปี 2544 แต่ต้องการใช้ราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2543/44 ซึ่งมีราคาสูงกว่าแทน
สาระสำคัญของการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังแนวใหม่ ปี 2544 ที่สำนักงาน-เศรษฐกิจการเกษตรได้เข้าร่วมประชุมด้วยนั้น สรุปได้ดังนี้
1) ปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ปี 2544 จำนวน 1 ล้านตันให้ อคส. และ อ.ต.ก. ดำเนินการหน่วยละ 5 แสนตัน โดย อคส. และ อ.ต.ก. นำข้าวเปลือกที่รับจำนำไว้บางส่วนไปแปรสภาพเป็นข้าวสารเพื่อจำหน่ายได้ก่อนหลุดจำนำ และอีกส่วนหนึ่งให้เก็บรอไว้เพื่อให้เกษตรกรไถ่ถอน แต่ให้คำนึงถึงข้อกฎหมายในเรื่องการนำของที่ยังไม่หลุดจำนำไปไปแปรสภาพหรือจำหน่ายด้วย โดยให้ออกระเบียบขึ้นมารองรับเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ปฏิบัติตามโดยไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย
2) ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดี-กรมการค้าต่างประเทศ ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า และผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหน้าที่กำหนดปริมาณข้าวเปลือกที่ อคส. หรือ อ.ต.ก. จะแปรสภาพเป็นข้าวสารก่อนหลุดจำนำ รวมทั้งกำหนดปริมาณ ราคา และเงื่อนไขในการจำหน่าย
3) ให้โรงสีที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้แปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร และดูแลจัดการในเรื่องการจำหน่ายข้าวสาร โดยให้คิดค่าจัดการ ค่าแปรสภาพข้าว ค่าเก็บรักษา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากค่าจำหน่ายปลายข้าว รำข้าว และอื่น ๆ แล้วนำมาหักจากอัตราการส่งมอบต้นข้าว ต่อ อคส. และ อ.ต.ก.
4) ให้ อคส. และ อ.ต.ก. ออกใบประทวนให้แก่เกษตรกรที่มีหลักฐานรับรองความเป็นเกษตรกรและเอกสารอื่นครบถ้วน ภายใน 3 วันทำการ และให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินกู้แก่เกษตรกรตามใบประทวนภายใน 3 วันทำการ
5) ราคารับจำนำข้าวเปลือก ให้พิจารณาจากต้นทุนบวกด้วยผลตอบแทนที่เหมาะสมโดยไม่ทำให้กลไกตลาดเสียหาย แต่ราคาอาจปรับตัวสูงขึ้นได้ในกรณีที่ราคาข้าวสารหรือปัจจัยอื่น ๆ ปรับตัวสูงขึ้น และมีความเหมาะสมที่จะกำหนดราคารับจำนำใหม่
ส่วนการกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ปี 2544 จะให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนการผลิตร้อยละ 33.48 ดังนั้น ราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25 % (ความชื้น 15%) มีราคาตันละ 4,000 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 14 ประจำวันที่ 9-15 เม.ย. 2544--
-สส-