กรุงเทพฯ--6 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
แถลงข่าวร่วมในโอกาสที่ พลโท ขิ่น ยุ้น
เลขาธิการ 1 สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐของสหภาพพม่า
เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
3 - 5 กันยายน 2544
1. ตามคำเชิญของ ฯพณฯ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ฯพณฯ พลโท ขิ่น ยุ้น เลขาธิการ 1 สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2544
2. ฯพณฯ พลโท ขิ่น ยุ้น และคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพม่าได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากรัฐบาลไทย สะท้อนให้เห็นถึงไมตรีจิตและสายสัมพันธ์ฉันมิตรอันแน่นแฟ้นระหว่างไทยกับพม่า
3. ในระหว่างการเยือน ฯพณฯ เลขาธิการ 1 ของสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล หัวหิน ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล และได้หารือกับ ฯพณฯ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. ในการหารือ ทั้งสองได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรและความร่วมมือซึ่งเป็นผลประโยชน์ร่วมระหว่างประเทศทั้งสองให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายย้ำคำมั่นที่จะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกันในแถลงการณ์ร่วมลงวันที่ 20 มิถุนายน 2544 ในโอกาสที่ ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร เยือนสหภาพหม่าอย่างเป็นทางการเพื่อให้ชายแดนร่วมไทย-พม่า เป็นชายแดนแห่งมิตรภาพ ความกลมเกลียว และความมั่นคั่ง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าความสำเร็จจะนำมาซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาของประเทศทั้งสองและของภูมิภาค
5. ทั้งสองฝ่ายได้หารืออย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับแนวทางกระชับความร่วมมือให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ ด้านการค้า ประมง สาธารณสุข การปราบปรามยาเสพติด การท่องเที่ยวและแรงงาน ทั้งสองฝ่ายแสดงความพึงพอใจต่อการดำเนินการที่เป็นชิ้นเป็นอันในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและตกลงที่จะศึกษาแนวทางใหม่ๆ ที่จะกระชับความร่วมมือ ทั้งสองฝ่ายย้ำคำมั่นที่จะบำรุงรักษาความสัมพันธ์อันดั้งเดิมระหว่างประเทศทั้งสองและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและประชาชนของทั้งสองประเทศ
6. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะปรับความสัมพันธ์ทางด้านการค้าให้กลับคืนสู่สภาพปกติ โดยลดข้อจำกัดด้านการค้าแบบก้าวหน้าบนพื้นฐานการพิจารณาเป็นรายสินค้า และส่งเสริมการค้าระหว่างกันโดยใช้แนวทาง Account Trade สหภาพพม่าต้อนรับการที่ไทยเข้ามีส่วนร่วมในการร่วมลงทุนด้านการประมง ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันหารือและกำหนดเงื่อนไขการร่วมลงทุนต่อไป ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาปัญหาแรงงานอพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองในเรื่องดังกล่าวจะกำหนดไว้ในบันทึกความเข้าใจซึ่งมีความชัดเจนและได้รับความเห็นชอบจากประเทศทั้งสอง
7. ในการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติดวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและสารตั้งต้น ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะยกระดับการติดต่อและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ฝ่ายไทยจะจัดสรรเงินกองทุนจำนวน 20 ล้านบาท สำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมความร่วมมือด้านเทคนิค ทั้งสองฝ่ายย้ำให้การสนับสนุนกรอบความร่วมมือ 4 ฝ่ายระหว่าง จีน ลาว พม่า และไทย และให้มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการประชุมระดับผู้นำรัฐบาลของประเทศทั้งสี่ด้วย ทั้งสองฝ่ายแสดงความพึงพอใจกับความคืบหน้าของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อ 10 สิงหาคม 2544 และการประชุมระดับรัฐมนตรี ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อ 27-28 สิงหาคม 2544 โดยทั้งสองฝ่ายยืนยันที่จะผลักดันความร่วมมือดังกล่าวต่อไป
8. ในกรอบบูรณาการของอาเซียน ไทยเห็นชอบที่จะขยายสิทธิพิเศษทางด้านศุลกากร (GSP) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ของพม่า โดยเน้นผลิตผลทางการเกษตรตามโครงการปลูกพืชทดแทนในพม่า
9. เพื่อส่งเสริมการค้า การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการติดต่อระหว่างประชาชนกับประชาชนของประเทศทั้งสองและในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าควรดำเนินความพยายามทุกวิถีทางที่จะดำเนินการตามแผนการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายการคมนาคมระหว่างกัน ฝ่ายพม่าแสดงความขอบคุณต่อข้อเสนอของไทยที่จะให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่การก่อสร้างสะพานแห่งที่สองเชื่อมแม่สายและท่าขี้เหล็ก
10. ฝ่ายพม่าแจ้งฝ่ายไทยถึงการตัดสินใจที่จะปล่อยนักโทษซึ่งต้องโทษอยู่ที่เรือนจำในพม่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพ ซึ่งฝ่ายไทยต้อนรับการตัดสินใจดังกล่าวและขอบคุณฝ่ายพม่า
11. ฝ่ายพม่าเสนอที่ส่งเจ้าหน้าที่ของพม่าเดินทางมาศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งฝ่ายไทยพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่พม่าดังกล่าว
12. ทั้งสองฝ่ายแสดงความพอใจกับการเยือนของ ฯพณฯ พลโท ขิ่น ยุ้น ว่าช่วยเสริมความเข้าใจอันดีและมิตรภาพซึ่งเป็นผลจากการเยือนสหภาพพม่าอย่างเป็นทางการของ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อ 19-20 มิถุนายน 2544 และยังส่งเสริมการนำแถลงการณ์ร่วม ที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2544 ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
แถลงข่าวร่วมในโอกาสที่ พลโท ขิ่น ยุ้น
เลขาธิการ 1 สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐของสหภาพพม่า
เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
3 - 5 กันยายน 2544
1. ตามคำเชิญของ ฯพณฯ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ฯพณฯ พลโท ขิ่น ยุ้น เลขาธิการ 1 สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2544
2. ฯพณฯ พลโท ขิ่น ยุ้น และคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพม่าได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากรัฐบาลไทย สะท้อนให้เห็นถึงไมตรีจิตและสายสัมพันธ์ฉันมิตรอันแน่นแฟ้นระหว่างไทยกับพม่า
3. ในระหว่างการเยือน ฯพณฯ เลขาธิการ 1 ของสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล หัวหิน ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล และได้หารือกับ ฯพณฯ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. ในการหารือ ทั้งสองได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรและความร่วมมือซึ่งเป็นผลประโยชน์ร่วมระหว่างประเทศทั้งสองให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายย้ำคำมั่นที่จะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกันในแถลงการณ์ร่วมลงวันที่ 20 มิถุนายน 2544 ในโอกาสที่ ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร เยือนสหภาพหม่าอย่างเป็นทางการเพื่อให้ชายแดนร่วมไทย-พม่า เป็นชายแดนแห่งมิตรภาพ ความกลมเกลียว และความมั่นคั่ง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าความสำเร็จจะนำมาซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาของประเทศทั้งสองและของภูมิภาค
5. ทั้งสองฝ่ายได้หารืออย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับแนวทางกระชับความร่วมมือให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ ด้านการค้า ประมง สาธารณสุข การปราบปรามยาเสพติด การท่องเที่ยวและแรงงาน ทั้งสองฝ่ายแสดงความพึงพอใจต่อการดำเนินการที่เป็นชิ้นเป็นอันในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและตกลงที่จะศึกษาแนวทางใหม่ๆ ที่จะกระชับความร่วมมือ ทั้งสองฝ่ายย้ำคำมั่นที่จะบำรุงรักษาความสัมพันธ์อันดั้งเดิมระหว่างประเทศทั้งสองและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและประชาชนของทั้งสองประเทศ
6. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะปรับความสัมพันธ์ทางด้านการค้าให้กลับคืนสู่สภาพปกติ โดยลดข้อจำกัดด้านการค้าแบบก้าวหน้าบนพื้นฐานการพิจารณาเป็นรายสินค้า และส่งเสริมการค้าระหว่างกันโดยใช้แนวทาง Account Trade สหภาพพม่าต้อนรับการที่ไทยเข้ามีส่วนร่วมในการร่วมลงทุนด้านการประมง ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันหารือและกำหนดเงื่อนไขการร่วมลงทุนต่อไป ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาปัญหาแรงงานอพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองในเรื่องดังกล่าวจะกำหนดไว้ในบันทึกความเข้าใจซึ่งมีความชัดเจนและได้รับความเห็นชอบจากประเทศทั้งสอง
7. ในการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติดวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและสารตั้งต้น ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะยกระดับการติดต่อและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ฝ่ายไทยจะจัดสรรเงินกองทุนจำนวน 20 ล้านบาท สำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมความร่วมมือด้านเทคนิค ทั้งสองฝ่ายย้ำให้การสนับสนุนกรอบความร่วมมือ 4 ฝ่ายระหว่าง จีน ลาว พม่า และไทย และให้มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการประชุมระดับผู้นำรัฐบาลของประเทศทั้งสี่ด้วย ทั้งสองฝ่ายแสดงความพึงพอใจกับความคืบหน้าของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อ 10 สิงหาคม 2544 และการประชุมระดับรัฐมนตรี ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อ 27-28 สิงหาคม 2544 โดยทั้งสองฝ่ายยืนยันที่จะผลักดันความร่วมมือดังกล่าวต่อไป
8. ในกรอบบูรณาการของอาเซียน ไทยเห็นชอบที่จะขยายสิทธิพิเศษทางด้านศุลกากร (GSP) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ของพม่า โดยเน้นผลิตผลทางการเกษตรตามโครงการปลูกพืชทดแทนในพม่า
9. เพื่อส่งเสริมการค้า การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการติดต่อระหว่างประชาชนกับประชาชนของประเทศทั้งสองและในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าควรดำเนินความพยายามทุกวิถีทางที่จะดำเนินการตามแผนการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายการคมนาคมระหว่างกัน ฝ่ายพม่าแสดงความขอบคุณต่อข้อเสนอของไทยที่จะให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่การก่อสร้างสะพานแห่งที่สองเชื่อมแม่สายและท่าขี้เหล็ก
10. ฝ่ายพม่าแจ้งฝ่ายไทยถึงการตัดสินใจที่จะปล่อยนักโทษซึ่งต้องโทษอยู่ที่เรือนจำในพม่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพ ซึ่งฝ่ายไทยต้อนรับการตัดสินใจดังกล่าวและขอบคุณฝ่ายพม่า
11. ฝ่ายพม่าเสนอที่ส่งเจ้าหน้าที่ของพม่าเดินทางมาศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งฝ่ายไทยพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่พม่าดังกล่าว
12. ทั้งสองฝ่ายแสดงความพอใจกับการเยือนของ ฯพณฯ พลโท ขิ่น ยุ้น ว่าช่วยเสริมความเข้าใจอันดีและมิตรภาพซึ่งเป็นผลจากการเยือนสหภาพพม่าอย่างเป็นทางการของ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อ 19-20 มิถุนายน 2544 และยังส่งเสริมการนำแถลงการณ์ร่วม ที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2544 ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-